การใช้ปลิงบำบัดโรค
(Leech Therapy)
ดร.วนิดา ธนประโยชน์ศักดิ์


การใช้ปลิงรักษาโรคต่างๆ

การใช้ปลิงในการบำบัดโรค พบว่ามีมานานแล้วตั้งแต่ในยุคสมัยกรีก โรมันและอาหรับ เมื่อประมาณกว่า 2,500 ปีที่ผ่านมา โดยคนในสมัยนั้นนิยมนำปลิงมาใช้ในการดูดเลือดเสียออกจากร่างกาย และในศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมาเริ่มทำในเชิงการค้าโดยมีการเพาะเลี้ยงปลิงและส่งออกขายให้กับทางโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อใช้ในการรักษาโรค
ซึ่งปลิงที่พบในโลกนี้ที่ได้จำแนกชนิดแล้วมีมากถึง 600 สปีชีส์ แต่มีประมาณ 15 สปีชีส์เท่านั้นที่นิยมนำมาใช้ทางการแพทย์ (medicinal leeches) อาทิเช่น Hirudo medicinalis, Hirudo orientalis, Hirudo verbena, Hirudo troctina, Hirudinaria manillensis และ Macrobdella decora เป็นต้น
ในธรรมชาติปลิงจะหาเหยื่อโดยการใช้ประสาทสัมผัสกับส่วนไขหรือน้ำมันที่อยู่บนผิวหนัง จากบาดแผลที่มีเลือด ความร้อน หรือคาร์บอนไดออกไซด์ที่หายใจออกมาจากเหยื่อ แต่ในทางการแพทย์ แพทย์จะใช้วิธีนำปลิงไปวางบนตำแหน่งที่ต้องการรักษา ซึ่งพบว่าแพทย์สามารถใช้ปลิงรักษาโรคต่อไปนี้ได้ เช่น ฝีหนองที่บวมอักเสบ – โรคหัวใจ - โรคไขข้อ โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดดำ - โรคตึงเครียดของกล้ามเนื้อ - การเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด - หรืออาการปวดของกระดูกสันหลัง เป็นต้น นอกจากนี้ยังนิยมใช้ปลิงกับการทำศัลยกรรมพลาสติก (plastic surgery) อีกด้วย
บทบาทของปลิงในการบำบัดโรค เริ่มจากเมื่อปลิงสัมผัสกับผิวหนังคนไข้ มันจะเริ่มดูดเลือดและปล่อยน้ำลายออกมา ซึ่งในน้ำลายนี้จะมีเอนไซม์และสารประกอบหลายชนิดที่สามารถใช้ในการรักษาโรคได้ เช่น

- ฮิรูดิน (Hirudin): มีสมบัติช่วยในการยับยั้งการแข็งตัวของเลือดโดยจับกับทรอมบิน (thrombin)
- เคลิน (Calin): มีสมบัติยับยั้งการแข็งตัวของเลือด ยับยั้งการตกตะกอนของเกล็ดเลือดที่เป็น
คอลลาเจน
- เดสทาบิเลส (Destabilase): มีสมบัติเกี่ยวกับเกี่ยวกับการจดจำ ช่วยละลายไฟบริน (fibrin) การเกิด การแข็งตัวของเลือดเป็นลิ่มเลือด
- ฮิรูสแทซิน (Hirustasin): มีสมบัติยับยั้ง ทริปซิน (trypsin) และไคโมทริปซิน (chymotrypsin)
- เดลลินส์ (Bdellins): มีสมบัติต้านการอักเสบ ยับยั้งทริปซิน พลาสมิน (plasmin) และอะโครซิน
(acrosin)
- ไฮอะลูโรนิเดส (Hialuronidase): มีสมบัติเป็นสารปฏิชีวนะ (antibiotic)
- ทริปเทสอินฮิบิเตอร์ (Tryptase inhibitor): ยับยั้งเอนไซม์โพรทีโอไลติก (proteolytic enzyme) ใน เซลล์แมสท์ (mast cell) ของโฮสต์
- เอกลินส์ (Eglins): มีสมบัติต่อต้านการอักเสบ ยับยั้งกิจกรรมของแอลฟาไคโมทริปซิน และ ไคแมส (chymase)
- คาร์บอกซิเพปทิเดสเออินฮิบิเตอร์ (Carboxipeptidase A inhibitors): มีสมบัติในการเพิ่มการ ไหลเข้าของเลือดที่ตำแหน่งที่ถูกกัด
- สารวาโซดิเลติง (vasodilating agents): มีสมบัติช่วยในการขยายผนังหลอดเลือด
- สารที่มีสมบัติคล้ายฮิสทามีน (Histaminelike substances): มีสมบัติในการเพิ่มการไหลเข้าของเลือดที่ ตำแหน่งที่ถูกกัด และขยายหลอดเลือด
- อะซิทิลโคลีน (Acetylcholine): มีสมบัติในการขยายหลอดเลือด
- สารที่เป็นยาชา (Anesthetics substance): มีสมบัติเป็นยาชา

จากตัวอย่างของสารประกอบต่างๆ ที่พบในน้ำลายของปลิงที่กล่าวมาแล้วนี้ จะมีบทบาทในการทำงานร่วมกันในการบำบัดโรค โดยเริ่มจากเมื่อปลิงดูดเลือดจากคนไข้ สารฮิรูดิน ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการป้องกันการแข็งตัวของเลือดและ สารเคลิน ซึ่งมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการแข็งตัวของเกล็ดเลือด สารเดสทาบิเลส ช่วยละลายลิ่มเลือดที่พบอยู่ในหลอดเลือด ซึ่งป็นการช่วยกำจัดความเสี่ยงก่อนที่ลิ่มเลือดจะไหลไปอุดตันอยู่ตามหลอดเลือดอาร์เตอรีและเวน รวมทั้งสารอีก 3 ชนิด ซึ่งประกอบด้วย สารที่มีคุณสมบัติคล้ายกับ ฮิสทามีน อะซิติล โคลีน และ คาร์บอกซิเพปทิเดส สารทั้งสามตัวนี้มีบทบาทช่วยในการขยายหลอดเลือด จึงทำให้เลือดไหลผ่านหลอดเลือดได้อย่างอิสระโดยไม่มีข้อจำกัด
ในระยะยาวพบว่าแพทย์มีการใช้ปลิงบำบัดโรคได้อย่างหลากหลายมากขึ้น เช่น ช่วยปรับความดันโลหิตสูงของคนไข้ รักษาคนไข้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดในสมองตีบให้เลือดสามารถไปเลี้ยงสมองได้ รักษาบาดแผลของผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นต้น
และในปัจจุบันนิยมใช้ปลิงในทางจุลศัลยกรรม (microsurgery) ค่อนข้างมาก โดยใช้ปลิงดูดเลือดในบริเวณที่หลอดเลือดมีการอุดตันเพื่อให้เลือดมีการไหลเวียนได้สะดวก ใช้รักษาซ่อมแซมบาดแผลบริเวณที่มีเนื้อเยื่อตายเพื่อกระตุ้นให้มีเลือดไหลเวียนมาเลี้ยงบริเวณบาดแผลนั้นจนสามารถซ่อมแซมเนื้อเยื่อขึ้นมาได้ใหม่ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังพบว่าในบางประเทศนิยมใช้ปลิงรักษาคนไข้ที่มีสิวอักเสบบนใบหน้ากันอย่างแพร่หลายอีกด้วย
อย่างไรก็ตามการใช้ปลิงบำบัดควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา ไม่ควรนำปลิงมารักษาด้วยตนเองเพราะว่าแพทย์เท่านั้นที่จะบอกได้ว่าปลิงชนิดใดที่สามารถนำมาใช้ในทางการแพทย์โดยไม่เกิดอันตรายแก่คนไข้ได้

ปลิงรักษาโรคได้อย่างไร
ง่ายๆและสั้นๆ...แพทย์ได้หวนกลับไปฟื้นการใช้ปลิงรักษาอาการปวดของโรคข้ออักเสบในสมัยโบราณของ ยุคกลาง กลับมาใช้ใหม่อีก ปรากฏว่าได้ผลดีกว่ารักษาโดยการใช้ยาสมัยปัจจุบัน

วารสารการแพทย์ "อายุรแพทย์" ของสหรัฐฯแจ้งว่า นักวิจัยของมหาวิทยาลัยแพทย์ เยอรมนี ได้นำเอาการใช้ปลิงรักษาอาการปวดโรคข้ออักเสบแบบสมัยโบราณ กลับมาศึกษาทดลองดู และได้พบว่า ในน้ำลายของมัน ซึ่งมีสารที่มีสรรพคุณเป็นยาแก้อักเสบ และป้องกันโลหิต จับตัว แล้วยังสามารถช่วยแก้ปวดจากโรคข้ออักเสบได้ด้วย
ในการทดลองรักษาอาการปวดที่เข่า ของคนไข้กระดูกข้ออักเสบเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยใช้ปลิง 3 ตัวทดลองดูก่อน ปรากฏว่าคนไข้หายปวดลงได้อย่างรวดเร็ว

ต่อมานักวิจัย ได้ทดลองรักษาคนไข้กระดูกข้อเข่าอักเสบเรื้อรังจำนวน 51 รายใช้ปลิงจำนวนระหว่าง 4-6 ตัวดูดเลือดที่เข่าเปรียบเทียบ ผลกับการใช้ครีมที่มีตัวยาแก้อักเสบ ใช้ทาอยู่นาน 28 วัน ได้พบว่าปลิงสามารถรักษาให้หายปวดได้เร็วกว่าครีมยาแค่ชั่วเจ็ดวันเท่านั้น และคนไข้ยัง สามารถใช้หัวเข่าได้ดีกว่าด้วย
นักวิจัยยังได้สรุปว่า การศึกษายังทำให้ ได้เค้าว่า ปลิงไม่แต่เพียงใช้รักษาบรรเทาอาการปวด จากโรคข้ออักเสบได้เท่านั้น หากยังช่วยรักษาอาการปวดอย่างอื่นได้อีก.

ข้อมูลจากลิงค์....http://biology.ipst.ac.th/index.php/article-year-2554/316-the-use-of-leech-therapy-leech-therapy-in-august-2554.html



ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=FuO2eIr0Ftw

:l-:l-:l-:l-:l-:l-:l-:l-:l-:l-:l-:l-:l-:l-:l-


ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=9hrinYRU9SU