กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: มดตัดใบไม้

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    มดตัดใบไม้


    ++++++++++++++++++++

    มดตัดใบไม้ (Leaf-cutter Ant)

    ++++++++++++++++++++



    มดตัดใบไม้ (Leaf-cutter Ant)


    เรื่องราวที่น่าตื่นตาตื่นใจของมด Leafcutter
    มดตัวเล็กๆ เรี่ยวแรงแข็งขยันยิ่งนัก
    เรื่องราวของมดที่ "ปลูกอาหาร" ไว้กินเอง





    มดตัดใบไม้


    มดตัดใบไม้



    มดน้อยน้อย เจ้าช่างขยัน
    ด้วยใจมุ่งมั่น เจ้าช่างหรรษา
    ทำงานหน้าที่ ตลอดเวลา
    ขยันหนักหนา เจ้าตัวน้อย




    ถ้าหากลองเปรียบเทียบกับครอบครัวของพวกเราแล้ว พบว่าครอบครัวเรา ซึ่งอาจจะมีสมาชิกอยู่ 5 - 6 คน ก็ถือว่ามีสมาชิกมากแล้ว แต่ในครอบครัวของมดนั้น มีเป็นจำนวนมาก บางครั้งพวกมันหลายล้านตัวอาศัย อยู่ด้วยกันอย่างเป็นปกติสุข


    ความมหัศจรรย์ของมดไม่ได้จบเพียงแค่นี้ เพราะในความจริงที่พวกมดอยู่กันตามปกติ ไม่มีปัญหาต่อกัน ไม่ยุ่งเหยิง ไม่วุ่นวาย หรือทำการฝ่าฝืนคำสั่ง พวกมันอาศัยอยู่ด้วยกันอย่างมีระเบียบแบบแผนอย่างมาก ทุกตัวจะให้การยอมรับกฎเกณฑ์ของสังคมมดเป็นอย่างดี


    แต่มีมดชนิดหนึ่งสามารถสร้างอาหารกินเองได้ สามารถรู้การใช้งานเกี่ยวกับเทคโนโลยีภาคการเกษตร ได้ มานับ 50 ล้านปีทีเดียว





    มดตัดใบไม้




    เขาละ ชื่อของเขา มดตัดใบไม้


    มดตัดใบไม้ (leaf-cutter ants) นับเป็นความมหัศจรรย์มากมาย ที่มดพวกนี้ได้สร้างแหล่งอาหารเลี้ยงตัวเอง ด้วยการดำรงชีวิตด้วยการตัดใบไม้ไปเลี้ยงรา ในรังของมัน แล้วก็นำเชื้อราที่ได้ไปเป็นอาหารของตัวอ่อน และตัวของมดเอง จึงถือว่าเป็นสัตว์ชนิดแรกของโลกที่รู้จักเทคนิคการทำฟาร์ม


    งานที่ถือว่าเป็นหน้าที่หลักของมดงาน ก็คือแต่ละวัน ๆ จะต้องออกไปเที่ยวตัดใบไม้แล้วขนมาที่รัง ....


    มดเหล่านี้ไม่ได้ใบไม้เหล่านี้โดยตรง แต่มันเอาเศษใบไม้สดเหล่านี้ไปเก็บไว้ในรังของพวกมัน โดยที่เศษใบไม้จะถูกเคี้ยวเป็นชิ้นละเอียด แล้วผสมกับมูลมดเพื่อเป็นเชื้อสำหรับเพาะรา foraged ซึ่งเป็นเชื้อราชนิดพิเศษที่ไม่พบที่อื่นใดนอกจากในรังมดชนิดนี้เท่านั้น ราพิเศษนี้แหละที่เป็นอาหารของมดอีกที



    มดตัดใบไม้



    นอกจากนี้เชื้อรา foraged


    สามารถหลั่งยาปฏิชีวนะที่ชื่อว่า Actinobacteria (สกุล Pseudonocardia ) ซึ่งเป็นชีวิตของจุลินทรีย์ mutualistic ในต่อม metapleural ของมดโดย Actinobacteria ที่มดชนิดนี้สร้างขึ้นมาในโลก ใช้ยาปฏิชีวนะ ในโลกปัจจุบันนี้



    มดตัดใบไม้



    มดตัดใบไม้ จะมีกราม (mandibles) และถ้ากรามของมดพวกนี้ลดความคมลง ก็เปลี่ยนหน้าที่เป็นขนใบไม้


    มดงาน จะทำหน้าที่ตัดใบไม้จะกัดใบไม้ด้วยกราม (mandibles) ของมัน คล้ายๆ กับเราตัดผ้าด้วยกรรไกร ซึ่งแน่นอนว่าในที่สุดความคมมันก็จะลดลงไปเรื่อยๆ ถ้าเป็นเราก็คือเปลี่ยนกรรไกรใหม่ แต่มดมันถอดกรามไม่ได้ อีกอย่างไม่มีอะไหล่เปลี่ยนด้วย ทีมวิจัยที่นำโดย Robert Schofield แห่ง University of Oregon ได้ค้นพบว่า เมื่อฟันของมดงานพวกนี้ทื่อเกินกว่าจะตัดใบได้อย่างมีประสิทธิภาพ มดงานจะสลับไปทำหน้าที่อื่นๆ เช่น ขนใบไม้กลับรัง ปล่อยให้มดงานตัวอื่นที่กรามยังใหม่อยู่เข้ามารับหน้าที่แทน



    มดตัดใบไม้


    มดตัดใบไม้




    เรื่องของมดชนิดนี้ ทำให้สามารถศึกษาต่อไปอีกว่า เราจะหาทางป้องกันการเสื่อมสภาพของวัสดุที่มีขนาดเล็กๆ ได้อย่างไร ขนาดว่าวิวัฒนาการนับล้านๆ ปีได้ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับกรามของมดแบบสุดๆ แล้ว (กรามของมดมีส่วนประกอบของสังกะสีอยู่ด้วย) มดยังหลีกเลี่ยงปัญหานี้ไม่พ้น ทางข้างหน้าของวิทยาการเทคโนโลยีวัสดุคงไม่มีคำว่าง่าย….



    มดตัดใบไม้



    เอ็ดเวิร์ด วิลสัน เป็นคนค้นพบว่ามดนักตัดใบไมั


    เอ็ดเวิร์ด วิลสัน เป็นคนค้นพบว่ามดนักตัดใบไม้ รังที่เขาเก็บมาเลี้ยงไว้ในห้องแลบทำงานเหมือนกับเป็นโรงงาน มดแต่ละตัวแบ่งหน้าที่กันทำอย่างลงตัว ไม่มีการก้าวก่ายกัน


    1. มดงานที่ออกไปหาใบไม้กลับมาที่รัง มันวางของที่ได้มาลงบนพื้น

    2. มดงานตัวเล็กกว่าเก็บชิ้นใบไม้นั้นไปตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ

    3. มดอีกพวกรับใบไม้ชิ้นเล็กพวกนั้นมานวดบดจนเป็นก้อนใบไม้ขนาดจิ๋ว เสร็จแล้วยกไปกองรวมกันให้ราขึ้นฟู ดูเป็นฟองน้ำ

    4. มดขนาดเล็กลงไปอีกจะดูว่า "ก้อนรา" บริเวณไหนอัดแน่นกันเกินไป มันจะคอยจัดวางยักย้ายให้อยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสม

    5. มดอีกกลุ่มจะนำราที่ได้ที่แล้ว มาบรรจุหีบห่อให้เป็นก้อน ทำความสะอาด แล้วส่งป้อนเพื่อนร่วมรัง




    มดตัดใบไม้



    มดงานเหล่านี้ จะมีราชินีมด ซึ่งจะเป็นผู้ควบคุมดูแล ไม่ให้จำนวนประชากรมากเกินไปตามปริมาณอาหารที่มีอยู่ โดยไม่ออกไข่มาเป็นมดทหารมากเกินไป ไม่เช่นนั้นพวกมันจะกินอาหารจนมดงานหาอาหารให้ไม่ทัน จนระบบรวน และจะเลยเถิดไปถึงขนาดเป็นหายนะของรังทั้งหมดก็ได้


    ราชินีมดจึงไม่มีสิทธิ์คำนวณพลาด หรือถ้ามีโอกาสพลาดก็น้อยมาก เพราะทุกอย่างในรังถูกขับเคลื่อนด้วยระบบที่มีเสถียรภาพสุดยอด มดแต่ละตัวไม่มีทางเบี้ยวหรือนัดหยุดงานได้เลย หากมีมดสักตัวเกิดเบี้ยวงานขึ้นมา สายพานโรงงานของพวกมันจะติดขัด ทำให้เกิดสถานการณ์ "กดดัน" ขึ้นภายในรังได้



    มดตัดใบไม้



    ระบบอันสมบูรณ์ที่ว่านี้จึงดูเหมือนระบบการทำงานของร่างกายเดียวกัน มากกว่าจะเป็น "สังคม" ตามความคิดแบบมนุษย์ เพราะในสังคมของมนุษย์ที่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนนั้น คนแต่ละคนยังคงเอกลักษณ์และความสนใจส่วนตัวที่แตกต่างกันไป


    แต่...มดไม่เคยแสดงความสนใจส่วนตัวออกมาให้ใครเห็นเลย ทุกตัวทำงานตามหน้าที่ไปในทิศทางเดียวกันเป็น


    "ขบวนแถวของชีวิตซึ่งกำลังดำเนินอย่างสง่าผ่าเผยและภาคภูมิ"


    เหมือนมันรู้ว่า


    "ในการประกอบการงานนั้น คือการที่มดรู้จักกับการรักชีวิตอย่างแท้จริง"







    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=RH3KYBMpxOU






    ขอบคุณ


    แบร์นาร์ แวร์แบร์ (๒๕๓๙), กองทัพมด, กัญญา แปล, สำนักพิมพ์ตรัสวิน เชียงใหม่.

    รศ. เดชา วิวัฒน์วิทยา ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    Bert Holldobler and Edward O. Wilson (1990), The Ants, Springer-Verlag Berlin Heidelberg London Paris Tokyo and Hongkong.

    สา่รคดี ครอสตาริกา โดย นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์








    ++++++++++++++++









    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63
    นอกจากสัตว์มนุษย์แล้วยังมสัตว์อีกหลายชนิดทั่พื้นโลกต่างก็อยู่ในระบบหรือสังคมของแต่ละประเภทแต่ละชนิดเช่นมดนี่ก็เช่นเดียวกัน

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •