กำลังแสดงผล 1 ถึง 5 จากทั้งหมด 5

หัวข้อ: อีสาน...ชุบชีวิต “ฟ้อนกลองตุ้ม – เรือมอันเร”

  1. #1
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30

    อ่านข่าวออนไลน์ อีสาน...ชุบชีวิต “ฟ้อนกลองตุ้ม – เรือมอันเร”

    อีสาน...ชุบชีวิต “ฟ้อนกลองตุ้ม – เรือมอันเร”

    อีสาน...ชุบชีวิต

    “ฟ้อนกลองตุ้ม – เรือมอันเร”

    เสน่ห์ศิลปะแสดงพื้นบ้าน


    อีสาน...ชุบชีวิต “ฟ้อนกลองตุ้ม – เรือมอันเร”

    ฟ้อนกลองตุ้มและเรือมอันเร ศิลปะการแสดงพื้นบ้านดั้งเดิมของคนอีสาน ที่คนภาคอื่นอาจไม่รู้จักดีเท่ากับการแสดงหมอลำ แต่มาบัดนี้ มรดกวัฒนธรรมจับต้องไม่ได้ของการแสดงพื้นบ้านดังกล่าวได้มีการหยิบยกขึ้นมาแสดงบนหน้าม่าน เพื่อให้คนทั่วไปได้รู้จักมากขึ้น

    เด็กหนุ่มคณะศรีลำดวนจากวิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมาปรากฏกายขึ้นในชุด นุ่งโสร่ง สวมเสื้อย้อมคราม ใช้ผ้าขิดพาดเฉียงไหล่บ่าสองข้าง โพกศีรษะและมัดเอว คอคล้องสร้อยโลหะ ลูกกะดิ่งร้อยพรวนรอบเอว และนิ้วมือทั้งสิบนิ้วสวมส่วยมือฟ้อน และใบหน้าใส่แว่นตาดำ

    ในทันทีที่เสียงดนตรีบรรเลงด้วยกลองตุ้มกระทบโสตประสาท สองมือสิบนิ้วกางฟ้อนรำและสองเท้าขยับเข้าเป็นจังหวะในรูปเรียงแถวหน้ากระดาน ด้วยท่วงท่าที่แข็งแต่สง่างาม นี่คือฉากหนึ่ง ฟ้อนกลองตุ้ม ที่สืบทอดกันมาแต่เก่าแก่ใช้ในพิธีกรรมขอฝนของชาวอีสาน

    มิเพียงเด็กหนุ่มรุ่นราวคราวเดียวกันในคณะนี้ ยังมีนักแสดงชายหญิงผสมผู้ใหญ่กว่าอีกสิบคณะจากร้อยเอ็ด อุบลราชธานี เข้าร่วมประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ประจำปี 2555 ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

    สนับสนุนโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาเขตขามเรียง เมื่อปลายเดือนมิถุนายน ซึ่งภายหลังคณะกรรมการฯ ได้ประกาศให้เด็กหนุ่มคณะศรีลำดวนชนะเลิศการประกวดฟ้อนกลองตุ้ม

    ความโดดเด่นของคณะนี้ น่าจะอยู่ตรงที่การแสดงเป็นผู้ชายล้วนๆ “เราต้องการสื่อให้เห็นท่วงท่าฟ้อนของนิ้วมือมีลักษณะแข็งทื่อมากกว่าผู้ชายจีบนิ้วอ่อนช้อยแบบโขนละคร” กฤษฎา ผึ้งสังวร หนุ่มวัย 23 ตัวแทนคณะให้สัมภาษณ์ระหว่างซ้อมก่อนขึ้นเวทีแสดง

    สอดรับกับในทรรศนะปราชญ์ฟ้อนกลองตุ้ม วิบูลย์ บุญละวงษ์ วัย 65 ชาวอุบลฯ “รูปแบบฟ้อนนี้ดั้งเดิมเป็นผู้ชาย แต่ตอนหลังมีผู้หญิงเข้ามาร่วมฟ้อน เพราะเห็นว่าการฟ้อนน่าจะมีความอ่อนช้อยแทรกอยู่บ้าง” และกล่าวถึงการฟ้อนชนิดนี้ มีบทคำเจิงหรือเซิ้ง

    กลองตุ้มใช้ตีกันมาแต่บรรพบุรุษ ทั้งแทรกอยู่ในวิถีชีวิตจารีต ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ ของชาวอีสาน อันเกี่ยวเนื่องกับประเพณีบุญบั้งไฟ ขอน้ำฟ้าน้ำฝนจากพญาแถนให้ตกลงมาสร้างความอุดมสมบูรณ์โลกมนุษย์


    อีสาน...ชุบชีวิต “ฟ้อนกลองตุ้ม – เรือมอันเร”

    ขณะเดียวกันบนหน้าม่านการประกวด ยังมีมรดกวัฒนธรรมการแสดงศิลปะฟ้อนรำดั้งเดิมอีกแขนงหนึ่ง คือ เรือมอันเร ชวนให้สะกดสายตาผู้ชมให้อยู่กับเสียงกระทบไม้ นักแสดงฟ้อนรำหรือการแสดงท่วงท่าลีลาให้เข้าจังหวะ คล้ายกับการแสดงลาวกระทบไม้ ทำนองนั้น

    เรือม แปลว่า “รำ” อันเร แปลว่า “สาก” (ยาว 2-3 เมตร ตีคู่กัน มีหมอนวางรองหัว-ท้ายสาก เพื่อยกให้สูงจากพื้นเวลาตี) เมื่อรวมความ เรือมอันเร คือการ รำสาก นั่นเอง เป็นการฟ้อนรำของวัฒนธรรมเขมร ถ่ายเทกันไปมาทางถิ่นอีสานใต้ของไทย

    “เพียงแต่ตอนหลังของพื้นที่ทางวัฒนธรรมถูกแบ่งด้วยเส้นเขตแดนประเทศ และการแสดงนี้นิยมเล่นในงานมหรสพบันเทิง พบเห็นได้ตามลานหมู่บ้านและลานวัดซึ่งส่วนใหญ่ในเขตสุรินทร์และบุรีรัมย์” รศ.ดร. ปิยพันธ์ แสนทวีสุข กรรมการประกวดฯ กล่าวสังเขป

    เสน่ห์ของศิลปะการแสดงเรือมอันเร หรือรำสาก ว่ากัน ในสมัยก่อนไม่มีท่ารำแบบแผนแน่นอนนัก เพราะเป็นการรำเพื่อความสนุกสนานในยามพักผ่อน ส่วนมากผู้หญิงเป็นฝ่ายรำสาก ส่วนหนุ่มๆ ถ้าชอบใจสาวรำสากก็จะขอเข้าไปร่วมรำสากด้วย

    แต่สำหรับในเวทีการแสดง ผู้ชายมักจะเป็นฝ่ายออกท่าทางลีลาให้เข้าจังหวะเสียงกระทบไม้ บางรายมีศิลปะลีลาแพรวพราว เรียกเสียงปรบมือผู้ชมตอนท้ายรายการ

    นอกเหนือจากศิลปะท่ารำสากแล้ว บรรดานักแสดงร่วมสมัยทุกเพศวัยทั้งสิบคณะเข้าประชันขันแข่ง อยู่ในชุดแต่งกาย ชายนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลม ผ้าขาวม้าคาดเอวและพาดไหล่ ผู้หญิงนุ่งผ้าไหมพื้นเมือง (เรียกว่า “ซัมป็วตโฮส”) สวมเสื้อแขนกระบอก สไบพาดไหล่มัดรวมไว้ด้านข้าง คอสวมเครื่องประดับเงิน และดอกไม้ทัดผม

    ขึ้นเวทีอวดฟ้อนรำสาก ตามเสียงกระทบไม้แล้วยังมีเครื่องดนตรีพื้นบ้าน กลองโทน เลาซออู้ ปี่ใน คัน ฉิ่ง กราบ บรรเลงควบคู่ไปกับบททำนองไหว้ครูและท่ารำ (ภาษาเขมร) ของผู้ขับร้อง

    “ศิลปะการแสดงพื้นบ้านยังคงไม่หายไปไหน ถ้ายังได้รับความนิยมอยู่ โดยเฉพาะการให้ความสำคัญศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นมากขึ้น เราก็จะไปดึงการแสดงดั้งเดิมหรือเก่าๆ ขึ้นมา เหมือนอย่างที่คณะทำงานจัดการแสดงประกวด ซึ่งทางหนึ่งเป็นการกระตุ้นในรูปแบบการสืบทอดนั่นเอง” ปิยพันธ์ กรรมการฯ ชี้ให้เห็น

    ทุกวันนี้ ยังมีมรดกวัฒนธรรมจับต้องไม่ได้ทางดนตรี และการแสดงพื้นบ้านอีกจำนวนมาก เข้าคิวรอเปิดตัวให้สาธารณชนรับรู้







    ขอบคุณ
    สยามรัฐออนไลน์
    ภูมิบ้านภูมิเมือง
    คุณชมวง พฤกษาถิ่น

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ น้องไอซ์
    วันที่สมัคร
    Oct 2010
    กระทู้
    48
    ขอบคุณเด้อค่ะที่เอาตะแนวดีๆมาไห่อ่าน แต่ว่าอันนิยายหรือว่านิทานนี่เอามาไห่มันจบได่บ่ค่ะ เพราะอ่านสุแนวที่เอาลงอ่านไปๆ ละค้างบ่จบจักเทือ แบบว่าอยากติดตามไห่มันจบแมะค่ะ อิอิ

  3. #3
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30
    นิยายจบทุกเรื่องเด้อค่ะ บ่ว่าสิเป็น เวลาของความรัก(ต้นไม้ของหัวใจ)
    หวานละไม ชัยภูมิ,กำนันจ้อนแห่งหนองส่องแมว จบไปแล้วเหลือเรื่องใหม่ ตามหานายฮ้อย..ที่หายไปเพิ่งลงไปสองตอนกะไว้น่าสิ 12 ตอนจบค่ะ

    มีกระทู้ใดที่บ่จบบอกบีเด้อจ้ะ หรือสงสัยอีหยังกะถามได้บีสิค้นข้อมูลมาให้
    ขอบคุณที่ติดตามจ้า

  4. #4
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63
    ครับน้องบีดีมากเพราะเราจะได้ช่วยกันอนุรักษ์ประเพณีต่างๆที่มีอยุ่เพื่อเอาไว้เป็น
    มรดกไว้ให้ลูกหลานของไทยเรารวมถึงการแสดงพื้นบ้านอีกจำนวนมากที่ยังไม่มีผู้นำมาเผยแผ่ให้ชาวโลกทราบ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย lungyai1123; 20-07-2012 at 09:59. เหตุผล: แก้ไขตัวหนังสือ

  5. #5
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ ครูจุ่น
    วันที่สมัคร
    May 2012
    กระทู้
    128
    ดีจังครับ ที่ได้นำเอาศิลปวัมนธรรม มานำเสนอ เพราะศิลปะวัฒนธรรมเหล่านี้เป็นสื่อที่สำคัญในการสื่อองค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาที่ถูกทดลองใช้จนมีความมั่นใจว่า เป้นสิ่งที่ถูกต้อง เป็นสิ่งดีงามที่ควรต้องสื่อให้ชนรุ่นหลังได้รับรู้และค้นหาคุณค่าของภูมิปัญญานั้นในการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม แต่มีคำถามนะ เรือมอันเร ทำไมมีเล็บเป้นเครื่องประดับยาวดั่งฟ้อนโนราห์หรือฟ้อนเล็บทางเหนือ และที่แปลกกว่านั้น ทำไม?ถึงสวมแว่นตาดำขึ้นรำ ไม่สวมได้ไหม?

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •