กำลังแสดงผล 1 ถึง 4 จากทั้งหมด 4

หัวข้อ: ภาพเล่าเรื่อง ล่มเมืองมัณฑ์ ตอนที่ 1

  1. #1
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30

    เกาทัณฑ์ ภาพเล่าเรื่อง ล่มเมืองมัณฑ์ ตอนที่ 1

    หลังจากที่พระเจ้ามินดงมาก่อสร้างพระราชวังมัณฑะเลย์ แค่ 28 ปี อังกฤษก็ตีเมืองมัณฑะเลย์แตกในปี พ.ศ. 2367 พระเจ้าธีบอ ซึ่งโอรสของพระเจ้ามินดง จึงเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่าและถูกส่งไปอินเดียและเชื่อกันว่าถูก ประหารที่นั่นโดยไม่ได้กลับพม่าอีกเลย สมบัติทุกชิ้นถูกอังกฤษขนเอาไปไม่เว้นแม้แต่ราชบัลลังก์นกยูง สัญลักษณ์แห่งราชวงศ์และพระที่นั่งสิงหนาทในท้องพระโรงใหญ่ที่เป็นทองคำ ประดับด้วยเพชร พลอย ทับทิม อัญมณี อันมหาศาลก็ถูกขนไปไว้ที่ประเทศอังกฤษ

    ภาพเล่าเรื่อง ล่มเมืองมัณฑ์ ตอนที่ 1

    เมื่อ ครั้งพระเจ้ามินดงทรงสร้างพระราชวังแห่งนี้ ได้โปรดให้ตกแต่งสถานที่ต่างๆทั่วพระราชวัง ซึ่งแสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ มั่งคั่ง และสมบูรณ์พูนสุข เช่น มีการประดับประดาท้องพระโรงและห้องหับต่างๆด้วยทอง เงิน อัญมณี และกระจก จนกระทั่งพระราชวังนี้มีความงดงาม วูบวาบ

    ภาพเล่าเรื่อง ล่มเมืองมัณฑ์ ตอนที่ 1


    ภาพเล่าเรื่อง ล่มเมืองมัณฑ์ ตอนที่ 1

    เมืองมัณฑะเลย์

    : ปัจจุบันนี้มีฐานะเป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของพม่ารองจาก ย่างกุ้ง เป็นราชธานีสุดท้ายของราชวงศ์พม่า ก่อนที่ระบอบกษัตริย์จะถูกโค่นล้มลงและก่อนจะตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ
    • ก่อนเสียกรุงศรีครั้งที่ 2 : พระเจ้าอลองพญาส่งกองทัพมารุกรานกรุงศรีอยุธยาแต่เกิดเหตุปืนใหญ่ระเบิดสิ้นพระชนม์จนต้องทัพทัพกลับไป จนกระทั่งพระเจ้ามังระแห่งกรุงอังวะได้ยกทัพใหญ่มาตีครั้งใหม่กรุงศรีอยุธยาทำให้เราต้องเสียกรุง...ครั้งที่ 2
    • หลังเสียกรุงครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2310 หลังจากนั้นเพียง 57 ปี ในปีพ.ศ. 2367 กองทัพอังกฤษยกทัพเรือล่องขึ้นมาตามอิระวดี เข้ายึดพม่าจากทางตอนใต้บุกขึ้นสู่ภาคเหนือของประเทศพม่า จากเมืองหลวงกรุงอังวะพม่าย้ายเมืองมาเป็นตั้งเมืองหลวงที่เมืองอมรปุระ สงครามระหว่างอังกฤษกับพม่าก็เกิดขึ้นเรื่อยๆ พม่ารบแพ้อังกฤษ ครั้งแล้วครั้งเล่า....สงครามที่พม่าเหมือนจะไม่มีทางชนะ พระเจ้ามินดงย้ายเมืองหลวงอีกครั้งจากเมืองอมรปุระย้ายมาสู่เมืองมัณฑะเลย์ เพื่อเป็นการถือฤกษ์เอาชัยแก้เคล็ดว่าจะสามารถชนะกองทัพอังกฤษได้ ราชวงศืสุดท้ายก็ถึงกาลอวสาน



    ภาพเล่าเรื่อง ล่มเมืองมัณฑ์ ตอนที่ 1

    พระราชวังฤดูร้อน ที่เมืองเก่า อมรปุระ ก่อนพระเจ้ามินดง ย้ายเมืองไป ที่มัณฑะเลย์ สภาพดูแห้งแล้งเพราะ เมื่อพระเจ้ามินดง ย้ายเมือง จึงไม่มีการผันน้ำเข้าออก พระราชวังเก่าที่อมรปุระ บางส่วน รื้อเอามาสร้างสะพานอุเบ็ง สะพานไม้สักข้านน้ำที่ยาวที่สุดในโลก ที่ปัจจุบันเป็น แหล่งท่องเที่ยงที่มีชื่อเสียง พระเจ้า มินดง ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินพม่าเมื่อพ.ศ.2396 ( ตรงกับปีที่ 3 ในรัชกาลที่ 4 กรุงรัตนโกสินทร์ ) และ ได้ทรงสร้างเมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งตั้งอยู่เหนือเมืองอมรปุระขึ้นเป็นราชธานี ตั้งแต่ พ.ศ.2400 ขอบคุณภาพจาก ยวนลับแลง

    มัณฑะเลย์ (Mandalay) เป็นอดีตเมืองหลวง และเมืองใหญ่อันดับที่สองของพม่า ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิรวดี ห่างจากย่างกุ้งไปทางทิศเหลือ 716 กิโลเมตร ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1857 โดยพระเจ้ามินดง โดยตั้งชื่อตามภูเขามัณฑะเลย์ ที่อยู่ใกล้เคียงมัณฑะเลย์เป็นเมืองศูนย์กลางการค้าทางตอนเหนือของพม่า"เจ้า มินดง" ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินพม่าเมื่อพ.ศ.2396 (ตรงกับปีที่ 3 ในรัชกาลที่ 4 กรุงรัตนโก สินทร์) และได้ทรงสร้างเมืองมัณฑะเลย์ซึ่งตั้งอยู่เหนือเมืองอมรปุระขึ้นเป็นราชธานี ตั้งแต่ พ.ศ.2400 นาม มัณฑะเลย์ ได้มาจากชื่อเขาซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมือง เขานี้เป็นเขาศักดิ์สิทธิ์ ตำนานกล่าวว่า พระพุทธองค์และพระอานนท์ได้เสด็จมาประทับพักที่นั่น พระพุทธองค์ได้ประทานพุทธทำนายไว้ว่า เมื่อพุทธศาสนาครบ 2,400 ปี จักเกิดมีเมืองใหญ่เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาขึ้นที่เชิงเขาแห่งนี้ พระเจ้ามินดงจึงทรงกระทำให้พุทธทำนายเกิดเป็นความจริง โดยทรงย้ายราชธานีจากอมรปุระมายังเมืองมัณฑะเลย์ เมืองนี้มีนามอีกนัยหนึ่งว่า รัตนบูชา ตัวเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างยาวด้านละ 2 กิโลเมตร มีกำแพงก่อด้วยอิฐใช้สอดินใบเสมาอยู่ข้างบนล้อมรอบ สูงราว 8 เมตร มีเชิงเทินดินอยู่ภายใน มีประตูเมือง 12 ประตู ทิศละ 3 ประตู และมีปราสาทหรือพลับพลาไม้สร้างอยู่ข้างบน พลับพลาไม้นี้ยังมีอยู่อีกทั้งสี่มุมเมือง และยังมี 32 หลังเล็กๆ คั่นระหว่างกลาง รวมมี 48 หลัง คูล้อมรอบกำแพงกว้าง 75 เมตร ลึก 4 เมตร มีสะพานข้ามคูเข้าไปในเมือง

    นาม มัณฑะเลย์ ได้มาจากชื่อเขาซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมือง เขานี้เป็นเขาศักดิ์สิทธิ์ ตำนานกล่าวว่า พระพุทธองค์และพระอานนท์ได้เสด็จมาประทับพักที่นั่น พระพุทธองค์ได้ประทานพุทธทำนายไว้ว่า เมื่อพุทธศาสนาครบ 2,400 ปี จักเกิดมีเมืองใหญ่เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาขึ้นที่เชิงเขาแห่งนี้ พระเจ้ามินดงจึงทรงกระทำให้พุทธทำนายเกิดเป็นความจริง โดยทรงย้ายราชธานีจากอมรปุระมายังเมืองมัณฑะเลย์ เมืองนี้มีนามอีกนัยหนึ่งว่า รัตนบูชา ตัวเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างยาวด้านละ 2 กิโลเมตร มีกำแพงก่อด้วยอิฐใช้สอดินใบเสมาอยู่ข้างบนล้อมรอบ สูงราว 8 เมตร มีเชิงเทินดินอยู่ภายใน มีประตูเมือง 12 ประตู ทิศละ 3 ประตู และมีปราสาทหรือพลับพลาไม้สร้างอยู่ข้างบน พลับพลาไม้นี้ยังมีอยู่อีกทั้งสี่มุมเมือง และยังมี 32 หลังเล็กๆ คั่นระหว่างกลาง รวมมี 48 หลัง คูล้อมรอบกำแพงกว้าง 75 เมตร ลึก 4 เมตร มีสะพานข้ามคูเข้าไปในเมือง

    มัณฑะเลย์ ตั้งอยู่ตอนบนของประเทศพม่า เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนเขาและบนฝั่งแม่น้ำอิรวดีที่มีต้นน้ำร่วมกับแม่น้ำโขง … กา ร์เนอร์ เมย์ ชาวอังกฤษได้มาจัดผังเมืองที่นี่ให้เป็นเมืองตากอากาศในสมัยที่พม่าตกเป็น อาณานิคม ถนนในมัณฑะเลย์เลยมีกลิ่นอายของความเป็นอังก ฤษให้เราได้สัมผัส คือ ถนนตัดกันไปมาเหมือนตาราง และชื่อถนนเป็นตัวเลข เช่นถนนจากเหนือไปใต้ เริ่มจากถนนสายที่ 10 นับลงไปเรื่อยๆลงไปทางใต้จนถึงสายที่ 50 เป็นต้น

    แม่น้ำอิรวดี เป็นแม่น้ำที่สำคัญของพม่า ในภาษาพม่า “อิระ” แปลว่า ใหญ่ “วดี” แปลว่า แม่น้ำ “อิรวดี” จึง แปลว่า แม่น้ำใหญ่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองเก่าหลายเมืองที่คุ้นหูชาวไทย เช่น เมืองอังวะ เมืองอมรปุระ เมืองสะกาย เมืองมัณฑะเลย์ หากแต่น่าเสียดายที่เมืองเก่าเหล่านี้ส่วนใหญ่แทบจะไม่มีหลงเหลือร่องรอยของ ความเป็นเมืองอยู่เลย


    ภาพเล่าเรื่อง ล่มเมืองมัณฑ์ ตอนที่ 1

    ตำนานกล่าวว่า พระพุทธองค์และพระอานนท์ได้เสด็จมาประทับที่มัณฑะเลย์ และประทาน พุทธทำนายไว้ว่า เมื่อ พระพุทธศาสนา ครบรอบ 2400 ปี จะเกิดเมืองใหญ่ ซึ่งเป็นศูนย์กลาง พระพุทธศาสนา ขึ้นที่เชิงเขาแห่งนี้ เพื่อให้พุทธทำนายเป็นจริง พระเจ้ามินดง จึงทรงย้ายราชธานี จาก เมืองอมรปุระ มายังเมืองมัณฑะเลย์....................

    ภาพเล่าเรื่อง ล่มเมืองมัณฑ์ ตอนที่ 1


    พระราชวังมัณฑะเลย์ พระราชวังที่ส่วนใหญ่ก่อสร้างด้วยไม้สักที่สวย งามที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชีย ในสมัยสงครามมหาบูรพา (สงครามโลกครั้งที่ 2) วันที่ 20 มีนาคม 2488 เครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรโดยกองทัพอังกฤษ ได้ทิ้งระเบิดจำนวนมากมายถล่มพระราชวังมัณฑะเลย์ของประพม่าจนไฟลุกไหม้เป็น จุล ด้วยเหตุผลว่าพระราชวังนี้เป็นแหล่งซ่องสุมกำลังของกองทัพญี่ปุ่น พระราชวังมัณฑะเลย์ซึ่งเป็นพระราชวังไม้สักก็ถูกไฟไหม้เป็นจุล เผาราบเป็นหน้ากลอง หลงเหลือก็แต่ป้อมปราการ และ คูน้ำรอบพระราชวัง

    ภาพเล่าเรื่อง ล่มเมืองมัณฑ์ ตอนที่ 1

    มัณฑะเลย์ เป็นเมืองหลวงสุดท้ายของพม่า เคยมีพระราชวังอันสง่างามกว่าใครในอุษาคเนย์ สร้างขึ้นด้วยพระราชประสงค์ของกษัตริย์ผู้มุ่งมั่นจะประกาศว่า มัณฑะเลย์คือศูนย์กลางของโลกและจักรวาล ในเวลาเดียวกับการเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาสายเถรวาทของโลก

    มัณฑะเลย์ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2400 ก่อนที่จะตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษในปี พ.ศ.2428 ในสมัยของพระเจ้าสีป่อ หรือธีบอ กษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่า ตรงกับรัชสมัยของล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 5 และเป็นฉากสุดท้ายของราชสำนักพม่า

    ภาพเล่าเรื่อง ล่มเมืองมัณฑ์ ตอนที่ 1

    หลังจากเสียเมืองได้ 60 ปี พระราชวังไม้อันใหญ่โตโอฬารอายุ 88 ปี ก็ถูกระเบิดแห่งความโง่เขลาทำลายราบเป็นหน้ากลอง

    ภาพเล่าเรื่อง ล่มเมืองมัณฑ์ ตอนที่ 1


    จากนั้นอีก 50 ปีต่อมา พระราชวังมัณฑะเลย์ได้ถูกเนรมิตขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ. 2538 เพื่อ เรียกร้องความสนใจจากนักท่องเที่ยว โดยจำลองขึ้นจากภาพถ่ายเก่าและแบบจำลองของพระราชวัง ที่อังกฤษได้ทำไว้ โดยเฉพาะตำหนักสำคัญเท่านั้นที่สร้างเท่าขนาดเดิม นอกนั้นจะเป็นการย่อส่วนลงมา รวมถึงการย่นพื้นที่ตำหนักเข้ามา… ปัจจุบันมีเพียงกำแพงวังและซุ้มประตูปราสาทเท่า นั้นที่เป็นของเดิม ความเก่าแก่นับได้ถึง 153 ปี มีเพียง 3 สิ่งที่รอดพ้นจากสงคราม คือ พระราชมณเฑียรทอง หรือ “ชเวนันดอว์” .. สีหาสนบัลลังก์ หรือบัลลังก์สิงห์ และพระพุทธรูปทองคำที่เคยประดิษฐานอยู่ที่พระราชมณเฑียรทอง

    พระราชวังมัณฑะเลย์ถูกแปรสภาพเป็นค่ายทหารนับตั้งแต่อังกฤษยึดครองพม่า ต่อมาเป็นค่ายทหารญี่ปุ่นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จนโดนถล่มราบคาบ .. ปัจจุบันเป็นค่ายทหารพม่า การเข้าชมพระราชวังจึงมีระเบียบที่เข้มงวด

    ภาพเล่าเรื่อง ล่มเมืองมัณฑ์ ตอนที่ 1


    พระเจ้ามินดง

    ดร. ธิดา สาระยา ได้ศึกษาวิจัยประวัติศาสตร์ของพม่าอย่างลึกซึ้ง และได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่มใหญ่ ชื่อ มัณฑะเลย์ : นครราชธานีศูนย์กลางแห่งจักรวาล ได้อรรถาธิบายถึงการสร้างเมืองมัณฑะเลย์ไว้อย่างละเอียด ดังจะขอเก็บข้อความสำคัญมาเล่าต่อ ดังนี้

    พระเจ้ามินดง แห่งราชวงศ์คองบอง สร้างมัณฑะเลย์ให้เป็นราชธานีเมื่อ พ.ศ. 2400 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    เมือง นี้มิใช่เป็นเมืองท่าค้าขายติดต่อกับทะเลดังเช่นเมืองสำคัญอื่นๆของพม่า ความได้เปรียบของมัณฑะเลย์ อยู่ตรงที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคมภายใน

    สภาพ เศรษฐกิจของเมืองนี้ มิใช่เพียงแค่เลี้ยงตัวได้เท่านั้น แต่นับว่าเป็นเมืองที่มั่งคั่งทีเดียว เพราะตั้งอยู่ตรงชุมทางการค้าและการคมนาคมติดต่อ คือ เป็นทางผ่านกองคาราวานของบรรดาคนเผ่าพันธุ์ต่างๆ ซึ่งอาศัยอยู่ในเส้นทางการติดต่อของแหล่งอารยธรรมโบราณกระแสจีนและอินเดีย

    นับว่าก่อนที่มัณฑะเลย์จะเป็นราชธานีของพม่า (ซึ่งมีระยะเวลาสั้นเพียง 28 ปีเท่านั้น) บริเวณเมืองนี้เป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจ การค้า วัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งในภูมิภาคส่วนใน (in land)

    อ้างอิง
    ดร. ธิดา สาระยา มัณฑะเลย์ : นครราชธานีศูนย์กลางแห่งจักรวาล
    พม่าเสียเมือง ราชวงศ์คองบอง

    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน; 05-07-2012 at 16:59.

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ บ่าวทุ่งศรีฯ
    วันที่สมัคร
    May 2011
    กระทู้
    63
    บล็อก
    1
    อ่านจนตาลาย....5555
    แต่ก็ดีครับ ชอบมากกกกกกกกกก

  3. #3
    อ่านแล้วปลงเนาะค่ะ จากที่เคยรุ่งเรืองสูงสุดที่เคยสร้างไว้ไม่เหลืออะไรเลย ดูสถาปัตยกรรมของพม่าแล้ว ดูอลังการ แข็งแกร่ง แต่แผงไว้ด้วยความละเอียดอ่อนงดงามไม่แพ้ชาติอื่นๆเลยเหมือนกัน
    LET IT BE...

  4. #4
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ คุณฉุยเลย
    วันที่สมัคร
    Jan 2012
    ที่อยู่
    พระนครศรีอยุธยา
    กระทู้
    380
    พวกยุโรปมักล่าอาณานิคมนี่ บ่ดีเลยเนาะ กรรมสิตามทันเด้อ ตอนนี้เศรษฐกิจบ้านเจ้าแย่แล้ว อย่ามาขอเข้าไทยลาวพม่ากินล่ะกัน

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •