กำลังแสดงผล 1 ถึง 6 จากทั้งหมด 6

หัวข้อ: การผูกเสี่ยว(เพื่อนแท้)

  1. #1
    บ่าวเต็งคนโก้
    Guest

    การผูกเสี่ยว(เพื่อนแท้)

    ประเพณี ?ผูกเสี่ยว? (เป็นเพื่อนตาย) ของคนอีสานนั้น มีการคบกันอยู่ 2 ระดับ คือการคบกันเป็นเพื่อนฝูงในระดับธรรมดาทั่ว ๆ ไป ซึ่งจะเรียกกันว่า ?เป็นหมู่กัน? (เป็นเพื่อนกัน) และการคบกันแบบในระดับเพื่อนสนิทเป็นพิเศษ มีความรักผูกพันกันถึงขนาดพึ่งพาอาศัยกัน สามารถเป็นตายแทนกันได้ ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า ?เป็นเสี่ยว? กัน (เป็นเพื่อนตายหรือมิตรแท้) การที่จะเป็นเพื่อนตายหรือเป็นเสี่ยวกันนั้น จะต้องผ่านขั้นตอนการทำพิธีผูกเสี่ยวกันก่อน จึงจะถือได้ว่า ?เป็นเสี่ยวแท้? (เป็นเพื่อนแท้) เป็นได้ทั้งชายและหญิง ที่มีความสมัครใจทั้งสองฝ่าย โดยมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน หรือมีรูปร่างหน้าตาคล้ายคลึงกัน การผูกเสี่ยวเป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นการส่งเสริมการขยายสังคม เพื่อนฝูงให้กว้างขวางออกไป ซึ่งมี คู่เสี่ยวมากเท่าใดยิ่งทำให้สังคมเกิดความรัก ความ ผูกพัน เปรียบเสมือนหนึ่งเป็นพี่น้องร่วมสายญาติเดียวกัน

    สำหรับขั้นตอนของการผูกเสี่ยวนั้นมี 3 ขั้นตอน คือ การหาคู่เสี่ยว พิธีผูกเสี่ยวและการปฏิบัติตนต่อกันของคู่เสี่ยว ส่วนขั้นตอนการหาคู่เสี่ยวนั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ คู่เสี่ยวหากันเอง กรณีนี้ เมื่อชายหรือหญิงที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันมีความสนิทสนมกัน รักกันถูกนิสัยกัน พร้อมใจตกลงจะเป็นเสี่ยวกันด้วยความสมัครใจทั้งสองฝ่าย จึงได้มีการจัดพิธีผูกเสี่ยวขึ้น เพื่อเป็นการประกาศให้ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงทั้งสองฝ่ายมาร่วมกันเป็นสักขีพยาน

    ส่วนอีกวิธี คือพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่หามาให้โดยไปพบบุคคลที่อยู่ต่างถิ่น มีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับลูกหลานของตนจึงเกิดการทาบทามขอผูกเสี่ยวให้กับลูกหลานไว้ก่อน ซึ่งตอนนี้จะเรียกว่า ?แฮก เสี่ยว? หลังจากนั้นจึงหาโอกาสพาคู่เสี่ยวมาพบคบค้ากันจัดให้มีพิธีผูกเสี่ยวให้โดยจะมี ?หมอสูดขวัญ? (หมอพราหมณ์) มา ?เฮียกขวัญ? (เรียกขวัญ) ให้ โดยพิธีจะเริ่มตั้งแต่ให้คู่เสี่ยวจุดเทียนที่ปักไว้ยอดพาขวัญ จากนั้นพราหมณ์จะนำไหว้พระเสร็จแล้วกล่าวเชิญเทวดาพร้อมกับสวดคำสู่ขวัญ เอาข้าวเหนียวใส่มือคู่เสี่ยวคนละหนึ่งปั้น ไข่ต้มคนละฟอง กล้วยน้ำว้าสุกคนละใบแล้วใช้ด้ายหรือฝ้ายผูก ข้อมือให้แก่เสี่ยวเป็นครั้งแรกเรียกว่า ?การผูกเสี่ยว? หลังจากนั้น ญาติพี่น้องและเพื่อนฝูงของแต่ละฝ่ายจะมาผูกแขนให้ คู่เสี่ยวพร้อมกล่าวอวยพรแก่คู่เสี่ยว

