ดอกกุหลาบสีแดงกลายเป็นสัญลักษณ์ของวันวาเลนไทน์



เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่อบอวลไปด้วยการแสดงถึงความรัก ความห่วงใยถึงคนที่เราปรารถนาดีและอยากให้เขามีความสุข และเป็นที่รับรู้กันทั่วโลก ว่าวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันแห่งความรักหรือวันวาเลนไทน์ (Valentine’s Day) อันว่าความรักนั้น เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์มาช้านาน และมนุษย์ทุกคนล้วนมีความรักอยู่ภายในใจมากหรือน้อยแตกต่างกันไป

แล้วความรักคืออะไร ผู้อ่านหลายท่านคงมีคำตอบสำหรับตนเองอยู่แล้ว บางคนอาจตอบว่าความรักคือ ความรู้สึกซึ่งมีความรู้สึกหลายๆ แบบปนกันอยู่ ความรัก คือ สิ่งเติมเต็มให้ชิวิตไม่รู้สึกขาดอะไรไปอย่างหนึ่ง บางคนอาจตอบว่าความรัก เป็นนามธรรมที่มองไม่เห็นเเต่สามารถสัมผัสได้ด้วยหัวใจ บางคนอาจตอบว่า ความรักคือทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต เป็นต้น ส่วนคำว่า “รัก” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525 มีความหมายว่า “ชอบอย่างผูกพันพร้อมด้วยความชื่นชมยินดี” ส่วนในภาษาอังกฤษนั้น จะขอยกตัวอย่างของคำว่า "LOVE" จากหนังสือชื่อ New Model English - Thai Dictionary โดยดูหลักในการนำพยัญชนะมาผสมรวมเป็นคำ และความประสงค์ของผู้บัญญัติศัพท์ว่า LOVE โดยการเรียงพยัญชนะ ก็จะพบกับความหมายใหม่ ดังนี้


L ตัวแรก น่าจะหมายถึง Lake of sorrow ทะเลสาบแห่งความเศร้าโศก
O ตัวที่สอง น่าจะหมายถึง Ocean of tear ห้วงทะเลแห่งน้ำตา
V ตัวที่สาม น่าจะหมายถึง Vagen of death หุบเขาแห่งความตาย
E ตัวที่สี่ น่าจะหมายถึง End of life จุดจบของชีวิต



ถ้าหากความรักมีความหมายตามแบบการผสมอักษรดัง 4 ตัวข้างต้นนั้น ความรักจะเป็นสิ่งสวยงามได้จริงหรือ เพราะความหมายของคำว่า LOVE นั้นก็บอกอยู่ว่ามันไม่ได้เป็นสิ่งสวยงามเลยซักเท่าใด แต่ในทางพระพุทธศาสนาแล้วมีหลักคำสอนที่สำคัญประการหนึ่งเกี๋ยวกับความรัก นั้นคือหลักความเมตตา หรือความรักความปรารถนาดีต่อคนอื่น หรือในความหมายที่กว้างออกไป คือความรักที่มีต่อมนุษย์ด้วยกัน ตลอดถึงสรรพสัตว์ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ในทางพระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงการเกิดของความรักไว้หลายนัยด้วยกัน แต่ในที่นี้ขอนำมากล่าวเพียง 2 ประการ คือ


1. ปุพเพสันนิวาส การอยู่ร่วมกันในอดีตชาติ คือการที่เคยอยู่ร่วมกันมา เคยคบหาสนิทสนมชอบพออัธยาศัยกันมา หรือเคยเลี้ยงดูกันมา เคยทำบุญเกื้อหนุนกัน เมื่อมาพบกันในชาตินี้ แม้ในคราวแรกพบก็เกิดความนิยมชมชอบรู้สึกสนิทสนมคุ้นเคยอย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกว่า "รักแรกพบ" นั้นเอง โดยที่หาสาเหตุไม่ได้ว่าทำไมจึงนิยมชมชอบบุคคลผู้นั้นอย่างจริงๆ จังๆ ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้พบเห็น


2. การช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชาติปัจจุบัน เป็นเหตุผลที่ชัดเจนอยู่ในตัว คือการเกื้อกูลกันในปัจจุบันนั้นคือทำให้เกิดความสนิทสนมรักใคร่ไว้วางใจใน ฐานะเป็นกัลยาณมิตร คือการแสดงออกในรูปของการอุปการะร่วมสุขร่วมทุกข์แนะนำประโยชน์ และมีความรักใคร่ เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน จึงเกิดความรัก ความเมตตาต่อกันขึ้น



[4SHARED]http://www.google.co.th/embed/218600814/c36a8192[/4SHARED]


ข้อมูลที่มา dmc.tv