อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา.
บัณฑิต ย่อมฝึกตน.



อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา. บัณฑิต ย่อมฝึกตน.

ภาพโครงการจาริกธุดงค์เฉลิมพระเกียรติฯ ครั้งที่ ๑๔


การฝึกตน หมายถึงการฝึกฝน อบรมทั้งกายและจิตใจให้อยู่ในกรอบระเบียบ วินัย ฝึกทางกายเพื่อให้มีความมีระเบียบ คือ มีการปฏิบัติตนให้ตรงต่อเวลา ต่อหน้าที่ ส่วนการฝึกใจ เพื่อให้ตั้งอยู่ในกรอบศีลธรรม มีพลังจิตที่เข้มแข็ง กล้าหาญ อดทนฯ คำว่า บัณฑิต ท่านหมายถึง คนมีความรู้ดี มีสติปัญญารู้เท่าเอาไว้กัน รู้ทันเอาไว้แก้ เพื่อรับสถานการณ์ทั้งที่มาจากภายในและที่มาจากภายนอก ที่ท่านสอนให้ฝึกตน เพื่อจะได้ให้เป็นคนเข้มแข็งทั้งกายและใจ อันจะกล้าหาญต่อสู้กับอำนาจฝ่ายชั่ว ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกขณะประกอบหน้าที่การงาน ยิ่งในทางโลกย่อมจะมีสภาวะต้องเผชิญต่อบุคคลหลายร้อยพ่อพันแม่ เมื่อได้ฝึกใจในทางธรรม ซึ่งหมายถงการฝึกกาย วาจา และใจให้มีสติ สัมปชัญญะ รู้บาปบุญ คุณโทษ ประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์ ย่อมจักเป็นคนสมกับคำว่า บัณฑิต คือ คนที่มีเหตุมีผล รู้เท่าทันคนโดยทั่วไปฯ ดังนั้นแม้จะเป็นบัณฑิต คือผู้รู้ดีแล้ว ย่อมจะต้องฝึกตนอยู่อย่างสม่ำเสมอด้วยฯ

ม.ม. ๑๓/๔๘๙. ขุ.ธ. ๒๕/๒๕. ขุ.เถร. ๒๖/๓๘๙
อัตตวรรค คือ หมวดตน

ที่มา : หนังสือ คู่มือสำหรับนักเรียน นักธรรมและธรรมศึกษา ชั้นตรี วิชา พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ โดย คณาจารย์เสี่ยงเซียงจงเจริญ


อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา. บัณฑิต ย่อมฝึกตน.