  2. #2
    นักการภารโรง สัญลักษณ์ของ บ่าวคนเดิม
    วันที่สมัคร
    Jan 2006
    ที่อยู่
    Amphoe Det Udom
    กระทู้
    3,148

    Re: การผูกเสี่ยว(เพื่อนแท้)

    มักหลายบ่าวเต็ง....ผู้ข้ากะมี พ่อเสี่ยว แม่เสี่ยว คือการผูกเสี่ยวแบบครอบครัวเลยครับ
    บ้านมหาหม่องนี้กะซิพอได้ผูกอยู่ดอกติ...แม้นบ่อาวเซียง
    ขอบพระคุณสมาชิกและทีมงานที่เคารพรักทุกท่าน

  3. #3
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ ปลัดโตคนเดิม
    วันที่สมัคร
    Feb 2006
    กระทู้
    475

    Re: การผูกเสี่ยว(เพื่อนแท้)

    เสี่ยวศู่มือ้นี้หายาก คนเฮาเห็นแก่โตกัน

  4. #4
    นักการภารโรง สัญลักษณ์ของ บ่าวคนเดิม
    วันที่สมัคร
    Jan 2006
    ที่อยู่
    Amphoe Det Udom
    กระทู้
    3,148

    Re: การผูกเสี่ยว(เพื่อนแท้)

    รบกวนท่านสมาชิก หรือบ่าวงเต็ง...ได้บ่อครับ....พอดีมีนักศึกษา

    ซิมาขอข้อมูลเกี่ยวกับประเพณีการผูกเสี่ยว ซึ่งจะนำไปลงนิตรสาร

    ซิพอมีไผสะดวก ให้สัมภาษณ์ ได้บ่อ สอบถามแหน่เด้อ ติดต่อสอบถามน้องนักศึกษา 086-6668238

    เนื่องจากผมบ่สะดวกนั้นนา

    หากท่านใดสะดวก แจ้งผ่านทาง PM ผมได้ครับ
    ขอบพระคุณสมาชิกและทีมงานที่เคารพรักทุกท่าน

  5. #5
    Super Moderator สัญลักษณ์ของ ไก่น้อย
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    ที่อยู่
    นครโคราช
    กระทู้
    4,928
    บล็อก
    8

    Re: การผูกเสี่ยว(เพื่อนแท้)

    นักศึกษา ช/ญ น่อ ...แฮะๆ

    ?ผูกเสี่ยว? ประเพณีรับขวัญชาวอีสาน
    ?พิธีผูกเสี่ยว? หรือเรียกอย่างเป็นทางการก็คือ ?พิธีบายศรีสู่ขวัญ? เป็นประเพณีของชาวอีสานที่มีความหมายว่า เป็นการผูกมิตรภาพ สำหรับการต้อนรับอาคันตุกะผู้มาเยือน หรือเป็นการรับขวัญ เรียกขวัญของผู้ที่จากบ้านไปไกลด้วยเวลาอันยาวนาน หรือผู้ที่เพิ่งหายป่วยไข้ให้มาอยู่กับเนื้อกับตัว พร้อมกับอวยพรให้อยู่เย็นเป็นสุข มีอายุมั่นขวัญยืนพร้อมกันไป

    คำว่า ?ขวัญ? นั้นเชื่อว่า เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตนคล้ายกับจิตวิญญาณแฝงที่อยู่ในตัวคนและสัตว์ คนสมัยโบราณจะมีความเชื่อว่า ตั้งแต่เกิดมาทุกคนมีขวัญกันทั้งนั้น และในบางแห่งเรามักแปลว่า กำลังใจ และยังมีความหมายอีกว่าเป็นที่รักที่บูชา เช่น เรียกเมียที่รักว่า เมียขวัญ หรือจอมขวัญ เรียกลูกรักว่าลูกขวัญ เพื่อแสดงถึงความรัก แต่ขวัญก็ยังมีอีกความหมายหนึ่ง คือหมายถึง ขนหรือผมที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย

    การทำพิธีบายศรีสู่ขวัญของชาวอีสาน ส่วนใหญ่จะทำโดยการนิมนต์พระสงฆ์อย่างน้อย 5 รูป มาเจริญพระพุทธมนต์ ตั้งบาตรน้ำมนต์เสร็จแล้วประพรมน้ำมนต์ พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา ถ้ามีศรัทธาพอจะถวายภัตตาหารเช้า หรือเพลพระสงฆ์ด้วยก็ได้ ส่วนการจัดพานบายศรีนั้นจะขาดไม่ได้ ปกติต้องจัดด้วยพานทองเหลือง และมีสัมฤทธิ์ (ขันลงหิน) หลายๆ ใบซ้อนกัน มีใบตอง ดอกไม้สด ด้ายสำหรับผูกข้อมือ อาจจัดเป็นชั้นๆ เช่น 3 ชั้น 5 ชั้น หรือ 7 ชั้น แล้วแต่ความสามารถ แต่คนเก่าคนแก่จะกล่าวว่า ถ้า 3 ชั้นและ 5 ชั้น จะเป็นของคนธรรมดา

    แต่ถ้า 7 ชั้น หรือ 9 ชั้น จะสำหรับเชื้อพระวงศ์และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชั้นล่างของพานขวัญจะเป็นพานมีบายศรีทำด้วยใบตอง ดอกไม้ ไข่ต้ม ขนม กล้วย อ้อย ปั้นข้าว เงินฮาง มีด ด้ามแก้ว ชั้น 2, 3, 4 จะได้ตกแต่งด้วยใบศรีและดอกไม้ ซึ่งมักจะเป็นดอกฝาง ดอกดาวเรือง ดอกรัก ใบเงิน ใบคำ ใบคูน ใบยอป่า ส่วนชั้นที่ 5 จะมีใบศรีและด้ายผูกข้อมือ เทียนเวียนหัวทำด้วยขี้ผึ้งของเจ้าของขวัญ

    นอกจากพานขวัญแล้วจะมีเครื่องบูชาและอื่นๆ เช่น ขันบูชา มีพานขนาดกลางสำหรับวางผ้า 1 ผืน แพร 1 วา หวี กระจกเงา น้ำอบ น้ำหอม สร้อย แหวน ของผู้เป็นเจ้าของขวัญ สำหรับด้ายผูกข้อมือนั้นต้องเป็นด้ายดิบนำมาจับเป็นวงยาวพอที่จะพันรอบข้อมือได้ โบราณถือว่าคนธรรมดา วงละ 3 เส้น ผู้ดีมีศักดิ์ตระกูล 5 เส้น เมื่อวงแล้วให้เด็ดหรือดึงให้ขาดเป็นเส้นๆ ห้ามใช้มีดตัดจะใช้มีดตัดได้เฉพาะด้ายที่มัดศพเท่านั้น

    การสวดหรือการสูตรขวัญ ผู้จัดพิธีสู่ขวัญจะต้องจัดหาหมดนวดหรือสูตรขวัญซึ่งมักเรียกว่า พราหมณ์ หรือพ่อพราหมณ์ ไว้ล่วงหน้า และต้องเป็นผู้ที่ทราบประเพณีสู่ขวัญและเป็นที่นับถือของชาวบ้านด้วย ก่อนลงมือสวดเจ้าภาพต้องเตรียมด้ายผูกแขนพราหมณ์ไว้ เป็นด้ายผูกข้อมือธรรมดาและมัดธนบัตรเป็นค่าบูชาพราหมณ์จำนวนมากหรือน้อยแล้วแต่จะเห็นสมควร และเจ้าภาพจะเป็นคนผูกข้อมือพราหมณ์ด้วยด้ายผูกแขนพิเศษนี้ พราหมณ์จะจัดให้เจ้าของขวัญนั่งให้หันหน้าไปในทิศทางต่างๆตามตำรา เจ้าของขวัญนั่งลงแล้วยกมือไหว้พราหมณ์ เสร็จแล้วใช้มือขวาจับพาขวัญตั้งจิตอธิฐานขอให้เทวดาบันดาลให้เป็นไปดังหมอขวัญ หรือพราหมณ์สูตร ส่วนญาติพี่น้องก็จะนั่งล้อมเป็นวงด้านหลังตั้งจิตอธิษฐานให้เจ้าของขวัญมีความสุขความเจริญจงเกิดแก่เจ้าของขวัญ และอ้อนวอนเทวดาเป็นภาษาบาลีว่า สัค เค กา เม จ รูเป จบแล้วว่านะโม 3 จบ แล้วกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย จบแล้วจะสู่ขวัญอะไรก็ว่าตามความต้องการโดยให้เหมาะกับงาน

    การผูกข้อมือให้แก่เจ้าของขวัญควรประกอบด้วยองค์ 4 คือ ผู้ผูกหรือพราหมณ์ ผู้รับผูกหรือเจ้าของขวัญ ผู้เกี่ยวข้องคือญาติมิตร และคำกล่าวขณะที่ผูก เมื่อสูตรขวัญจบแล้วญาติพี่น้องจะเอาข้าว ไข่ กล้วย ใส่มือเจ้าของขวัญมือซ้ายหรือมือขวาก็ได้ หลังจากนั้นให้พราหมณ์ผูกข้อมือให้ โดยปกติจะผูกมือซ้ายเพราะแขนซ้ายถือเป็นแขนขวัญ ตอนผูกข้อมือทุกคนจะยื่นมือขวาออกไปพยุงแขนของเจ้าของขวัญที่พราหมณ์กำลังทำพิธีอยู่ แล้วตั้งจิตอธิษฐานขอให้เจ้าของขวัญมีความสุขความเจริญ เมื่อผูกข้อมือเสร็จแล้วเจ้าของขวัญต้องประนมมือไหว้ผู้ให้พรเพื่อรับพร เป็นอันเสร็จพิธี ด้ายผูกแขนนี้อย่าพึ่งดึงทิ้งต้องรอให้ผ่านไป 3 วันก่อนแล้วค่อยดึงออก ห้ามทิ้งลงที่สกปรกเพราะถือว่าเป็นของดีของศักดิ์สิทธิ์ควรเก็บรักษาไว้เพราะเชื่อว่าสามารถป้องกันอันตรายได้

    ซึ่งจะเห็นได้ว่าพิธีผูกเสี่ยวหรือบายศรีสู่ขวัญนี้เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอีสานที่ร่างเป็นระเบียบแบบแผนไว้ และก็เป็นธรรมดาที่ประเพณีนี้อาจมีความแตกต่างกันออกไปบ้างขึ้นอยู่กับการพัฒนาและความเจริญโดยให้เหมาะสมกับกาลสมัย แต่มูลฐานของประเพณีนี้ก็ยังคงอยู่และคงต้องเป็นหน้าที่ของลูกหลานที่จะต้องรักษามรดกอันสำคัญนี้ให้ยั่งยืนสืบไป เพื่อแสดงถึงการมีวัฒนธรรมอันเป็นชาติบ้านเมืองของเรา

    ฝ่ายประชาสัมพันธ์
    สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม






    แหล่งที่มา: สยามรัฐ 21 เม.ย. 2548

    กระเบื้องจะฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม เมฆจะหล่นฟ้าปลาจะกินดาว ลาวจะครองเมือง ::)

  6. #6

    Re: การผูกเสี่ยว(เพื่อนแท้)

    ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆมีประโยชน์
    ติ๋มกะมีเสี่ยวอยู่2คนจ้า ผูกตั้งแต่ตอนอายุ3ขวบ เดียวนี่กะยังฮักกันหมั่นแก่น โทรหากันดู๋คัก คึดฮอดกันแฮง
    คนที่กล้าจะพ่ายแพ้เท่านั้น...ที่จะประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •