กำลังแสดงผล 1 ถึง 7 จากทั้งหมด 7

หัวข้อ: อัตราการเต้นของหัวใจ

  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ pcalibration
    วันที่สมัคร
    Nov 2008
    ที่อยู่
    เมืองฉะเชิงเทรา(แปดริ้ว)
    กระทู้
    1,883
    บล็อก
    1

    อัตราการเต้นของหัวใจ

    อัตราหัวใจ (heart rate)
    อัตราการเต้นของหัวใจ
    อัตราหัวใจ (heart rate) ตามปกติอัตราหัวใจของผู้ชายเฉลี่ยประมาณ ๗๒ ครั้ง/นาที และผู้หญิงประมาณ ๗๕ - ๘๐ ครั้ง/นาที
    อัตราหัวใจเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่อไปนี้
    ๑.๑ อายุ ถ้าอายุน้อย อัตราหัวใจสูงแล้วจะลดน้อยลงเรื่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้น เช่น ทารกแรกเกิด มีอัตราหัวใจสูง ๑๔๐ ครั้ง/นาที
    ๑.๒ ขนาดของร่างกาย คนผอมอัตราหัวใจสูงกว่าคนอ้วน ๕-๑๐ ครั้ง/นาที
    ๑.๓ อารมณ์ ทำให้อัตราหัวใจเพิ่มขึ้นโดยพลังประสาทจากสมองส่วนบนผ่านลงมาตามประสาทซิมพาเทติค
    ๑.๔ การออกกำลังกาย อาจทำให้อัตราหัวใจเพิ่มขึ้นสูง ๑๘๐-๒๐๐ ครั้ง/นาที
    ๑.๕ อุณหภูมิ อัตราหัวใจเร็วขึ้นตามอุณหภูมิกายที่สูงขึ้น
    ๒. ปริมาตรบีบเลือดรายครั้ง (stroke volume, S.V.คือปริมาณเลือดที่ส่งออกจากหัวใจแต่ละครั้ง การไหลออกขณะหัวใจบีบตัว (systolic discharge) นี้ มีค่าประมาณ ๗๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร ค่าที่ได้เปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่อไปนี้ คือ กำลังบีบตัวของหัวใจจำนวนไดอัสโตลิกฟิลลิง (diastolic filling)และ วินัสรีเทิร์น (venous return)
    ๓. ผลผลิตของหัวใจ (cardiac output, C.O.)คือ ปริมาณเลือดที่ส่งออกจากหัวใจใน ๑ นาที
    อาจเรียกว่า อัตราการไหลเวียน (circulatory rate) ก็ได้
    ผลผลิตของหัวใจ = ปริมาตรบีบเลือดรายครั้ง x อัตราหัวใจ
    ในภาวะปกติ ผลผลิตของหัวใจ = ๗๐ x ๗๒ = ๕ ลิตร
    เมื่อเมแทบอลิซึมของร่างกายเพิ่มขึ้น ผลผลิตของหัวใจจะเพิ่มขึ้น เช่น การเดินช้าๆ จะทำให้เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๐ เดินเร็วปานกลางเพิ่มขึ้นร้อยละ ๕๐ แต่ถ้าออกกำลังกายอย่างหนักจะเพิ่มได้มากถึง ๔-๕ เท่า
    กำลังสำรองของหัวใจ (cardiac reserve)เป็นกำลังสำรองของหัวใจที่สามารถจะเพิ่มผลผลิตของหัวใจได้ ในคนปกติมีค่ากว่าร้อยละ ๓๐๐ นักกีฬาจะมีกำลังสำรองของหัวใจมาก คือ อาจถึงร้อยละ ๕๐๐ หรือคนที่มีร่างกายอ่อนแออาจลดลงเหลือเพียงร้อยละ ๒๐๐ เท่านั้น
    ที่มา:http://www.thaigoodview.com

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63
    อัตราหัวใจผุอื่นมาหลายแถะตั้ง 70-80 บัดของลุงใหญ่คือมีอันเดียวฮ่างๆๆๆๆนึง
    สิไปซ่อมได้หม่องไสหละอ้าย pcalibration

  3. #3
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ บ่าวหัวเขียง
    วันที่สมัคร
    Jun 2012
    กระทู้
    406

    ขอบคุณที่แบ่งปันความฮู้...ครับ

    ถ้าบ่อ่าน กะบ่ฮู้เนาะครับ

    ชีพจรคนเฮาจะเต้นเร็วหรือช้า...กะมีองค์ประกอบหลายอย่างเนาะครับ

    อยากฮู้แมะครับ...กระเทยนี้มีผู้ใด๋วิจัยไว้บ่ครับ...คือสิเต้นเร็วและแฮงเนาะครับ...555

  4. #4
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ pcalibration
    วันที่สมัคร
    Nov 2008
    ที่อยู่
    เมืองฉะเชิงเทรา(แปดริ้ว)
    กระทู้
    1,883
    บล็อก
    1

    หัวใจเต้นช้ามีประโยชน์อย่างไร

    อัตราการเต้นหัวใจช้ามีประโยชน์อย่างไร?
    อัตราการเต้นหัวใจในช่วงพักผ่อนของคนเราจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ตัวอย่างเช่นนักกีฬา หรือคนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อาจมีอัตราการเต้นหัวใจต่ำเพียง 30 ครั้งต่อนาที ในขณะที่คนที่ไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออาจมีอัตราการเต้นหัวใจสูงถึง 100 ครั้งต่อนาที
    อัตราการเต้นหัวใจที่ต่ำถือว่ามีประโยชน์มาก สะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแรงและประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเลือดที่ได้จากการบีบตัวของหัวใจ และพลังงานที่สูญเสียไประหว่างการบีบตัวของหัวใจ ถ้าสองคนมีปริมาณการไหลเวียนเลือดต่อนาทีเท่ากัน คนที่มีอัตราการเต้นหัวใจที่ต่ำกว่าจะมีปริมาณเลือดออกจากหัวใจมากกว่า และใช้พลังงานในการสูบฉีดเลือดน้อยกว่าคนที่มีอัตราการเต้นของหัวใจที่สูง ยกตัวอย่างเช่น อัตราการเต้นหัวใจขณะพักของผู้ที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอเท่ากับ 50 ครั้งต่อนาที และผู้ที่ไม่ออกกำลังกายสม่ำเสมอเท่ากับ 70 ครั้งต่อนาที เมื่อคิดอัตราการเต้นหัวใจต่อปีแล้วพบว่า ผู้ที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอสามารถประหยัดจำนวนครั้งของการเต้นหัวใจได้ประมาณ 6 ล้านครั้งต่อปี
    ดังนั้นถ้าคุณมีอัตราการเต้นหัวใจต่ำเท่าไร ความสมบูรณ์ของร่างกายคุณก็จะมากขึ้นเท่านั้น
    หลังจากที่มีการฝึกฝนการออกกำลังกายสัปดาห์ละ 4 ครั้งๆละ 30 นาที ต่อเนื่องเป็นเวลา 3 สัปดาห์ อัตราการเต้นของหัวใจในขณะพักจะลดลงเล็กน้อย อัตราการเต้นที่ช้าลงนี้จะทำให้จังหวะในการเต้นนานขึ้น ทำให้เลือดไหลเข้าสู่หัวใจห้องล่างได้มากขึ้น ปริมาณเลือดที่มากจะแผ่ไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้การหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจดีขึ้น ส่งผลให้มีการสูบฉีดเลือดได้มากขึ้น และถ้ามีการออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น ซึ่งก็จะช่วยให้ระบบหายใจสมบูรณ์ขึ้น ดังนั้นหัวใจของคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าเพราะอัตราการเต้นหัวใจสูงกว่า
    ทำให้สูบฉีดเลือดได้น้อยกว่า และต้องทำงานหนักกว่าเพื่อให้ได้ปริมาณเลือดไหลเวียนต่อนาทีเท่ากับคนที่ออกกำลังกาย
    อัตราการเต้นหัวใจต่ำมีประโยชน์ต่อนักกีฬาเป็นอย่างยิ่ง เพราะในระหว่างที่ต้องการความอดทน คนที่มีอัตราการเต้นหัวใจต่ำจะมีช่วงจังหวะการเต้นหัวใจที่กว้างกว่า ทำให้การทำงานของหัวใจสามารถสูบฉีดเลือดแต่ละครั้งเพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องเร่งจังหวะเต้นให้สูงเท่ากับคนที่ไม่ได้ออกกำลังกาย หรืออาจกล่าวว่าหัวใจใช้เวลาในการทำงานได้นานกว่าอัตราการเต้นจะถึงขีดสูงสุด เหมือนกับคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัว เลือดจะถูกสูบฉีดเข้าเส้นเลือดแดงด้วยแรงที่ทำให้เกิดคลื่นแรงสั่นสะเทือนที่รู้สึกได้เรียกว่า ชีพจร จึงสามารถตรวจอัตราการเต้นหัวใจโดยการนับชีพจร การตรวจวัดชีพจรในช่วงปกติอย่างถูกต้องไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีหลายปัจจัยที่ทำให้ชีพจรเพิ่มขึ้นในช่วงสั้นๆ เช่น การสูบบุหรี่ กาแฟ การรับประทานอาหาร การอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนหรือเย็น ดังนั้นการวัดอัตราการเต้นหัวใจได้อย่างถูกต้องนั้นสิ่งที่สำคัญก็คือจะต้องตรวจวัดชีพจรภายใต้สภาพที่ได้มาตรฐาน เช่น ช่วงตื่นนอนตอนเช้าก่อนที่จะลุกจากเตียง ควรฝึกปฏิบัติตรวจวัดชีพจรอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้นิ้วของคุณมีความไวต่อชีพจร และคุณจะพบชีพจรได้เร็วขึ้น นี่คือปัจจัยในการตรวจชีพจรได้อย่างแม่นยำ
    ขอบคุณข้อมูลที่มา: ผศ.ดร.จันทรวรรณ แสงแข
    http://www.oknation.net

  5. #5
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ pcalibration
    วันที่สมัคร
    Nov 2008
    ที่อยู่
    เมืองฉะเชิงเทรา(แปดริ้ว)
    กระทู้
    1,883
    บล็อก
    1

    อัตราการเต้นของหัวใจตามเป้าหมาย

    อัตราเต้นของหัวใจตามเป้าหมาย
    การกำหนดอัตราการเต้นของหัวใจตามเป้าหมายขึ้นกับสุขภาพของผู้ออกกำลังกาย โดยมากจะกำหนดที่ 80%
    แต่ในทางปฏิบัติสำหรับผู้ที่ไม่เคยออกเราจะเริ่มจาก 40%ก่อน เมื่อร่างกายทนได้จึงค่อยเพิ่มเป็น 50%จนกระทั่งได้ 80%
    การจะเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจทำได้ โดยการเพิ่มความเร็วของการวิ่งหรือขี่จักรยาน

    ตารางแสดงอัตราการเต้นของหัวใจตามเป้าหมาย
    Maximum and Training Heart Rates per Minute by Age

    คนอายุ 20 ปี อัตราการเต้นสูงสุด= 200ครั้ง อัตราการเต้นที่40%=80ครั้ง อัตราการเต้นที่ 60%=120ครั้ง อัตราการเต้นที่ 80%= 160ครั้ง อัตราการเต้นที่90%= 180ครั้ง
    คนอายุ 25 ปี อัตราการเต้นสูงสุด= 195ครั้ง อัตราการเต้นที่40%=78ครั้ง อัตราการเต้นที่ 60%=117ครั้ง อัตราการเต้นที่ 80%= 156ครั้ง อัตราการเต้นที่90%= 175ครั้ง
    คนอายุ 30 ปี อัตราการเต้นสูงสุด= 190ครั้ง อัตราการเต้นที่40%=76ครั้ง อัตราการเต้นที่ 60%=114ครั้ง อัตราการเต้นที่ 80%= 152ครั้ง อัตราการเต้นที่90%= 171ครั้ง
    คนอายุ 35 ปี อัตราการเต้นสูงสุด= 185ครั้ง อัตราการเต้นที่40%=74ครั้ง อัตราการเต้นที่ 60%=111ครั้ง อัตราการเต้นที่ 80%= 148ครั้ง อัตราการเต้นที่90%= 166ครั้ง
    คนอายุ 40 ปี อัตราการเต้นสูงสุด= 180ครั้ง อัตราการเต้นที่40%=72ครั้ง อัตราการเต้นที่ 60%=108ครั้ง อัตราการเต้นที่ 80%= 144ครั้ง อัตราการเต้นที่90%= 162ครั้ง
    คนอายุ 45 ปี อัตราการเต้นสูงสุด= 175ครั้ง อัตราการเต้นที่40%=70ครั้ง อัตราการเต้นที่ 60%=105ครั้ง อัตราการเต้นที่ 80%= 140ครั้ง อัตราการเต้นที่90%= 157ครั้ง
    คนอายุ 50 ปี อัตราการเต้นสูงสุด= 170ครั้ง อัตราการเต้นที่40%=68ครั้ง อัตราการเต้นที่ 60%=102ครั้ง อัตราการเต้นที่ 80%= 136ครั้ง อัตราการเต้นที่90%= 153ครั้ง
    คนอายุ 55 ปี อัตราการเต้นสูงสุด= 165ครั้ง อัตราการเต้นที่40%=66ครั้ง อัตราการเต้นที่ 60%=99ครั้ง อัตราการเต้นที่ 80%= 132ครั้ง อัตราการเต้นที่90%= 149ครั้ง
    คนอายุ 60 ปี อัตราการเต้นสูงสุด= 160ครั้ง อัตราการเต้นที่40%=64ครั้ง อัตราการเต้นที่ 60%=96ครั้ง อัตราการเต้นที่ 80%= 128ครั้ง อัตราการเต้นที่90%= 144ครั้ง
    คนอายุ 65 ปี อัตราการเต้นสูงสุด= 155ครั้ง อัตราการเต้นที่40%=62ครั้ง อัตราการเต้นที่ 60%=93ครั้ง อัตราการเต้นที่ 80%= 124ครั้ง อัตราการเต้นที่90%= 140ครั้ง
    :,1-:,1-:,1-:,1-:,1-:,1-:,1-:,1-:,1-:,1-:,1-:,1-:,1-:,1-:,1-:,1-
    ขอบคุณข้อมูลที่:มาhttp://www.siamhealth.net

  6. #6
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ pcalibration
    วันที่สมัคร
    Nov 2008
    ที่อยู่
    เมืองฉะเชิงเทรา(แปดริ้ว)
    กระทู้
    1,883
    บล็อก
    1
    อาการโรคหัวใจ
    ความเป็นจริงแล้วคำว่า โรคหัวใจ มีความหมายกว้างมาก อาการที่เกิดจากโรคหัวใจ หรือสัมพันธ์กับหัวใจนั้น มีไม่มากนัก
    ดังอาการข้างล่างนี้ แต่อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าว ก็มิได้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคหัวใจเท่านั้น ยังมีโรคอื่นๆ ที่ทำให้อาการคล้ายกัน
    ดังนั้น การที่แพทย์จะพิจารณาให้การวินิจฉัยนั้น จำเป็นต้องอาศัยประวัติอาการโดยละเอียด ร่วมกับการตรวจร่างกาย
    บางครั้งต้องอาศัยการตรวจพิเศษต่างๆ เช่น เลือด ปัสสาวะ เอกซเรย์ เป็นต้น
    เพื่อแยกโรคต่างๆ ที่มีอาการคล้ายกันเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย ใจสั่น ขาบวม เป็นลม วูบ

    เจ็บหน้าอก
    อวัยวะที่อยู่ในทรวงอก นอกจากหัวใจแล้ว ยังมี เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด เยื่อหุ้มปอด หลอดอาหาร หลอดเลือดแดงใหญ่ กระดูกหน้าอก กระดูกซี่โครง เต้านม
    กล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก เมื่อมีการอักเสบ หรือพยาธิสภาพของอวัยวะเหล่านี้ ก็ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้ทั้งสิ้น แต่ลักษณะอาการอาจแตกต่างกัน

    อาการต่อไปนี้เข้าได้กับอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด

    อาการตามข้อ 1,2 และ 3 อาจเกิดจากกระดูก กล้ามเนื้อหน้าอก เยื่อหุ้มปอดอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
    อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือด นอกจากอาการเจ็บหน้าอกแล้ว ต้องอาศัยประวัติอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
    ดังนั้น ในผู้ป่วยบางรายที่อาการไม่เหมือนนัก แต่มีปัจจัยเสี่ยงหลายข้อ ก็ควรได้รับการตรวจพิเศษเพิ่มเติมด้วย

    หอบ เหนื่อยง่าย
    อาการหอบ เหนื่อยง่าย เวลาออกแรง เช่น เดิน วิ่ง ทำงาน มีสาเหตุมากมาย เช่น โลหิตจาง (ซีด) โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง โรคปอด ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure) แม้แต่ความวิตกกังวล หรือ โรคแพนิค ก็ทำให้เหนื่อยได้เช่นกัน อาการเหนื่อยง่ายจากโรคหัวใจ และ ภาวะหัวใจล้มเหลวนั้น จะเหนื่อย หอบ หายใจเร็ว โดยเป็นเวลาออกแรง แต่ในรายที่เป็นรุนแรง จะเหนื่อยในขณะพัก
    บางรายจะเหนื่อยมากจนนอนราบไม่ได้ (นอนแล้วจะเหนื่อย ไอ) ต้องนอนศีรษะสูงหรือ นั่งหลับ

    คำว่าเหนื่อย หอบ ในความหมายของแพทย์หมายถึง อัตราการหายใจมากกว่าปกติ แต่ในความหมายของผู้ป่วย อาจรวมไปถึง อาการเหนื่อยเพลีย หมดแรง เหนื่อยใจ
    อาการเหนื่อยแบบหมดแรง มือเท้าเย็นชา พูดก็เหนื่อย (โดยอัตราการหายใจปกติ) เหล่านี้มักจะไม่ใช่อาการเหนื่อยจากโรคหัวใจ

    ใจสั่น
    ใจสั่นในความหมายแพทย์ หมายถึง การที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผิดจังหวะ หรือ เต้นไม่สม่ำเสมอ เต้นๆ หยุดๆ
    อาการดังกล่าวอาจพบได้ในคนปกติ โรคหัวใจ และโรคอื่นๆ ที่มีผลต่อหัวใจ เช่น ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคปอด
    แพทย์จะซักประวัติละเอียด ถึงลักษณะของ อาการใจสั่น เพื่อให้แน่ใจว่า เกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยรู้สึก ใจสั่น โดยหัวใจเต้นปกติ
    การตรวจวินิจฉัยกลุ่มอาการใจสั่น เป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนัก เนื่องจากผู้ป่วยมักมีอาการชั่วขณะ เมื่อมาพบแพทย์อาการดังกล่าว ก็หายไปแล้ว แพทย์จึงไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้ว่า เกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่ ดังนั้น ท่านควรศึกษาวิธีจับชีพจรตัวเอง เมื่อเกิดอาการ ว่าหัวใจเต้นกี่ครั้งในเวลา 1 นาที และสม่ำเสมอหรือไม่ ข้อมูลเหล่านี้ จะช่วยให้แพทย์ให้การวินิจฉัยได้รวดเร็วขึ้น

    ขาบวม
    อาการขาบวม เกิดจากการที่ร่างกายมีเกลือ (โซเดียม) และน้ำคั่งอยู่ในร่างกาย โดยอาจเกิดจากโรคไต (ขับเกลือไม่ได้)
    โรคหลอดเลือดดำอุดตัน (การไหลเวียนไม่สะดวก) ขาดอาหาร โปรตีนในเลือดต่ำ
    โรคตับ ยาและฮอร์โมนบางชนิด โรคหัวใจ หรือ ในบางราย ไม่พบสาเหตุ (idiopathic edema) การบวมในผู้ป่วยโรคหัวใจ
    เกิดจากการที่หัวใจด้านขวาทำงานลดลง เลือดจากขาไม่สามารถ ไหลเทเข้าหัวใจด้านขวาได้โดยสะดวก จึงมีเลือดค้างอยู่ที่ขามากขึ้น
    โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเรื้อรัง ก็ให้อาการเช่นนี้ได้เช่นกัน ดังนั้นเมื่อมีอาการขาบวม แพทย์จำเป็นต้องตรวจหลายระบบ เพื่อหาสาเหตุ จึงให้การรักษาได้ถูกต้อง

    เป็นลม วูบ
    คำว่า "วูบ" นี้ เป็นปัญหาในการซักประวัติอย่างมาก เนื่องจากในภาษาไทยคำนี้มีความหมายต่างๆ กัน แต่ในความหมายของแพทย์แล้ว จะตรงกับภาษาอังกฤษว่า syncope หมายถึง การหมดสติ หรือ เกือบหมดสติ ชั่วขณะ โดยอาจรู้สึกหน้ามืด จะเป็นลม ตาลาย มองไม่เห็นภาพชัดเจน โดยอาการเป็นอยู่ชั่วขณะ ไม่รวมถึงอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน โคลงเครง วูบวาบตามตัว หายใจไม่ออก อาการดังกล่าวอาจเกิดจาก ความผิดปกติของสมอง เช่น ลมชัก (แม้จะไม่ชักให้เห็น) เลือดออกในสมอง ความผิดปกติของหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดร้ายแรง หรือหยุดเต้นชั่วขณะ หรือ ความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจ นอกจากนั้นแล้ว "วูบ" ยังอาจพบได้ในคนปกติที่ขาดน้ำ เสียเลือด ท้องเสีย ไม่สบาย ขาดการออกกำลังกาย ยาลดความดันโลหิต อีกด้วย

    ขอบคุณที่มาข้อมูล นพ.ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา
    อายุรแพทย์โรคหัวใจ
    http://www.yourhealthyguide.com
    แหล่งข้อมูล : www.thaiheartweb.com


  7. #7
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ pcalibration
    วันที่สมัคร
    Nov 2008
    ที่อยู่
    เมืองฉะเชิงเทรา(แปดริ้ว)
    กระทู้
    1,883
    บล็อก
    1
    อัตราการเต้นของหัวใจกับการออกกำลังกาย
    ก่อนอื่น ต้องบอกถึงความสำคัญของการวัดการเต้นของหัวใจว่า เป็นวิธีหนึ่งของการวัดความเข้มข้นของการออกกำลังกายว่าที่ทำอยู่
    หนักเบามากน้อยแค่ไหน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เราบาดเจ็บ หรือเหน็ดเหนื่อย จนถึงกับจะพาลจะเลิกออกกำลังกายไปเลย
    การเต้นของหัวใจเป็นเครื่องมือสำคัญที่วัดว่าหัวใจของเรามีการสนองตอบกับการออกกำลังกายมากน้อยแค่ไหน
    ถ้าเราสนใจวัดในขณะที่เราออกกำลังกาย จะทำให้เราสามารถออกกำลังกายในความเข้มข้นที่เหมาะสม
    อัตราการเต้นของหัวใจ วัดด้วยอัตราการเต้นต่อครั้งต่อนาที โดยทั่วไปแล้ว จำนวนครั้งที่เต้นมากเท่าไร
    ก็หมายถึงมีความเข้มข้นของการออกกำลังกายมากเท่านั้น หากคุณออกกำลังกายไปนานๆ
    เมื่อระดับความฟิตของคุณสูงขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจของคุณจะลดลง
    เดี่ยวนี้ เครื่องออกกำลังกายในฟิตเนส จะต้องมีเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ หรือหากคุณออกกำลังกายนอกฟิตเนส
    คุณก็สามารถหาซื้อเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจได้ หรือจะอาศัยการจับชีพจร แล้ววัดดูสิว่าใน 10 นาที
    ชีพจรเต้นกี่ที จากนั้นเอา 6 คูณเข้าไป เราก็จะได้อัตราการเต้นของหัวใจของเราแล้ว

    อัตราการเต้นของหัวใจ สามารถแบ่งออกได้ตามช่วงเวลาที่เราวัดได้ดังนี้

    (1) Resting heart rate (RHR) - เป็นอัตราการเต้นของหัวใจขณะที่คุณพัก ไม่ว่าจะเป็นตอนที่คุณตื่นขึ้นมาตอนเช้า หรือ ตอนที่คุณสบายๆในช่วงระหว่างวัน อัตราการเต้นขณะพักของผู้ชาย ควรอยู่ประมาณ 60-80 ครั้งต่อนาที ขณะที่ผู้หญิงอยู่ที่ 70-90 ครั้งต่อนาที พวกที่ไม่ดูแลสุขภาพ อัตราการเต้นของหัวใจอาจจะเกิน 100 ครั้งต่อนาที
    อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก บ่งบอกถึงระดับความฟิตของคุณได้ พวกนักกีฬาที่ออกกำลังกายสม่ำเสมออาจจะมีอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักที่ 40-50 ครั้งต่อนาที นอกจากนี้ หากคุณมีอัตราการเต้นของหัวใจค่อนข้างสูง อาจจะหมายถึงสัญญาณเตือนของจะออกกำลังหนักเกินไปจนเกิดปัญหา Over Training ก็หมายถึงเวลาที่คุณจะพักในการออกกำลังกายในวันนั้น หรือจะออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย จนกว่าอัตราการการเต้นจะกลับเข้ามาที่ระดับปกติ

    (2) Maximum heart rate (MHR) - คืออัตราการเต้นสูงสุดที่ร่างกายของคุณจะรับได้ ซึ่งสามารถคำนวณโดย นำอายุของคุณหักออกจาก 220 เช่น หากคุณอายุประมาณ 40 ปี อัตราการเต้นสูงสุดของคุณจะอยู่ที่ 220-40 คือ 180 ครั้งต่อนาที

    (3) Training Heart Rate (THR) - ตามหลักแล้ว คุณควรจะออกกำลังกายในระดับความเข้มข้นที่สูงเพียงพอให้เกิดผลจากการฝึกที่เพียงพอ (a sufficient training effect) แต่จะต้องไม่หนักเกินกว่าที่ร่างกายจะรับได้ ดังนั้น คุณควรจะออกกำลังกายในระดับที่ทำให้อัตราการเต้นของคุณอยู่ในช่วง THR
    American College of Sports Medicine (ACSM) แนะนำว่า ระดับต่ำสุดของ THR น่าจะอยู่ที่ 60% ของ MHR แต่ผู้เชี่ยวชาญอีกหลายๆคนแนะนำว่า ควรจะออกกกำลังกายให้อัตราการเต้นของหัวใจของคุณอยู่ที่ประมาณ 70-80% ของ MHR หากคุณออกกำลังกายเกินค่านี้ จะเป็นช่วงเปลี่ยนการออกกำลังกายของคุณจาก Aerobic Exercise เป็น Anaerobic Exercise ซึ่งหัวใจของคุณไม่สามารถนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายตามความต้องการได้ทัน ซึ่งคุณจะออกกำลังกายได้ไม่นาน
    และจะเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการบาดเจ็บสูง และไม่เกิดผลดีต่อความฟิตของร่างกายเท่าไร
    อย่างไรก็ตาม คนที่พึ่งเริ่มการออกกำลังกาย การกำหนดอัตรากรเต้นที่ 70-80% ของ MHR อาจจะรวดเร็วจนเกินไป ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย เราควรจะออกกำลังกายให้อัตราการเต้นของหัวใจเราอยู่ในช่วง 60-80% ของ MHR

    (4) Recovery heart rate - เมื่อเราออกกำลังกายแล้ว เราจะต้องมีการ cool-down เหมือนเป็นการผ่อนเครื่อง ให้ร่างกายค่อยๆลดระดับอัตราการเต้นของหัวใจลง ซึ่งควรจะลดลงมาระดับที่สูงกว่าอัตราการเต้นของหัวใจก่อนพัก ประมาณ 20 ครั้ง หาก recovery heart rate ของคุณลดลงช้า
    อาจจะหมายความว่า เราอาจจะออกกำลังกายหนักเกินไปหรือไม่ก็ cool-down ด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง
    เมื่อรู้เรื่องอัตราการเต้นของหัวใจของคุณแล้วก็ควรนำไปใช้ในการออกกำลังกายด้วย

    แหล่งข้อมูล : The Runner's Handbook by Bob Glover et al.
    http://www.patrunning.info


Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •