วันเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมาไก่น้อย เมื่อบ้านติดภาระกิจเฮดบุญ 100วันแม่ป้าเอากระดูกเพิ่นเข้าธาตุ เลยอดไปทำบุญนำพี่น้องบ้านมหา พอดีช่วงกลับบ้านมีงานประเพณีบุญเดือนสี่ หรือบุญเผวต หรือบุญเทศน์มหาชาติ บ้านเฮา ไก่น้อยเก็บภาพบรรยากาศมาฝากพี่น้องผู้บ่ได้เห็นประเพณีบ้านเฮาแบบนี้มาฝากกันจ้า

บุญเดือนสี่ ความสำคัญและความหมาย
บุญ เผวสหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญมหาชาติ มีการทำกันเดือนใดเดือนหนึ่ง ในระหว่างออกพรรษาจะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ แล้วแต่สะดวก แต่ส่วนมากนิยมทำกันในเดือนสี่ดังมีคำพังเพยว่า " เดือนสามด้อยเจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่ เดือนสี่ด้อยจัวน้อยเทศน์มะที " ( คำว่า เจ้าหัว หมายถึงพระภิกษุ จัว หมายถึง สามเณร มะที หมายถึง มัทรี ) บางแห่งทำในเดือนหกหรือเดือนเจ็ดก็มีและหากทำในเดือนหกหรือเดือนเจ็ด มักจะทำบุญบั้งไฟรวมด้วยก่อนจัดงาน ทางบ้านและวัดจะมีการปรึกษาหารือตกลงกันให้เรียบร้อยก่อน ทางชาวบ้านจะจัดอาหารการกิน เช่น ขนม ข้าวต้ม และอาหารคาวต่าง ๆ สำหรับถวายพระภิกษุสามเณร และเลี้ยงแขกเลี้ยงคนที่มาร่วมงานและจัดหาปัจจัยไทยทานสำหรับใส่กัณฑ์เทศน์ เพื่อถวายพระภิกษุสามเณร ส่วนทางวัดก็แบ่งหนังสือออกเป็นกัณฑ์ ๆ หลังสือผูกหนึ่งอาจแบ่งเป็นหลายกัณฑ์ก็ได้เพื่อให้ชาวบ้านได้รับกัณฑ์โดย ทั่วถึงกัน มอบหนังสือให้พระภิกษุสมเณรในวัดนั้น เพื่อเตรียมไว้เทศน์ นอกนั้นจะมีการนิมนต์พระจากวัดอื่นมาเทศน์ โดยจะมีฎีกาไปนิมนต์พร้อมบอกชื่อกัณฑ์และบอกเชิญชวนชาวบ้านที่วัดนั้นตั้ง อยู่มาร่วมทำบุยด้วย ซึ่งตามปรกติเมื่อพระภิกษุสามเณรมาร่วมงานก็จะมีญาติโยมในหมู่บ้านนั้น ๆ ตามมาฟังเทศน์และร่วมงานด้วยหมู่บ้านและมาก ๆ หัวหน้าหรือผู้จัดงานในหมู่บ้านที่เป็นเจ้าของงานจะบอกบุญชาวบ้านในหมู่บ้าน ของตน ให้รับเป็นเจ้าของกัณฑ์เทศน์กัณฑ์ใด กัณฑ์หนึ่งจนทั่วถึงกันและบอกจำนวนคาถาของแต่ละกีณฑ์ให้ทราบด้วยเพื่อเตรียม ความเทียนมาตามจำนวนคาถาของกันฑ์ที่คนซึ่งจำนวนคาถาของกัณฑ์ต่าง ๆ มีดังนี้ ทศพร 19 คาถา หิมพานต์ 134 คาถา ทานกัณฑ์ 209 คาถา วนปเวสน์ 57 คาถา ชูชก 79 คาถา จุลพน 35 คาถา มหาพน 80 คาถา กุมาร 101 คาถา มัทรี 90 คาถา สักบรรพ 43 คาถา มหาราช 68 คาถา ฉกษัตริย์ 30 คาถาและนครกัณฑ์ 48 คาถา รวม 1000 คาถาพอดีชาวบ้านยังแบ่งหน้าที่กันด้วยว่าใครเป็นผู้รับเลี้ยงพระภิกษุสามเณร และญาติโยมหมู่บ้านใด โดยแบ่งหน้าที่มอบให้รับผิดชอบเป็นกลุ่ม ๆ เนื่องจากแต่ละวัดมีชาวบ้านจากหลายหมู่บ้านไปร่วมกันมากชาวบ้านจึงช่วยกัน ปลูกที่พักชั่วคราวขึ้น เรียกว่า ตูบ ( กระท่อม ) หรือผาม ( ปะรำ ) จะปลูกรอบบริเวณวัดรอบศาลาหรือรอบกฏิก็ได้ ตูบมีขนาดกว้างประมาณ 4 ศอก ยาวตามความเหมาะสม หลังคาเป็นรูปเพิงหรือเป็นจั่วก็ได้ พื้นปูด้วยกระดานหรือฟาก ที่พักนี้กะจัดทำให้พอเพียง และให้เสร็จเรียบร้อยก่อนวันเริ่มงาน

มูลเหตุ

ที่ มีการทำบุญเผวส มีเล่าไว้ในเรื่องพระมาลัยหมื่นมาลัยแสนว่า พระมาลัยได้ขึ้นไปไหว้พระธาตุเกศแก้วจุฬามณีในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พบพระศรีอริยเทตไตรย พระศรีอริยเมตไตยได้ดำรัสสั่งกับพระมาลัยว่าถ้ามนุษย์อยากพบพระองค์ จงอย่าได้ทำบาปหนัก ได้แก่ ฆ่าหรือข่มเหงบิดามารดา สมณพราหมณาจารย์ทำร้ายร่างกายพระพุทธเจ้าและยุยงพระสงฆ์ให้แตกกัน ให้อุตสาห์ฟังเรื่องราวมหาเวสสันดรชาดกหรือเผวสให้จบในวันเดียวกันฟังแล้ว ให้นำไปประพฤติปฏิบัติจะได้พบพระศาสนาของพระองค์ เมื่อพระมาลัยกลับมาถึงโลกมนุษย์จึงได้บอกให้มนุษย์ทราบ โดยเหตุนี้ผู้ปรารถนาจะพบศาสนาพระศรีอริยเมตไตรย จึงพากันทำบุญเผวสสืบต่อกันมา

วิธีดำเนินการ

ก่อนมีงานบุญเผวสหลายวัน ชาวบ้านชายหญิงทั้งคนเฒ่าคนแก่ ซึ่งส่วนมากเป็นหนุ่มสาวพากันไปรวมกันที่วัด ช่วยกันจัดทำที่พักสำหรับผู้มาร่วมงานและช่วยกันจัดทำดอกไม้ จัดตกแต่งประดับประดาศาลาโรงธรรมด้วยดอกไม้ พวงมาลัยและธงทิว พวกผู้หญิงจะจัดทำหมากพันคำ เมี่ยงพันคำ เทียนพันธูปพันเทียน ปืนดาบอย่างละพัน และข้าวตอกดอกไม้ไว้บูชาคาถาพัน ดอกไม้ที่จัดมีดอกบัวพันดอก นอกนี้อาจมีดอกผักตบ ดอกกางของ ( ดอกปีบ ) อย่างละพันดอก ( ดอกไม้ปรกติทำด้วยไม้แทน ) ธงพันผืนทำด้วยเศษผ้า กระดาษสี ใบลานหรือใบตาลก็ได้ เสร็จจากการจัดดอกไม้ธูปเทียนธงและสิ่งดังกล่าวแล้ว ซึ่งด้วยสายสิญจน์ ตั้งหม้อน้ำมนต์ มีขันหมากเบ็ง ( บายศรีประดับด้วยหมาก ) แปดอัน โอ่งน้ำ 4 โอ่ง ตั้งไว้ที่มุมธรรมาสน์ ในโอ่งน้ำมีจอก แหน ( สาหร่าย ) ดอกไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น ดอกจิกดอกฮัง ( ดอกเต็งรัง ) ดอกบัว ดอกบานไม่รู้โรย ดอกรัก ฯลฯ และใบบัวปั้นรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น รูปนก รูปวัว รูปควาย รูปช้าง รูปม้า ฯลฯ เอาไว้ที่ใต้ธรรมาสน์ เอาธงใหญ่แปดวงปักรอบนอกศาลาในทิศทั้งแปด เพื่อหมายว่าเป็นเขตปลอดภัย ป้องกันพญามารไม่ให้ลำเข้ามา ตามเสาธงที่ใส่ข้าวพันก้อน ซึ่งปรกติสานเป็นพานด้วยไม้ไผ่ บางแห่งสานเป็นตาด้วยไม้ตอก เป็นคีรีวงกตไว้รอบศาลาและทำเป็นทางเข้าศาลาโรงธรรมคดเคี้ยวไปมา บนศาลานอกจากประดับประดาให้สวยงามแล้ว บางแห่งยังมีภาพมหาเวสสันดรชาดกประดับไว้ทางด้านตะวันออกของศาลาโรงธรรม ปลุกหออุปคุตขึ้นไว้พร้อมมีสิ่งเหล่านี้บนหอด้วยคือ มีบาตร 1 ใบ ร่ม 1 คัน กระโถน 1 ใบ กาน้ำ 1 ใบ แลสบงจีวร 2 ชุด สำหรับพระอุปคุต การจัดตกแต่งดังกล่าวกะจัดให้เสร็จเรียบร้อยวันงานพอดี วันรวม ( วันโฮม ) วันแรกของงานเรียกว่า " วันรวมหรือวันโฮม " ในวันโฮมนอกจากจะมีประชาชนตามละแวกบ้านและหมู่บ้านอื่นที่ใกล้เคียงหลั่งใหล กันมาร่วมงานแล้ว


ที่มา เวบไซด์ วิกีมีเดีย