กำลังแสดงผล 1 ถึง 6 จากทั้งหมด 6

หัวข้อ: จารีตประเพณีไทยอิสาน

  1. #1
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ หนุ่มน้อย
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    กระทู้
    549
    บล็อก
    21

    จารีตประเพณีไทยอิสาน

    จารีตประเพณีไทยอีสาน
    (กลุ่มสืบสาน นำฮอยหม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา โดยอาจารย์สุมนา ศรีชลาชัย )

    ๑. อ่อนน้อมถ่อมตน
    ๒. ให้เกียรติผู้อาวุโสทุกสถานภาพ
    ๓. ให้เกียรติบุคคลทั่วไป
    ๔. เคารพ เชื่อฟัง บิดา มารดา ญาติผู้ใหญ่
    ๕. มีความเอื้ออาทรกับผู้มาเยือน ไปลา มาไหว้
    ๖. สอนลูกหลาน ชาย – หญิง
    ๖.๑ ชายต้องให้เกียรติหญิง
    ๖.๒ หญิงต้องให้เกียรติชาย
    ๖.๓ หญิงต้องรักนวลสงวนตัว
    ๖.๔ ไม่พูดคำหยาบคายกับสมาชิกในครอบครัวและทุกๆคน
    ๖.๕ พูดแต่วาจาไพเราะ เป็นวาจาที่เชื่อถือได้
    ๖.๖ ให้เกียรติ เคารพ เชิดชู เอื้ออาทรคู่ครอง
    ๗. ประหยัด
    ๘. ซ่อมแซมเครื่องใช้
    ๙. มีข้อห้ามในการกระทำที่เป็นอันตรายต่อชีวิต
    ๑๐. ตื่นเช้า – กลับบ้านก่อนมืด
    ๑๑. สวดมนต์ ไหว้พระ ทำบุญตักบาตร
    (ขอขอบคุณ) ฝ่ายวิชาการวุฒิอาสาธนาคารสมองฯ จังหวัดอุบลราชธานี(ข้อมูล)

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ cute
    วันที่สมัคร
    Feb 2009
    ที่อยู่
    ป่าคอนกรีต
    กระทู้
    416
    อยากให้ประเทศไทยสืบทอดจารีตประเพณีแบบนี้กันทุกคนจัง
    ถ้าปฏิบัติตัวได้อย่างนี้ทุกคน เมืองไทยคงอบอุ่นน่าอยู่มากๆ

  3. #3
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ paula
    วันที่สมัคร
    Aug 2008
    กระทู้
    356
    ปัจจุบันเด็กวัยรุ่นสมัยนี้เประเพณีไทยอีสานบ้านเฮา ไม่ค่อยจะปฎบัติกันเท่าไหร่เนาะจ้า
    หายากขึ้นทุกวัน เป็นเพราะอะไรน้อ ตอนเด็กๆก็ดูน่ารัก เรียนดี รู้จักทำงาน พอโตขึ้น
    เปลี่ยนไปคนละคน (เว้าถึงเด็กวัยรุ่นบ้านฉันที่โคราชเด้อคะ)

  4. #4
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63
    ขอบคุณครับที่นำมาแบ่งปันครับสิได้นำไปสอนลูกสอนหลาน
    อีกเทื่อนึงครับเพระเด็กน้อยไทยทุกมื้อหนิิบ่ค่อยมีสัมมคาระวะ
    คือแต่เก่าก่อนส่วนมากนสสัยกระด้างบ่นอบน้อมคือแต่ก่อนครับ

  5. #5
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ หนุ่มน้อย
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    กระทู้
    549
    บล็อก
    21
    ชนเผ่าไทยอีสาน

    ไทยอีสาน เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ พูดภาษาไทย-ลาว (ภาษาอีสาน เป็นกลุ่มผู้นำทางด้านวัฒนธรรมภาคอีสาน เช่น ฮีต คอง ตำนาน อักษรศาสตร์ จารีตประเพณี นิยมตั้งหมู่บ้านเป็นกลุ่ม บนที่ดอนเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า "โนน" ยึดทำเลการทำนาเป็นสำคัญ อาศัยอยู่ทั่วไป

    เรื่องถิ่นเดิมของชาติพันธุ์ลาวมีแนวคิด 2 อย่าง ซึ่งก็มีเหตุผลสนับสนุนพอ ๆ กันคือ
    1. ถิ่นเดิมของลาวอยู่ที่อีสานนี่เอง ไม่ได้อพยพมาจากไหน ถ้าเหมาว่าคนบ้านเชียงคือลาว ก็แสดงว่าลาวมาตั้งหลักแหล่งที่บ้านเชียงมากกว่า 5600 ปีมาแล้ว เพราะอายุหม้อบ้านเชียงที่พิสูจน์โดยวิธีคาร์บอน 14 บอกว่าหม้อบ้านเชียงอายุเก่าแก่ถึง 5600 ปี กว่าคนบ้านเชียงจะเริ่มตีหม้อใช้ในครัวเรือน ก็ต้องสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยก่อนหน้านั้นแล้ว แนวความคิดนี้ยังบอกอีกว่านอกจากลาวจะอยู่อีสานแล้ว ยังกระจายไปอยู่ที่อื่นอีก เช่น เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น ยุโรป แล้วข้ามไปอเมริกาเป็นพวกอินเดียนแดง

    2. ถิ่นเดิมของลาวอยู่ที่อีสานและมีมาจากที่อื่นด้วย (อภิศักดิ์ โสมอินทร์. 2540 : 69) แนวคิดนี้เชื่อว่า คนอีสานน่าจะมีอยู่แล้วในดินแดนที่เรียกว่า “อีสาน” หรือส่วนหนึ่งของสุวรรณภูมิ โดยประมาณ 10,000.- ปีที่ผ่านมา นักมานุษยวิทยา และนักประวัติศาสตร์ได้สันนิษฐานว่าได้มีการอพยพของพวกละว้า หรือข่าลงมาอยู่ในแดนสุวรรณภูมินับเป็นคนพวกแรกที่เข้ามา พอเข้ามาอยู่สุวรรณภูมิก็แบ่งเป็นอาณาจักรใหญ่ ๆ 3 อาณาจักร คือ อาณาจักรทวารวดี ซึ่งมีนครปฐมเป็นราชธานี มีอาณาเขตถึงเมืองละโว้(ลพบุรี) อาณาจักรที่สองคือโยนก เมืองหลวงได้แก่เมืองเงินยาง หรือเชียงแสน มีเขตแดนขึ้นไปถึงเมืองชะเลียงและเมืองเขิน อาณาจักรที่สามคือโคตรบูร ได้แก่บรรดาชาวข่าที่มาสร้างอาณาจักรในลุ่มน้ำโขง มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองโคตรบูรณ์ ซึ่งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงจากแนวคิดที่ 2 จะเห็นว่าในคำรวมที่นักมานุษยวิทยา และ นักประวัติศาสตร์เรียกว่า “คนอีสาน” นั้นน่าจะมีคนหลายกลุ่มหลายชาติพันธุ์ปะปนกันอยู่และในหลายกลุ่มนั้นน่าจะมีกลุ่มชาติพันธุ์ “ลาว”อยู่ด้วย ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานจากงานเขียนของนักวิชาการบางคนที่กล่าวว่า หลังจากพวกละว้าหรือพวกข่าหมดอำนาจลง ดินแดนอีสานก็ถูกครอบครองโดยขอมและอ้ายลาว ต่อมาขอมก็เสื่อมอำนาจลง ดินแดนส่วนนี้จึงถูกครอบครองโดยอ้ายลาวมาจนถึงปัจจุบัน ถ้าเป็นอย่างนี้จริงจึงกล้าสรุปได้ว่า “อ้ายลาว” ก็คือกลุ่มชาติพันธุ์ลาวนั่นเอง อ้ายลาวเป็นสาขาหนึ่งของมองโกลเดิม อยู่ทางตอนบนของแม่น้ำแยงซีเกียงและแม่น้ำเหลือง ก่อนที่จะอพยพเข้าครอบครองอีสานนั้นได้รวมตัวกันตั้งเมืองสำคัญขึ้น 4เมือง คือ นครลุง นครเงี้ยว และนครปา ต่อมากลุ่มอ้ายลาวเกิดสู้รบกับจีน สาเหตุเพราะจีนมาแย่งดินแดน อ้ายลาวสู้จีนไม่ได้จึงอพยพลงใต้ถอยร่นลงมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งมาตั้งอาณาจักรอยู่บริเวณยูนานในปัจจุบัน มีเมืองแถนเป็นศูนย์กลางสำคัญ แต่ก็ยังถูกรุกรานแย่งชิงจากจีนไม่หยุดหย่อน อ้ายลาวจึงอพยพลงมาตั้งอาณาจักรใหม่อีก คือ อาณาจักรหนองแส มีขุนบรมวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของอ้ายลาวเป็นผู้ปกครองขุนบรมขึ้นครองราชย์ พ.ศ.1272 ได้รวบรวมผู้คนเป็นปึกแผ่น และส่งลูกหลานไปครองเมืองต่าง ๆ ในบริเวณนั้นลูกหลานที่ส่งไปครองเมืองมี 7 คน คือ
    1. ขุนลอ ครองเมืองชวา คือ หลวงพระบาง
    2. ขุนยีผาลาน ครองเมืองหอแตหรือสิบสองพันนา
    3. ขุนสามจูสง ครองเมืองปะกันหรือหัวพันทั้งห้าทั้งหก
    4. ขุนไขสง ครองเมืองสุวรรณโดมคำ
    5. ขุนงัวอิน ครองเมืองอโยธยา (สุโขทัย)
    6. ขุนลกกลม ครองเมืองมอญ คือ หงสาวดี
    7. ขุนเจ็ดเจือง ครองเมืองเชียงขวางหรือเมืองพวนพี่น้องอ้ายลาวทั้ง 7 ปกครองบ้านเมืองแบบเมืองพี่เมืองน้องมีอะไรก็ช่วยเหลือเจือจุนกันโดยยึดมั่นในคำสาบานที่คำสัตย์ปฏิญาณร่วมกันว่า “ไผรบราแย่งแผ่นดินกันขอให้ฟ้าผ่ามันตาย”สำหรับ กลุ่มอ้ายลาวนี้น่าจะเกี่ยวโยงเป็นกลุ่มเดียวกับคนชาติพันธุ์ลาวในอีสาน น่าจะเป็นกลุ่มลาวเชียงและลาวเวียง คือ กลุ่มจากอาณาจักรล้านนา (ลาวเชียง) และกลุ่มจากอาณาจักร ล้านช้าง (ลาวเวียง) ในพุทธศตวรรษที่ 17-18 เริ่มตั้งแต่สร้างเมืองชวาหรือเมืองหลวงพระบาง มีกษัตริย์ปกครองติดต่อกันมาถึง 22 องค์ กษัตริย์องค์หนึ่งคือพระเจ้าเงี้ยว ได้กำเนิดลูกชายคือพระเจ้าฟ้างุ้ม พระเจ้าฟ้างุ้ม เกิดมามีฟันเต็มปาก เสนาอำมาตย์ในราชสำนักเห็นเป็นอาเพศจึงทูลให้พระบิดานำไป “ล่องโขง” คือลอยแพไปตามลำน้ำโขง มีพระเขมรรูปหนึ่งพบเข้าเกิดเมตตาเอาพระเจ้าฟ้างุ้มไปชุบเลี้ยงจนเติบใหญ่แล้วถวายตัวในราชสำนักเขมรพระเจ้าฟ้างุ้มได้รับการศึกษาอบรมอย่างองค์ชายเขมร และทรงเป็นราชบุตรเขยของกษัตริย์เขมรด้วย เมื่อพระเจ้าฟ้าเงี้ยวสิ้นพระชนม์ เจ้าฟ้าคำเสียวผู้เป็นน้องชายขึ้นครองราชย์แทน พระเจ้าฟ้างุ้มจึงยกทัพจากเขมรทวงราชสมบัติของบิดาคืน สามารถโจมตีเมืองหลวงพระบางได้ เจ้าฟ้าคำเลียวเสียทีแก่หลานสู้ไม่ได้ น้อยใจจึงกินยาพิษตาย เจ้าฟ้างุ้มจึงขึ้นครองเมืองหลวงพระบางเมื่อ พ.ศ. 1896 ทรงพระนามว่า “พระยาฟ้างุ้มแหล่งหล้าธรณี” พระเจ้าฟ้างุ้มเป็นกษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถมาก เป็นนักรบผู้กล้าหาญชาญฉลาด ในช่วงนั้นอาณาจักรสุโขทัยมีพระมหาธรรมราชาลิไทเป็นกษัตริย์ พระเจ้าฟ้างุ้มได้ขยายอำนาจแผ่ไปถึงญวน ลงมาถึงส่วนหนึ่งของเขมรตอนล่างและเข้ามาสู่ดินแดนอีสานได้อพยพผู้คนจากเวียงจันทน์มาอยู่บริเวณเมืองหนองหาน และหนองหานน้อยประมาณ 10,000 คน พระเจ้าฟ้างุ้มครองราชย์และแผ่แสนยานุภาพเรื่อยมาจนถึงสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) แห่งกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าฟ้างุ้มคิดแผ่แสนยานุภาพเข้าครอบครองกรุงศรีอยุธยา ทำให้พระเจ้าอู่ทองต้องเจรจาหย่าศึกโดยอ้างความเป็นญาติร่วมวงศ์ขุนบรมเดียวกันว่า “เฮาหากแมนอ้ายน้องกันมาแต่ขุนบรมพุ้น หากเจ้าเป็นลูกหลานขุนบรมจริง เฮาอย่ามารบราฆ่าฟันกันเลย ดินแดนส่วนที่อยู่เลยดงสามเส้า (ดงพญาไฟ ไปจดภูพระยายาฝอและแดนเมืองนครไทยให้เป็นของเจ้า ส่วนที่อยู่เลยดงพญาไฟลงมาให้เป็นของข้อย แล้วจัดส่งลูกสาวไปจัดที่อยู่ที่นอนให้” (ทองสืบ ศุภมารค: อ้างใน สมเด็จพระสังฆราชลาวง2528:43)พระเจ้าอู่ทองยัง ได้ส่งช้างพลาย 51 เชือก ช้างพัง 50 เชือก เงินสองหมื่น นอแรดแสนนอ กับเครื่องบรรณาการอื่น ๆ อีกอย่างละ 100 ให้แก่พระเจ้าฟ้างุ้ม จากหลักฐานนี้อาณาจักรลานช้างจึงมีอำนาจครอบครองดินแดนอีสาน ยกเว้นเมืองนครราชสีมาที่ยังคงเป็นอิสระอยู่เพราะในหนังสือ “ King of Laos ” ระบุว่าในปี ค.ศ. 1385 อาณาเขตกรุงล้านช้างทางทิศตะวันตกติดต่อกับโคราช(นครราชสีมา) ดินแดนอีสานส่วนใหญ่ตกอยู่ในอำนาจของพระเจ้าฟ้างุ้มเรื่อยมาจนถึงสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (ลาวเขียนไชยเสฏฐามหาราช) ขึ้นครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.2091-2114 ได้ย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางมาอยู่เวียงจันทน์ พระองค์ได้ทำสัญญาพันธมิตรกับสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา และทั้งสองได้สร้างพระธาตุศรีสองรัก ที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นเขตแดนระหว่างสองอาณาจักร กษัตริย์องค์นี้ได้สร้างวัดองค์ดื้อ และศาสนสถานต่าง ๆ ในเขตเมืองหนองคาย และบูรณะพระธาตุพนมด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชสนใจดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงมากกว่าสมัยก่อน ๆ ต่อมาในปี พ.ศ. 2250กิดการแก่งแย่งอำนาจขึ้นในลาว ทำให้ลาวถูกแบ่งออกเป็น 2 อาณาจักร มีหลวงพระบางและเวียงจันทน์เป็นศูนย์กลาง และในปี พ.ศ. 2256าเขตเวียงจันทน์ทางใต้ได้ถูกแบ่งแยกโดยเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร (เจ้าหน่อกษัตริย์) มีเมืองนครจำปาศักดิ์เป็นเมืองหลวง ผู้ครองนครจำปาศักดิ์ได้ส่งจารย์แก้ว (เจ้าแก้วมงคล) มาเป็นเจ้าเมืองท่งหรือเมืองทุ่ง ในเขตอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด นับว่านครจำปาศักดิ์ได้ขยายอำนาจเข้ามาสู่ลุ่มแม่น้ำมูล – ชี ตอนกลาง เวลาต่อมาลูกหลานเจ้าเมืองท่งหรือเมืองสุวรรณภูมิได้สร้างเมืองต่าง ๆ ในดินแดนอีสานมากกว่า 15 เมือง (อภิศักดิ์ โสมอินทร์. 2540 : 71) เช่น สุวรรณภูมิ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ มหาสารคาม ชนบทขอนแก่น ฯ ล ฯต่อมาเกิดความไม่ลงรอยแตกแยกกัน ระหว่างกลุ่มขุนนางและกษัตริย์ลาวผู้คนได้อพยพหนีภัยการเมืองจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเข้าสู่อีสานเหนือ กลุ่มสำคัญได้แก่

    กลุ่มเจ้าผ้าขาว โสมพะมิตร
    กลุ่มนี้อพยพผู้คนมาตั้งอยู่ริ่มน้ำปาว คือ บ้านแก่งส้มโฮง (สำโรง) เจ้าโสมพะมิตรได้เข้าเฝ้ารัชกาลที่ 1ที่กรุงเทพ ฯ เพื่อถวายความจงรักภักดี และเนื่องจากมีกำลังคนถึง4,000 คน รัลกาลที่ 1 จึงโปรดเกล้าให้ยกบ้านแก่งส้มโฮงเป็นเมืองกาฬสินธุ์ขึ้นตรงต่อกรุงเทพและเจ้าโสมพะมิตรได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาไชยสุนทร” เจ้าเมืองกาฬสินธุ์

    กลุ่มพระวอพระตา
    พระวอพระตาเป็นเสนาบดีลาว เกิดขัดใจกษัตริย์เวียงจันทน์ อพยพผู้คนข้ามโขงมาอยู่ที่หนองบัวลุ่มภูซึ่งเป็นเมืองอยู่ก่อนแล้ว ตั้งชื่อเมืองว่า “นครเขื่อนขันฑ์กาบแก้วบัวบาน” แต่ได้ถูกกองทัพลาวตามตีจนพระตาตายที่รบ ส่วนพระวอได้พาบริวารไพร่พลหนีลงไปตามลำแม่น้ำโขงจนถึงดอนมดแดง และต่อมาลูกหลานของพระวอได้ขอตั้งเป็นเมืองอุบลราชธานี และเมืองยโสธร

    กลุ่มท้าวแล
    ท้าวแลและสมัครพรรคพวกได้อพยพหนีภัยการเมืองจากเวียงจันทน์ มาอยู่ในท้องที่เมืองนครราชสีมา ต่อมาได้ย้ายไปทางตอนเหนือแล้วขอตั้งเป็นเมืองชัยภูมิ ท้าวแลได้รับโปรดเกล้าให้เป็นเจ้าเมือง มีบรรดาศักดิ์ว่า “พระภักดีชุมพล” ต่อมาได้เลื่อนเป็น “พระยาภักดีชุมพล”การตั้งบ้านเมืองในดินแดนอีสานตั้งแต่พุทธศตวรรษ 24-25 หรือตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีเมืองต่าง ๆ เกิดขึ้นมากกว่า 100 เมือง มีแบบแผนการปกครองตามแบบหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์คือมีตำแหน่งอาชญาสี่คือ เจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร ส่วนเมืองในเขตอีสานใต้คือนครราชสีมาและหัวเมืองเขมรป่าดง ได้ใช้แบบแผนการปกครองแบบกรุงเทพ ฯ คือมีเจ้าเมือง ปลัดเมือง ยกกระบัตรเมือง และผู้ช่วยราชการเมืองจากหลักฐานของลาวสามารถหาได้กลุ่มชาติพันธุ์ลาว ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในอีสานมานานแล้ว จึงสรุปได้ว่า คนในท้องถิ่นอีสาน หรือบริเวณนี้เป็นเชื้อสายลาว ซึ่งมีประวัติความเป็นมายาวนาน สืบทอดสายธารทางประวัติศาสตร์อย่างต่อเนื่องจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และตลอดไปในอนาคตอีกนานเท่านาน

    วัฒนธรรมการแต่งกาย

    เผ่าไทยลาว(ไทยอีสาน) นิยมผ้าฝ้ายมาแต่เดิม และพัฒนาผ้าฝ้ายเป็นการทอผ้ามัดหมี่ลวดลายต่าง ๆ แหล่งผ้าฝ้ายที่มีมานานแล้วคือกลุ่มบ้านวาใหญ่ อำเภออากาศอำนวยจังหวัดสกลนคร ซึ่งมีชื่อเสียงในการทอผ้าย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกไม้ ใบไม้ แก่นไม้ผ้าซิ่นแขนกระบอกผ้ายย้อมคราม หรือมัดหมี่ เป็นที่นิยมของชนเผ่าไทยลาวกลุ่มที่แต่งกายแบบดั้งเดิมจริง ๆ นิยมแต่งด้วยผ้าย้อมครามทั้งเสื้อและผ้าซิ่น แต่ไม่สวยเด่นเท่าผ้ามัดหมี่ เพราะมีสีดำมือทั้งตัว การพัฒนาการของการทอผ้ามัดหมี่ ทำให้ไทยลาวในปัจจุบันสามารถทอผ้าลายหมี่คั่นหลายสี เช่น สีเหลือง สีแดง และนิยมสีฉูดฉาด นอกจากนี้ชาวเผ่าไทยลาวยังนิยมทอผ้าห่ม ผ้าจ่องลวดลายสวยงาม ซึ่งสามารถปรับแต่งมาเป็นผ้าสไบโชว์ลวดลายของผ้าประกอบเสื้อผ้าได้เป็นอย่างดี เครื่องประดับของชาวเผ่าไทยลาวนิยมเครื่องเงินเช่นเดียวกับกลุ่มอื่น
    ผ้าซิ่น ในขณะที่เอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ กลุ่มผู้ไทย กลุ่มย้อ กลุ่มกะเลิง แต่เดิมนิยมผ้าซิ่นมีเชิงในตัวที่เรียกว่า ซิ่นตีนเต๊าะ แต่เผ่านี้กลับนิยมซิ่นไม่มีเชิงทั้งที่เป็นผ้าเข็น(ทอ) และผ้ามัดหมี่ฝ้าย หรือไหม
    เสื้อ แบบเสื้อของชนเผ่าไทยลาว แม้เสื้อจะเป็นเสื้อย้อมสีน้ำเงินแก่ แบบเสื้อคล้ายกับชนเผ่าอื่น ๆ แต่เนื่องจากเป็นชนเผ่าที่กระจายอยู่ในที่ต่าง ๆ และรับเอาวัฒนธรรมจากภาคกลางได้รวดเร็วจึงทำให้เผ่าไทยลาวมีแบบเสื้อแตกต่างไปจากชนเผ่าอื่น ๆ บ้าง เช่น เสื้อแขนกระบอก คือทอจากผ้าแพรตกแต่งให้มีจีบมีระบาย สวมสร้อยที่เป็นรัตนชาติ เช่น มุก มากกว่าการสวมสร้อยเงิน สอดชายเสื้อในซิ่นหมี่ไหม คาดด้วยเข็มขัดเงิน จุดเด่นอีกประการหนึ่งของชนเผ่าไทยลาว คือการนิยมผ้าขะม้าทั้งชายและหญิง ผ้าขะม้า(ขาวม้า) ที่งดงามคือผ้าใส่ปลาไหล มีสีเขียว-แดง-เหลือง ตามแนวยาวไม่ใช่เป็นตาหมากรุก ซึ่งเป็นผ้าสมัยใหม่ ผ้าใส่ปลาไหลสามารถคัดแปลงเป็นผ้าคล้องคอ ผ้าสไบของสตรีในการเสริมการแต่งกายให้งดงามขึ้น
    (ที่มา :www.baanjomyut.com )

  6. #6
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์
    วันที่สมัคร
    Feb 2009
    ที่อยู่
    สวิส....พะนะ
    กระทู้
    563
    อ่านแล้วกะได้ฮู้จักที่มาที่ไปของบรรพบุรุษเจ้าของแคบลงมาอีกเนาะ

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •