:l-เตรียมแห่ต้นผ้าป่าอ้อมศาลาวัด
ม่วนคักเนาะป้า
:l-เมื่อวันเข้าพรรษาได้มีโอกาสเมือบ้านพร้อมกับคณะผ้าป่าน้อยๆ ร่วมสร้างหอระฆังที่วัดของหมู่บ้าน:l-เลยเก็บภาพบรรยากาศแบบอีสานบ้านเฮามาฝากจ้า:l-
เพื่อยืนยันว่าเฮือนใกล้วัด
พ่อครัวแม่ครัวเครียมกับข้าวต้อนรับคณะผ้าป่า เมนูอาหารกะมี ลาบไก่ ต้มไก่ ป่นปลา ผักลวก ตำบักหุ่ง ผัดหมี่ ขนมหวาน ลอดช่องสิงคโปร์ใส่บักหมี้สุก:l-
แม่ครัวตำบักหุ่ง แซ่บๆๆๆ
:l-คุณป้าๆ คณะผ้าป่าน้อยจาก กทม
:l-เตรียมเที่ยนพรรษาถวายนำเพิ่นก่อน
:l-เตรียมแห่ต้นผ้าป่าอ้อมศาลาวัด
ม่วนคักเนาะป้า
ทางเข้าบ้าน
:l-บักหุ่งต้นนี่ล่ะเอาไปตำส้มตำเลี้ยงคณะผ้าป่า
หมากหุ่งดกเนาะจ้า ต้นเอนแล้วหาไม้ค้ำแน่
อยากไปทำบูญร่วมกันกับพี่น้องเนาะครับแต่ว่าอยู่ไกลครับส่งบุญมาหลายๆๆๆครับ
ประวัติความเป็นมา
ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระบรมศาสดายังมิได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทั้งหลาย รับจีวร จากชาวบ้าน พระภิกษุเหล่านั้นจึงต้องเที่ยวเก็บผ้าที่เขาทิ้งแล้วเช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ที่ชาวบ้านไม่ต้องการ นำมาทิ้งไว้ ผ้าห่อศพ ฯลฯ เมื่อรวบรวมผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อย พอแก่ความต้องการแล้ว จึงนำมาซักทำความสะอาด ตัดเย็บ ย้อม เพื่อทำเป็นจีวร สบง หรือสังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่ง การทำจีวรของภิกษุในสมัยพุทธกาล จึงค่อนข้างยุ่งยาก และเป็นงานใหญ่ ดังที่กล่าวไว้แล้วในเรื่องพิธีทอดกฐิน ครั้นชาวบ้านทั้งหลาย เห็นความยากลำบากของพระภิกษุสงฆ์ ต้องการจะนำผ้ามาถวาย แต่เมื่อยังไม่มีพุทธานุญาต โดยตรง จึงนำผ้าไปทอดทิ้งไว้ ณ ที่ต่างๆ เช่นในป่า ตามป่าช้า หรือข้างทางเดิน เมื่อภิกษุสงฆ์มาพบ เห็นว่าเป็นผ้าที่ผู้เป็นเจ้าของทอดอาลัยแล้ว ก็นำเอาทำเป็นสบง จีวร พิธีการทอดผ้าป่าก็มีความเป็นมาด้วยประการละฉะนี้
สำหรับในเมืองไทย พิธีทอดผ้าป่าได้นับการรื้อฟื้นขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๔ ด้วยทรงพระประสงค์จะรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีในทางพระศาสนา
ประเภทของผ้าป่า
ความจริงแล้ว การทอดผ้าป่ามีอยู่อย่างเดียว คือการนำผ้าไปทิ้งไว้ดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ในปัจจุบันนิยมทำในรูปแบบต่างๆ แตกต่างกันไป จึงมีชื่อเรียกเป็น ๓ อย่าง คือ
ผ้าป่าหางกฐิน หรือผ้าป่าแถมกฐิน
ผ้าป่าโยงกฐิน
ผ้าป่าสามัคคี
1. ผ้าป่าหางกฐิน ได้แก่ผ้าป่าที่เจ้าภาพจัดให้มีขึ้น ต่อจากการทอดกฐิน คือเมื่อ ทำพิธีทอดกฐินเสร็จแล้ว ก็ให้มีการทอดกฐินด้วยเลย จึงเรียกว่าผ้าป่าหางกฐิน หรือ ผ้าป่าแถมกฐิน
2. ผ้าป่าโยง ได้แก่ ผ้าป่าที่จัดทำรวมๆ กันหลายกอง นำบรรทุกเรือแห่ไปทอด ตามวัดต่างๆ ที่อยู่ริมแม่นํ้า จึงเรียกว่าผ้าป่าโยง จะมีเจ้าภาพเดียวหรือหลายเจ้าภาพก็ได้
3. ผ้าป่าสามัคคี ได้แก่ ผ้าป่าที่มีการแจกฎีกาบอกบุญไปตาม สถานที่ต่างๆ ให้ร่วมกัน ทำบุญแล้วแต่ศรัทธา โดยจัดเป็นกองผ้าป่ามารวมกัน จะเป็นกี่กองก็ได้ เมื่อถึงวันทอด จะมีขบวนแห่ผ้าป่ามารวมกันที่วัดอย่างสนุกสนาน บางที่จุดประสงค์ ก็เพื่อร่วมกันหาเงิน สร้างถาวรวัตถุต่างๆ เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ และอื่นๆ ฯลฯ
พิธีทอดผ้าป่า
ให้ผู้เป็นเจ้าภาพไปแจ้งความประสงค์แก่เจ้าอาวาส ที่ต้องการจะนำผ้าป่ามาทอด เรียกว่า เป็นการจองผ้าป่า เมื่อกำหนดเวลาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ทำการตั้งองค์ผ้าป่า ซึ่งสิ่งสำคัญ ที่จะต้องมีก็คือ
ผ้า
กิ่งไม้สำหรับพาดผ้า
ให้อุทิศถวาย ไม่เจาะจง พระรูปใด รูปหนึ่ง
[แก้ไข] การตั้งองค์ผ้าป่า
เจ้าภาพจะจัดหาผ้าสำหรับภิกษุมาผืนหนึ่ง อาจเป็นสบง จีวร สังฆาฏิ หรือทั้ง ๓ อย่าง แล้วแต่ศรัทธาเพราะไม่มีข้อกำหนด นำกิ่งไม้ไปปักไว้ในภาชนะขนาดพอสมควร เพื่อใช้เป็นที่พาดผ้าป่า และใช้สำหรับนำสิ่งของเครื่องใช้ที่จะถวายพระ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว ผ้าอาบนํ้าฝน สมุด ดินสอ ฯลฯ สำหรับเงินหรือ ปัจจัยนั้นนิยมเสียบไว้ กับต้นกล้วยเล็กๆ ในกองผ้าป่านั้น
การนำผ้าป่าไปทอด
[COLOR="rgb(85, 107, 47)"]ในสมัยโบราณ ไม่มีต้องจองผ้าป่า เมื่อเจ้าภาพนำองค์ผ้าไปถึงแล้ว ก็จุดประทัด หรือส่งสัญญาณ ด้วยวิธีหนึ่ง ให้พระท่านรู้ว่ามีผ้าป่า เป็นอันเสร็จพิธี หรือ จะอยู่รอให้พระท่าน มาชักผ้าป่าด้วยก็ได้[/COLOR]
แต่ในปัจจุบัน การทอดผ้าป่านับว่าเป็นงานค่อนข้างใหญ่ ต้องมีการจองผ้าป่า เพื่อแจ้งให้ทางวัด ทราบหมายกำหนดการ จะได้จัดเตรียมการต้อนรับ เมื่อถึงกำหนด ก็จะมีการแห่แหนองค์ผ้าป่ามาด้วยขบวนเถิดเทิงกลองยาวหรือ แตรวง เป็นที่ครึกครื้น สนุกสนาน ยิ่งถ้าเป็นผ้าป่าสามัคคีต่างเจ้าภาพ ต่างแห่มาพบกันที่วัด จนกลายเป็นมหกรรมย่อยๆ มีการละเล่นพื้นบ้าน หรือร่วมร้องรำทำเพลงร่วมรำวง กันเป็นที่สนุกสนาน บางทีก่อนวันทอดก็จะให้มีมหรสพฉลองที่บ้านของเจ้าภาพ
การทอดผ้าป่า
ให้นำผ้าป่าไปวางต่อหน้าภิกษุสงฆ์ กล่าวถวายผ้าป่า พระสงฆ์รูปหนึ่งผู้ได้รับฉันทานุมัติ จากหมู่สงฆ์ก็จะลุกขึ้นเดินถือตาลปัตรมาชักผ้าบังสุกุลที่องค์ผ้าป่า โดยกล่าวคำปริกรรมว่า "อิมัง ปังสุกุลละจีวะรัง อัสสามิกัง มัยหัง ปาปุณาติ" แปลเป็นใจความได้ว่า "ผ้าบังสุกุลผืนนี้เป็นผ้าที่ไม่มีเจ้าของหวงแหน ย่อมตกเป็นของข้าพเจ้า" ต่อจากนั้นพระสงฆ์ จึงสวดอนุโมทนาในผลบุญ เจ้าภาพกรวดนํ้าอุทิศส่วนกุศล เป็นอันเสร็จพิธี
ข้อสำคัญในการทอดผ้าป่า
สิ่งที่สำคัญที่สุด ในการทอดผ้าป่าก็คือ ผู้ที่ถวายต้องตั้งใจ หรือกล่าวคำถวายอุทิศ แด่พระภิกษุสงฆ์ ผู้ต้องการผ้าบังสุกุลอย่างเดียว จึงจะได้ชื่อว่าเป็นการถวายผ้าป่า
ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.poonporn.com
และบางส่วนจาก ธนากิต. วันสำคัญของไทย.กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก, 2541
เป็นตะมว้นยุบุญผ้าป่านอ้ยเฮ็ดใหญ่เฮ็ดน้อยกะได้บุญคือกันคันเฮาตั้งจิตตั้งใจเฮ็ดหนอ่ยหลายกะเป็นบุญคือกันเฮามีศรัทาเต็มที่ในการทำบุญทำทานเนาะอันแนวตอ้นรับกะมีแต่แนวแซ่บๆๆผัดหมี่ตำหมากหุ่งพองลาบไก่นำสุดยอดแนวกิน:*-:*-
:l-ผ้าป่าน้อยๆ ซุมญาติพี่น้องร่วมกันเฮ็ดไปถวายวัด บ่ได้หักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นเลยจ้า เงินที่ได้กะถวายวัดทั้งเบิ่ดเลยแต่ว่ากะยังขาดปัจจัยอีกหลายกว่าหอระฆังจะสร้างเสร็จ:l-โอกาศหน้าสิหาผ้าป่าไปอีก:l-
ดีใจนำเด้อครับได้เฮ็ดบุญเฮ็ดทาน ร่วมกับญาติพี่น้องดีคักครับ ให้บุญกุศลยู้ส่ง้ด่อครับ
ขออนุโมทนาสาธุบุญนำเด้อจร้าาาาา