กำลังแสดงผล 1 ถึง 1 จากทั้งหมด 1

หัวข้อ: บทที่ 1 ชนชาติไทย - ในมณฑลเสฉวนและมณฑลไกวเจา

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    บทที่ 1 ชนชาติไทย - ในมณฑลเสฉวนและมณฑลไกวเจา


    ************************

    บทที่ 1 ชนชาติไทย - ในมณฑลเสฉวนและมณฑลไกวเจา

    ************************





    บทที่ 1 ชนชาติไทย - ในมณฑลเสฉวนและมณฑลไกวเจา



    ถอดความจากหนังสือชนชาติไทย
    เรียบเรียงโดยหลวงนิติเพทย์นิติสรรค์
    จากต้นฉบับของ ด๊อกเตอรวิลเลียม คลิฟตันด๊อค





    บทที่ 1 ชนชาติไทย - ในมณฑลเสฉวนและมณฑลไกวเจา


    บทที่ 1 ชนชาติไทย - ในมณฑลเสฉวนและมณฑลไกวเจา



    บทที่ 1 ชนชาติไทย - ในมณฑลเสฉวนและมณฑลไกวเจา





    บทที่ 1

    ไทยในเสฉวนและไกวเจา




    ชนชาติไทยในถิ่นเดิมซึ่งลี้ลับอยู่ในเวลานี้ ถ้าจะนำมากล่าวก็คงเป็นเรื่องน่ารู้เรื่องหนึ่ง ชนเหล่านี้มีภูมิลำเนาอยู่ในถิ่นซึ่งตามภูมิศาสตร์เรียกว่า มณฑลที่ต่อพรมแดนฝ่ายเหนือของประเทศไทยขึ้นไป

    (1) คือมณฑลเสฉวนตอนใต้และมณฑลไกวเจาตอนตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน ที่จริงชนชาติไทยซึ่งถ้านับตามภูมิศาสตร์แล้ว มีภูมิลำเนาอยู่กว้างใหญ่มาก และอยู่ในเขตความปกครองของรัฐบาลถึง 4 รัฐบาล คือรัฐบาลไทย รัฐบาลอังกฤษในเขตพม่าและอินเดีย รัฐบาลจีนในเขตมณฑลฝ่ายใต้ และรัฐบาลฝรั่งเศสในเขตแคว้นลาวและตังเกี๋ย ชนชาติไทยถิ่นเดิมนี้ ตั้งแต่นานมาแล้วได้อพยพลงมาทางใต้ประดุจลูกคลื่นที่ค่อยๆ เคลื่อนไปอย่างช้าๆ โดยเหตุที่มีภูเขาสูงกีดกั้นเสีย บางพวกจึงตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามลุ่มแม่น้ำในมณฑลเสฉวนและไกวเจา ถึงแม้ชาติไทยจะแตกออกเป็นหลายพวกหลายหมู่ก็ตาม แต่หาใช่เป็นมนุษย์ต่างชาติกันไม่ คือเป็นชนชาติเดียวกันทั้งนั้น แต่ตั้งภูมิลำเนากระจัดกระจายทั่วไป บางทีจะเป็นด้วยมีภูเขาสูงซึ่งยากที่จะข้ามไปข้ามมาได้อย่างสะดวกนี่เอง จึงต่างพวกต่างอยู่ และนานเข้าก็แยกออกไปหลายพวก และมีสำเนียงภาษาแตกต่างกันออกไป อีกประการหนึ่งเมื่อชนพวกนี้ได้อพยพจากถิ่นเดิมไปสู่ที่ต่างๆ ในสมัยต่างๆ กันนั้น มักไม่ใคร่เอาใจใส่ไปมาหาสู่กันหรือนำเรื่องราวในถิ่นใหม่ไปบอกเล่ากับพวกพ้องที่อยู่ในถิ่นเดิม

    ในหนังสือเรื่องมณฑลยูนนานที่ นายพันตรี ดาวีส แต่งกล่าวว่า ข้าพเจ้าประหลาดในมากที่ได้พบหมู่บ้านอย่างน้อยสองสามตำบล ในดินแดนลุ่มแม่น้ำนี้ คือแม่น้ำปูตู (Pu-tu Ho) มีพวกชาน (2) (Shan) ตั้งภูมิลำเนาอยู่ ข้าพเจ้าไม่นึกเลยว่าจะมีพวกชายอยู่ทางเหนือไกลถึงเพียงนี้ พวกชานในตำบลนั้นกล่าวว่า

    พวกเขาได้อพยพมาจากอังวะประมาณหลายร้อยปีมาแล้ว ซึ่งน่าสงสัยอย่มาก แต่บางทีเดิมพวกนี้คงอพยพมาจากอาณาจักรชานซึ่งในสมัยนั้นอยู่ในอำนาจพม่าก็เป็นได้ พวกที่อพยพมานี้คงไม่มีพระสงฆ์มาด้วย เพราะฉะนั้นหนีงสือที่ใช้และการถือศาสนาจึงสาปสูญไป แต่ภาษาที่ใช้พูดกันนั้นเป็นภาษาชาน จึงควรเป็นเรื่องที่น่าเอาใจใส่ว่าชนเหล่านี้แตกพวกอย่างผิดปกติมาอยู่ในตำบลนี้ได้อย่างไร และดูเหมือนพวกเขาเองก็คงไม่ได้นึกว่าทำไมตนจึงมาอยู่ที่นี่ หรือเดิมมาจากไหน


    ไม่มีจดหมายเหตุหรือหลักฐาน ที่กล่าวโดยแน่นอนพอจะเป็น ทางสันนิฐานได้ว่าชนชาวไทยในมณฑลเสฉวนแผ่ภูมิลำเนาไปกว้างขวางเพียงไร และมีจำนวนมากน้อยเท่าไร นายพันตรีดาวีส กล่าวต่อไปว่า ยังได้พบหมู่บ้านของชนพวกนี้ ตั้งกระจัดกระจายทั่วไปทางวเหนือของมณฑลยูนนานและมณฑลเสฉวนที่ติดต่อกับประเทศทิเบต


    ในเชิงอรรถของหนังสือนายพันตรีดาวีสนั้นกล่าวว่า นายการ์เนียส์ยังได้พรรณาถึงพวกชานที่อยู่ทางตำบลแม่น้ำยาลุง (Yalung) กับแม่น้ำยางสี (Yangtze) ต่อกัน (อยู่ในมณฑลเสฉวน) ไว้ด้วยว่าข้าพเจ้าเชื่อว่าคงมีตำบลบ้านของพวกนี้ตั้งกระจัดกระจายอยู่ในดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำยางสีอีกเป็นอันมาก บางทีจะเป็นพวกที่ตกค้างอยู่ เพราะไม่ได้อพยพไปพร้อมกับพวกก่อนเป็นแน่


    แต่อย่างไรก็ดี นี่เป็นเรื่องที่กล่าวไว้เมื่อ 20 ปีที่แล้ว แต่บัดนี้เพื่อนข้าพเจ้าที่อยู่ในมณฑลยูนนาได้เล่าว่า เขาได้เดินทางไปตามแม่น้ำยางสีทางทิศใต้เป็นระยะทาง 8 วัน ได้พบหมู่บ้านชนชาติไทยหลายแห่ง แต่เขาไม่ทราบ ต่อลงไปอีกนั้นจะมีหมู่บ้านชนชาติไทยอีกหรือไม่ เพราะเขาไม่ได้ไปต่อไป เขาเล่าว่า ในถิ่นที่ผ่านไปนี้มีหมู่บ้านไทยตั้งเรียงรายห่างๆ กันไป


    แต่ทางแถบของแม่น้ำยางสีตอนในมณฑลเสฉวนมีหมู่บ้านไทยหนาแน่น แม่น้ำนั้นมีสาขาหลายสาย และในดินแดนแถบสาขาของแม่น้ำนี้ ถ้าในตำบลใดมีน้ำขึ้นเอิบอาบบนที่ราบพอที่จะทำนาได้แล้ว ย่อมมีหมู่บ้านชนชาติไทยตั้งอยู่ในที่ราบเหล่านั้น เพราะชนชาติไทยไม่ชอบตั้งภูมิลำเนาอยู่บนภูเขา


    เขายืนยันว่า พวกชนชาติไทยที่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ทั่วไปในมณฑลเสฉวนนั้น เรียกตัวเองว่าไทย เช่นเดียวกับพวกไทยในแถบนี้ เขาไม่ชอบให้เรียกเป็นอย่างอื่นนอกจากไทย แม้นจีนจะเรียกเขาว่าตุลิ (Tu-li) หรือตุเรน (Tu-ren) ก็ตาม


    ชนชาติไทยในมณฑลไกวเจานั้น ดูเหมือนไม่ได้เรียกตัวเองว่าไทย และตามที่นาย เอส อาร์ คลาร์ก ผู้แต่งหนังสือเรื่องชนชาติไทยที่อยู่ในจีนฝ่ายใต้ ว่าชนชาติไทยในมณฑลไกวเจานั้นเรียกกันทั่วไปว่า จุงเจีย (Chung Chai) หรือบางทีเรียกว่า ตุเยน (Tu-jen) หรือตุเรน ในหนังสือปทานุกรมของผู้สอนศาสนาโรมันคาทอลิคในมณฑลไกวเจาเรียกว่าไดออย (Dioi) ซึ่งข้าพเจ้าได้ยินเขาสะกดอย่างภาษาสเปนว่า ย้อย (Toi) ใน พ.ศ. 2453 ได้พบคนที่ทำการในสถานที่ของรัฐบาลในเมืองกวางนาน (Kwangnan หรือkwangnanfu อยู่ในมณฑลยูนนานตอนตะวันตกเฉียงเหนือ)


    หลายคนเรียกตัวเองว่า ไทยย้อย (Tai yoi) สำเนียงภาษาไทยย้อยในเมืองกวางนานนั้นก็อย่างเดียวกับไทยอื่นๆ เมื่อข้าพเจ้าได้ยินครั้งแรกก็เข้าใจได้โดยมาก ครั้งเมื่อข้าพเจ้าได้เดินทางจากยางสีในเสฉวน ไปยังวูติงเจา (Wutingchow) ซึ่งอยู่ในมณฑลยูนนานตอนเหนือ เมื่อ พ.ศ. 2461 วันหนึ่งมีผู้บอกข้าพเจ้าว่า มีหมู่บ้านชนชาติจุงเจียอยู่ใกล้ๆ ที่พักข้าพเจ้า จึงหาโอกาสไปหาและสนทนากับเขาโดยใช้ภาษาที่ข้าพเจ้ารู้ไปจากแดนเหนือของประเทศไทย ก็พอพูดเข้าใจกัน มิติดขัดบ้างก็เล็กน้อย



    นายคลาร์กประมาณว่า มีชนชาติไทยในมณฑลไกวเจาอย่างน้อยที่สุด 2 ล้านคน นายพันตรีดาวีสได้ขีดแผนที่มณฑลยูนนานเป็นเขตแดนที่ชนชาติไทยตั้งภูมิลำเนาอยู่ ตลอดดินแดนลุ่มแม่น้ำตะวันตก หรือที่เรียกว่าแม่น้ำสิเกียง ซึ่งผ่านไปในมณฑลไกวเจานั้นเป็นเขตกว้างใหญ่เท่ากับเขตของชนชาติที่อยู่ในมณฑลยูนนาน


    ในหนังสือปทานุกรมฝรั่งเศส-ย้อย (Franco-dioi) กล่าวไว้ในตอนคำนำว่า ชนชาติที่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ในดินแดนลุ่มแม่น้ำตะวันตก ทั้งในมณฑลยูนนานและมณฑลไกวเจานั้นเป็นชนชาติไทย แต่เรียกกันในถิ่นนั้นว่าไดออย ข้าพเจ้าได้สอบสวนโดยได้ไปด้วยตนเอง เพียงดินแดนตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลยูนนาน ได้พบชนชาติไทยตั้งภูมิลำเนาอยู่ทั่วไป เหตุฉะนั้นจึงเป็นอันเชื่อได้ว่า ทางดินแดนตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลไกวเจาอันติดต่อกับมณฑลยูนนานนั้น คงมีชนชาติไทยเป็นอันมาก สมจริงดังคำที่เขากล่าว



    ในขณะที่นายคลาร์กได้ไปอยู่ในมณฑลนั้นชั่วคราว และเอาใจใส่ในเรื่องชนชาติไทย หรือที่เรียกกันในมณฑลนั้นว่าชาติจุงเจียนี้ มากจนถึงเขาไดแปลคัมภีร์ศาสนาคริสต์ อันชื่อว่า คัมภีร์มัทธิว นั้นออกเป็นภาษาจุงเจียและพิมพ์ด้วยอักษรโรมัน แล้วนำไปสั่งสอนชนพวกนี้ ครั้งที่ข้าพเจ้าไปนั้น ข้าพเจ้าต้องเสียเวลามากในการที่จะอ่านหนังสือที่พิมพ์เป็นภาษาจุงเจีย เป็นการยากที่จะเทียบเสียงคำพูดของภาษาจุงเจียกับภาษาถิ่นเหนือของประเทศไทยให้ตรงกัน เว้นแต่ได้ฟังเสียงพูดจากปากชาวจุงเจียเอง เพราะอักษรโรมันที่เขียนเป็นภาษาจุงเจียจะให้ตรงเสียงพูดทีเดียวโดยไม่มีเครื่องหมายพิเศษนั้นย่อมไม่ได้


    ในหนังสือที่นายคลาร์กแต่ง ว่าด้วยชนชาติต่างๆ ในแถบนี้โดยเฉพาะชาติจุงเจียหรือชานนั้นเขากล่าวว่า บัดนี้เราควรจะแยกชนชาติไทยหรือชานที่มีจำนวนมากในมณฑลไกวเจาออกเป็นพวกหนึ่งต่างหาก เข้าใจว่าชนชาตินี้คงจะได้อพยพจากดินแดนทางลุ่มแม่น้ำสิเกียงมาอยู่ในมณฑลไกวเจาเมื่อประมาณพันปีล่วงมาแล้ว ภายในเขตระยะสิบไมล์จากเมืองไกวยาง (Kweiyang) ซึ่งเป็นเมืองสำคัญตั้งที่ว่าการมณฑลไกวเจา และมีบ้านชนชาติจุงเจียปะปนอยู่ไม่ต่ำกว่าสองร้อยครัวเรือน


    เมื่อประมาณสิบปีมาแล้ว นายเอ็ดการ์เบ็ตส์ ได้เดินทางมากจากเมืองตุชัน (Tushan)ในมณฑลไกวเจาไปยังเมืองซิงยิฟู (Singyifu) ซึ่งอยู่ในมณฑลไกวเจาตอนใต้ริมพรมแดนมณฑลกวางซี ระยะทางประมาณสองร้อยไมล์ตามทางนกบิน เสียเวลาเดินทางอยู่เจ็ดวัน ในระยะทางที่ผ่านนั้นได้พบหมู่บ้านจุงเจียโดยมากตลอดไป ตำบลที่เขาผ่านไปนั้นไม่มีถนนหนทางที่ดี และไม่มีโรงอาหารขาย แต่ชนที่อยู่ในตำบลเหล่านั้นมีอัธยาศัยดี เมื่อชาวต่างประเทศไปขอความช่วยเหลืออย่างใด ขณะเดินทางสิ้นลงในเวลาเย็น ก็มักได้รับความเอื้อเฟื้อเสมอ


    ภาษาที่ชนเหล่านี้พูดกัน เสียงไม่คล้ายภาษาจีนเลย แต่ใกล้ไปข้างภาษาชานและไทย แม้แต่ลักษณะรูปพรรณของชนเหล่านี้ก็ยังไม่ทำให้เชื่อแน่ยิ่งกว่าเปรียบเทียบเสียงภาษาและคำพูด แต่อย่างไรก็ดีผู้ชายโดยมากและผู้หญิงจุงเจียบางคนใช้ภาษาจีนพูดจากัน ผู้หญิงจุงเจียไม่ได้รัดเท้าเหมือนหญิงเมี้ยว แต่การแต่งกายนั้นใช้เสื้อคับและนุ่งผ่าถุง การแต่งกายชนิดนี้ยังใช้กันอยู่ทั่วไปตามนอกๆเมือง


    แต่ในเมืองไกวยางนั้น ผู้หญิงที่แต่งกายทันสมัย เช่นหญิงรุ่นสาวก็แต่งกายอย่างหญิงจีน และโดยเหตุที่ผู้หญิงไม่ได้รัดเท้าเหมือนหญิงจีน จึงได้แลเห็นหญิงจุงเจียไปทำงานในไร่นามากกว่าหญิงจีน แต่ผู้ชายชาติจุงเจียโดยมากเป็นชาวนา และแต่งกายอย่างเดียวกับชาวจีนและชาวตำบลนั้น ต่อเมื่อถึงคราวมีวานออกหน้าออกตา เขาจึงแต่งกายใช้เสื้อยาวอย่างจีน ชาวจุงเจียบางคนได้พยายามเล่าเรียน และได้ทำราชการจนถึงได้รับตำแหน่งสูงในมณฑลที่เขาอยู่ก็มี เช่นเจนกุงเปาอุปราชของมณฑลยูนนานและไกวเจาซึ่งเพิ่งถึงแก่กรรมเมื่อเร็วๆนี้ ก็เป็นชนชาติจุงเจีย ถ้าแม้นชนชาตินี้จะอยู่ในส่วนต่างๆ ของมณฑลฝ่ายใต้และเรียกชื่อต่างกันออกไปหลายอย่างก็ดี แต่หาได้เป็นคนต่างชาติกันไม่ ในจังหวัดอันชันฟู(Anshunfu) อยู่ใต้เมืองไกวยางในมณฑลไกวเจานั้น มีแยกออกเป็น 2 พวกคือ ปุละสี(Pu-la-tsi) พวกหนึ่งมักตั้งภูมิลำเนาตามที่ราบ อีกพวกหนึ่งเรียกว่าปุลุงสี(Pu-lung-tsi) ชื่อนี้มาจากชื่อห้วหน้าที่มีอำนาจแต่ครั้งโบราณคนหนึ่ง ซึ่งชื่อว่าลุง (Lung) สำเนียงภาษาของพวกทั้งสองนี้ต่างกันบ้าง แต่ไม่ต่างกันจนถึงกับพูดไม่เข้าใจกันอย่างชาติเมี้ยว และไม่มีหนังสือของตนเอง แต่ใช้หนังสือจีนอย่างเดียวกับชาติเมี้ยว ชายหนุ่มและหญิงสาวมีเพลงร้องเกี้ยวกันอย่างไทยในภาคพายัพ



    การนับถือศาสนาของชนชาตินี้ เข้าใจว่าคงเป็นลัทธิเต๋า (คือศาสนาที่ศาสดาจารย์เหลาจื๊อชาวจีนเป็นผู้ตั้งโดยยึดหลักความดีความชั่ว) ยิ่งกว่าจะเป็นศาสนาพุทธ แต่ว่าพิธีและขนบธรรมเนียมความประพฤติของเขานั้น แสดงให้เห็นว่าไม่ใช่ลัทธิเต๋าหรือศาสนาพุทธทั้งสองอย่าง ชนในจังหวัดอันชันฟูนั้นเชื่อถือว่าพระเจ้ามีอยู่สององค์ คือพระเจ้าแห่งความดี และพระเจ้าแห่งความชั่ว พระเจ้าแห่งความดีมีนามว่าตุยเซียน (Tui-hsien) สถิตอยู่ในสวรรค์บันดาลให้ฝนตกเกิดพายุ และแดดออกและบันดาลความดีต่างๆให้ อีกอย่างหนึ่ง คือพระเจ้าแห่งความชั่วซึ่งเขามีความเกรงกลัวมาก เพราะฉะนั้นเขาจึงทำการทุกสิ่งทุกอย่างตามที่เขาคิดว่าจะเป็นที่พอใจแก่พระเจ้า เช่นเซ่นไหว้หรือบวงสรวงที่ต้นไม้ใหญ่เรียกว่า ต้นไม้เจ้า มักจะเป็นต้นไม่สูงโตและมีอายุมาก หรือมิฉะนั้นก็บูชาด้วยวิธีที่เขาคาดว่าจะให้รู้ถึงพระเจ้าได้


    ข้าพเจ้าขอถือโอกาสนี้อ้างถึงหนังสือของนายคลาร์กอีกครั้งหนึ่ง ไม่เฉพาะจะเป็นเรื่องจับใจผู้อ่านและมีหลักฐานดีในเรื่องที่กล่าวถึงชนชาติไทยในถิ่นเหล่านี้ ซึ่งตัวเขาเองได้เข้าไปอยู่และทำการติดต่อด้วยเท่านั้น แต่เพราะชนเหล่านั้นมีลักษณะคล้ายคลึงและใกล้ชิดที่สุดกับชนชาติไทยพายัพ


    ข้าพเจ้าได้พบคำสำรวจของมิสเตอร์ ที เอส เอ เบิร์น (T.S.A. Bourne) กงสุลอังกฤษประจำประเทศจีนตอนใต้ พิมพ์ในรายงาน พ.ศ. 2441 กล่าวถึงชนชาติไทยในมณฑลไกวเจาว่า ที่กล่าวกันว่าชนชาติจีนที่อพยพไปตั้งถิ่นฐาน ณ กลางมณฑลไกวเจาแต่ศตวรรษที่ 12 แห่งคริสตศักราชนั้น ข้าพเจ้าเชื่อว่าชนชาติจีนก็ยังไม่สามารถเข้าไปอยู่แทนที่หรือผสมกับชาติเจ้าของถิ่นได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของสำมะโนครัวในถิ่นนั้น


    ส่วนทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลนั้นมีชาติโลโล(Lolo) ตั้งภูมิลำเนาอยู่มาก ชนชาติโลโลเป็นชาติใกล้ชิดหรือสืบเนื่องมาจากชาติธิเบต และบางทีจะสืบเนื่องมาจากชาติพม่าด้วย ส่วนทางทิศใต้นั้นมีพวกชานอพยพมาจากมณฑลกวางสีและยูนนานตอนใต้ มาตั้งถิ่นฐานมั่นคงลงอย่างใหญ่โตที่จังหวัดตุชันเจา(Tu-shan-chow) และตามตำบลที่ใกล้เคียง แต่ชาติโลโลที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในที่นี้เป็นชนที่มาจากเหนือ จากเลียงชัน(Liang shan) ซึ่งอยู่ทางลุ่มแม่น้ำยางสีตอนคุ้งใหญ่ซึ่งเป็นถิ่นเดิม และพวกชานมาจากทิศใต้และตะวันตก แต่ชาติเมี้ยวนั้นเป็นเจ้าของถิ่นอยู่แต่เดิม ในรายงานการเดินทางผ่านพรมแดนตังเก๋ย เมื่อ พ.ศ. 1885-6 ข้าพเจ้าได้แบ่งชนชาติต่างๆในประเทศจีนตอนใต้ ซึ่งชาวจีนเรียกต่างกันตั้งสองร้อยชื่อนั้นออกเป็น 3 ชาติคือ โลโล ชาน เมี้ยว การที่ข้าพเจ้าแบ่งเช่นนี้ออกจะกล้าไปสักหน่อย แม้เพียงเท่าที่ข้าพเจ้าได้สำรวจมาแล้วนี้ยังไม่พอที่จะลงความเห็นเชื่อเป็นจริงได้ทีเดียวก็ตาม แต่ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ได้ทราบว่า การไปสืบค้นโดยอาศัยหลักวิชาของหมอเดเบลเน ผู้เป็นมิสชันรี กับการสืบค้นของหมอ เอ เฮนรี่ เจ้าพนักงานโรงภาษีสิ้นค้าต่างประเทศที่เมืองม่งสู (Mong-tzu) นั้น ก็ได้ผลสนับสนุนความเห็นของข้าพเจ้า


    พลเมืองของมณฑลเสฉวนตะวันตก ยูนนาน ไกวเจา ฮูนานตอนตะวันตก กวางซีและกวางตุ้งที่ไม่ใช่จีน เพียงเท่านที่ข้าพเจ้าได้รู้จักและคุ้นเคยมาเป็นเวลานานนั้น เป็นคนรักสงบ และเป็นชาวนาอย่างดีเลิส ที่จริงเขาไม่ใช่คนป่าเถื่อนเลย แต่มีคุณสมบัติเป็นมนุษย์ทรหดอดทนยิ่งกว่าพวกจีนที่เห็นการไล่ยิงสัตว์ และกีฬาฟุตบอล เป็นลักษณะของคนป่าเถื่อนเสียอีก แต่อย่างไรก็ดีชนพวกนี้มินสัยไม่ใคร่กระตือรือร้นในการงานหรือถือว่าการงานเป็นของสำคัญและจำเป็นอย่างเรา เพราะเขาพอใจแต่ในความเป็นอยู่อย่างบ้านนอก และเครื่องนุ่งห่มก็ทอใช้เอง เมื่อพูดทั่วไปแล้วเขายังไม่เคยลิ้มรสความฟุ่มเฟือยอย่างอารยชน


    มิสเตอร์เบิร์น กงสุลอังกฤษยังได้เขียนรายงานของเขาถึงเรื่องที่เขาได้เคยเห็นการรื่นเริงของชนพวกนี้ ซึ่งน่าจะเอามาเป็นหลักยืนยันได้อีกอย่างหนึ่ง เช่นเขาได้เคยเห็นเครื่องดนตรีของชนพวกนี้ว่าทำด้วยไม้ไผ่ รูปเหมือนลำกล้องและเป่าด้วยปากอย่างเดียวกับเครื่องดนตรีที่ชนชาติไทยในแคว้นลาวของฝรั่งเศสใช้กันอยู่ ใจความมีดังนี้ว่า ที่เมืองปิงไม (Ping mei) ซึ่งอยู่ห่างจากมณฑลไกวเจาและชายแดนมณฑลกวางซี ราว 2-3 ไมล์ ขณะที่พวกเราเดินทางด้วยเรือไปตามแม่น้ำ พอตกเวลาเย็นก็จอดเรือนอน ขณะนั้นได้ยินเสียงและเห็นหมู่คนเดินมาเหมือนขบวนแห่ตามทางอีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำ มีผู้หญิงประมาณ 30 คน แต่งตัวสวมเสื้อสั้นๆ เดินเป็นแถวเรียงหนึ่งมาข้างหน้า ถัดไปก็ถึงพวกผู้ชายเป็นอันมากเดินเป็นแถวตามหลังพวกผู้หญิง ทั้งสองพวกนี้ทีเครื่องดนตรีด้วย รูปเหมือนกระบอกไม้ไผ่เวลาเป่าปลายยื่นพ้นศีรษะไปสักสองสามฟุต และใช้เป่าด้วยปาก เสียงที่เป่านั้นไพเราะน่าฟัง แล้วขบวนแห่นั้นก็ข้ามแม่น้ำไป ข้าพเจ้าทราบภายหลังว่าพวกที่เดนเป็นขบวนแห่พร้อมด้วยดนตรีนั้นเป็นชาวจุงเจีย (ชาน) ซึ่งอยู่ตามตำบลที่ใกล้ๆ นี้เอง เขาได้เดินทางไปในระหว่างภูเขาตั้งแต่เช้าเพื่อเข้าไปดูการเล่นชนควายกันเพิ่งกับมา พวกนี้ชอบเลี้ยงควายไว้สำหรับชนกัน เป็นการรื่นเริงของเขาส่วนหนึ่ง ถ้ามีงานนัดชนควายกันที่ไหน ก็พากันไปดูนับตั้งพันๆ คน

    ฤดูที่เล่นชนควายมักเป็นฤดูแล้งหรือในโอกาสรื่นเริงอื่นๆ พวกจีนได้เล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า พวกจุงเจียต้องเอาเป็นธุระด้วยความลำบากในการเล่นชนควายกันนี้ เพราะถือว่า ถ้าปีใดไม่มีการชนควายแล้ว การเพาะปลูกของเขาในปีนั้นจะไม่ได้ผลดี ความเชื่อถือนี้คล้ายกับชนชาวป่าบางพวก ที่ถือเอาการกีฬาเป็นธรรมเนียมเสี่ยงทายโชค



    ใน พ.ศ. 2458 ข้าพเจ้าได้รับจดหมายจากมิสชันรี่ที่อยู่ในมณฑลไกวเจาฉบับหนึ่ง เรื่องขอความช่วยเหลือให้สืบค้นหาวิธีเขียนหนังสือและออกเสียงภาษาของชนชาติต่างๆ ในถิ่นซึ่งเขากำลังพยายามอยู่ เพื่อสั่งสอนพวกนี้ให้สังเกตและอ่านเครื่องหมายเข้าใจภาษากันได้ ข้าพเจ้ารับจะช่วยแล้วส่งแบบหนังสือไทยเหนือไปให้ แต่วิธีการที่ทำอยู่นั้นทำสำหรับชาติเมี้ยว เพราะฉะนั้นที่ส่งไปให้นี้คงไม่มีประโยชน์แก่เขามากนัก แต่อย่างไรก็ดี การที่จะหาเครื่องหมายสำหรับให้ชนเหล่านี้ใช้นั้น เห็นว่าทางที่ดีควรใช้อักขรวิธีของโปลลาร์ด (Pollrad Scripts) แต่ในเวลานั้นแม้ข้าพเจ้าเองก็หาได้รู้จักไม่

    การที่ข้าพเจ้าได้นำเรื่องนี้มากล่าว ก็เพื่อแสดงข้อสำคัญแห่งความต่างกันระหว่างชาติชาวเขาคือมอญ-เขมร รวมทั้งเชื้อสายกับชนชาติไทยพวกต่างๆ และจะแสดงให้เห็นว่าถิ่นที่ตั้งภูมิลำเนาของชนชาติไทยนั้นได้เหยียดแผ่ออกไปไกลกันเพียงไร แม้แต่พวกมิสชันรีที่เข้าไปตั้งสอนศาสนาอยู่ในระหว่างชนชาติเหล่านี้ ทั้งในพรมแดนฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ก็ยังมีความรู้เรื่องชนชาติไทยเหล่านี้น้อยนัก



    การไปเที่ยวสืบค้นก็ดี การทีจดหมายไปมาถึงกันก็ดี การทำการต่างๆ ติดต่อถึงกันก็ดี เช่นไปตั้งสอนศาสนาเป็นต้น สามารถทำให้ชนชาติไทยท้องที่ต่างๆ ได้รู้จักกันและทำความใกล้ชิดกันมากเข้า ประโยชน์ของการทำเช่นนี้มีเพียงไรนั้น ข้าพเจ้าขอรับรองอย่างจริงใจว่า เป็นความปรารถนายิ่ง และเป็นประโยชน์อย่างใหญ่หลวงทีเดียว ที่จะทำให้ชนชาติไทยซึ่งอยู่ต่างดินแดนไกลกัน มีความสัมพันธ์ติดต่อรู้จักกันนั้น อะไรไม่สำคัญเท่าการคมนาคมและการติดต่อไปมาหาสู่ถึงกัน นับแต่สมัยที่มีผู้เริ่มประดิษฐ์รถไฟขึ้นแล้ว ได้นำความเจริญมาสู่โลกเป็นอันมาก


    ข้าพเจ้ายังมีความหวังอยู่ว่า หนังสือสัญญาสร้างทางรถไฟเข้าไปสู่มณฑลไกวเจาและมณฑลใกล้เคียง ซึ่งรัฐบาลจีนอนุญาติให้ฝรั่งเศสเป็นผู้ทำนั้น คงจะเป็นผลให้ชาติไทยในดินแดนที่กล่าวนี้ได้ประสบอารยธรรมโดยเร็ว ดังมีข่าวปรากฎในหนังสือพิมพ์ลอนดอนไทม์ส เมื่อ ค.ศ. 1913 ว่า


    "รัฐบาลจีนได้เตรียมการจะทำสัญญากับลอร์ดเฟรนช์ (Lord French) ผู้แทนบริษัทปอแลงส์ (Messrs. Paulings) ซึ่งเป็นบริษัทฝรั่ง อนุญาติให้บริษัทนี้สร้างทางรถไฟ จากจังหวัดชาสี (shasi) ในมณฑลฮูเป (Hupeh) ถึงจังหวัดซิงยิฟู ในมณฑลไกวเจา ไปต่อกับทางรถไฟสายยูนนานกับฮานอยของฝรั่งเศส ซึ่งได้ชื่อว่ารถไฟสายยูนนานฟู-ซิงยิฟู-นานนิง โดยฝรั่งเศสเป็นผู้จัดการตลอด" ต่อมาอีกสัปดาห์หนึ่งก็มีข่าวปรากฎอีกว่า "สัญญาระหว่างบริษัทปอแลงส์ กับรัฐบาลจีนสำหรับสร้างทางรถไฟตามที่กำหนดนั้นได้เซ็นกันเสร็จแล้วเมื่อเย็นวานนี้"


    ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามหาสงครามคราวนี้จะไม่เป็นเหตุให้การสร้างทางรถไฟต้องหยุดชะงักไปชั่วคราว และทั้งการที่จะดำเนินตามสัญญาก็ติดขัดไปด้วย แต่อย่างไรก็ดี ฝรั่งเศสได้วางแปลนและระเบียบการไว้แล้ว และฝรั่งเศสก็ได้ทำทางรถไฟเข้าไปในเขตแดนจีนถึงจังหวัดยูนนานฟู ในมณฑลยูนนานแล้ว ซึ่งเป็นขั้นที่จะทำต่อจากกิจการที่ได้เริ่มไว้ให้เสร็จตลอดไปได้แน่


    ข้าพเจ้าประสงค์จะชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่จะเปลี่ยนฐานะของมนุษย์ให้เจริญก้าวหน้าเช่นรถไฟนี้ จะเป็นข้อพิสูจน์อันพอเพียงว่า มีชนชาติไทยจำนวนมากอยู่ในประเทศจีนคือมณฑลไกวเจาประมาณมากกว่า 2 ล้านคน ในมณฑลกวางซีไม่น้อยกว่า 2 ล้านเศษ ในตอนตะวันออกของมณฑลยูนนานกว่าล้านคน หวังว่าชนชาติไทยที่อยู่ในถิ่นดั้งเดิม และอยู่กระจัดกระจายห่างๆ กัน ซึ่งจำนวนหลายล้านนั้นคงจะใช้ทางรถไฟสายยูนนานฟู-ซิงยิฟู-นานนิง ไปมาถึงกันและรู้จักกันดีขึ้นเป็นแน่ แต่มีปัญหาว่า การคมนาคมชนิดนี้จะทำให้ชนชาติไทยในประเทศจีนได้รับผลดีหรือร้าย


    แท้จริงแม้ว่ารถไฟอันเป็นสื่อคมนาคมอย่างดี สามารถนำอารยธรรมมาสู่ชนชาติไทยได้เร็วก็จริง แต่ว่าเฉพาะอารยธรรมอย่างเดียวเท่านั้นยังไม่พอที่จะทำให้มนุษย์พ้นจากความเป็นป่าเถื่อนและตั้งตนอยู่โดยสงบในระหว่างชาติทั้งหลายที่เจริญแล้วในโลกได้ มนุษย์เหล่านั้นจะต้องได้รับการศึกษาที่ถูกแท้ประกอบด้วยอย่างเต็มที่และโดยไม่ล้าหลังสมัย เพราะการศึกษามีอำนาจที่ทำให้คนตั้งตนอยู่ในตำแหน่งอันสมควรแก่ความเป็นมนุษย์ ทั้งในส่วนชาติและส่วนบุคคลโดยแท้.




    หน้า 1

    บทที่ 1 ชนชาติไทย - ในมณฑลเสฉวนและมณฑลไกวเจา


    หน้า 2

    บทที่ 1 ชนชาติไทย - ในมณฑลเสฉวนและมณฑลไกวเจา



    หน้า 3

    บทที่ 1 ชนชาติไทย - ในมณฑลเสฉวนและมณฑลไกวเจา


    หน้า 4

    บทที่ 1 ชนชาติไทย - ในมณฑลเสฉวนและมณฑลไกวเจา


    หน้า 5

    บทที่ 1 ชนชาติไทย - ในมณฑลเสฉวนและมณฑลไกวเจา


    หน้า 6

    บทที่ 1 ชนชาติไทย - ในมณฑลเสฉวนและมณฑลไกวเจา


    หน้า 7


    บทที่ 1 ชนชาติไทย - ในมณฑลเสฉวนและมณฑลไกวเจา


    หน้า 8

    บทที่ 1 ชนชาติไทย - ในมณฑลเสฉวนและมณฑลไกวเจา



    หน้า 9

    บทที่ 1 ชนชาติไทย - ในมณฑลเสฉวนและมณฑลไกวเจา



    หน้า 10

    บทที่ 1 ชนชาติไทย - ในมณฑลเสฉวนและมณฑลไกวเจา



    หน้า 11


    บทที่ 1 ชนชาติไทย - ในมณฑลเสฉวนและมณฑลไกวเจา








    ขอบคุณ

    หนังสือชนชาติไทย
    เรียบเรียงโดย หลวงนิติเพทย์นิติสรรค์
    (หนังสือพิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพ
    นางราชาภิรมย์ (เสริม บูรณะนนท์)
    วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2511)




    +++++++++++++++++++++++++++++









    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 23-03-2012 at 07:36.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •