หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 14

หัวข้อ: การจับปลาของชาวอิสาน.......กระบวนการหาอยู่หากินที่ บ่ เอาปรียบแม่โพสพ

  1. #1
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ ครูจุ่น
    วันที่สมัคร
    May 2012
    กระทู้
    128

    การจับปลาของชาวอิสาน.......กระบวนการหาอยู่หากินที่ บ่ เอาปรียบแม่โพสพ

    การจับปลาของชาวอิสาน.......กระบวนการหาอยู่หากินที่ บ่ เอาปรียบแม่โพสพ

    การทำประมงน้ำจืด อิสานมีแหล่งนำจืดจำนวนมาก โดยเฉพาะที่เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำขัง หรือไหลผ่านเป็นร่องลึกเป็นลำเหมือง คลอง ห้วย มารวมกันเป็นสระ หนอง บึง สายน้ำที่ไหลผ่านจะนำพาความอุดมสมบูรณ์เป็นสิ่งบรรณาการแก่ชุมชนที่อยู่สองริมฝั่งน้ำ เป็นแหล่งอาหารจำพวกโปรตีนจากความหลากหลายของพันธุ์ปลา และความมีรสชาดอร่อย ชาวอิสานจึงเป็นผู้ที่มีความชำนาญในการทำประมงนำจืดมาก วิธีการทำประมงของชาวอิสานมีหลายแบบ ได้แก่
    การจับปลาของชาวอิสาน.......กระบวนการหาอยู่หากินที่ บ่ เอาปรียบแม่โพสพ
    การวางลอบหรือการลงต้อน ลอบหรือต้อนเป็นเครื่องมือที่ทำจากไม้ไผ่สานเป็นรูปกลม ขนาดกว้างตั้งแต่ 1 คืบ ถึง 1 เมตร ยาวประมาณ ครึ่งเมตร- 2 เมตร มีหลายแบบคือลอบนอนจะวางราบกับพื้นดิน มีงาให้ปลาเข้าทางด้านหัวของ ลอบ ลอบยืนจะวางตั้งกับพื้น มีงาให้ปลาเข้าด้านข้าง ลอบยืนมี 2 แบบ คือแบบกลมตลอดหัวตัดท้ายตัด และแบบท้ายตัดแต่หัวลอบรวบไม้ไผ่มัดเข้าด้วย กัน การใส่ลอบ ถ้าลงต้อน (แนวรั้วกั้นดักปลาขนาดยาวขวางตลอดลำห้วย) ทำเสาไม้ขนาดใหญ่เป็นระยะห่าง 1 เมตร มีเสาค้ำ มีราวไม้ไผ่และฝากั้นปลาขึ้นลง คือทำที่ใส่ลอบขวางลำห้วย สำราญ เมื่อน้ำขึ้นหรือน้ำลดลง เจาะรูใส่ลอบ ฝากั้นทางเดินของปลาทำจาก การสานไม้ไผ่ หรือ ลำเเขมหรือลำไม้ที่มีขนาดเล็กผิวเรียบ อาจจะยาม(กู้)วันละครั้งหรือหลาย ครั้งก็ได้(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 267)
    การจับปลาของชาวอิสาน.......กระบวนการหาอยู่หากินที่ บ่ เอาปรียบแม่โพสพ
    การอยู่จิบ จิบเป็นเครื่องมือจับปลาที่สานจากด้ายหรือป่านคล้ายโพงพาง ผูก จิบติดกับขาไม้สามเหลี่ยมขวางช่องว่าง เพื่อดักทางปลาที่ว่ายลงไปตามสายน้ำไหล ผู้อยู่จิบต้องคอยจับเส้นเชือกที่ ผูกโยงมาจากส่วนปลายของจิบ หรือมัดแขนมัดนิ้วไว้เมื่อเอนหลับไป ถ้าปลาลง จิบเส้นเชือกจะกระตุก ต้องรับยกจิบขึ้นงัดขึ้นมาจับปลา ผู้อยู่จิบมักจะ ก่อกองไฟบนร้านจิบเพื่อให้ความอบอุ่น ไล่แมลง ทำอาหาร จุดยาสูบ ซึ่งสามารถนั่งหรือนอนอยู่จิบได้ทั้งกลางวันหรือกลาง คืน(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 268)
    การจับปลาของชาวอิสาน.......กระบวนการหาอยู่หากินที่ บ่ เอาปรียบแม่โพสพ
    การลงโต่ง(โพงพาง) ต่อมามีการสานโต่ง ใส่แทนจิบและไม่ต้องนั่งเฝ้า ส่วนปลายโพงพางผูกลอบหรือไซหรือทำเป็นถุงไว้ เก็บปลาที่ถูกน้ำซัดไปลงโต่ง ต้องทำรั้วเผียด (กั้น) ด้วยฝาหรือกิ่งใบไม้หนาทึบ กั้นน้ำให้น้ำไหลแรงตรงช่องว่างที่ใส่ โต่ง ปลาสารพัดชนิดทั้งขนาดจิ๋ว จนถึงขนาดกลาง และขนาดใหญ่ กุ้ง ปู จะไหลไปรวมกันที่ท้ายโต่ง ยกขึ้นมาได้ปลาเป็นหาบๆ นำไปขายหรือทำปลาร้าได้ เป็นจำนวนมาก ปลาที่ลงโต่งส่วนหนึ่งจะตายเพราะกระแสน้ำพัดแรงไปแออัด กัน(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 268)
    การจับปลาของชาวอิสาน.......กระบวนการหาอยู่หากินที่ บ่ เอาปรียบแม่โพสพ
    การวางเบ็ด มีหลายแบบ เช่น เบ็ดโยง ในหน้าแล้งจะวางเบ็ดโยงโดยผูกปลายเชือกหรือทำคันเบ็ด เพื่อหย่อนเบ็ดอยู่เหนือน้ำ มักทำในวังน้ำหรือที่ร่ม เบ็ดเผียก (ราว) ข้ามลำห้วย หน้าน้ำขึ้นใช้เหยื่อปลามีเกล็ดขนาดเล็ก หรือปลาหมอ ดักปลาผึ่ง (เทโพ) เวลาปลาบึ่งกินเบ็ดจะสังเกตได้ง่าย เพราะต้นไม้ริมฝั่งห้วยที่ผูกราวเบ็ดจะ ถูกปลาดึงขย่มสั่นไหว บางคนจะแขวนเกราะหรือกระดึงไว้เป็นสัญญาณ ถ่วงราวเบ็ดด้วยสมอหินหรืออิฐสอง สามสี่ก้อน บางครั้งใช้เหยื่อไส้เดือนสำหรับปลาทุกชนิด เบ็ดคันหรือธงเบ็ด จะใส่ตามคันนาหรือตามฝั่งห้วย ใส่ในลักษณะเบ็ดจมหรือ เบ็ดโยง (ลอย) ก็ได้ ใช้เหยื่อสำหรับการหาปลาแต่ละประเภท เช่นใช้เหยื่อปลาอีด (ตัวเล็กเท่าปปลาหางนกยูงคล้ายปลาไหลผสมปลาหลด ) สำหรับปลากด ใช้เหยื่อไส้เดือน สำหรับปลาทุกชนิด ใช้สบู่ซันไลต์ตัดเป็นท่อนเล็ก สำหรับปล่ดุก รวมทั้งเหยื่อหอย เเมงจี่ชอน (ใช้ลอยสำหรับปลาช่อน จมสำหรับปลาทุกชนิด) เขียด ฮวก ปลวก แมงเม่า กุ้ง ไส้ไก่ พุงหมู ฯลฯ เบ็ดทกหรือเบ็ดป่อมหรือตกเบ็ด เวลาตกเบ็ดต้องหาทำเลดี นั่งเฝ้ารอใส่ ทุ่นที่สายเบ็ดเวลาปลาตอดหรือฮุบเบ็ด ทุ่นจะกระดิกหรือจม ต้องทก (กระชากหรือวัดหรือยกคันเบ็ดอย่างเร็ว)ขึ้นมา บางครั้งมีการหย่อนถ้ำ คือทำเลที่มีก้อนหิน รูถ้ำโพรงหินใต้น้ำ เป็นที่อาศัยของปลา ต้องดำน้ำลงไปวางเบ็ด หย่อนลงไปในโพรงถ้ำ ปลามากินเหยื่อ ทุ่นที่สายเบ็ดจะกระดิกหรือจมลงก็สามารถยกสายเบ็ดพร้อมตัว ปลาขึ้นมาได้ การแกว่งเหลื่อมล่อปลา ใช้วิธีการติดเบ็ดไว้กับโลหะสีขาวมันวาวคล้ายๆมีดตัดเล็บ หรือคล้ายปลา ซิว แล้วใช้คันเบ็ดลำไม้ไผ่ขนาดยาว ลากไปตามสายน้ำ ให้ปลา เข้าใจว่า เป็นปลาขาวตัวเล็ก กระโดดฮุบเหยื่อคล้ายกับการใช้เบ็ดรอกตกปลาสมัยนี้ ปลา ที่ได้คือปลาสูด (ปลาที่มีเกล็ดสีขาวหรือปลากระสูบ)หรือปลากินเนื้อ(คณะกรรมการฝ่ายประมวล เอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 268-269)
    การจับปลาของชาวอิสาน.......กระบวนการหาอยู่หากินที่ บ่ เอาปรียบแม่โพสพ
    การใส่มองหรือการวางข่าย มองหรือข่ายจะทำจากด้ายหรือไนล่อน สมัยก่อนไม่มีมองลูกที่ทำทุ่นลอยด้วยพลาสติค หรือ โฟม และ ตะกั่วถ่วงตีนมองสำเร็จรูปเช่นทุกวันนี้ มองก็สานเองตั้งแต่ถี่ถึง ห่าง เวลากางมองก็ตัดก้านกล้วยยาวคืบหนึ่ง ปาดผิวให้สามารถเกี่ยวเชือก คร่าวมองได้ ทำเป็นทุ่นเป็นระยะไปตามความเหมาะสม มองดูเห็นชัดเจน ถ้าน้ำ ไหลหรือลมจัด ก็จะถ่วงตีนมองด้านล่างด้วยก้อนหิน หรือลวดที่ตัดเป็นท่อน สั้นๆบิดเกี่ยวไว้ บางครั้งก็ใส่มองชิดฝั่งห้วย ดักปลาที่หากินตามริม ฝั่ง ต่อมามีการทำมองทุ่นพลาสติค ทุ่นโฟม ถ่วงตีนมองด้วยตะกั่ว ซื้อมอง สำเร็จรูปตามตลาด จึงมีการไล่มองหรือไล่ปลา โดยใช้มองกางดักตามวัง น้ำ กางล้อมเยาะ (กร่ำหรือที่กองไม้ให้ปลาเข้าอาศัย ) แล้วทุ่มน้ำ ตีน้ำ ใช้ไม้ไล่มองที่มีโลหะติดที่ไม้หลายชิ้นให้กระทบกระแทกกัน เสียงดัง กังวาน ปลาตกใจกลัวว่ายหนีไปติดมอง (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 269-270)
    การจับปลาของชาวอิสาน.......กระบวนการหาอยู่หากินที่ บ่ เอาปรียบแม่โพสพ
    การแก่กวดหรือลากอวน (แก่ = ลาก ,กวด=อวน ,แก่กวด =ลากอวน) ทำเหมือนการลากอวนในทะเลหรือตามร่องน้ำทั่วไป และต้องใช้หลายคนลาก คืออะไร ลักษณะเป็นอย่างไรใช้เมื่อไร
    การจับปลาของชาวอิสาน.......กระบวนการหาอยู่หากินที่ บ่ เอาปรียบแม่โพสพ
    การใส่ตุ้ม (เป็นเครื่องมือดักปลาชนิดหนึ่งสานจากไม้ไผ่) มีหลายชนิดได้แก่ ตุ้มลาน ทำเหมือนข้องใส่ปลามีงาข้างๆ ใช้ข้าวหรือปิ้งรำข้าว หมกรำข้าว ทำเป็นเหยื่อ ต้องดำน้ำลงไปใส่ตุ้ม ตุ้มปลากดหรือตุ้มปลาดุก ทำขนาดกว้างหนึ่งฟุต สูงราวหนึ่งเมตรถึงสองเมตร มีงายาวประมาณ หนึ่งคืบอยู่ข้างๆด้านล่าง งามีสองชั้น ใช้เหยื่อตัวอ่อนของปลวกใส่ในน้ำลึกประมาณ 1-3 เมตร ผูกติดกับหลักไม้สองหลักหรือหลักเดียวตรึงตุ้มให้อยู่ได้ ตุ้มปลาหมู มีลักษณะคล้ายข้องใส่ปลาหรือคล้ายตุ้มลาน มีงาสองชั้นข้างตัว ตุ้ม ใช้เหยื่อรำและมดแดง ต้องผูกเชือกหย่อนลงไปวางในแหล่งที่คาดว่ามีปลา หมู ตุ้มปลาแปบ หรือปลาบักแปบ ตุ้มทีทำมีขนาดใหญ่ยาว 1-2 เมตร มีรูและงาตรงกัน ใช้เหยื่อมดแดงหรือรำใส่พ้นน้ำจุ่มน้ำลงไปประมาณ 1-2 ฟุต ผูกติดกับหลักไม้ เวลาจะกู้ต้องเอามือช้อนปิดรูงาก่อน ปลาแปบนำมาหมกใบตอง หรือหมักปลาร้า(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 270)
    การจับปลาของชาวอิสาน.......กระบวนการหาอยู่หากินที่ บ่ เอาปรียบแม่โพสพ
    การสะปลาหรือวิดปลา หมายถึงการวิดน้ำให้แห้งแล้วจับปลาโดยใช้กะโซ่หรือคันโซ่ สานด้วยไม้ไผ่ หรือทำจากสังกะสี มีด้ามยาว บางครั้งเพื่อทุ่นแรงจะทำขาหยั่งสามขา (หรือฮังฮะ ) ผูกกะโซ่ติดขาหยั่งโยกวิดน้ำไปมา ทำให้เวลาวิดน้ำไม่เหนื่อย(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 269-271)
    การจับปลาของชาวอิสาน.......กระบวนการหาอยู่หากินที่ บ่ เอาปรียบแม่โพสพ
    ตึกแหหรือการทอดแห แหเป็นเครื่องมือจับปลาที่สานจากด้ายหรือไนลอน มีหลายชนิดด้วยกัน เช่นแหก้อย แหโป้ แหสอง แหสาม แหสี่ ฯลฯ ความยาวของแหวัดเป็นศอก ปัจจุบันมีการทอดแหตามลำน้ำที่มีการสงวนพันธุ์ปลา ไว้หลายแห่งกระจายทั่วทุกพื้นที่ เเล้วจำหน่ายบัตรละ 30-100 บาท ให้ประชาชนซื้อบัตรจับปลาทุกปี เช่นที่หนองบัวดง ต.หนองบัวดง กิ่งอ.ศิลาลาด วิธีการทอดแหที่ง่ายแล้วได้ปลามาก คือการฝังแกลบหรือขุม (หลุม) เริ่มจากหาทำเลที่เหมาะสมสามารถยืนทอดแหได้จากบนฝั่งน้ำ ดำน้ำลงไปควักดิน ให้เป็นหลุมลึกกว้างยาวคืบหนึ่ง นำรำอ่อนที่เตรียมไว้ คลุกจุ่มน้ำ แล้วเอาไปฝังไว้ในหลุม หาก้อนหินหรือกิ่งไม้มากันรอบหลุมให้เป็นที่ปลาอาศัย จากนั้นหากิ่งไม้มาปักเป็นเครื่องหมายไว้ เมื่อบริเวณนั้นเงียบสงบจึงไปหว่านให้จอมแหอยู่ตรงกลางกิ่งไม้ที่ปักเป็น เครื่องหมายไว้ แล้วจึงค่อยๆขยับก้อนหินและกิ่งไม้ออกนอกแหทีละชิ้นจนหมด สามารถจับปลาได้แล้วนำแกลบไปฝังไว้ที่เดิมอีก สามารถทอดแหซ้ำที่เก่าได้ทุก วันตลอดหน้าแล้ง วันหนึ่งห้าหกหลุมปลาก็ได้เต็มข้อง และควรทำหลุมไว้ห่างกันไม่รบกวนกันเวลา ทอดแห(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 271-272)

    การยกฟด (เหมือนกับการสร้างบ้านหลอกปลาให้ปลาเข้ามาอยู่แล้วจึงกู้ขึ้นมา เพื่อจับปลา) เมื่อถึงฤดูน้ำหลากชาวบ้านจะตัดต้นหัวลิงที่ขึ้นตามทาม ทิ้งไว้บนพื้นเป็นกองๆ เมื่อน้ำหลาก ท่วมกิ่งหัวลิงใบหลุดหายไปจนหมดและเมื่อน้ำลดแห้งสนิท จะนำมามัดรวมกัน นำไปหย่อนน้ำ เป็นที่อาศัยของปลาหลายชนิด จากนั้นจึงกู้ขึ้นมา กระแทกกับขั้นเรือให้ปลาในฟดหล่นในท้องเรือ (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 272-273)
    การจับปลาของชาวอิสาน.......กระบวนการหาอยู่หากินที่ บ่ เอาปรียบแม่โพสพ
    การเอาเยาะ (กร่ำ) หมายถึงการตัดกิ่งไม้หรือหาขอนไม้มากองรวมกันไว้ให้ปลาอาศัยในหน้า น้ำลดหรือหน้าแล้ง แล้วเอาฝาไม้ไผ่สานด้วยเชือกหรือเครือเถาวัลย์ให้ม้วน ได้หรือใช้อวนหรือใช้แหล้อมเยาะ (กร่ำ) ดึงกิ่งไม้ออกให้หมด จะได้ปลานานาชนิดเป็นจำนวนมาก และสามารถไล่ มองรอบเยาะได้ปลาเหมือนกัน พอน้ำลดชาวบ้านจะตัดไม้ทำเยาะกันทุกปี(คณะ กรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 273)

    การแก่โซ่หรือการลากโซ่ (แก่=ลาก ,โซ่= เหล็กเป็นข้อๆต่อเกี่ยวกันให้ยาวๆ) มีเครื่องมือ 2 อย่างคือ แพกะแญง หรือ ดางช้อน (อวนตาถี่ๆไม่มีทุ่นลอยแต่มีตะกั่วหรือโลหะถ่วงตีนอวน)ใช้คนสองคนจับขึงไว้ ด้านใต้ของสายน้ำไหล แล้วอีกสองคนนำโซ่ขนาดกลางหรือเล็กหรือโซ่ล่ามนักโทษ ยาวขนาด 2-4 เมตร ยืนห่างจากอวนประมาณ 10-20 เมตร แล้วคนสองคนลากโซ่ไปตามพื้นดินใต้ท้องน้ำมุ่งหน้าไปยังอวนที่กาง ไว้ ปลาจะตกใจวิ่งไปยังอวน เมื่อโซ่ถึงอวนสามารถยกขึ้นมาจับปลาได้ ปลา ที่ได้คือปลารากกล้วย(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 273)
    การจับปลาของชาวอิสาน.......กระบวนการหาอยู่หากินที่ บ่ เอาปรียบแม่โพสพ
    การใส่จั่น เป็นการดักปลาโดยทำจั่นมีทางเข้าประตูจั่นทำด้วยแผ่นไม้ที่หนักพอควรแล้วทำ ไลเป็นไม้ขัดกันไว้ เพื่อเปิดเป็นช่องให้ปลาว่ายเข้ามา เมื่อปลาว่ายเข้ามาหาอาหารหรือมาวางไข่ เมื่อมากระทบไลที่ขัดไว้ไลจะหลุด ทำให้แผ่นไม้หล่นลงมาปิดทางออกของปลา ปลาที่เข้าจั่นส่วนใหญ่ จะเป็นปลาช่อนที่เข้ามาหาอาหารหรือวางไข่ (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 273)
    การจับปลาของชาวอิสาน.......กระบวนการหาอยู่หากินที่ บ่ เอาปรียบแม่โพสพ
    บั้งลัน เป็นเครื่องมือดักปลาไหล ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่หรือกระบอกท่อพีวีซีในปัจจุบัน ด้านหนึ่งปิดทึบ ด้านหนึ่งเป็นฝาเปิดทางให้ปลาไหลเข้า มีงาสานด้วยไม้ไผ่กั้น แล้วเจาะรูทางปลายกระบอก แล้วใส่เหยื่อในกระบั้ง ลัน โดยเฉพาะสัตว์ที่เน่ามีกลิ่นแรง นำไปเสียบไว้ในท้องน้ำที่ลึกขนาดเอว หรือแค่เข่าที่คาดว่าจะมีปลาไหล โผล่ท่อนปลายไว้ให้ปลาไหลขึ้นมาหายใจเมื่อเข้ามาในบั้งลันจะได้ไม่ตาย ปลาไหลจะเข้าบั้งลันแล้วออกไม่ได้เพราะมีงากั้นอยู่ บางครั้งจะได้หลายตัว จนแน่นบั้งลันหายใจไม่ออก ปลาไหลส่วนหนึ่งตายคาลันก็มี ฯลฯ (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 266-274)

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ คนภูหลวง
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เมืองเลย
    กระทู้
    359
    สมเป็นครูอิหลี บรรยายรายละเอียดนึกเห็นภาพสมัยเป็นเด็กน้อยเลยครับ

  3. #3
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430
    โอ้ว...ขอบคุณข้อมูลครับอาจารย์ ถ้าสิให้ดีเอาหมกปลาซิวมาส่งแนเด้อครับ อยากจ้ำจักบาด...อิอิ

  4. #4
    ศิลปิน นักร้อง นักแสดง สัญลักษณ์ของ พงศ์น้อย ส กสิน
    วันที่สมัคร
    Jan 2007
    ที่อยู่
    ผมไม่รู้ ผมนอนนา
    กระทู้
    1,100
    บล็อก
    5
    ขอบคุณมากๆครับสำหรับกระทู้ที่มีประโยชน์ น่าอ่าน น่าศึกษาหาความรู้
    และนี่จะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลของวิถีชีวิตชาวอีสานให้กับคนที่ต้องการศึกษาได้เป็นอย่างดี
    (เพราะเคยทำวิทยานิพนธ์ย่อยๆก่อนจบเรื่องลูกอีสานมาแล้ว จำเป็นมากๆครับสำหรับข้อมูลเหล่านี้)

    อนุโมทนากับวิทยาทานครั้งนี้ด้วยครับ

  5. #5
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ บ่าวจัย
    วันที่สมัคร
    Jun 2008
    กระทู้
    2,872
    ทุกอย่างที่อาจารย์เว่ามาผมได้ใช้ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวมาเบิ่ดแล้ว
    ยอมรับในภูมิปัญญาของคนเก่าคนแก่ซางคิดได้เนาะครับ
    หล่อคืออ้าย กินข้าวบายกบตั๋วะหล่า

  6. #6
    Banned

    วันที่สมัคร
    Oct 2010
    กระทู้
    757
    บล็อก
    4
    วิถีชีวิตการหาอยู่หากินทางน้ำของชาวอีสาน เนื้อหาแน่นสมบูรณ์จริงๆค่ะ ขอเนื้อหาทางบก กับทางอากาศ นำแน่เด้อค่ะ

  7. #7
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ ณัฐ ภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2012
    กระทู้
    747
    ขอบคุณอาจารย์หลายอ่านแล้วกะได้ประโยชน์หลายถึงว่าบ่เคยหาปลานำหมู่เพิ้นจักเทือกะได้ฮู้ว่าไช้หยังหาแนวได๋เนาะ:*-:*-

  8. #8
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ คุณฉุยเลย
    วันที่สมัคร
    Jan 2012
    ที่อยู่
    พระนครศรีอยุธยา
    กระทู้
    380
    ขอบคุณหลายๆครับอาจารย์เบิ่งภาพแล้วอยากย้อนอดีตได้ เฮ็ดให้คิดถึงเฒ่าพ่ออยู่บ้านหาปลาเก่งขนาดกับอุปกรณ์ทุกประเภท ได้ปลามาหลายคนอยู่เฮือนกินบ่ทัน กะแบ่งแจกพี่แจกน้องกิน แต่ตอนนี้เฒ่าหลายแล้วได้แต่ซ่อยเลี้ยงหลานครับ

  9. #9
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ pcalibration
    วันที่สมัคร
    Nov 2008
    ที่อยู่
    เมืองฉะเชิงเทรา(แปดริ้ว)
    กระทู้
    1,883
    บล็อก
    1
    ขอบพระคุณครับอาจารย์...
    วิถีการทำมาหากินแต่เก่าแต่ก่อนกะสิทำในรูปแบบที่สมดุล
    เห็นคุณของธรรมชาติ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน

  10. #10
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
    ช่างภาพอิสระ
    สัญลักษณ์ของ ฅนภูค่าว
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    นครโคราช บ้านเกิดกาฬสินธุ์
    กระทู้
    1,206



    ผมเคยเห็นตามหมู่บ้านชานเมืองโคราชนี่หละ ผมถามเพิ่นเลยบอกว่า เขาเอิ้นว่า "สาบ" เบิ่งลักษณะแล้วน่าสิใซ้หาปลาคือกันกับไซ เข่าได่ทางเดียว วานฅนโคราชแท่ๆซ่อยอธิบายการใซ่งานแนครับ

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •