กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: วงการแพทย์วิกฤติขาดคน

Hybrid View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ cute
    วันที่สมัคร
    Feb 2009
    ที่อยู่
    ป่าคอนกรีต
    กระทู้
    416

    วงการแพทย์วิกฤติขาดคน

    วงการแพทย์วิกฤติขาดคน

    วงการแพทย์วิกฤติขาดคน

    เชื่อเปิดอาเซียน
    หมอ-พยาบาลสมองไหลแน่..!



    วงการแพทย์วิกฤติขาดคน


    นาง ศิริวันต์ ยิ้มเลี้ยง ประธานชมรมผู้บริหารทางการพยาบาลแห่งประเทศไทย รองผู้อำนวยการ ร.พ.พิจิตร ให้สัมภาษณ์ถึงปัญหาการให้บริการด้านสุขภาพของประชาชนตามโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศไทยว่า ขณะนี้ ใกล้เข้าสู่จุดวิกฤติ สาเหตุเนื่องมาจากการขาดแคลนบุคลากร โดยเฉพาะอาชีพแพทย์ และพยาบาล เนื่องจากเป็นอาชีพที่ต้องทำงานหนัก และมีความรับผิดชอบในความเสี่ยงสูงที่อาจต้องถูกฟ้องร้องดำเนินคดีหากมีการรักษาที่ผิดพลาด แม้จะขาดเจตนาก็ตาม จึงทำให้ขณะนี้เยาวชนที่เรียนเก่งไม่สนใจที่จะสอบเข้าเรียนเป็นพยาบาลวิชาชีพ

    โดยขณะนี้ขาดแคลนพยาบาลมากถึง 30,000 คน อีกปัจจัยหนึ่ง คือ เรื่องค่าตอบแทนและสวัสดิการความมั่นคงของอาชีพพยาบาล ไม่มีให้เลย ทุกวันนี้มีถึง 17,000 คน จบปริญญาตรี เป็นได้แค่เพียงพยาบาลลูกจ้างชั่วคราว ได้เงินเดือนแค่ 10,000 หรือไม่เกิน 12,000 บาท

    ดังนั้น ที่น่าเป็นห่วงก็คือ ในปี 2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นประชาคมเสรษฐกิจอาเซียน ที่เปิดกว้างเสรีทางด้านตลาดแรงงาน จะมีพยาบาลของไทยย้ายไปเป็นลูกจ้างพยาบาลในประเทศสิงคโปร์ ที่ตอนนี้มีข้อเสนอมาแล้วว่า จะให้เงินเดือนละ 50,000 บาท พร้อมสวัสดิการอย่างพร้อมเพรียง จึงน่าเป็นห่วงคุณภาพชีวิตของคนไทย หากรัฐบาลไม่เร่งแก้ไข มีหวังกระทบกระเทือนด้านการให้บริการทางการแพทย์ทั่วประเทศไทยอย่างแน่นอน


    http://news.impaqmsn.com/articles_hn.aspx?id=503458&ch=hn
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย cute; 03-10-2012 at 07:44.

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ cute
    วันที่สมัคร
    Feb 2009
    ที่อยู่
    ป่าคอนกรีต
    กระทู้
    416
    วิกฤตขาดแพทย์ผ่าตัดสมอง 30 จังหวัด!
    ใครป่วยตายสถานเดียว

    ชี้หมอแบกคนไข้ 1 ต่อ 3.5แสน




    วิกฤตหมอประสาท-ผ่าตัดสมอง! ประชาชนในพื้นที่ 30 จังหวัด มีความเสี่ยงสูงจากโรคหลอดเลือดสมองแตก-อุบัติเหตุทางสมอง แต่ไร้แพทย์รักษา พร้อมมีโอกาสเป็นอัมพาต และเสียชีวิตสูง

    ส่วนอนาคตยิ่งน่าห่วง เพราะหมอด้านอายุรกรรม-ศัลยกรรมระบบประสาทแบกงานหนัก ชี้หมอ 1 คนดูแลคนไข้ถึง 350,000 คน อีกทั้งเสี่ยงต่อการโดนฟ้องตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ถึงขั้นติดคุก คาดอีก 4 ปีเปิดเสรีอาเซียนโรงพยาบาลเอกชนทุ่มดึงหมอสมองไปเพียบ

    เลขาธิการแพทย์สภาชี้ หมอรุ่นใหม่ แห่เรียน “ผิวหนัง-ความงาม” เหตุรายได้ดี เสี่ยงน้อย งานไม่หนัก จี้ ก.พ.ตั้ง คณะกก.ดูแลอัตราบรรจุขรก.สายแพทย์เหมือน 'ครู -ตำรวจ' ด้านเด็กรุ่นใหม่เมินอาชีพแพทย์ สอบติดแต่สละสิทธิ์สูงถึง 20%..

    การรักษาพยาบาลในสังคมไทยที่มองผิวเผินเสมือนว่าจะมีการยกระดับมากขึ้นทั้งมาตรการรักษาฟรีกับโรงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า รักษาฟรี และการไหลบ่าของชาวต่างชาติที่เข้ามารับการรักษาในไทยเนื่องจากมีมาตรฐานการรักษาที่สูงในราคาที่คุ้มค่าอย่างมาก

    ทว่า ในเบื้องลึกกับพบว่า ปัญหาในวงการแพทย์อยู่ในระดับที่สูงโดยเฉพาะภาวะขาดแคลนแพทย์และปัญหาการฟ้องร้องดำเนินคดีระหว่างคนไข้และแพทย์ผู้ทำการรักษาซึ่งอาจจะต้องตกใจเมื่อพบว่าแพทย์ในสาขาที่สำคัญต่อชีวิตอย่างมากกำลังจะขาดแคลนโดยไม่รู้ตัว

    แหล่งข่าวนายแพทย์ด้านศัลยกรรมสมอง เปิดเผยถึงภาวะความขาดแคลนแพทย์ระบบประสาทและด้านศัลยกรรมสมอง ซึ่งถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยในภาวะเส้นเลือดในสมองแตก รวมไปถึงเลือดออกในสมองอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ ซึ่งการรักษาผู้ป่วยอย่างทันท่วงทีจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรอดชีวิต หรือลดโอกาสที่จะพิการที่จะนำไปสู่การเป็นโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ หรือในกรณีของเส้นเลือดในสมองตีบตัน ที่อาจทำให้สมองบวมหรือเสียหาย ซึ่งต้องใช้แพทย์ที่เชี่ยวชาญในการรักษาเท่านั้น มิฉะนั้นก็จะมีความเสี่ยงต่อสมองเสียหาย หรือนอนเป็นผัก ซึ่งแพทย์สาขาดังกล่าวอยู่ในภาวะขาดแคลนอย่างหนักและส่งผลโดยตรงต่ออัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก

    ตามข้อมูลจากแพทยสภา และกระทรวงสาธารณสุข พบว่า เกือบ 30 จังหวัดทั่วประเทศไม่มีแพทย์สาขานี้ประจำ ขณะที่อีกประมาณ 30จังหวัดมีไม่เกินสองคน และมีไม่ถึง10 จังหวัดที่มีประมาณ 3 คน แพทย์เหล่านี้ต้องรับภาระการผ่าตัดและดูแลรักษาคนไทยที่มีปัญหาทางสมองและไขสันหลังในอัตราส่วนที่น่าตกใจ กล่าวคือ ทั่วประเทศไทยมีแพทย์ผ่าตัดสมองไม่เกิน 400 คน

    ในจำนวนนี้ยังมีแพทย์ที่เตรียมเลิกการผ่าตัด เนื่องจากเพราะอายุมาก กลัวการฟ้องร้อง เปลี่ยนอาชีพจากแพทย์ไปสู่งานขายตรงหรืออาหารเสริม รวมไปถึงเปลี่ยนไปอยู่ในสายงานการบริหารแทน สุดท้ายแล้วจึงจะเหลือแพทย์ผ่าตัดสมองไม่เกิน 300 คน และเมื่อหักแพทย์ที่เป็นอาจารย์แพทย์ในโรงเรียนแพทย์ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดใหญ่หรือกทม. จะเหลือแพทย์ประมาณไม่เกิน 250 คน และเมื่อเทียบกับประชากรชาวไทยในปัจจุบันที่มีอยู่ราวๆ 70 ล้านคนเท่ากับว่าแพทย์ผ่าตัดสมองหนึ่งคนต้องดูแลผู้ป่วยทั่วประเทศถึง 280,000 คน !!

    ซ้ำร้ายอย่างยิ่งเมื่อหักแพทย์ที่มีแนวโน้มจะลาออกจากระบบราชการ แล้วหันไปทำงานในภาคเอกชนจะเหลือแพทย์ผ่าตัดสมองในระบบราชการไม่ถึง 200 คน เท่ากับว่าในสถานพยาบาลรัฐนั้น แพทย์หนึ่งคนต้องรับผิดชอบคนไทยทั้งประเทศประมาณ 350,000 คน ยิ่งหากคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงว่า ผู้ป่วยเหล่านี้มักเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินที่ชีวิตต้องแข่งกับเวลา ซึ่งในทุกๆนาทีจะมีคนพิการหรือตายเพราะได้รับการรักษาไม่ทันอยู่ตลอดเวลา



    เตียงเต็ม หาที่ส่งต่อไม่ได้
    อย่างไรก็ดี ในวงการสาธารณสุขโดยเฉพาะกลุ่มแพทย์ทั่วประเทศทราบปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างดี และรู้ดีว่าคนไข้ที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และอุบัติเหตุทางสมอง จะต้องเผชิญปัญหาและมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมาก และยิ่งเวลามีผู้ป่วยหนักทางสมอง ที่จำเป็นต้องส่งต่อไปพบแพทย์เฉพาะทางระบบประสาท สิ่งที่ทั้งแพทย์ พยาบาล และญาติผู้ป่วยต้องทำคือ “สวดมนต์” เพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยให้แพทย์เจ้าของไข้สามารถหาโรงพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและส่งต่อคนไข้รายนี้ไปได้โดยง่ายและทันเวลา

    เพราะหากไม่สามารถดำเนินการส่งต่อได้ แพทย์พยาบาลต้นทางมีสิทธิถูกฟ้อง ในกรณีทอดทิ้งไม่รักษาผู้ป่วยหรือ รักษาล่าช้า ขณะที่ในฝ่ายญาติผู้ป่วยก็มีความขัดแย้งเพิ่มขึ้นเนื่องจากไม่เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะทุกคนย่อมคิดว่า “ปัญหาของตนยิ่งใหญ่ที่สุด

    ส่วนแพทย์ปลายทาง (รพท.รพศ.) ก็มีปัญหาไม่ยอมรับการส่งต่อคนไข้เช่นกันพร้อมกับอ้างเหตุผลว่า “เตียงเต็ม” “ห้องผ่าตัดไม่ว่าง” เนื่องจากหวั่นเกรงปัญหาการถูกฟ้องร้องแทนต้นทาง จึงนำไปสู่ปัญหาคนไข้นอนค้างอยู่ตามห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลต่างๆ หรืออยู่บนรถพยาบาลที่ตระเวนหาโรงพยาบาลที่พร้อมที่จะรับตัวผู้ป่วยไปรักษา ภายใต้สโลแกนดั้งเดิมว่า “30 บาทรักษาทุกโรค” หรือสโลแกนที่จะกำลังจะออกมาใหม่ว่า “บัตรเดียวรักษาทั่วไทย”

    ไม่เคยได้ยินใครออกมาพูดเพื่อปกป้องหมอ ให้ไม่ต้องกลัว เราจะดูแลคุณเอง เพราะคุณทำงานให้รัฐบาล แต่จริงๆ โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลอำเภอ ก็ทำได้เท่านี้เพราะมีกำลังเท่านี้จริงๆ” แหล่งข่าวระบุ

    อย่างไรก็ดี การที่แพทย์ปฏิเสธการรับส่งต่อก็เพราะแพทย์ผ่าตัดด้านสมองกลัวการถูกฟ้องร้องอย่างมาก รวมถึงความยากลำบากในการผ่าตัด ยังต้องเผชิญปัญหาเตียงเต็ม ความไม่พร้อมของสถานพยาบาลรัฐ ขาดผู้บริหารที่ปกป้องแพทย์ พยาบาลในสังกัดยามเกิดปัญหา แต่ผู้บริหารกลับพร้อมที่จะตั้งกรรมการสอบ และคอยปลอบใจผู้ป่วยว่าจะทำเรื่องร้องขอเงินช่วยเหลือตาม ม.41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ขณะที่ฝ่ายสำนักงานหลักประกันสุขภาพฯ (สปสช.) ก็ไม่เคยออกมายอมรับหรือแก้ปัญหาดังกล่าวแต่อย่างใด


    หมอใหม่แห่เรียนเสริมความงาม
    ขณะที่วิสัยทัศน์ของผู้บริหารระดับประเทศที่ได้ยินกันอยู่บ่อยครั้งว่า “ขาดหมอก็เพิ่มการผลิต” หรือ “ขาดหมอก็เพิ่มค่าปรับการใช้ทุน” แต่ยังไม่มีการพูดถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาว่า เหตุใดแพทย์จึงขาดแคลน และจะรักษาแพทย์เหล่านี้ไว้ในระบบให้ได้ รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด

    แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านรวมให้ความเห็นว่า ที่ผ่านมาแทนที่จะเพิ่มแรงจูงใจแพทย์เพื่อให้อยู่ในระบบต่อไป กลับพยายามออกกฎหมาย ระเบียบที่เคร่งครัดแทน รวมไปถึงสภาพความเป็นจริงทุกวันนี้ แม้โรงเรียนแพทย์อยากเพิ่มจำนวนผลิตแพทย์ด้านอายุรกรรมระบบประสาท และศัลยกรรมประสาท แต่ก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากแพทย์ที่ต้องการเรียนต่อเป็นผู้เชี่ยวชาญ ต่างไม่สนใจจะเรียนด้านนี้ โดยให้เหตุผลว่าเป็นสาขาที่เรียนยาก และเรียนหนัก พูดง่ายๆ ก็คือ “งานหนัก เงินน้อย ฟ้องเรื่อย ตายเร็ว” รวมถึงยังมีสิทธิ์ติดคุกฐานพยายามช่วยชีวิตผู้อื่น ตามมาตรฐานนักกฎหมายไทย โดยอ้างแต่ว่าต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้ป่วยและญาติ แต่ไม่มีผู้ใดพูดถึง “ความเป็นธรรมของคนที่พยายามช่วยชีวิตผู้อื่น” ที่ยังเป็นปัญหาที่ต้องหาคำตอบโดยเร็วเช่นกัน

    ในทางกลับกัน แพทย์สาขาที่มีความนิยมสูงในยุคปัจจุบันก็คือ สาขาที่ไม่มีการผ่าตัด งานไม่เสี่ยง ไม่เร่งด่วน ผลตอบแทนสูงรวมถึงยังได้ชื่อเสียงไม่ยากเพราะรู้จักกลุ่ม Celeb (ผู้มีชื่อเสียง) ได้ง่าย คือ สาขาความงามทั้งหลาย จึงเป็นเหตุให้ทั่วประเทศเต็มไปด้วยป้าย “สวยด้วยแพทย์” ทั้งจากแพทย์ผิวหนังหรือศัลยกรรมความงามทั้งหลาย ซึ่งอาจมีเพียงวุฒิบัตรที่เกี่ยวข้องเท่านั้นก็สามารถทำงานสาขานี้ได้ทันที

    ผลก็คือ เมื่อจบแพทย์หรือแพทย์เฉพาะทางมาแล้ว และเข้าไปอยู่ในโลกของความเป็นจริงที่พบ ว่า “คนไทยรู้จักแต่สิทธิ รู้แต่การเรียกร้อง เห็นใจคนอื่นน้อยลง แม้ว่าคนๆนั้นจะมีบุญคุณกับตนเอง หรือ มีเจตนาดีก็ตาม” บวกกับ “เงินไม่เข้าใครออกใคร” ทั้งหมอทั้งผู้ป่วยจึงต้องเห็นแก่ตัวเป็นอันดับแรก โดยหมอหากมีทางไปก็เลิกอาชีพ ส่วนผู้ป่วยหากมีช่องทางก็ร้องเรียนหรือฟ้องร้องไว้ก่อน ยิ่งหาก “พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข” ผ่านออกมา บังคับใช้คู่กับ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ไม่รู้ว่าจะเหลือแพทย์สาขานี้อีกกี่คน ไม่แน่ว่าโรงเรียนแพทย์บางแห่งอาจต้องยุบการสอนแพทย์สาขานี้เพราะหาคนสมัครใจเรียนน้อยลงเรื่อยๆ

    แพทย์ถูกฟ้องเพิ่ม 2-3 เท่า
    สอดคล้องกับที่ นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ เลขาธิการแพทยสภา ระบุว่า อุปสรรคในการทำงานของแพทย์ก็คือ อัตราการฟ้องร้องโดยทางด้านกฎหมาย ซึ่งส่งผลกระทบใน 2 ทาง ทั้งผู้ป่วยที่ต้องแบกรับความเสี่ยงการรักษา เนื่องจากแพทย์ก็ไม่ต้องการที่จะเสี่ยงในการรักษาที่ค่อนข้างยากหรือมีความเสี่ยงสูงจึงทำให้ ภาวะการ “ส่งต่อ” คนไข้ไปยังโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมมากกว่าเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า ซึ่งทำให้โรงพยาบาลขนาดใหญ่ หรือโรงพยาบาลศูนย์ ซึ่งมีความพร้อมทั้งบุคลากรทางการแพทย์และอุปกรณ์ในการรักษาต้องรับการรักษาผู้ป่วยเพิ่มขึ้น

    โรงพยาบาลอุดรฯ หรือขอนแก่นที่เคยมีการผ่าตัดหรือทำคลอดวันละ 10 รายก็เพิ่มเป็น 20 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการที่โรงพยาบาลอำเภอ หรือโรงพยาบาลชุมชนไม่เสี่ยงที่จะทำการรักษาก็ส่งต่อคนไข้มายังโรงพยาบาลที่ใหญ่กว่า

    ดังนั้น โรงพยาบาลขนาดเล็กที่เคยสามารถแบ่งเบาภาระการรักษาคนไข้ ในบางกรณี เช่น การทำคลอด ผ่าตัดไส้ติ่ง หรืออื่นๆที่พอสามารถทำได้ แต่เมื่อพบกับปัญหาการถูกฟ้องร้องก็เลือกที่จะส่งต่อไปยังโรงพยาบาลขนาดใหญ่แทนเพื่อลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการถูกฟ้องร้อง

    แนะ ก.พ.แยกหมอคุมอัตราเอง
    เลขาธิการแพทยสภากล่าวต่ออีกว่า ภาวะแพทย์ขาดแคลนในหลายสาขา ซึ่งใน 3 สาขาที่สำคัญ เช่น สูติแพทย์ ศัลยแพทย์ ประสาทศัลยแพทย์ มีแนวโน้มที่จะมีอัตราที่ลดลงเนื่องจากเป็นสายที่ค่อนข้างยาก โดยส่วนหนึ่ง ยังต้องยอมรับว่าปัญหาการบรรจุข้าราชการสายสุขภาพค่อนข้างมีปัญหา และถือว่ายังมีความไม่แน่นอนค่อนข้างสูง แม้ว่าในแต่ละปีจะมีแพทย์จบใหม่เฉลี่ย 2,000 คน และสามารถบรรจุได้ทั้งหมดแต่ก็อยู่บนพื้นฐานของความไม่แน่นอน
    แต่คาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าจะมีปริมาณแพทย์ที่จบเพิ่มขึ้น 10,000 อัตรา ซึ่งคาดว่าจะเกิดปัญหาในการบรรจุแพทย์จบใหม่เหล่านี้ รวมไปถึง ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ซึ่งมีมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายในส่วนราชการจึงทำให้อัตราการบรรจุข้าราชค่อนข้างน้อย รวมไปถึงในสายสุขภาพ และใช้วิธีการไกล่เกลี่ยอัตราบรรจุซึ่งทำให้เกิดปัญหาค่อนข้างมาก แม้ว่าในแต่ละปีแพทย์จะสามารถบรรจุได้แต่ก็ยังมีปัญหาในรายละเอียดทั้งการ บรรจุแพทย์ไม่ตรงสาย การวิ่งเต้นเพื่อหาอัตราบรรจุ ขณะที่ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆก็ยังไม่มีอัตราที่บรรจุได้แน่นอน
    ดังนั้น ในการแก้ไขปัญหาการจัดสรรอัตรากำลังและประเมินความจำเป็นในการบรรจุข้าราชการแพทย์ ก็มีแนวคิดว่า ควรที่จะแยกการจัดการบรรจุข้าราชการแพทย์ออกจากทางก.พ.ทำการจัดสรรอัตรากำลังภายใน เนื่องจากมีความพร้อมและเข้าใจมากกว่า เหมือนเช่นตำรวจ ครู หรือ ทหาร
    ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกที่ว่าอัตราของนักเรียนแพทย์จึงค่อยๆ ลดลง ซึ่งเมื่อเทียบกับอัตราการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในคณะแพทยศาสตร์ก็มีอัตราการสละสิทธิสูงขึ้นเป็น 20 %ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ และเลือกที่จะเรียนในสายอื่นๆที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าแพทย์ อาทิ กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ วิศวกรรมแทน



    อีก 4 ปี เอกชนดูดเกลี้ยง

    นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญที่ถือว่าค่อนข้างน่าเป็นห่วงก็คือ การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในช่วงปี พ.ศ. 2558 ที่จะถึงในอีก 4 ปีข้างหน้าย่อมส่งผลกระทบต่อวงการแพทย์แน่นอน ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าคุณภาพของแพทย์ไทยค่อนข้างสูงและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งจะยิ่งส่งผลให้ภาวะแพทย์ขาดแคลนจะวิกฤตหนักมากขึ้น เนื่องจากการถูกซื้อตัวไปยังภาคเอกชนและย่อมส่งผลกระทบต่อโรงพยาบาลรัฐโดยตรง เพราะถึงแม้จะมีการรักษาฟรีแต่ก็จะนำไปสู่ปัญหาเรื่องขาดแคลนแพทย์ที่จะทำการรักษา แม้ภาวการณ์ปัจจุบันจะยังมีแพทย์สามารถทำการรักษาได้แต่ก็ต้องล่าช้าเนื่องจากปริมาณผู้ป่วยที่สูงมาก และเสียเวลาในการส่งตัวไปรักษายังโรงพยาบาลขนาดใหญ่โดยที่ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ยังไม่มีแนวทางที่เป็นรูปธรรมที่จะแก้ปัญหาที่เผชิญหน้าอยู่ในขณะนี้ นอกจากการเรียกร้องให้แพทย์เสียสละ

    ดังนั้น ปัญหาที่บุคลากรในแวดวงสาธารณสุขต่างก็แสดงความเป็นห่วงถึงภาวะความขาดแคลนประสาทศัลยแพทย์ ซึ่งจากการประชุมครั้งล่าสุดในช่วงเดือน มิ.ย. 2554 ที่ผ่านมา ก็พบว่าจำเป็นต้องมีนโยบายรักษาแพทย์เหล่านี้ให้อยู่ในระบบราชการให้ได้ มิใช่สรรหานโยบายกักขังมิให้ลาออกจากราชการ เช่น การเพิ่มค่าปรับเป็นเงินหลายสิบล้านหากไม่ทำงานใช้ทุนรัฐบาล ขณะที่การเพิ่มการผลิตแพทย์สาขานี้จำเป็นต้องปลูกฝังอุดมการณ์ในการอุทิศตน และค่านิยมที่ถูกต้องไม่ใช่เน้นเฉพาะวัตถุนิยมที่พบมากในแพทย์รุ่นใหม่ พร้อมกับมีมาตรการสร้างแรงจูงใจให้เหมาะสมเพื่อให้มีผู้สนใจมาเรียนมากขึ้น ซึ่งหากไม่ทำอย่างจริงจังแล้ว อนาคตอาจได้เห็นภาพคนไทยนอน “สมองตาย” เพราะหาแพทย์ผ่าตัดสมอง หรือหาที่ส่งต่อไม่ได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะ “แพทย์สมอง สมองไหล” กันหมดแล้ว!!...


    http://topicstock.pantip.com/lumpini/topicstock/2011/07/L10842061/L10842061.html

  3. #3
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ ชายอิสระ
    วันที่สมัคร
    Apr 2012
    กระทู้
    64
    แต่นักกฎหมายเมืองไทยล้นตลาดครับ แพทย์มาเรียนกฎหมาย วิศวะมาเรียนกฎหมาย ผมว่ามันเกิดการลักลั่นของระบบ แต่ก่อนที่หนึ่งของห้องผมเรียนแพทย์กับวิศวะ แต่เดี๋ยวนี้กลับมาเรียนกฎหมายเบิดครับ เพราะเงินเดือน+เงินประจำตำแหน่ง แสนกว่าบาทครับ ผู้พิพากษาเมืองไทยมีเกือบ5000 อัยการ2000กว่าคนมีไม่น้อยที่เคยเป็นแพทย์หรือวิศวะมาก่อน ผมว่าควรมองที่ค่าตอบแทนก่อนครับ

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •