กำลังแสดงผล 1 ถึง 9 จากทั้งหมด 9

หัวข้อ: เขมรป่าดง ทุ่งกุลาร้องไห้ และเจ้าพ่อศรีนครเตา ตอนที่ 1

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    เขมรป่าดง ทุ่งกุลาร้องไห้ และเจ้าพ่อศรีนครเตา ตอนที่ 1


    +++++++++++++++++++++++++++++

    เขมรป่าดง ทุ่งกุลาร้องไห้ และเจ้าพ่อศรีนครเตา ตอนที่ 1

    +++++++++++++++++++++++++++++



    เขมรป่าดง ทุ่งกุลาร้องไห้ และเจ้าพ่อศรีนครเตา ตอนที่ 1




    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=oKUYiucWI5k



    พ่อใหญ่แห่งทุ่งกุลา "เจ้าพ่อศรีนครเตา"


    คำว่า เขมรป่าดงปรากฏในเอกสารทางราชการของราชสำนักสยามที่ใช้เรียกบริเวณทางตอนใต้ของที่ราบสูงโคราชซึ่งมีขอบเขตติดกับเขมรต่ำ โดยมีขอบของเทือกเขาพนมดงเร็ก เป็นจุดแบ่ง มี



    เมืองพุทไธรสง
    เมืองสุรินทร์
    เมืองสังขะ
    เมืองพิมาย


    และเรียกผู้คนที่เป็นชาวกูยหรือชาวเขมรที่อยู่อาศัยในบริเวณนี้อย่างรวมๆ ว่า เขมรป่าดง

    คนในกลุ่มนี้มีชื่อเสียงในเรื่องวิชาหมอช้าง ที่สามารถจับช้างป่าส่งเป็นส่วยให้กับเมืองหลวงได้ ซึ่งเจ้าเมืองกูย ทั้ง ๖ คนที่มีความสามารถในการจับช้างป่าก็ได้รับพระราชทานนามบ้านและราชทินนามจากราชสำนักที่กรุงเทพฯ จนกลายเป็นบ้านเมืองต่างๆ ในเขตเขมรป่าดงนี้หลายแห่ง



    ทุ่งกุลาร้องไห้


    บริเวณเขตติดต่อกับเขตเขมรป่าดงทางเหนือฝั่งลำน้ำมูลคือทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งเป็นบริเวณทุ่งราบแอ่งกระทะขนาดใหญ่ ฤดูแล้งผืนดินแห้งแล้งเป็นดินเค็ม


    ส่วนฤดูน้ำหลากน้ำท่วมเนื้อที่มีประมาณ 2.1 ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่รอยต่อ 5 จังหวัด คือ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม สุรินทร์ ศรีสะเกษและยโสธร


    มีลำน้ำไหลผ่านทุ่งกุลา 5 สาย คือ ลำน้ำมูล ลำน้ำเสียวน้อย ลำน้ำเสียวใหญ่ ลำน้ำพลับพลา และลำน้ำเตา


    คนทั่วไปรู้จักทุ่งกุลาในภาพพจน์ ท้องทุ่งแห้ง ความแห้งแล้งทุรกันดาร ผู้คนทุกข์ยาก ด้อยพัฒนา

    แม้ทุ่งกุลาร้องไห้จะมีความแห้งแล้งกันดาร แต่ในด้านโบราณคดีกลับพบว่า มี

    1) ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานชุมชนโบราณอายุเก่าแก่ราว 2500 ปีมาแล้วมากมาย
    2) แหล่งผลิตเกลือ
    3) แหล่งถลุงเหล็ก
    4) ร่องรอยของการจัดการน้ำ โดยขุดคูน้ำล้อมรอบชุมชนขนาดกว้างใหญ่กว่าพื้นที่อื่นๆ


    ซึ่งแสดงถึงการที่แม้ภูมิประเทศจะถูกมองว่าไม่อุดมสมบูรณ์เช่นท้องถิ่นอื่นๆ แต่ในการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในท้องทุ่งเช่นนี้มีการปรับตัวมานานนับพันปีแล้ว


    ในการตัดสินว่าพื้นที่ใดอุดมสมบูรณ์หรือไม่นั้น
    เกิดจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปทำให้มุมมองของมนุษย์ไม่สามารถเข้าใจสภาพแวดล้อมและการปรับตัวของผู้คนในอดีตได้ต่างหาก



    เขมรป่าดง ทุ่งกุลาร้องไห้ และเจ้าพ่อศรีนครเตา ตอนที่ 1


    ศรีนครเตาท้าวเธอ

    ถ่ายเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2553
    ณ สวนศรีนครเตาท้าวเธอ พ.ศ. ๒๕๓๐ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์



    เจ้าพ่อศรีนครเตา ศรัทธาแห่งคนทุ่งกุลาฯ


    ทุ่งกุลาร้องไห้เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์
    มีกลุ่มชาติพันธุ์ลาว เขมร กุย(ส่วย) และ เยอ กระจายตัวอยู่ตามลุ่มน้ำทั้ง 5 สาย


    1) กลุ่มลาวตั้งถิ่นฐานอยู่ในที่ราบลำเสียวน้อย/ลำเสียวใหญ่และลำน้ำเตา
    2) กลุ่มกุยและเยออยู่ที่ราบลุ่มน้ำมูล
    3) กลุ่มเขมรกระจายตัวอยู่ที่ราบลำพลับพลา



    แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าแยกกันอยู่อย่างเด็ดขาดชัดเจน กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้มีการผสานกลมกลืน พึ่งพาและใช้ประโยชน์ทรัพยากรในทุ่งกุลาร้องไห้ร่วมกัน


    คือบรรพบุรุษท้องถิ่นที่มีตำนาน เรื่องเล่า และอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆสืบกันมาตั้งแต่ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งปรากฏในพระราชพงศาวดารที่เมืองหลวงและเรื่องเล่าต่างๆของท้องถิ่น



    พระศรีนครเตาท้าวเธอเจ้าเมืองปกครองเมืองรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์


    โดยกล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์กูยหรือกุยที่รับอาสาจับช้างเผือกในเขตที่เรียกว่าเขมรป่าดงในพื้นที่ฝั่งใต้ของลำน้ำมูล โดยครั้งหนึ่งผู้นำท้องถิ่นได้เข้าร่วมในการคล้องช้างเผือกกลุ่มหนึ่งจึงได้รับพระราชทานตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองของบ้านเมืองแถบนี้ และหนึ่งในนั้นคือ เซียงสี ได้เป็นพระศรีนครเตาท้าวเธอเจ้าเมืองปกครอง เมืองรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์

    แม้พระศรีนครเตาจะล่วงลับไปนานแล้ว แต่ความเป็นผู้นำท้องถิ่นยังคงปรากฏอยู่ในรูปแบบความเชื่อและสร้างสัญลักษณ์แทนความนับถือเป็น ศาลเจ้าพ่อศรีนครเตาไว้ประจำชุมชนขนาดใหญ่หลายแห่งในท้องถิ่นทุ่งกุลา เช่น

    - บ้านเมืองเตา ต.เมืองเตา อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม,
    - บ้านเมืองเสือ ต.เมืองเสือ อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม
    - บ้านหนองบัวเจ้าป่า เทศบาลอำเภอสตึก จ.บุรีรัมย์
    - บ้านไพขลา ต.ไพรขลา อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์


    นอกจากนี้ เรื่องราวของเจ้าพ่อศรีนครเตายังปรากฏในรูปแบบเรื่องเล่าตำนานต่างๆ มีความศักดิ์สิทธิ์ผ่านพิธีกรรมและและความเชื่อในชีวิตประจำวัน ตลอดจนมีกลอนลำต่างๆที่ผู้แต่งเล่าเรื่องสืบทอดมาโดยตลอด




    จบตอนที่ 1




    ++++++++++++++++++++++++++++






    ขอบคุณ
    มูลนิธิ เล็ก –ประไพ วิริยะพันธุ์










    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ บ่าวธนา
    วันที่สมัคร
    Apr 2010
    กระทู้
    323
    ขอบคุณครับ สำหรับปวัติศาตร์ดีๆครับ ผมมักอ่านครับใด้รู้เรื่องในอดีตของคนสมัยก่อน

  3. #3
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63
    ครับน่าติดตามมากเพราะเป็นเรื่องที่ได้รับย่อเรื่องราวให้กระ
    ชับมาแล้วอ่านก้ง่ายแถมได้รู้อะไรดีๆอีกขอบคุณครับ

  4. #4
    ฝ่ายเทคนิค และถ่ายทอดสด สัญลักษณ์ของ อาวอ้วนเมืองยศ
    วันที่สมัคร
    Apr 2010
    ที่อยู่
    เมืองบั้งไฟ
    กระทู้
    1,513
    อืมๆ ผ่านทุกวันเลย บ้านเมืองเตา เมืองเสือ ต้องไปถามไถ่ความเป็นมาเบิ่งแล้วครับ

  5. #5
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ เปี๊ยกครับ
    วันที่สมัคร
    Apr 2012
    กระทู้
    156
    ขอบคุณครับ สำหรับประวัติศาสตร์เผ่าพันธ์ของคนอิสาน ซึ่งมีมายาวนานแล้วครับ
    ศึกษาติดตามครับ

  6. #6
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ spartan
    วันที่สมัคร
    Sep 2008
    กระทู้
    53
    บรรพบุรุษสร้างบ้านเมืองไม่ใช่ปีสองปีลูกหลานอย่าทำลาย

  7. #7
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ kamatep
    วันที่สมัคร
    May 2009
    กระทู้
    116
    ขอบคุณหลายๆที่นำมาไห่อ่านเขียนเฮียนฮู้ครับคุณคู

  8. #8
    ศิลปิน นักเขียน สัญลักษณ์ของ maanoy
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    กระทู้
    2,271
    นี่คือเหรียญที่ระลึกวัดใต้บูรพาราม อ.รัตนบุรี ปี2514 ด้านหลัง เป็นศรีนครเตาท้าวเธอ เจ้าเมืองรัตนบุรี เหรียญรุ่นนี้ หลวงปู่ดุลย์ปลุกเสก เพราะว่าครั้งหนึ่งหลวงปู่ได้จำพรรษาและพัฒนาวัดใต้บูรพาราม[

  9. #9
    ศิลปิน นักเขียน สัญลักษณ์ของ maanoy
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    กระทู้
    2,271
    บรรยายด้วยภาพ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •