ดินสอทำไมมีตัว H กับตัว B

หลายคนคงจะรู้กันอยู่แล้วว่าไส้ของดินสอนั้นทำมาจากแกรไฟต์ แต่ถ้าลงลึกไปในรายละเอียดแล้วแกรไฟต์ไม่ใช่ส่วนผสมเดียวของไส้ดินสอ แต่ยังมีผงดินเหนียวและน้ำรวมอยู่ด้วย หรือถ้าเป็นดินสอสีก็จะมีเม็ดสีเป็นอีกส่วนผสมหนึ่ง ซึ่งส่วนของแกรไฟต์และดินเหนียวที่ใช้มีความสำคัญกับคุณภาพของดินสอที่ได้ กล่าวคือ ยิ่งผสมดินเหนียวมากขึ้นเท่าไร ไส้ดินสอที่ได้ก็จะแข็งขึ้นและสีอ่อนลงเท่านั้น
ส่วนสัญลักษณ์ 2B ที่พวกเราคุ้นเคยกันนั้น เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพของดินสอตามระบบแบบยุโรป ซึ่งจะวัดระดับของไส้ดินสอตาม H (Hardness) คือ ความแข็ง และ B(Blackness) คือ ความดำ รวมทั้ง F (Fine point) คือ ความละเอียดของเนื้อ มาตรฐานดินสอที่ใช้เขียนกันทั่วไปอยู่ในระดับ HB ส่วนดินสอสำหรับระบายกระดาษคอมพิวเตอร์ ต้องใช้ความเข้มระดับ 2B ขึ้นไป
ทั้งนี้ดินสอที่ผลิตอยู่ในท้องตลาด มีตั้งแต่ 9H ซึ่งมีไส้ดินสอที่แข็งที่สุดแต่ให้สีอ่อนที่สุด ไล่ไปที่ 8H, 7H, 6H, 5H, 4H, 3H, 2H, H, F และ HB ซึ่งเป็นดินสอระดับมาตรฐานสำหรับงานเขียน ไปจนถึงระดับ B, 2B, 3B, 4B, 5B, 6B, 7B, 8B และ 9B ซึ่งเป็นดินสอที่มีไส้อ่อนที่สุดแต่ก็สีดำที่สุด
สรุปได้ว่า ดินสอที่มีตัว H มากจะยิ่งให้สีอ่อนลงเรื่อยๆ ในทางตรงข้าม ดินสอที่มีตัว B มากจะยิ่งมีสีเข้มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยดินสอที่มีความเข้มมากจะใช้ในการแรเงา ส่วนดินสอที่มีความเข้มน้อยจะใช้ในการร่างภาพ
นอกจากเกณฑ์การวัดระดับไส้ดินสอตามระบบยุโรปแล้ว ยัง มีระบบตัวเลขที่ใช้กันในอเมริกา โดยดินสอเบอร์ 1= B, ดินสอเบอร์ 2 = HB, ดินสอเบอร์ 2 1/2 = F, ดินสอเบอร์ 3 = H และดินสอเบอร์ 4 = 2H
ส่วนตัวเลขที่เราคุ้นเคยอีกแบบคือตัวเลขกำกับขนาดของ ไส้ดินสอที่ใช้กับดินสอกด ได้แก่ 0.3, 0.5, 0.7, 0.9, 1.0 และ 1.5 ทั้งหมดมีหน่วยเป็นมิลลิเมตรและเป็นตัวระบุความหนาของไส้ดินสอ
ดินสอทำไมมีตัว H กับตัว B


เซื้อซาติแฮ้งอย่าเหม็นสาบกุยกัน
เกิดเป็นคนอีสานให้ฮักแพงกันไว้
ไผเฮ็ดดีให้ซ่อยยู้ ซอยซูอย่าย่านเหลิน
ไผเฮ็ดผิดให้ซอยเว้า ไขแก้ดอกซอยกัน ซันดอกหวา