กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: ทุกข์แล้วคิดชีวิตเปลี่ยน

Hybrid View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1

    สว่างใจ ทุกข์แล้วคิดชีวิตเปลี่ยน

    ทุกข์แล้วคิดชีวิตเปลี่ยน
    โดย พระมหาชาครินทร์ กิตฺติเมรี



    ทุกข์แล้วคิดชีวิตเปลี่ยน

    น้องคีมกับตาใส่บาตรตอนเช้า


    ตื่นเช้าขึ้นมาแต่ละวัน ชีวิตคนเรามีอะไรมากมายที่ผ่านเข้ามาให้ซึมซับรับรู้ ทั้งผู้คนมากมายที่ผ่านเข้ามาให้รู้จักมักคุ้น เริ่มต้นคนที่บ้าน ระหว่างเดินทางมีทั้งคนยืนรอรถเมล์ มีทั้งคนเดินไปทำงาน มีทั้งคนนั่งขายของ สิ้นสุดที่ทำงานมีเพื่อนร่วมงานทั้งคนยืน คนเดินและคนนั่ง กับงานเอกสารมากมาย อารมณ์รับรู้แต่ละวัน แต่ละชั่วโมง แต่ละนาที หากใจมีสุข ก็จะมีรอยยิ้มและเสียงหัวเราะเป็นกำลังใจเป็นกำไรชีวิต แต่หากอารมณ์หงุดหงิด มีขยะอารมณ์ในใจ ไม่รีบขจัด จะมีรอยตีนกาขึ้นบนใบหน้า

    ดังนั้นอารมณ์ของ "ความทุกข์ กับ ความสุข" ท่านจะเลือกสร้างและรีบขจัดอะไร?

    พระอาจารย์จะไม่แปลกใจเลย หากท่านจะเลือกสร้างอารมณ์ความสุขเป็นคำตอบสุดท้าย เพราะนั่นคือสิ่งที่ทุกคนปรารถนาจะเลือก ทุกคนอยากมีความสุข แต่ทำไมเจอความทุกข์ทุกคนอยากมีทรัพย์สินเงินทอง แต่ทำไมถึงพบกับความขัดสนท่านทั้งหลาย ระหว่าง "ความทุกข์กับคามสุข" ชีวิตของเราจะขอบคุณสิ่งใด ชีวิตที่พบทุกข์ เป็นชีวิตที่แท้ ชีวิตที่พบสุข เป็นชีวิตที่อ่อนแอมองโลกง่ายๆ และแคบๆ "ความสุขเหมือนฝนพรำสาย อ่อนโยน งดงาม บางเบา แต่ว่างเปล่า"

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ไม่ให้อยู่กับความทุกข์ แต่จงเรียนรู้ที่จะอยู่กับความทุกข์ เพื่อจะได้เห็นทุกข์แล้วพบความสุข"

    ความทุกข์สอนให้เราอดทน เป็นบทพิสูจน์ความเป็นคนอ่อนแอ หรือ เข้มแข็ง เราปวดขา เป็นทุกข์ แสดงว่ายังมีขาปวด เราปวดหัวในการทำงาน เป็นทุกข์ แสดงว่ายังมีงานให้ทำ เรามีครอบครัวที่ต้องหนักใจ เป็นทุกข์ แสดงว่ายังมีครอบครัวเป็นลมหายใจของกันและกัน เพียงแต่ว่า เราต้องพัฒนาในการคิดบวกเห็นปัญหามากกว่าที่จะเป็นปัญหา ดังคำพูดที่ว่า

    ไม่มีความจนก็ไม่มีการพัฒนาไปสู่ความรวย
    ไม่มีความมืดก็ไม่มีการพัฒนาไปสู่ความสว่าง
    ไม่มี "สตีฟ จ็อบส์" (Steve Jobs)
    ก็ไม่มีการพัฒนาไปสู่ "iPod iPad และ iPhone"
    เฉกเช่นเดียวกัน ไม่มีความทุกข์ ก็ไม่มีการพัฒนา
    ไปสู่ความสุข

    แล้วเราจะพ้นทุกข์ได้อย่างไร? พระพุทธจ้าตรัสว่า "คนจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร" เป็นคำสอนที่พระองค์หมายถึงการหลุดพ้นจากตัวกิเลสตัณหา สำหรับปุถุชนคนธรรมดาที่ต้องอาศัยสมบัติผลัดกันชม เช่น ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ เป็นต้น ต่างก็มีปัญหาชีวิต น้อยบ้าง มากบ้าง จะทุกข์น้อย หรือสุขมาก ขึ้นอยู่กับวิธีคิด พระพุทธเจ้าตรัสว่า ขึ้นอยู่กับการฝึกจิต "จิตตัง ทันตัง สุขสวะหัง จิตที่ฝึกดีแล้วนำความสุขมาให้" ยกตัวอย่าง สตีเฟน พอล จอบส์ (Steven Paul Jobs) หรือ "สตีฟ จอบส์" (Steve Jobs) กว่าเขาจะมาเป็นนักธุรกิจ ซีอีโอแสนล้าน ค่าย Apple ยักษ์ใหญ่ แห่งวงการคอมพิวเตอร์ ร่ำรวยระดับแสนล้านนั้น เขาต้องสู้ชีวิตมากมายเพียงใด เดิมที่ครอบครัวจอบส์ยากจน ถึงขนาดเรียกจอบส์ว่า เด็กกองขยะก็ว่าได้ แต่มันสมองเขาไม่เป็นกองขยะมารดาแท้ๆ ยกเขาให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่ครอบครัว "จอบส์" เขาเป็นบุคคลที่เจียมตัว เป็นยอดของการคิดที่มีจินตนาการเรียนที่มาหวิทยาลัยรีด (Reed College) เมืองพอร์ตแลนด์รัฐโอเรกอน เรียนไม่จบแต่ได้วิชาจากมหาลัย ลงทะเบียนเรียนเฉพาะคอร์สที่เขาสนใจ เช่น การประดิษฐ์ตัวอักษร (ซึ่งภายหลังเขาได้นำไปใช้ประโยชน์ ในการออกแบบตัวพิมพ์ของคอมพิวเตอร์ Macintosh ) เป็นต้น

    จอบส์เป็นคนช่างคิด ช่างจิตนาการ ในการออกแบบจึงถูกทาบทามให้เข้าร่วมกับบริษัท Apple เจ้าพ่อคอมพิวเตอร์ และ Mobile ของอเมริการในเวลาต่อมา ผลงานล่าสุดของเขากับ บริษัท Apple คือ iPod iPad iPhone และ MacBook Air เป็นต้น และเขาก็ได้จากโลกแห่งเทคโนโลยี ด้วยวัยเพียง ๕๖ ปี เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๔ ด้วยโรคมะเร็งตับอ่อน

    น่าคิดว่า จอบส์พัฒนาตัวเองได้เพราะการคิด บวกกับความเป็นอัจฉริยะที่มีในตัว แล้วจะมีใครรู้บ้างว่าที่จอบส์มีความคิดเป็นเลิศนั้น เพระส่วนหนึ่งที่สำคัญ คือการนำหลักธรรมของพระพุทธเจ้าใช้ในการดำเนินชีวิตและการทำงาน "พระพุทธเจ้าตรัสรู้ จอบส์เป็นผู้ปฏิบัติ" คืออิทธิบาท ๔ (ทางสู่ความสำเร็จ)

    ๑. ฉันทะ คือ ความรักงาน พอใจกับงานที่ทำอยู่
    ๒. วิริยะ คือ ขยันหมั่นเพียรกับงาน
    ๓. จิตตะ คือ ความเอาใจใส่รับผิดชอบงาน
    ๔. วิมังสา คือ การพินิจพิเคราะห์ การเข้าใจทำและทำงานด้วยปัญญา

    หลักธรรม ๔ ข้อนี้ ผู้ลงมือปฏิบัติเท่านั้น จึงจะเห็นผลอย่างจอบส์ เป็นหลักธรรมะง่ายๆ ที่ใช้ในการทำงาน เพียงแค่ปรับใจให้เข้ากับหลักธรรม ปรับหลักธรรมให้เข้ากับงาน รักงานที่ทำ ขยันทำงาน รับผิดชอบงาน ใช้ปัญาไตร่ตรองงานอย่างถี่ถ้วน ทางแห่งความสำเร็จอยู่ใกล้แค่เอื้อม

    จอบส์เคยให้สัมภาษณ์ในนิตยสาร Wired พูดถึงเรื่องจิตในทางพุทธศาสนาว่า "มีคำคำหนึ่งในศาสนาพุทธ คือ จิตของผู้เริ่มต้น มันเป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างยิ่งที่ทุกคนควรจะมีจิตของผู้เริ่มต้น" นั้นแสดงว่าจอบส์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ คู่กับสมาธิในการงาน คือ

    ฉันทสมาธิ สมาธิที่เกิดจากความพอใจ
    วิริยสามธิ สมาธิที่เกิดจากความเพียร
    จิตตสมาธิ สมาธิที่เกิดจากความเอาใจใส่
    วิมังสาสมาธิ สมาธิที่เกิดจากปัญญาวิเคราะห์


    "สตีฟ จอบส์" (Steve Jobs) หากมีชีวิตอยู่สุขสบาย ร่ำรวยเงินทอง ไม่แน่เหมือนกันว่า ในโลกปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าและทันสมัยให้คนทั่วโลกได้ใช้อยู่หรือไม่ ค่าย Apple ผู้คนจะรู้จักมากขนาดไหน เพราะความทุกข์ที่เกิดจากความลำบาก จงทำให้เขาค้นหาในสิ่งที่เป็นอัจฉริยะเหนือกว่าคนทั่วไป

    เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช เพราะเห็นความทุกข์ของชีวิต แม้ออกบวชทรมานตนจนเกือบเอาชีวิตไม่รอด พระองค์เกิดปัญญาเห็นความจริงของชีวิตว่า "การฝึกกายนั้นสำคัญแต่การฝึกจิตนั้นสำคัญยิ่งกว่า" จึงเปลี่ยนวิธีคิดมาฝึกจิตทำให้พระองค์ได้หลุดพ้นตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ทุกข์กับสุขเป็นของคู่กัน เป็นธรรมะประจำโลก ธรรมชาติของคนจะหลงเพลิดเพลินในความสุข ทำให้เป็นผู้ประมาทเมื่อประมาทก็ห่างไกลธรรมะ แสดงว่า คนที่มีทุกข์คือคนที่อยู่ใกล้ธรรมะ จะได้มีสติคอยเตือนตนอยู่เสมอ จงมีชีวิตอยู่เพื่อเรียนรู้ทุกข์ให้กำลังใจตัวเอง บอกตัวเองว่า "ทุกข์มีไว้เห็น ไม่ใช่มีไว้เป็น" เมื่อผ่านความทุกข์ ความสุขก็จะรออยู่เบื้องหน้า จงใช้ความทุกข์เป็นบันใดสร้างความสุขให้กับชีวิต

    "คนทำงานคิดแบบเรียบง่าย ได้แต่อย่าคิดแบบมักง่าย"



    ที่มา : หนังสือ ผ่านทุกข์ก็เจอสุข


    ทุกข์แล้วคิดชีวิตเปลี่ยน
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ขอโทษที่คิดถึง...เด็กดื้อ; 16-06-2012 at 16:49.

  2. #2
    พ่อครัวแม่ครัวบ้านมหา สัญลักษณ์ของ สาวบ้านแต้
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    กระทู้
    1,024
    บล็อก
    28
    สาธุ สาธุ สาธุ
    ขอบคุณกับธรรมะดีๆค่ะพี่เด็กน้อย
    หนังสือหนึ่งเล่มที่เราอ่านถ้ามีบางถ้อยคำหรือบางประโยค
    ที่คนอ่าน อ่านแล้ว สามารถพลิกความคิดไปสู้เส้นทางที่ดี
    ก็ถือว่าไม่น่าเสียดายที่ ซื้อ หรือเพียงหยิบเล่มนั้นมาอ่าน

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •