สมุนไพรบ้านเฮา มีหลายอย่างหลายแนวน้อครับ หามาให้อ่านอีกเด้อครับ
อยู่บ้านเอิ้น มะยอ มะพิลา มะแข้งขม...
ยอ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda citrifolia Linn.
ชื่อท้องถิ่น : ยอบ้าน ( ภาคกลาง ) มะตาเสือ ( ภาคเหนือ )
ลักษณะของพืช : เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบใหญ่หนาสีเขียวสด ดอกเล็กสีขาวเป็นกระจุก ผลกลมยาวรี มีตาเป็นปุ่มรอบผล ลูกอ่อนสีเขียวสด เปลี่ยนเป็นสีขาวนวลเมื่อสุก กลิ่นฉุน เป็นพืชที่ใช้เมล็ดปลูก พบขึ้นอยู่ทั่ว ๆ ไปตามบ้าน
คุณค่าด้านอาหาร : ใบยอและลูกยอใช้ทานเป็นผักได้ ใบยอเป็นผักเก่าแก่ที่ใช้รองก้นกระทงห่อหมก ทางภาคใต้นิยมใช้ใบยออ่อน ๆ ซอยเป็นฝอยแกงเผ็ดกับปลาใส่ขมิ้น ได้แกงรสชาดแปลกและอร่อย ในใบยอมีสารอาหารหลายอย่าง ประกอบด้วยแคลเซี่ยมมากที่สุด ยังมีเหล็ก วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง เส้นใย และอื่น ๆ ส่วนลูกยอใช้ทำส้มตำแทนมะละกอ ลูกยอมีสารอาหารน้อยกว่าใบ บางคนเชื่อว่าทานผลยอสุกจิ้มน้ำผึ้งรับประทาน จะช่วยบำรุงธาตุ ขับลมได้
นอกจากนี้ รากของต้นยอ เมื่ออายุ 3-4 ปี ใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ เปลือกรากจะให้สีแดง ส่วนเนื้อในเปลือกจะให้สีเหลือง ย้อมผ้าฝ้าย ผ้าไหม ให้สีที่คงทน
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผลดิบหรือผลห่ามสด
รสและสรรพคุณยาไทย : รสขมเล็กน้อย ผลยอแก้อาเจียน ขับลม บำรุงธาตุ
ประโยชน์ทางยา : ตำราแพทย์แผนโบราณกล่าวว่า ใช้ผลยอเพสลาดหั่นปิ้งไฟพอเหลืองกรอบ ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา ใช้ร่วมกับยาอื่น แก้คลื่นไส้อาเจียนได้ผล ในการทดลองพบว่า ผลยอไม่มีพิษเฉียบพลันและใช้เป็นอาหาร จึงใช้เป็นยาแก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน ที่ไม่รุนแรงได้ เลือกเอาผลดิบหรือผลห่ามสด ฝานเป็นชิ้นบาง ๆ ย่างหรือคั่วไฟอ่อน ๆ ให้เหลืองกรอบ ต้มหรือชงน้ำดื่ม ใช้ครั้งละประมาณ 2 กำมือ ( 10-15 กรัม ) เอาน้ำที่ได้จิบทีละน้อยและบ่อย ๆ ครั้ง จะได้ผลดีกว่าดื่มทีเดียว
ทับทิม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Punica granatum Linn.
ชื่อท้องถิ่น : พิลา ( หนองคาย ) พิลาขาว มะก่องแก้ว ( น่าน ) มะเก๊าะ ( ภาคเหนือ )
ลักษณะของพืช : ทับทิมเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบรูปร่างเรียวแคบและขนาดเล็ก ขอบใบเรียบ ดอกมีหลายสี เช่น ขาว แดง ส้ม มีผลกลม ภายในเมล็ดมาก คนจีนถือเป็นยาและไม้มงคล โดยเฉพาะ ทับทิมดอกขาว ปลูกโดยการตอนกิ่ง และใช้เมล็ด ปลูกได้ทั่วไป
คุณค่าด้านอาหาร : ทับทิมใช้รับประทานเป็นผลไม้ รสหวาน หรือเปรี้ยวอมหวาน มีวิตามินซี และแร่ธาตุหลายตัว ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน และบำรุงฟันให้แข็งแรง
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือกผลแห้ง
รสและสรรพคุณยาไทย : เปลือกผลแห้ง
ประโยชน์ทางยา : เปลือกทับทิมรสฝาด เพราะมีสาร แทนนิน ( Tannin ) มาก ทำให้มีฤทธิ์แก้ท้องร่วง ใช้เป็นยาแก้ท้องเดินและบิด มีวิธีใช้ดังนี้
1.อาการท้องเดิน ใช้เปลือกผลแห้งประมาณ 1 ใน 4 ของผล ฝนกับน้ำฝน หรือน้ำปูนใสให้ข้น ๆ รับประทานครั้งละ 1-2 ช้องแกง หรือต้มกับน้ำปูนใส แล้วดื่มน้ำที่ต้มได้
2.บิด ( มีอาการปวดเบ่งและมีมูก หรืออาจมาเลือดด้วย ) ใช้เปลือกผลแห้งของทับทิมครั้งละ 1 กำมือ ( 3-5 กรัม ) ต้มกับน้ำ ดื่มวันละ 2 ครั้ง อาจใช้กานพลู หรืออบเชย แต่งกลิ่นให้น่าดื่มก็ได้
มะแว้งเครือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum trilobatum Linn.
วงศ์ : Solanaceae
ชื่อท้องถิ่น : มะแว้งเถา ( กรุงเทพ ) แคว้งเคีย ( ตาก )
ลักษณะของพืช : เป็นไม้เลื้อยหรือไม้พุ่ม มีหนามตามส่วนต่าง ๆ ใบรูปกลมรี ขอบใบหยักเว้า 2-5 หยัก ผิวใบอาจเรียบหรือมีหนามเล็ก ๆ ตามเส้นกลางใบ ดอกออกเป็นช่อ คล้ายดอกมะเขือ สีม่วงเกสรเหลือง ผลกลม ตอนดิบสีเขียวมีลายเล็กน้อย สุกเปลี่ยนเป็นสีแดงสด ใช้เมล็ดปลูก ปลูกได้ทั่วไป ควรปลูกในต้นฤดูฝน
คุณค่าด้านอาหาร : ลูกมะแว้งเครือ ใช้เป็นผักจิ้มกับน้ำพริก รสขมจัด ทานสดหรือลวกให้สุกก็ได้ เป็นผักอีกชนิดหนึ่งที่ผู้เฒ่าผู้แก่ชอบรับประทาน เช่นเดียวกับมะระขี้นก ในลูกมะแว้งมีวิตามินเอค่อนข้างสูง ส่วนสารอาหารอย่างอื่น พวกไขมัน โปรตีน เกลือแร่ และวิตามินชนิดอื่นมีอยู่บ้าง แต่ไม่มากนัก
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผลแก่สด
รสและสรรพคุณยาไทย : ผลสุก รสขม เป็นยากัดเสมหะ
ประโยชน์ทางยา : ใช้รักษาอาการไอและขับเสมหะ นำเอาผลแก่สด 5-10 ผล โขลกพอแหลก คั้นเอาแต่น้ำ ใส่เกลือกินบ่อย ๆ หรือใช้ผลสดเคี้ยวแล้วกลืนทั้งน้ำและเนื้อ กินบ่อย ๆ จนกว่าอาการจะดีขึ้น
สมุนไพรบ้านเฮา มีหลายอย่างหลายแนวน้อครับ หามาให้อ่านอีกเด้อครับ
อยู่บ้านเอิ้น มะยอ มะพิลา มะแข้งขม...
กินสมุนไพรมีประโยนธ์..อายุยืนพอ..พะนะ..ให้ค่ามาชมสวนสมุนไพร 1 กำเด้อ
ส่วนมากสิอยู่ไกล้ๆโตเฮาแต่เฮาบ่รู้สรรพคุณ คืนให้ดอกหนึ่งคือกันเด้อ
![]()
อ้อยแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Saccharum officinarum Linn.
ชื่อท้องถิ่น : อ้อยดำ อ้อยขม
ลักษณะของพืช : อ้อยแดง เป็นไม้ล้มลุก รูปร่างคล้ายต้นอ้อย แต่มีลำต้นสีแดงคล้ำ ปลูกได้ตลอดปี โดยใช้ลำต้นที่มีตา เป็นท่อนพันธุ์ปักชำ
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ลำต้นทั้งสดหรือแห้ง
รสและสรรพคุณยาไทย : รสหวานและขม แก้ปัสสาวะพิการ แก้ขัดเบา
ประโยชน์ทางยา : ลำต้นอ้อยแดงทั้งสด หรือแห้ง ใช้เป็นยาแก้อาการขัดเบา โดยใช้ลำต้นวันละ 1 กำมือ ( สด 70-90 กรัม แห้ง 30-40 กรัม ) หั่นเป็นชิ้น ๆ ต้มกับน้ำรับประทานวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา ( 75 มิลลิลิตร )
น้อยหน่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Annona squamosa L.
ชื่อท้องถิ่น : น้อยแน่ ( ภาคใต้ ) มะนอแน่ มะแน่ ( ภาคเหนือ ) มะออจ้า มะโอจ่า ( เงี้ยว ? ภาคเหนือ ) ลาหนัง ( ปัตตานี ) หน่งเกล๊าะแซ ( เงี้ยว ? แม่ฮ่องสอน ) หมักเขียบ ( ภาคอีสาน )
ลักษณะของพืช : น้อยหน่า เป็นพืชยืนต้น ใบเดี่ยวติดกับลำต้น ใบรูปรี ปลายแหลมหรือมน ดอกเล็ก 4 กลีบ สีเหลืองอมเขียว กลิ่นหอม ลูกกลม มีตุ่มนูนรอบผล เนื้อสีขาว รสหวาน เม็ดสีดำ ใช้เมล็ดปลูก พบเห็นทั่วไป
คุณค่าด้านอาหาร : น้อยหน่ารับประทานเป็นผลไม้ รสหวาน มีแป้งมาก และยังมีวิตามินซีสูง ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบสด เมล็ด
รสและสรรพคุณยาไทย : ใบแก้กลากเกลื้อน และฆ่าเหา ชาวชนบทมักเอาลูกตายมาฝนกับเหล้า รักษาแผล
ประโยชน์ทางยา : จากการทดลองทางวิทยาศาสตร์ พบว่า น้ำคั้นและน้ำมันคั้นจากเมล็ดและใบ มีฤทธิ์ฆ่าเหาและฆ่าเชื่อโรคได้ จึงแนะนำเป็นยาฆ่าเหาสำหรับเด็กใช้ได้ผลดีมาก และประหยัดค่าใช้จ่าย วิธีใช้ เอาเมล็ดประมาณ 1 เมล็ด หรือใบสด ประมาณ 1 กำมือ ( 15 กรัม ) ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำมันมะพร้าว 1-2 ช้อนโต๊ะ ขยี้ให้ทั่วศีรษะ แล้วใช้ผ้าคลุม โพกไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง แล้วสระผมให้สะอาด ( ระวังอย่าให้เข้าตา อาจทำให้แสบตา ตาอักเสบได้ )
หมากเขียบที่ตายแล้วเอามาฝน รักษาฝีได้ ..จากประสบการณ์ตรงเลยครับ ฅนภูไทขอยืนยัน
หมากเขียบ ตายเป็นจังได๋ หมากเขียบเน่านั้นติ..
หน่วยหมากเขียบที่ตายแห้งคาต้นครับ ถ้ามันหล่นแล้วกะบ่เป็นยา ผุเฒ่าเพิ่นบอกมาครับ
อ้อยแดง...บ้านข่อยเอายอดมันมาแกงกิน แซบเด๋...เว่ามากะอยากกิน..
เห็นหมากเขียบแล่วอยากกิน
อยากกินหมากเขียบ อยากกินหมากเขียบๆๆๆ อิอิอิ