ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=EIkhb6SaZmc



ในอดีตประเทศจีนมีการจัดตั้งคณะสิงโตขึ้น โดยคณะใหญ่ ๆ จะมีผู้เข้าร่วมอยู่ในคณะระหว่าง 70 - 80 คน โดยต้องใช้เวลาในการ ฝึกฝนการเชิดสิงโตไม่น้อยกว่า 3 ปี 6 เดือน จึงจะออกแสดงได้ ทั้งในคณะสิงโตก็ไม่ได้ ฝึกฝนการเชิดสิงโตแต่เพียงอย่างเดียว ยังมีการหัดมวยจีน กระบอง มีดสั้น ทวน ง้าว และอื่น ๆ เวลาออกแสดง ในแต่ละครั้งต้องใช้ลานที่มีความกว้างขวางมาก ๆ เพราะต้องทำการแสดงจับคู่ต่อสู้กัน ซึ่งการแต่งตัวนั้น ก็ยังมี ความแตกต่างกัน ที่สำคัญคณะสิงโตของจีนมีการพันแข้ง ที่เรียกว่า คาเกี๊ยว มัดตั้งแต่ข้อเท้า แล้วยังมีผ้าคาดเอว อีกด้วย ดังนั้นคณะสิงโตของชาวจีนในอดีตก็คือ คณะมวยหรือสำนักมวย ที่เรียกว่า “กุ่งอ๊วง” ซึ่งหัวสิงโตที่นำมาใช้ในการเชิดนั้น มีหัวเป็นสีเขียว คิ้วสีขาว ภาษาจีนเรียกว่า “แชไซแปะไบ๊” สิงโตแบบนี้เมื่อถูกนำไปเล่นในที่ ต่างถิ่นมักถูกเจ้าของถิ่นลองดี โดยการส่งนักมวยจีนหรือนักกระบี่กระบองมาขอซ้อมมือ ซึ่งถ้าเกิดต้องพ่ายแพ้แก่ เจ้าของถิ่น ผู้มาเยือนก็ต้องได้รับความอับอายเขา จนต้องรีบเดินทางกลับสำนักมวยของตน แต่ถ้าหากรักจะเล่นก็ ต้องส่งตัวแทนไปคำนับหัวหน้าคณะมวยเจ้าของถิ่นเสียก่อน จึงจะทำให้สามารถแสดงการ
1. ชาวจีนที่อยู่ในเมืองทางเหนือของแม่น้ำฉางเจีย(แม่น้ำแยงซีเกียง)จะแสดงเลียนแบบอากัปกิริยาของ สุนัข

2. ชาวจีนที่อาศัยอยู่ทางใต้ของแม่น้ำฉางเจีย ได้นำเอากิริยาของแมวมาเป็นต้นแบบ

การเชิดสิงโตในยุคแรกใช้ลีลาการร่ายรำเป็นหลัก หรือที่เรียกว่า ระบำสิงโต แต่หลังจากสมัยของราชวงศ์ชิง จึงค่อย ๆ ถูกหลอมรวมเข้ากับหลักวิทยายุทธ์ การเชิดสิงโตให้ดูสง่างดงาม มีชีวิตชีวา ต้องมีพื้นฐานในการเคลื่อนไหวที่แม่นยำ และมั่นคง คนเชิดสิงโตต้องรู้จังหวะการยกเท้า คือ เมื่อยกเท้าข้างหนึ่งขึ้นก็จะเหลือหลักไว้ยืนเพียงเท้าข้างเดียว ในขณะที่อากัปกิริยาของสิงโตหรือราชสีห์ ไม่ว่าจะเป็นการกระโดด กลิ้งเกลือกหรืออื่น ๆ ก็ตาม หากผู้เชิดสิงโต ขาดความแข็งแกร่งของร่างกายส่วนล่าง ก็ย่อมไม่สามารถที่จะเชิดสิงโตให้ดูน่าเกรงขาม ว่องไว ปราดเปรียว ซึ่งท่วงท่าของการย่างเท้าที่ใช้ในการเชิดสิงโต ก็คือหลักของการใช้เท้าในการฝึกการต่อสู้ของจีน หรือ มวยจีนนั่นเอง


ยังมีตำนานความเป็นมา การเชิดสิงโตอีกเรื่องหนึ่งได้กล่าวว่า หลายร้อยปีมาแล้วได้มีสัตว์ยักษ์ตัวหนึ่งตัวยาว 8 ฟุต มีหัวที่น่าเกลียดมาก ได้มากินข้าวในนา ที่มณฑลกวางตุ้งในวันตรุษจีน ชาวบ้านจึง ร่วมมือกันคิดหาวิธีขับไล่สัตว์ร้ายนั้นไป โดยไม่คิดทำอันตรายแก่สัตว์ร้ายแต่อย่างใด โดยนำเอาไม้ไผ่ทำเป็นโครง เอากระดาษสีปะสร้างเป็นรูปสิงโตขึ้นมา แล้วให้ชาวบ้าน หลบเข้าไปซ่อนอยู่ด้านในของสิงโตจำลอง จวบจนถึงเวลากลางคืน สิงโตที่ชาวบ้าน สร้างจำลองขึ้นมาได้ออกไปเผชิญหน้ากับสัตว์ยักษ์ สัตว์ยักษ์เมื่อได้เห็นสิงโตจำลองที่ กระโดดโลดเต้น และมีเสียงดัง อันเกิดจากการที่ชาวบ้านได้เอาเครื่องมือที่ใช้ในการ ทำครัวมาตีกระทบกัน ทำให้สัตว์ยักษ์เกิดความหวาดกลัวหลบหนีไป ชาวนาจึงไม่ถูก สัตว์ยักษ์มากินข้าวในนาของตนต่อไป และเพื่อระลึกถึงบุญคุณของสิงโตจำลอง พวก ชาวนาจึงจัดให้มีการเชิดสิงโตเป็นประจำทุกปีในช่วงตรุษจีน ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า การเชิดสิงโตอาจจะมีจุดกำเนิดมาจากเทศกาลตรุษจีน


ประวัติการเชิดสิงโต


สิงโตเป็นสัตว์ในนวนิยายหรือจินตนาการของประเทศจีน โดยชาวจีนได้มี จินตนาการว่า สิงโตมีกำเนิดมาจากสัตว์ 3 ประเภท ได้แก่

1. แรด (เพราะมีนอที่หน้าผากตรงตามนิทานพื้นบ้านของจีน)

2. ม้า(เพราะมีลำตัวเป็นม้าที่มีเขาเดียวอยู่บนหัว)ถือว่าเป็นสัตว์มงคล ซึ่งจะ ปรากฎตัวเมื่อมีซินแสเกิดหรือมีนักปราชญ์ผู้ทรงธรรมขึ้นครองบัลลังก์

3. สุนัข (ท่าทางการเต้นของสิงโตนั้น เลียนแบบมาจากท่าทางสุนัขล่าเนื้อ ของทิเบต หรืออาจจะเป็นสุนัขพันธ์ปักกิ่งและสุนัขพันธ์จู)


ชาวจีนให้การนับถือสิงโตมาก เพราะเชื่อว่า สิงโตมีความศักดิ์สิทธิ์ ทั้งมี อิทธิฤทธิ์ที่จะบันดาลโชคลาภมาให้ คอยช่วยปกป้องและปัดเป่าโพยภัยต่าง ๆ ไม่ให้มารังควานผู้คนได้ ด้วยเหตุนี้จึงถือได้ว่า ประเทศจีนนั้นเป็นต้นกำเนิดตำนานในการ เชิดสิงโต ซึ่งตามตำนานของจีนกล่าวว่า สิงโตและการเชิดสิงโตเกิดขึ้นในรัชสมัย ของพระเจ้าเคี่ยนหลงกุน หรือเคี่ยนล่งกุ๋น หรือเคียนลุง หรือ เขียนหลง(หลี่ซื่อหมิน) แห่งราชวงศ์ชิง หรือเช็ง ซึ่งเสวยราชย์อยู่ระหว่างพ.ศ. 2297 – 2338(ตรงกับสมัยอยุธยา ตั้งแต่ปีที่ 5 แห่งรัชกาลของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จนถึงปีที่ 4 ในรัชกาลที่ 1 แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ของประเทศไทย)ในวันหนึ่งขณะพระเจ้าเคี่ยนหลงกุ๋นหรือจักรพรรดิ เฉียนหลงเสด็จออกท้องพระโรงมีข้าราชบริพารมาเข้าเฝ้าก็ได้เกิดเหตุการณ์ ท้องฟ้ามืด สลัวลง พร้อมกับปรากฏสัตว์ประหลาดรูปร่างคล้ายกับสุนัขตัวใหญ่ มีขนปุกปุย ลอย ลงมาจากก้อนเมฆทางทิศตะวันออก ทั้งมีเสียงดนตรีประโคมกึกก้อง สัตว์ประหลาด ได้ลอยลงมาหยุดตรงหน้าที่ประทับ แล้วหมอบลงก้มศีรษะทำความเคารพต่อพระองค์ 3 ครั้ง ก่อนลอยหายไปทางทิศเหนือ หลังจากเกิดเหตุกาณ์ได้มีขุนนางผู้เฒ่าคนหนึ่งได้กราบทูลว่าสัตว์ที่มาถวายบังคมต่อพระองค์นั้นเป็นสัตว์ประเสริฐ ที่ประกอบด้วย มงคลอย่างสูง มีนามว่า สิงโต (หม่งไซ หรือ ไซ) สัตว์ชนิดนี้ยากที่มนุษย์สามัญจะได้ พบเห็นแต่การที่สัตว์นั้นมาถวายมงคลพระองค์เพราะพระองค์เป็นผู้ทรงบุญญานุภาพ สิงโตจึงมาถวายบังคม เพื่อมาแสดงความจงรักภักดี และอวยพรแด่พระองค์ พระเจ้า เคี่ยนล่งกุ๋นได้ฟังก็เกิดปิติโสมนัส พร้อมตรัสสรรเสริญสิงโต ต่อมาเมื่อราษฎรได้ทราบ เหตุการณ์ดังกล่าว ก็ได้พากันจัดหารูปสิงโตมาตั้งเคารพบูชาไว้ที่บ้านของตน ต่อมา มีชาวจีนสกุลโง้ว(แซ่โง้ว) ได้คิดทำหัวสิงโตขึ้นมาใช้แทนสิ่งที่เคยลอยลงมาจากฟ้า หา เครื่องดนตรีประกอบให้มีที่เสียงเร้าใจ ชวนให้สนุกสนาน โดยใช้คนจับหัวเชิด แสดงคาราวะต่อผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ ถือว่าเป็นมิ่งมงคลแก่ผู้รับการคาราวะ เปรียบเสมือน เป็นพระเจ้ากรุงจีน สิงโตจึงเกิดขึ้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


ประวัติการเชิดสิงโต


ประเภทของสิงโต

สิงโตของชาวจีนสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สิงโตเหนือ สิงโตใต้ ดังนี้
1. สิงโตเหนือ เป็นการนำเอาสุนัขพันธุ์ปักกิ่ง มาใช้เป็นต้นแบบในการสร้างหุ่นสิงโตให้มีขนยาว ขาเล็ก ร่างเล็กซึ่งผู้เชิดสิงโตต้องสวมชุดสิงโตที่มีขนยาวปกคลุม การเชิดสิงโตเหนืออาจเชิดคนเดียว หรือสองคนก็ได้ สิงโตเหนือ เรียกว่า สิงโตปักกิ่ง
2. สิงโตใต้ นิยมนำมาเชิดกันอย่างแพร่หลาย ในมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) กว่างซี และฝูเจี้ยน(ฮกเกี้ยน) แต่ต่อมาภายหลังชาวจีนที่เคยอาศัยอยู่ทางใต้ของประเทศจีน รวมทั้งชาวจีนที่เคยฝึกหัดการเชิดสิงโต โดยเฉพาะ ผู้ที่เคยอยู่อาศัยภายในมณฑลกว่างตงหรือกวางตุ้งได้อพยพไปอยู่ยังภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก สิงโตกวางตุ้งจึงได้รับ การรู้จักกันอย่างแพร่หลาย แม้แต่ในประเทศไทยเองก็ได้รับรูปแบบการเชิดแบบกวางตุ้ง มาใช้เชิดอยู่ในปัจจุบัน
นอกจากนี้การเชิดสิงโตยังสามารถแบ่งออกตามรูปร่างลักษณะของหัวสิงโตที่กลุ่มชาวจีนแต่ละกลุ่มเป็น ผู้ประดิษฐ์ขึ้น ได้แก่

1. สิงโตของชาวจีนแคระ หัวสิงโตมีลักษณะคล้ายกับบุ้งกี๋ ใบหน้าจะทาสีให้เป็นลายเขียว เหลือง แดง มีฟันซี่โต
2. สิงโตกวางตุ้ง หัวสิงโตแบบนี้อาจจะประดับประดากระจกที่หน้า มีการเขียนสีสันลวดลายลงบนหัว มีนอ ที่หน้าผาก และมีเคราที่คาง

3. สิงโตไหหลำ กลุ่มชาวจีนไหหลำได้มีการสร้างรูปหัวเสือขึ้นมาใช้แทนรูปหัวสิงโต ทำให้รูปหัวสิงโตของกลุ่มชาวจีนไหหลำมีลักษณะแตกต่างจากชาวจีนกลุ่มอื่น ๆ อย่างเด่นชัด

4. สิงโตแต้จิ๋วหรือสิงโตปักกิ่ง หรือสิงโตกวางเจา มีลักษณะคล้ายกับหมาจู มีขนปุกปุย ตาโต มีโบว์ ที่ศรีษะ และติดกระดิ่งไว้ที่ใต้คาง เวลาที่ทำการแสดงอาจจะทำการแสดงสองตัวขึ้นไป

ขอบคุณข้อมูลที่มา
ประวัติการเชิดสิงโต