กำลังแสดงผล 1 ถึง 6 จากทั้งหมด 6

หัวข้อ: ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ

  1. #1
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ ฉางกาย
    วันที่สมัคร
    Dec 2008
    กระทู้
    23

    ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ

    ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ

    ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ

    เป็นชื่อไม้ล้มลุกชนิด Euphorbia cyathophora Murr. ในวงศ์Euphorbiaceae มีสรรพคุณเป็นยา ทั้งยารักษาโรคและยาเสพติด นอกจากนี้ ยังเป็นวัชพืชที่ทนสารกำจัดวัชพืช แต่สวยงาม จึงมักใช้ประดับถนนหนทาง

    ลูกเขยตายแม่ยายทำศพยังมีชื่ออื่น ๆ อีก เช่น "ลูกเขยตายแม่ยายชักปรก", "เขยตาย", "ชมชื่น", "ส้มชื่น", "หญ้ายาง", ตำรายาโบราณเรียก "พิษนาคราช", ชาวเหนือเรียก "หญ้าน้ำหมึก", ไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเรียก "หญ้าหลังอึ่ง", และชาวสงขลาเรียก "ใบต่างดอก" ชาวลาวเรียก "ดอกบานบา

    ลักษณะ

    ลูกเขยตายแม่ยายทำศพเป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นตั้งตรง อาจสูงได้ตั้งแต่หนึ่งเมตรถึงหกเมตร และมียางสีขาวขุ่นทั้งลำ ยางนั้นเป็นพิษ ทำให้ผิวหนังอักเสบ (dermatitis) และก่อแอนาฟิแล็กซิส (anaphylaxis) ได้

    ใบนั้นเดี่ยว เป็นรูปรี หรือรูปแถบดังใบหอก กว้างราวหนึ่งถึงห้าเซนติเมตร ยาวได้ตั้งแต่ห้าถึงยี่สิบเซนติเมตร และเรียงเวียน ด้านบนสีเขียว และด้านล่างสีเขียวอ่อน ผิวใบมีขน และก้านใบก็มีขน

    ขณะที่ดอกออกแต่ในฤดูฝน เป็นช่อที่แต่ละยอด โดยแยกเพศแต่ก็รวมกันอยู่ในช่อหนึ่ง ๆ นั้น ดอกเมียมีสัณฐานกลม ส่วนดอกผู้อยู่เคียงดอกเมียและมีเกสรสีเหลือง ดอกแต่ละช่อมีใบกระจุกรองรับ

    ผลของลูกเขยตายแม่ยายทำศพมีลักษณะกลม เมื่อแห้งจะแตกกลางเป็นพูสามพู


    การแพร่พันธุ์

    ลูกเขยตายแม่ยายทำศพเป็นพืชประจำถิ่นในประเทศเม็กซิโก แต่อาจแพร่มาจากดินแดนแถวรัฐแคลิฟอร์เนียไปจนถึงทางตะวันออกของรัฐเท็กซัสหรือถึงอเมริกากลาง และแพร่เป็นอันมากในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศอินเดียและประเทศไทย[7] ซึ่งน่าจะแพร่มานมนานถึงขนาดที่ปรากฏอยู่ในตำรายาไทยโบราณด้วย[2]

    ลูกเขยตายแม่ยายทำศพขึ้นได้ตามดินสวนทั่วไป[6] และรุกรานพืชอื่น[8] โดยจะดำรงอยู่เพียงหนึ่งปี[3][6]
    สรรพคุณ

    พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ว่า ลูกเขยตายแม่ยายทำศพใช้ทำยาได้ แต่ไม่ได้ระบุว่ายาอะไร ตำรายาไทยโบราณว่า เปลือกลำต้นมีรสร้อน ใช้รักษาฝี ทั้งฝีภายนอก และฝีภายใน, รักษาพิษนาคราช และช่วยขับน้ำนมได้ แต่ฐานข้อมูลสมุนไพรไทยว่า ส่วนที่ใช้คือ ราก มิใช่เปลือกลำต้น ขณะที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีกลางแห่งปารานา (Federal Technological University of Paraná) ประเทศบราซิล ว่า ใบยังใช้ทำยาเสพติดอย่างใบกัญชาหรือใบกระท่อมได้ด้วย

    นอกจากเป็นยา ทั้งยารักษาโรคและยาเสพติดแล้ว เพราะสีสันอันโดดเด่น หลาย ๆ เมืองจึงใช้ลูกเขยตายแม่ยายทำศพประดับหนทางเป็นทิวแถวเสมอ

    อนึ่ง ลูกเขยตายแม่ยายทำศพทนสารกำจัดวัชพืช

    ที่มา พจนานุกรมสมุนไพรไทย
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย พล พระยาแล; 05-03-2012 at 11:23.

  2. #2
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197
    เพิ่งได้ยินชื่อค่ะ
    แต่น่าสนใจสรรพคุณมากเลย

    ขอบคุณนะคะ
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  3. #3
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63
    ส่วนมากต้นไม้ชนิดนี้จะปลูกตามอาคารศาลหรือตามสถานที่ราชการ
    แต่ปัจจุบันเห็นน้อยมาก ใบเขาจะสวยมีเสน่ห์อ่ะ

  4. #4
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    กระทู้
    1,212
    ต้นชมชื่น หรือ ต้นเขยตาย ตามลิ้งค์ครับ
    http://www.oknation.net/blog/print.php?id=702397
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย พล พระยาแล; 05-03-2012 at 11:25.

  5. #5
    ดีเจ นักจัดรายการ สัญลักษณ์ของ นู๋น้อย
    วันที่สมัคร
    Mar 2010
    ที่อยู่
    เมืองชลบุรี(เช่านอน) สีเกด(หม่องเกิด
    กระทู้
    1,261
    บล็อก
    31
    :*- สาระความรู้ดีๆจ้า
    ต้น ลูกเขยตายแม่ยายปรก หรือ ต้นเขยตายแม่ยายชักลาก ชาวบ้านเอิ้น "ต้นส้มชื่น" รสหวาน กลิ่นคล้ายๆส้ม จ้า



    หน่วยสุกสีแดงๆชมพูกินได้ ส่วนมากจะพบเห็นในป่าในดงภูเขาจะพบหลาย ใบใช้แก้พิษจากสัตว์กัดต่อย



    :l- เขตป่าดงภู ศรีสะเกษ กะมีจ้า


  6. #6
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ ฉางกาย
    วันที่สมัคร
    Dec 2008
    กระทู้
    23

    ต้นเขยตาย

    ตันเขยตายชนิดยืนต้น กับชนิืดพืชลัมลุก
    คนละสกุลกันครับ อาจเรียกเพี้ยนกันไป
    ต้นเขยตายมีหลายขนิดครับ

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •