กำลังแสดงผล 1 ถึง 7 จากทั้งหมด 7

หัวข้อ: ภาพเล่าเรื่อง ตอน เจ้าอุบล คนอีสาน

  1. #1
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30

    เกาทัณฑ์ ภาพเล่าเรื่อง ตอน เจ้าอุบล คนอีสาน



    ในปี ๒๓๒๕ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้ปราบดาภิเษกเป็น รัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี ทรงแต่งตั้งพระปทุมฯ เป็น "พระปทุมวรราชสุริยวงศ์" สถาปนาเมืองอุบล เป็น "เมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัย ประเทศราช" เมื่อวันจันทร์ แรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๘ ปีชวด จุลศักราช ๑๑๔๕ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๓๕

    พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (คำผง) ครองเมืองอุบลต่อมาอีก ๓ ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรม (พ.ศ. ๒๓๓๘) อายุ ๘๕ ปี
    รวมเวลาครองเมืองอุบลทั้งสิ้น ๑๗ ปี (พ.ศ. ๒๓๒๑-๒๓๓๘) ) ชาวเมืองอุบล ได้สร้างอนุสาวรีย์เจ้าคำผง ไว้ที่ทุ่งศรีเมือง ในเมืองอุบลราชธานี

    จากนั้นได้มีเจ้าเมืองปกครองมาอีก ๔ ท่าน จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ฝรั่งเศสล่าอาณานิคม จึงทรงเปลี่ยนการปกครองเมืองอุบลจากแบบ "อาดยา ๔" (แบบลาว) เป็นการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ได้ส่งพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เป็นผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ (พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๔๕๓)

    เกิดข่าวลือเรื่องยักษ์จะมากินคน เป็นจุดเริ่มต้นของขถบผีบุญในปี ๒๔๔๔
    กรมหลวงสรรพสิทธิ์ฯ ได้ปราบสงบราบคาบในเวลา ๓ เดือน
    จับหัวหน้าขบถหลายคนตัดคอเสียบประจานในท้องที่เกิดเหตุ
    ต่อมาได้มีข้าหลวง และผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

    ภาพเล่าเรื่อง ตอน เจ้าอุบล คนอีสาน

    พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์



    พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
    พระนามเดิม พระองค์เจ้าชุมพล
    พระราชโอรสองค์ที่ 11 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    และองค์ที่ 3 ใน เจ้าจอมมารดาพึ่ง
    ประสูติเมื่อวันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2400 ทรงเป็นต้นราชสกุล "ชุมพล"

    พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช ทรงสำเร็จการศึกษาทางด้านกฎหมายและด้านช่าง
    ทรงเริ่มรับราชการในกรมช่างทหารใน
    และดำรงตำแหน่งราชองครักษ์ (เอดเดอแกมป์)
    ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2427
    ทรงรับราชการในตำแหน่งอธิบดีศาลฎีกาและศาลแพ่ง ใน พ.ศ. 2436
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาพระเกียรติยศเป็น
    พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์
    ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ

    ต่อมาทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงต่างพระองค์
    เสด็จไปรับราชการที่มณฑลลาวกาว (อิสาน)
    ครอบคลุมท้องที่จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร
    อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และกาฬสินธุ์
    และตั้งกองบัญชาการที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ. 2436
    โดยทรงรับผิดชอบทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน

    ต่อมาในปี พ.ศ. 2442 ทรงค้นพบ
    ประสาทพระวิหาร บนผาเป้ยตาดี จังหวัดศรีสะเกษ
    และได้ทรงจารึก ร.ศ. ที่พบ
    และพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดี มีข้อความว่า "118 สรรพสิทธิ"

    พระองค์ปกครองมณฑลอิสานเป็นเวลากว่า 17 ปี กระทั่งปี พ.ศ. 2453
    ได้เสด็จกลับกรุงเทพฯ และทรงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง

    ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับสถาปนาพระเกียรติยศเป็น
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
    และได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ
    เนื่องจากทรงชราและมีพระอนามัยไม่สมบูรณ์
    กระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2465 รวมพระชนมายุได้ 65 พรรษา

    ภาพเล่าเรื่อง ตอน เจ้าอุบล คนอีสาน

    หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา
    หม่อมเจียงคำ สาวชั้นสูงลาวในภาคอีสานที่ได้เป็นหม่อมใน

    สมัยรัชกาลที่ห้า สวมเสื้อฝรั่งแขนหมูแฮม ใส่ผ้าถุงแบบลาว


    ประวัติ
    ...
    หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา
    เกิดเมื่อ พ.ศ.2422 เป็นธิดาคนที่ 9 ของท้าวสุรินทร์ชมภู
    และนางดวงจันทร์ เป็นชาวเมืองอุบลราชธานี

    ได้เข้าพิธีบายศรีสู่ขวัญถวายตัวเป็นชายาของพระ เจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เมื่อเดือนมีนาคม รศ.112 (พ.ศ.2437) ได้ให้กำเนิดโอรส 2 องค์ คือ หม่อมเจ้าอุปลีสาน ชุมพล และหม่อมเจ้ากมลีสาน ชุมพร

    ภาพเล่าเรื่อง ตอน เจ้าอุบล คนอีสาน

    หม่อมเจียงคำและหม่อมเจ้ากมลีสาน ชุมพล
    พระโอรสองค์เล็ก


    ภาพเล่าเรื่อง ตอน เจ้าอุบล คนอีสาน

    หม่อมเจ้าชาย อุปลีสาน ชุมพล

    ภาพเล่าเรื่อง ตอน เจ้าอุบล คนอีสาน

    หม่อมเจ้าบุญจิราธร จุฑาธุช ทรงมีพระนามเดิมว่า
    หม่อมเจ้าบุญจิราธร ชุมพล
    ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2440 เป็นธิดาของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
    พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
    กับ หม่อมบุญยืน บุตรีในท้าวไชยบุตร
    (บุดดี บุญรมย์) หลานเจ้าราชบุตรสุ่ย เจ้าเมืองอุบลราชธานี


    ภาพเล่าเรื่อง ตอน เจ้าอุบล คนอีสาน

    ภาพครอบครัวพระอุบลประชากรนิตย์ (บุญชู พรหมวงศานนท์)

    ประวัติเชื้อสายเจ้าทางอุบล

    เจ้านายอาชญาสี่เชื้อสายเเห่งเจ้าคำผงผู้บุตรในพระวอโอรสของเจ้าปางคำเจ้าผู้ครอง
    นครเชียงรุ้ง- อาญาสี่ หรืออาชญาสี่ เป็นตำแหน่งผู้บังคับบัญชาสูงสุด
    ใน การปกครองอุบลราชธานีในระยะแรก แบ่งเป็น สี่ ตำแหน่ง คือ เจ้าเมือง --อุปฮาด--ราชวงค์--ราชบุตร

    ต้น ตระกูลเจ้านายเมืองอุบลราชธานีมาจากนครเชียง รุ่งแสนหวีฟ้า
    คือเมื่อประมาณ ๓๐๐ กว่าปีก่อนหน้านี้ ราว พ.ศ.๒๒๒๘
    เกิดวิกฤติทางการเมืองในนครเชียงรุ่ง
    เนื่องจากจีนฮ่อหัวขาวหรือฮ่อธงขาวยกกำลังเข้า รุกราน
    เจ้านายนครเชียงรุ่ง คือเจ้าอินทกุมาร เจ้านางจันทกุมารี และเจ้าปางคำ
    จึงอพยพไพร่พลจากเมืองเชียงรุ่ง แสนหวีฟ้า
    ไปขอพึ่งพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชแห่งนครเวียงจันทน์
    ซึ่งเป็นพระประยูรญาติฝ่ายพระมารดา

    เจ้านครเวียงจันทน์ในเวลานั้นได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี
    โปรดให้นำไพร่พลไปตั้งที่เมืองหนองบัวลุ่มภู
    ไม่ต้องส่งส่วยบรรณาการ มีสิทธิ์สะสมไพร่พลอย่างเสรี
    สันนิษฐานว่าน่าจะมีฐานะอย่างเมืองลูกหลวง คือเป็นอิสระ
    มีชื่อว่า “นครเขื่อนขันฑ์กาบแก้วบัวบาน”
    ไม่ได้เป็นเมืองขึ้นของเวียงจันทน์โดยตรง

    ต่อมาพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชโปรดให้
    เจ้าอินทกุมารเสกสมรสกับพระราชธิดาองค์หนึ่ง ได้โอรสคือเจ้าคำ
    หรือเจ้าองค์นกโปรด ให้เจ้านางจันทกุมารีเสกสมรสกับเจ้าอุปฮาด(พระอุปยุวราช)
    ได้โอรสคือเจ้ากิงกีศราช และเจ้าอินทโสม
    ซึ่งต่อมาคือบรรพบุรุษของเจ้านายเมืองหลวงพระบาง

    ส่วนเจ้าปางคำได้เสกสมรสกับพระราชนัดดา
    ได้โอรสคือเจ้าพระตา เจ้าพระวอ (นักวิชาการประวัติศาสตร์ทางเวียงจันทน์ยืนยันว่าเจ้าพระตากับเจ้าพระวอเป็นบุคคลเดียวกัน มีพระนามว่าเจ้าพระวรพิตา หรือพระวอระปิตา)
    มีต่อนะคะ
    :,1-:,1-
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน; 19-07-2012 at 07:43.

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63
    ไม่น่าเชื่อเลยนะครับว่าเชื้อสายผู้ปกครองเมืองอุบลสมัยนั้นหรือยุคนั้นจะมาจากเวียงจันทร์
    และเป็นเชื้อพระวงศ์เจ้าผู้ครองนครเวียงจันทร์.

  3. #3
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ ชายอิสระ
    วันที่สมัคร
    Apr 2012
    กระทู้
    64
    ขอบพระคุณสาระ ความรู้ดี...อุบลบ้านผู้ข่าตั๋วนี่:l-

  4. #4
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30

    เกาทัณฑ์ ต่อนะคะ

    ต่อนะคะ


    งานพระราชทานเพลิงศพ "หลวงปู่พระราชรัตโนบล"


    เรื่อง ที่ว่าเจ้านายเมืองอุบลราชธานีสืบเชื้อสายมาจากเจ้านครเชียงรุ่งแสนหวีนี้
    มีหลักฐานปรากฏอยู่อีกอย่างหนึ่งคือการจัดพิธี เผาศพเจ้านายหรือสงฆ์ชั้น
    ผู้ใหญ่บนเมรุนกหัสดีลิงค์ ซึ่งเป็นธรรมเนียมประเพณีของนครเชียงรุ่ง
    ปัจจุบันนอกจากที่อุบลราชธานีแล้ว ที่เชียงใหม่ก็ยังถือปฏิบัติกันอยู่

    อีสาน ก็มี พิธีนกหัสดีลิงค์

    ... คำว่า นกหัสดีลิงค์ นี้ เป็นชื่อนกใหญ่ชนิดหนึ่งในเทวนิยายว่า
    อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ รูปตัวส่วนใหญ่เป็นนก เว้นแต่จงอยปากเป็นงวงอย่างงวงช้าง

    ชื่อนกหัสดีลิงค์ไม่ค่อยปรากฎในเทวนิยาย
    คนส่วนมากทราบเรื่องนกขนาดใหญ่ในนิยายก็มี เช่น หงส์ พญาครุฑ นกหัสดิน
    สำหรับนกหัสดิน รูปร้างเป็นนกทั้งตัว ใหญ่โต
    ขนาดโฉบเฉี่ยวเอาช้างในป่าไปกินเป็นอาหารได้ ไม่เกี่ยวโดยตรงกับนกหัสดีลิงค์

    นกที่มีจงอยปากเป็นงวงช้างนี้ ปรากฏในภาษาบาลีว่า หัตดีลิงค์สกุโณ
    (หัตดี คือ ช้าง ลิงค์ แปลว่า เพศ สกุโณ แปลว่า นก)
    ในภาษาสันสกฤต คือ หัสดิน ลิงคะ แปลอย่างเดียวกัน
    ไทยเลือกใช้คำว่า หัสดีลิงค์ แปลกที่คำนี้ไม่มีในปทานุกรม
    กรมตำรากระทรวงธรรมการ พิมพ์ พ.ศ.2470
    ไม่มีในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493 และ พ.ศ.2525
    ค้นคว้าต่อไปพบในอักขราภิธานศรันท์ ของหมอปรัดเล พิมพ์ พ.ศ.2416 หน้า 328 และพบในปทานุกรม บาลีไทย-อังกฤษ-สันสกฤต ของกรมพระจันทบุรีนฤนาถ
    ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2513 หน้า 867
    หรือแม้ในบาลีสยามอภิธานของนาคะประทีป เรียบเรียงไว้ พ.ศ.2465
    ก็มีปรากฏคำนี้อยู่ แสดงว่าคนไทยเรารู้จักคำนี้มานาน พจนานุกรมภาคอีสาน - ภาคกลาง ฉบับปฏิธาน สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส) ก็รักษาคำนี้ไว้

    ชาวอีสานรุ่นเก่า รู้จักนกหัสดีลิงค์ โดยเหตุที่งานศพเจ้านายผู้ใหญ่
    พระเถระผู้ใหญ่ หรืองานศพท่านผู้มีวาสนาบารมีสูงยิ่ง
    มักจัดงานศพโดยสร้างรูปนกหัสดีลิงค์ มีพิธีบวงสรวงก่อนสร้างรูปนก
    นกนั้นขนาดใหญ่ รองรับหีบศพได้ นิยมสร้างในวัดใกล้บ้านผู้ตาย
    จัดหาช่างและวัสดุเครื่องสังเวยให้พร้อม เพียงแต่เริ่มสร้าง
    ก็เป็นที่สนใจของคนทั่วไป นกนั้นสร้างแบบมีชีวิต เช่น หันศีรษะได้ งวงม้วนได้
    ตากระพริบ หูกระดิก มีเสียงร้องได้ด้วย
    หลังนกมีที่ว่างพอสำหรับพระภิกษุนั่งอ่านคัมภีร์หน้าศพไปด้วย
    พิธีจัดกระบวนญาตินุ่งขาวห่มขาวตามหลังศพ มีฆ้องดนตรีธงต่างๆ
    ถ้ามีเครื่องยศของผู้ตาย ก็ต้องเข้าขบวนด้วย

    เนื่องจากศพแต่ละงานมีฐานะต่างกัน บางงานกำหนดเผาที่วัด
    บางงานกำหนดเผาที่ทุ่งกลางเมือง การนำศพเคลื่อนจากที่ตั้งกระบวนไปยังที่เมรุ
    เขานิยมใช้ตะเฆ่รองรับฐานของนกหัสดีลิงค์
    มีเชือก 3 สายผูกที่ฐานล่างของนกให้ญาติและชาวบ้านชักลากไป
    ถ้าเป็นศพเจ้าเมืองหรือศพพระเถระผู้ใหญ่สมัยเก่า เขาเล่ากันว่า
    คนทั้งเมืองมาช่วยกันลากศพนั้นช้าๆ งานใหญ่ๆ
    เช่นนี้ สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ โรงทาน น้ำกินน้ำใช้ ต้องบริบูรณ์ตลอดงาน
    ครั้นศพถึงเมรุ ผู้เข้าพิธีในงานจัดกำลังไว้ยกนกหัสดีลิงค์ที่บรรจุหีบศพเข้าเทียบในเมรุ

    วัตถุประสงค์ในการทำนกหัสดีลิงค์ คือ นกใหญ่เช่นนั้น มีฤทธิ์กำลังมาก
    แสดงว่าผู้ตายมีบุญบารมีมาก จึงอยู่บนหลังนกนั้นได้ และเมื่อจะทำฌาปนกิจ
    ต้องมีพิธีฆ่านกหัสดีลิงค์เสียก่อนประชุมเพลิง ลำดับงานอย่างเช่น
    เมื่อศพเทียบเมรุแล้ว สวดอภิธรรม มีสมโภชน์ศพตามกำลังของเจ้าภาพและญาติ
    จนถึงกำหนดวันประชุมเพลิง
    เจ้าพิธีจัดเครืองบวงสรวงเชิญผู้ที่กำหนดตัวเป็น
    ผู้ทำพิธีฆ่านกหัสดีลิงค์ ผู้จะฆ่านก ต้องฟ้อนรำตรงไปที่ตัวนก
    รำไปรอบตัวนก 3 รอบ แล้วใช้ศรยิงไปที่ยังตัวนก เขาสมมุติกันแล้วว่า
    จะเสียบลูกศรเข้าไปจุดใดของนก ทำเครื่องหมายไว้ พอลูกศรเสียบตัวนก
    คนที่เตรียมไว้ภายในตัวนก จะเทสีแดงออกมาจากรอยลูกศร
    คนภายในตัวนกจะส่งเสียงร้อง
    แล้วการเคลื่อนไหวของนกจะช้าลงจนหยุดนิ่ง คือ นกตายไปแล้ว
    ในท้องนกเขาเตรียมฟืนไว้แล้ว เจ้าพิธีเลื่อนหีบศพลงชิดกองฟืน ทอดผ้าบังสุกุล แล้วประชุมเพลิงตามอย่างงานทั่วไป

    ในจังหวัดอุบลราชธานีมีข่าวมรณภาพของมหาเถระผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง
    ณ วัดมณีวนาราม (วัดป่าน้อย) คือท่านเจ้าพระคุณพระธรรมเสนานี
    อันเป็นที่เคารพยิ่งของคนเมืองอุบลแทบทุกตัวคน
    ข่าวมีต่อมาว่า น่าจะจัดงานรับพระราชทานเพลิงศพด้วยแบบนกหัสดีลิงค์
    อันเป้นพิธีเก่าแก่คู่บ้านคุ่เมืองอีสานมานาน

    ทั้งเป็นการย้ำประวัติที่ว่ามานานแล้ว
    ท่านธรรมบาลผุย หลักคำเมือง เจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม
    เมื่อท่านมรณภาพก็ได้จัดงานศพนกหัสดีลิงค์ไว้แล้ว
    ในวัดใกล้เคียง เช่น วัดทุ่งศรีเมือง ก็เคยจัดงานศพท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล
    ในวันที่ 10-16 เมษายน พ.ศ.2486 โดยวิธีรูปนกหัสดีลิงค์เช่นกัน
    พร้อมทั้งพิมพวรรณคดีอีสานเรื่องท้าวฮุ่ง หรือ เจือง ในงานนั้นด้วย

    งานศพแบบนกหัสดีลิงค์ ยังมีปรากฎในเมืองอุบลอีกครั้งหนึ่ง คือ วันที่ 23 เมษายน 2491 ณ วัดสร่างโศก อำเภอยโสธร
    (ครั้งนั้นยังเป็นอำเภอขึ้นต่อจังหวัดอุบลราชธานี)
    เป็นศพพระครูจิตตวิโสธนาจารย์ (ทองพูล)
    โดยท่านเจ้าพระคุณสมเจพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส)
    บัญชาให้จัดทำงานนั้นพิมพ์พงศาวดารเมืองยโสธรชำร่วย

    ข้อควรสงสัยว่า มีแบบธรรมเนียมการทำศพรูปนกหัสดีลิงค์
    เอาแบบอย่างมาจากที่ใดก็ได้ ความจากนักปราชญ์ 2 ท่าน คือ เมื่อ พ.ศ.2482
    พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) เคยทำหนังสือถวายกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ความว่า ชาวเชียงใหม่ทำศพโดยทำรูปนกหัสดีลิงค์ ถวายความเป็นว่า
    น่าจะเอาอย่างมาจากอุตตรกุรุ (คืออินเดีย) กรมพระยานริศประทานคำตอบว่า
    ประเพณีจากอินเดียมาสู่เขมร จากเขมรเข้ามาไทยภาคอีสาน
    แล้วทางพายัพจึงเอาอย่างจากภาคอีสานไป
    จากการศึกษาวิธีทำศพแบบนี้ เขาทำรูปนกหัสดีลิงค์ขึ้นก่อน
    บนหลังทำเป็นเรือน หรือ วอ หรือ บุษบก เรียกว่า พนมศพ

    จากจดหมายเหตุของแฟร์นังค์มังเดช ปินโต ชาวโปรตุเกส
    บันทึกไว้ในคราวงานพระศพพระชัยราชา พ.ศ. 2087 ไม่พอเป็นที่ยุติได้
    เพราะบรรยายว่า ในงานนั้นมีรูปงู จะกวด เสือ ช้าง และสัตว์อื่นๆ รวมทั้งนกด้วย

    อ่านหนังสือลิลิตพระลอ ซึ่งแต่งสมัยอยุธยา
    ก็ได้ความว่า พระลอเป็นนิยายภาคพายัพของไทย พระเพื่อน พระแพง นายแก้ว นายขวัญ นางรื่น นางโรย ตายไปพร้อมกันนั้น
    จัดการศพเป็นการใหญ่ "ให้แต่งพนมอัฐทิศ พิพิธราชวัติฉัตร"
    ตรงกับพนมศพที่เคยศึกษาไว้
    เพื่อเป็นข้อมูลเล็กน้อย พอจะสืบสาวที่มาของการทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ต่อไป

    หมายเหตุผู้เขียนฯ : "เรื่องราวนกหัสดีลิงค์" ทั้งหมดข้างต้น
    เป็นบทความของคุณวรา ไวยหงษ์ อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา
    น้องชายคุณนาค ไวยหงษ์
    อดีตอธิบดีกรมศุลกากร บ้านอยุ่ถนนอุปราช ด้านทิศตะวันตกของวัดสุทัศนาราม

    ต่อนะคะ


    พิธีเผาศพ เจ้าอุบล หรือ พระผู้ใหญ่ในเมืองอุบล ทีทุ่งศรีเมือง
    ที่มีปราสาทครอบนกหัสดีลิงค์ ไว้อย่างละเอียดงดงามก่อนเผา

    จะมีการทำพิธี ฆ่านกหัสดีลิงค์ เสียก่อน-ดังมีที่มาดังนี้

    สมัยโบราณหลายพันปีมาแล้วในนครตักศิลาเชียงรุ้งแสนหวีฟ้านคร
    พระมหากษัตริย์แห่งนครถึงแก่สวรรคต
    ตามธรรมเนียมต้องอัญเชิญพระศพออกไปฌาปนกิจที่ทุ่งหลวง
    ในครั้งนั้นพระมหาเทวีให้จัดพระศพตามโบราณประเพณี ได้แห่พระศพออกจากพระราชวังไปยังทุ่งหลวงเพื่อถวายพระเพลิง
    ขณะนั้นมีนกสักกะไดลืิงค์หรือนกหัสดีลิงค์ซึ่งกินเนื้อสัตวืเป็นอาหารบินมาจากป่าหิมพานต์ นกได้เห้นพระศพเห็นว่าเป็นอาหารชองเขา
    จึงบินโฉบลงมาเอาพระศพไปกิน
    เมื่อพระมหาเทวีเห็นเช่นนั้นจึงได้ประกาศหาคนดีต่อสู้กับนกเอาพระศพคืนมาดู
    คนทั้งหลายอาสาแต่ต่อสู้กับนกไม่ได้โดนนกจับกินหมด
    ในครั้งนั้นธิดาแห่พญาตักศิลาอาสาสู้นก นางมีนามว่าสีดา
    นางใช้ศรอาบยาพิษยิงนกฯ นกหัสดีลิงค์ถึงแก่ความตายตกลงมาพร้อมพระศพ
    พระมหาเทวีจึงโปรดสั่งให้ช่างทำเมรุ
    คืกหอแก้บนหลังนกหัสดีลิงค์แล้วอัญเชิญพระศพขึ้นประดิษฐานบนหลังนกหัสดีลิงค์แล้วถวายพระเพลิงไปพร้อมกัน-

    ทั้งนี้เนื่องจาก-- เจ้านายเมืองอุบลราชธานีสืบเชื้อสายมาจากเจ้านครเชียงรุ่งแสนหวีนี้ มีหลักฐานปรากฏอยู่อีกอย่างหนึ่งคือการจัดพิธี เผาศพเจ้านายหรือสงฆ์ชั้น ผู้ใหญ่บนเมรุนกหัสดีลิงค์ ซึ่งเป็นธรรมเนียมประเพณีของนครเชียงรุ่ง ปัจจุบันนอกจากที่อุบลราชธานีแล้ว ที่เชียงใหม่ก็ยังถือปฏิบัติกันอยู่

    ต่อนะคะ


    สาวชั้นสูง ลาว ในภาคอีสาน สมัยรัชกาลที่ห้า สวมเสื้อห่มสไบ แต่ ใส่ผ้าถุงแบบลาว

    มีต่อนะคะ น่าสนใจมากๆคะ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน; 19-07-2012 at 07:41.

  5. #5
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ ณัฐ ภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2012
    กระทู้
    747
    ได้ความรู้มีสาระดีครับขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆๆแบบนี้คันมีต่อเอามาให่อ่านนำแหน่เด้อครับ:*-

  6. #6
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430
    โอ้....ป๊าด....ขอบคุณเนื้อหาดี ๆ ครับ

    ออย...ย่านมีเชื้อเจ้าเมืองอุบลอยู่แถว ๆ ผักไห่ อยุธยา หรือแถว ๆ แยกวงศ์สว่างอยู่

    ต่อไปสิได้สำรวมกั่วนี้อยู่ดอกซั่น การพูดการจา

  7. #7
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30

    เกาทัณฑ์ จบแล้วค่ะ^_^

    จบแล้วค่ะ^_^

    “ ทุ่งศรีเมือง ” เดิมมีชื่อว่า “ นา ทุ่งศรีเมือง ” เป็นศรีของเมืองอุบลฯ ตั้งแต่ครั้งเริ่มตั้งเมือง 200 กว่าปีมาแล้ว ทุ่งศรีเมืองมีพื้นที่รวมประมาณ 39 ไร่ เป็นทุ่งกว้างกลางเมืองคล้ายสนามหลวงของกรุงเทพฯ เดิมเป็นที่ทำนาของเจ้าเมือง ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้งดการทำนาที่ทุ่งศรีเมือง
    เพื่อรักษาไว้ให้เป็นที่พักผ่อนของชาวเมือง และเป็นที่จัดเทศกาลงานบุญต่างๆ

    ทุ่งศรีเมืองในอดีต .. ใช้ประโยชน์ส่วนรวมเช'นเดียวกับสนามหลวง
    ในกรุงเทพมหานคร กล่าวคือ
    สนามหลวงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ ทุ่งพระเมรุ ” เพราะ
    เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ชั้นสูง
    ส่วนทุ่งศรีเมืองอุบลราชธานีก็เป็นที่ประกอบพิธีศพเจ้าเมืองและอาญาสี่
    ตามประเพณีการทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ หรือนกหัสไดลิงค์ ตามภาษาถิ่น

    ต่อมาภายหลังเมื่อ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
    ดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์ สำเร็จราชการมณฑลอิสาน
    ตั้งที่บัญชาการมณฑลที่เมืองอุบลราชธานี ให้ยกเลิกประเพณีเผาศพที่ทุ่งศรีเมือง
    สถานที่แห่งนี้ก็ใช้เพื่อจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา (ดูภาพประกอบ)
    และประเพณีอื่นๆ ได้ใช้เป็นสนามฝึกซ้อมเสือป่า
    เป็นสถานที่ชุมนุมลูกเสือแห่งชาติส่วนภูมิภาครวมทั้ง
    การประกอบรัฐพิธีกับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน
    จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
    ก็ใช้เป็นสถานที่สวนสนามในวันชาติ 24 มิถุนายน
    และจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญในวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปีในสมัยนั้น
    ตลอดจนใช้ทุ่งศรีเมืองเป็นสนามกีฬาประเภทต่างๆ เช่น ใช้เป็นสนามม้า สนามมวย รวมทั้งฟุตบอลเมื่อประมาณ 50-60 ปีมาแล้ว

    ทุ่งศรีเมืองมีประตูทางเข้า 4 ทิศ 4 ประตู คือ
    อุบลเดชประชารักษ์ อุบลศักดิ์ประชาบาล อุบลการประชานิตย์
    และอุบลกิจประชากร ภายในทุ่งศรีเมืองมีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญๆ หลายอย่าง

    จบแล้วค่ะ^_^

    ภาคอีสานมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น
    เช่น อาหาร ภาษา ดนตรีหมอลำ และศิลปะการฟ้อนรำที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น


    จบแล้วค่ะ^_^

    ขุนนางท่าอุเทนสมัยนั้น

    จบแล้วค่ะ^_^

    ภาพเก่าลายเส้นของฝรั่งที่มาอุบลและได้รับการต้อนรับจากเจ้าเมืองเมื่อร้อยปีก่อน
    จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์กว่าจะเป็นเมืองอุบล
    ซึ่งมีมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2228 เจ้าปางคำ
    เจ้าเมืองเชียงรุ้ง แสนหวีฟ้า อพยพไพร่พลหนีความวุ่นวายออกจากเมือง
    เข้าพึ่งพระเจ้าสุริยะวงศ์ธรรมิกราชแห่ง เวียงจันทร์
    เจ้าสุริยะวงศ์ฯได้ให้นำไพร่พลไปตั้งที่เมืองลุ่มภู
    มีอิสระไม่ขึ้นต่อเวียงจันทร์ เจ้าปางคำได้สถาปนาเมืองเปน
    ”นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน”เป็นจุดเริ่มต้น
    ประวัติศาสตร์แห่งบรรพบุรุษเมืองอุบล
    ที่สร้างตำนานการต่อสู้กว่าจะเป็นเมืองอุบลนับรวมกว่า 107 ปี
    ในสมัยพระปทุมราชวงศา(เจ้าคำผง) ผู้เป็นหลานเจ้าปางคำ

    พุทธศักราช 2335 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
    ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเมืองอุบลขึ้นเป็นเมืองประเทศราช
    ชื่อ”อุบลราชธานีธานีศรีวนาลัย ประเทศราช”
    โปรดเกล้าฯให้พระประทุมราชวงศาเป็นพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (คำผง)
    เป็นเจ้าผู้ครองเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราช ถือเป็นเจ้าเมืองคนแรกของอุบลราชธานี ทรงพระราชทานพระสุพรรณบัตร
    และเครื่องยศเจ้าเมืองประเทศราช และให้ทำพิธีสบถสาบานถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
    ต่อหน้าพระพักตร์เสกให้ ณ วันจันทร์ เดือน 8 แรม 13 ค่ำ จุลศักราช 1154 ปี จัตวาศก ซึ่งตรงกับวันที่ 16 กรกฎาคม 2335

    นับรวมการสถาปนาก่อตั้งเมืองอุบลราชธานีจนถึงปัจจุบันรวม 218 ปี

    ////ภาพเก่าแก่ลายเส้น ของฝรั่ง ที่เข้ามาอุบล และได้รับการต้อนรับจากเจ้าเมืองอุบล เมื่อร้อยปีก่อน///

    จบแล้วค่ะ^_^

    ร้านค้าของชาวจีนในตลาดเดชอุดม อุบลราชธานีค.ศ. 1938

    จบแล้วค่ะ^_^

    โฮงรับแขกเมืองอุบลของเจ้าเมืองอุบล ที่กำลังต้อนรับทูตฝรั่งที่มาสำรวจเมือง
    ภาพเขียนโดยชาวฝรั่งนี้น่าจะอยู่ในช่วงค.ศ. 1845-1921

    จบแล้วค่ะ^_^

    ภาพครอบครัวชนชั้นสูง ที่มีความสวยงามโดดเด่นในการแต่งกาย
    ของ ชาวเมืองเขมราฐ ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี

    ที่มา จดหมายเหตุ หอสมุดแห่งชาติ
    และภาพจากคุณมนตรี ปัญญาฟู
    ขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามค่ะ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน; 19-07-2012 at 07:38.

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •