-+-จิตใจ แห่งการเสียสละ-+-

-+-จิตใจ แห่งการเสียสละ-+-

-+-จิตใจ แห่งการเสียสละ-+-
:-อะไร คือจิตใจแห่งการเสียสละ-:
1.การเสียสละเบื้องต้น

ผู้มีจิตศรัทธาจริงใจ จะไม่กลัวความทุกข์ยากลำบากมีจิตใจแห่งการทุ่มเททั้งกำลังกาย กำลังทรัพย์สติปัญญา ความเป็นหนุ่มสาว และวันเวลาของชีวิตเพื่อธรรม

จุดเริ่มต้นของการเสียสละ คือที่ไหนมีประชุมธรรมก็จะเสียสละมาทำหน้าที่เป็นแม่ครัว ขับรถ หรือเป็นบุคลากรเพื่อเสริมสร้างพลังธรรม ร่วมใจกันมาเจริญปณิธาน ร่วมใจร่วมพลังให้ทานทั้ง 3 เช่น

-การบริจาคทรัพย์เป็นทาน เพื่อเพิ่มพูนบุญวาสนา
-การให้ธรรมเป็นทาน เพื่อลดหนี้กรรม สร้างภูมิปัญญาในธรรม
-การให้แรงกายเป็นทาน เพื่อการปล่อยวางจิตผูกพันที่เป็นต้นตอแห่งความทุกข์


2.การเสียสละที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์

พระโพธิสัตว์ ผู้ที่มีจิตใจที่ทุ่มเทเพื่อพิทักษ์ธรรมไม่เสียดายแม้ชีวิตของตน สามารถอุทิศให้ด้วยความจริงใจ พระโพธิสัตว์อาศัยการเผยแพร่ธรรมเป็นกิจวัตรสรรสร้างประโยชน์ต่อผู้อื่น เป็นหลักในการบำเพ็ญอยู่ใน “บารมีหก คือ ทานบารมี ศีลบารมี ขันติบารมี วิริยะบารมี ฌานบารมี ปัญญาบารมี”อย่างกว้างขวางบำเพ็ญเพียรด้วยวิถีแห่งคุณงามความดีทั้งมวล เพื่อหล่อเลี้ยงรากกุศลแห่ง“ อนุตตรโพธิ” ตลอดไป ปฏิบัติต่อเวไนยด้วยสังคหวัตถุ 4 คือ

1. ทาน การให้ผู้อื่นที่สมควรให้
2. ปิยวาจา การพูดจาอ่อนโยน
3. อัตถจริยา การประพฤติประโยชน์
4. สมานัตตา การวางตัวสมฐานะ ให้นำพาไปในทางที่เป็นประโยชน์ตามสถานการณ์ รู้จักใช้วิธีการต่อการนำพาเวไนย บังเกิดจิตศรัทธาแม้ต้องรับทุกข์แทนเวไนยก็ไม่ย่อท้อ

ในวิมลเกียรติสูตรกล่าว...


การเจ็บป่วยของพระโพธิสัตว์นั้น บังเกิดจากจิตพระมหากรุณา เพราะเห็นเวไนยป่วยข้าฯ จึงป่วย หากมวลเวไนยไม่ป่วย การป่วยของข้าฯ ก็หาย ด้วยเหตุที่พระโพธิสัตว์ทำเพื่อเวไนย ในเรื่องของการเกิดตาย หากเวไนยยังมีการเกิดตายก็มีการป่วย หากเวไนยสามารถพ้นการเกิดตายได้ พระโพธิสัตว์ก็จะไม่กลับมาป่วย
ประดุจดังมารดาที่มีบุตร เมื่อเวลาที่บุตรของเขาเกิดการป่วย บิดามารดาก็พลอยป่วยไปด้วย หากบุตรหายป่วยบิดามารดาก็หายป่วยได้ พระโพธิสัตว์ก็เป็นเช่นนี้ รักมวลเวไนยดั่งบุตรตน

การเข้าใจในเหตุปัจจัยของเวไนย และคล้อยตามเหตุปัจจัยของเวไนย

ด้วยมหาปณิธานของพระโพธิสัตว์ที่บังเกิดจากจิต เมตตามหากรุณา ขอเพียงให้ตนได้ทำคุณประโยชน์ต่อมวลเวไนยก็จะให้ความช่วยเหลืออย่างสุดความสามารถ ยามเมื่อเวไนยป่วยก็จะรู้การให้เป็นอย่างดี เมื่อเวไนยอยู่ในที่มืดก็จะจุดประทีปแห่งแสงสว่างให้แก่เวไนย เมื่อเวไนยลุ่มหลงไร้ทิศทางก็แสดงวิถีทางตรงให้ เมื่อได้ยินว่าเวไนยมีงานกุศลจิตก็ยินดีและกล่าวสรรเสริญไปด้วย เมื่อเห็นกุศลกิจก็ให้ความช่วยเหลือมิหนำซ้ำยังเข้าใจและคล้อยตามเหตุปัจจัยของเวไนย ไม่เพียงแต่มนุษย์เท่านั้น ยังครอบคลุมไปถึงเวไนยทั้งหมด

แน่นอนผู้เริ่มฝึกฝนจะคล้อยตามเวไนยทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องยากที่จะทำได้ แต่ในศาสนาปราชญ์ได้กล่าวว่า


รักคนที่ชิดเชื้อ เมตตามวลประชา รักสรรพสิ่ง

โดยเริ่มจากบิดามารดา ครูบาอาจารย์ มิตรสหาย ค่อยขยายกว้างออกไปสู่ผู้คนทั้งหลายก็สามารถทำได้ ในอาณาจักธรรมกำลังส่งเสริมธรรมะเข้าสู่ครัวเรือน ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดธรรมะสู่ครัวเรือนก็เป็นการบำเพ็ญ ในจริยวัตรของพระโพธิสัตว์ที่เป็นแบบอย่างที่มั่นคงที่สุด

พระพุทธะตถาคตทั้งมวล อาศัยจิตมหากรุณาเป็นหลักเนื่องด้วยเวไนยจึงบังเกิดจิตมหากรุณา เนื่องด้วยมหากรุณาจึงบังเกิดจิตโพธิ เนื่องด้วยจิตโพธิจึงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ

การเป็นพระโพธิสัตว์ต้องอาศัยเวไนย หากไร้เวไนยพระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมไม่สามารถบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้ ฉะนั้นขณะที่สร้างสรรค์ประโยชน์ต่อเวไนยจึงจะต้องปฏิบัติด้วยจิตเสมอภาค เสมือนกับ การเคารพบิดามารดาหรือการทำงานให้กับครูบาอาจารย์ ที่มีการกระทำที่เปี่ยมด้วยความเคารพ ในขณะที่เราปฏิบัติธรรมนั้นจะต้องเตือนสติตัเองอยู่เสมอ


ที่มา:เฟสบุ๊ค/คำคมธรรมมะ เตือนใจ/บ้านมหา.คอม