กำลังแสดงผล 1 ถึง 8 จากทั้งหมด 8

หัวข้อ: การให้ธรรมะคือทานอันยิ่งใหญ่

Hybrid View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    การให้ธรรมะคือทานอันยิ่งใหญ่

    เพราะใจเราปฎิเสธธรรมะ ธรรมะจึงเข้าสู่ใจเราไม่ได้


    การให้ธรรมะคือทานอันยิ่งใหญ่


    เพราะใจเราปฎิเสธธรรมะ ธรรมะจึงเข้าสู่ใจเราไม่ได้

    หลวงพ่อปราโมทย์ : จิตใจของเราเอง โดยตัวมันเองนะ มันก็มีแนวโน้มที่จะดีเหมือนกัน แต่เราเองปิดกั้นมันไว้จากมรรคผลนิพพาน ไปต่อต้านนะ ธรรมะพยามแสดงความจริงให้ดู แต่เราไม่อยากเห็นธรรมะ เราอยากเห็นสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมะ ยกตัวอย่างธรรมะแสดงให้ดูว่าเราต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เราไม่อยากได้ เราอยากได้ที่ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ธรรมะแสดงให้ดูว่าความสุขก็ไม่เที่ยง ความทุกข์ก็ไม่เที่ยง เราอยากให้ความสุขเที่ยง อยากให้ไม่มีความทุกข์ ใจเราเองแหละปฏิเสธธรรมะ ธรรมะก็เลยเข้าสู่ใจเราไม่ได้

    การที่เราคอยรู้กาย คอยรู้ใจ มากเข้าๆ ก็เพื่อวันหนึ่ง จิตใจมันจะยอมรับธรรมะ ยอมรับความจริงของกายของใจว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา พอเขายอมรับความจริงเมื่อไหร่ เขาจะเลิกดิ้นรน พอมันไม่ดิ้น มันก็ไม่ทุกข์นะ ไม่ดิ้นไม่ทุกข์หรอก ดิ้นทีไรก็ทุกข์ทุกทีนะ พอทุกข์ก็ยิ่งดิ้น พอยิ่งดิ้นก็ยิ่งทุกข์อีก ก็เลยดิ้นไปเรื่อย ดิ้นไม่เลิกหรอก

    ถ้าเราคอยรู้ไปเรื่อย.. แล้ววันหนึ่ง เกิดปัญญา เห็นกาย เห็นใจ ไม่ใช่เราหรอก เป็นของๆโลก ยืมเขามาใช้ชั่วครั้งชั่วคราว หมดความรักในกายในใจเมื่อไหร่นะ ก็หมดความยึดถือ หมดความทุกข์ กายกับใจก็ดูแลมันไป เหมือนเรายืมของเขามาใช้ ก็มีหน้าที่ดูแล ไม่ใช่ยืมของเขามาใช้ แล้วก็ใช้ให้พังๆไป เรายืมกายยืมใจมาจากโลก เอามาใช้ ก็มาทำประโยชน์ของเราเอง ทำประโยชน์แก่คนอื่น อะไรอย่างนี้

    ที่มา : หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช/บ้านมหา.คอม

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ บ่าวหัวเขียง
    วันที่สมัคร
    Jun 2012
    กระทู้
    406

    ปลงซะ...

    อยากเข้าถึงธรรมะนะคือกันครับ ถ้าเข้าถึงธรรมะได้ กะคงสิละกิเลสได้ ปลงกับความสวยความงามได้ ปลงกับความหลอกลวงได้...เนาะครับ

  3. #3
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    การให้ธรรมะคือทานอันยิ่งใหญ่

    การให้ธรรมะคือทานอันยิ่งใหญ่


    การให้ธรรมะคือทานอันยิ่งใหญ่


    - - มารู้จัก "อภัย" กันดีกว่า - -
    .
    ตามที่รู้กันดีอยู่ว่า “อภัย” คือ การยกโทษ ไม่ถือสา ไม่ถือโกรธ ต่อสิ่งที่กระทำลงไป ทั้งทางกาย วาจา ใจอันเป็นเหตุให้เกิดความไม่พอใจ เดือดร้อน การให้อภัยนั้น ถือเป็นเรื่องที่ทำได้ จะง่ายหรือยากนั้น ก็ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยหลายอย่าง การให้อภัยมักเริ่มต้นมาจากเหตุคือ มีการกระทำผิด หลังจากนั้นจึงพิจารณาว่า จะให้อภัยหรือไม่ ส่วนใหญ่เราจะมองก่อนว่า ผลจากการกระทำผิดนั้นๆ ร้ายแรงแค่ไหน เหตุจากการกระทำผิดนั้น มีความเจตนามากน้อยเพียงใด เช่น ขับรถชนคนตาย แม้ไม่มีเจตนา แต่ก็ยากที่จะให้อภัย ตรงกันข้าม เจตนาแซวสาว แต่สาวเจ้าก็ไม่ได้เห็นเป็นเรื่องใหญ่โตอะไร คิดซะว่าเหมือนหมาเห่าเครื่องบิน ก็ให้อภัยได้ไม่ยาก นอกจากนี้ ก็ยังขึ้นอยู่กับ พื้นฐานจิตใจของแต่ละบุคคล บางคนใจกว้างเป็นแม่น้ำ ก็มักจะไม่ค่อยถือสาหาความอะไร ส่วนบางคนจิตใจคับแคบ นิดหน่อยก็ไม่ยอม แค่โดนเหยียบเท้าเลยชักปืนมายิงก็มี อีกทั้งยังต้องพิจารณาในเรื่องความสัมพันธ์ของคู่กรณี บางทีเป็นคนรัก ก็อภัยได้ง่าย ถ้าเป็นศัตรู ก็ยากนักที่จะอภัยได้แม้เรื่องเพียงเล็กน้อย



    ในแง่ของธรรมะ การให้อภัย ถือว่า เป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง เป็นการสร้างกุศลในรูปแบบของ การให้ทาน นั่นคือ อภัยทาน อันว่าการทำบุญสร้างกุศลนั้น แบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ ทาน ศีล ภาวนา เรื่องศีล และ ภาวนา ค่อยว่ากันอีกทีในโอกาสต่อไป ตอนนี้ว่ากันเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับหัวข้อบทความนี้ก่อน



    ทาน คือการให้ การให้ที่เป็นบุญเป็นกุศล คือ ให้ในสิ่งที่ดี มีประโยชน์ สิ่งที่เหมาะที่ควร แก่ผู้อื่น (หรืออาจรวมถึงตนเองด้วย ในบางเรื่อง) ส่วนมากจะเป็นสิ่งของ ของกิน ของใช้ ส่วนรูปแบบที่ไม่ใช่สิ่งของ ก็เช่น ความช่วยเหลือ ออกแรงกาย ให้กำลังใจ ให้คำแนะนำ ให้อภัย ให้ธรรมะ เป็นต้น



    อานิสงส์ของทานนั้น จะมีมากหรือน้อย ก็ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง หลักๆ ก็คือ ของที่ให้ เป็นของที่บริสุทธิ์ เป็นของดี มีคุณ มีประโยชน์ มากน้อยเพียงใด (เน้นคุณภาพ มากกว่าปริมาณ) บุคคลที่เราให้นั้น ท่านอยู่ในระดับใด และที่สำคัญมากที่สุดคือ เจตนาของผู้ให้ และสภาวะจิตใจที่มี ทั้งก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้

    ขอแสดงถึงระดับอานิสงส์ของทาน อย่างย่อๆ ดังนี้นะครับ (ถูกผิดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้)

    ๑. ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีล 1 ครั้ง

    ๒. ให้ทานแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีล แม้จะให้มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ผู้ที่มีศีล ๕ เพียง 1 ครั้ง

    ๓. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๕ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้มีศีล ๘ เพียง 1 ครั้ง

    ๔. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๘ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานแก่ผู้ที่มีศีล ๑๐ เพียง 1 ครั้ง

    ๕. ถวายทานแก่ผู้มีศีล ๑๐ มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานพระสงฆ์ ผู้มีศีล ๒๒๗ เพียง 1 ครั้ง

    ๖. ถวายทานแก่ผู้มีศีล ๒๒๗ ถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่พระโสดาบัน เพียง 1 ครั้ง

    ๗. ถวายทานแก่พระโสดาบัน ถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่พระสกิทาคามี เพียง 1 ครั้ง

    ๘. ถวายทานแก่พระสกิทาคามี ถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่พระอนาคามี เพียง 1 ครั้ง

    ๙. ถวายทานแก่พระอนาคามี ถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่พระอรหันต์ เพียง 1 ครั้ง

    ๑๐. ถวายทานแก่พระอรหันต์ ถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า เพียง 1 ครั้ง

    ๑๑. ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๑๒. ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายสังฆทาน 1 ครั้ง

    ๑๓. ถวายสังฆทาน ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า อภัยทาน และ ธรรมทาน (ตามที่ข้าพเจ้ารู้มาคือ ธรรมทาน สูงกว่าอภัยทาน แต่บางที่ก็ว่า อภัยทาน สูงกว่า ธรรมทาน เอาเป็นว่า ทานทั้งสองประการนี้ เป็นบุญสูงสุดแล้วในระดับทาน )

    ดังจะเห็นได้ว่า การให้อภัย หรือ อภัยทาน นั้น คือการทำบุญสร้างกุศล ที่มีอานิสงส์มาก และไม่ต้องเสียสละทรัพย์แต่ประการใด แต่จะกระทำได้ยากหรือง่ายนั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล อันว่า ความดี คนดี ทำง่าย คนฉลาดมักสร้างกุศลอยู่เสมอ หากมีความรักและหวังดีกับตนเอง อภัยทานซึ่งเป็นทานสูงสุดอันดับต้นๆ อันจะนำสุขมาให้ ก็น่าจะพิจารณาหมั่นกระทำอยู่เป็นนิจ ทั้งให้อภัยผู้อื่น และ ให้อภัยตนเอง ยกโทษให้ อโหสิให้ ไม่จองเวรผูกกรรมซึ่งกันและกันอีกต่อไป

    บทอธิษฐานอโหสิกรรมต่อกัน



    กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง สัญจิจจะกัมมัง อะสัญจิจจะกัมมัง ขะมันตุ เม อโหสิกัมมัง ภะวะตุ เม.

    กรรมใดๆ ที่ข้าพเจ้าได้ทำล่วงเกินแก่ผู้ใด โดยตั้งใจก็ดี ไม่ได้ตั้งใจก็ดี ในภพชาติใดก็ตาม ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายจงโปรดยกโทษให้เป็นอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้า อย่าได้จองเวรจองกรรมต่อกันอีกเลย

    แม้แต่กรรมใดที่ใครๆ ทำแก่ข้าพเจ้าก็ตาม ข้าพเจ้าอโหสิกรรมให้ทั้งสิ้น ยกถวายพระพุทธเจ้าเป็นอภัยทาน ขอจงดลใจให้เขาเหล่านั้นกลับมีเมตตาจิต คิดเป็นมิตรกับข้าพเจ้า เพื่อจะได้ไม่มีเวรต่อกันและกันตลอดไป

    ด้วยอานิสงส์แห่งอภัยทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้าพร้อมทั้งครอบครัว ตลอดจนวงศาคณาญาติ ผู้มีอุปการะคุณของข้าพเจ้า พ้นจากความทุกข์ยากลำบากเข็ญใจ ปรารถนาสิ่งใดอันเป็นไปโดยชอบประกอบด้วยธรรมแล้ว ขอให้สิ่งนั้นจงพลันสำเร็จเทอญ ...



    คำว่า “อภัย” มาจากคำว่า อะ + ภย คำว่า อะ แปลว่า ไม่ ไม่มี ไม่เป็น ภยะ หรือ ภัย แปลว่า กลัว สิ่งที่น่ากลัว น่าสะดุ้ง น่าเกรงขาม เป็นอันตราย(ภยันตราย) เป็นโทษ(โทษภัย) เป็นพิษ(พิษภัย) “อภัย” รวมความแล้วแปลว่า ไม่มีความน่ากลัว ไม่เป็นอันตราย ไม่เป็นโทษ ไม่เป็นพิษ การให้อภัยผู้อื่น คือ การไม่ถือโทษ โกรธ ต่อผู้อื่น ทำให้เค้าไม่ต้องรับโทษ รับความโกรธ รับพิษรับภัย จากเราไป อานิสงส์ประการหนึ่งจากการให้ คือได้รับสิ่งที่เราให้ เราให้อภัยผู้อื่น คือเราให้ผู้อื่นไม่มีภัย เราก็ได้รับอานิสงส์ทันที คือ เราไม่มีภัย ไม่มีความโกรธ (โทสะ) ไม่มีความกลัว ไม่มีอันตราย ตรงกันข้าม ถ้าเราไม่ให้อภัย ก็คือ เราอยากให้คนอื่น มีภัย ก็เท่ากับเราก็จะได้รับภัยตามไปด้วย เราโกรธเขา ใจเราจะมีความเร่าร้อน ร้อนด้วยไฟกิเลส คือ ไฟโทสะ ยิ่งถ้ามีการกระทำกรรมออกไป ย่อมเป็นอกุศลกรรม เพราะจิตมีเจตสิกคือ โทสะ ประกอบอยู่ เป็นจิตอกุศล สิ่งที่จะได้รับกลับมา ย่อมเป็นอกุศลวิบาก นั่นย่อมเป็นภัยแก่ตน ต้องว่ายเวียนวนอยู่ในวัฏสงสารอันเปี่ยมทุกข์นี้ไปอีกนานแสนนาน เรียกว่า ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นย่อมสนอง ถ้าเราอยากเป็นผู้ไม่มีภัย เราก็ต้องรู้จักที่จะหาทางไม่มีภัย นั่นก็คือ “อภัย” เพราะ อภัย = ไม่มีภัย นั่นเอง

    อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คงจะรู้จัก “อภัย” กันมากขึ้น จากนี้ เราก็ควรรู้จัก “ให้อภัย” กันดีกว่า ถ้ายังทำไม่ได้ในทันที ขอให้ทดลองดู วันละนิด ทำใจให้กว้างขึ้นวันละหน่อย ค่อยๆ สะสมไปเรื่อย ชีวิตเราก็จัก โล่ง โปร่ง เบา สบาย ไร้ภัย ไร้กังวล สะอาด สว่าง สงบ ท้ายที่สุด ก็จะมีโอกาสพบทางพ้นทุกข์ อันเป็นสุขแท้จริง



    นิพพานะปัจจะโย โหตุ.

    ด้วยความปรารถนาดี ^^
    . . . นวหัตถ์ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕


    ที่มา : การให้ธรรมะเป็นทานคือการให้อันยิ่งใหญ่/บ้านมหา.คอม

  4. #4
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ บ่าวบ้านแวง
    วันที่สมัคร
    Jul 2012
    ที่อยู่
    กบินทร์บุรี ปราจีนบุรี
    กระทู้
    5
    นิพพานะปัจจะโย โหตุ สาธุ สาธุ สาธุ

  5. #5
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    การให้ธรรมะคือทานอันยิ่งใหญ่

    การให้ธรรมะคือทานอันยิ่งใหญ่

    - - " ค ว า ม ไ ม่ พ อ ใ จ " - -

    การให้ธรรมะคือทานอันยิ่งใหญ่


    ที่มา : การให้ธรรมะคือทานอันยิ่งใหญ่/บ้านมหา.คอม

  6. #6
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    การให้ธรรมะคือทานอันยิ่งใหญ่

    แม่พระธรณีบิดพระเกศา เกิดเป็นสมุทรธารา
    พระญามารก็พ่ายแพ้แก่พระบารมี



    การให้ธรรมะคือทานอันยิ่งใหญ่


    แม่พระธรณีบิดพระเกศา เกิดเป็นสมุทรธารา
    พระญามารก็พ่ายแพ้แก่พระบารมี
    ----------------------------------------


    สถานที่ที่พระมหาบุรุษประทับนั่งพื่อทรงบำเพ็ญเพียรทางใจ แสวงหาทางตรัสรู้ ซึ่งอยู่ที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น เรียกว่า “โพธิบัลลังก์” พระยามารกล่าวตู่ว่าเป็นสมบัติของตน ส่วนพระมหาบุรุษทรงกล่าวแก้ว่า บังเกิดขึ้นด้วยผลแห่งบุญบารมีที่พระองค์ทรงบำเพ็ญมาแต่ชาติปางก่อน แล้วทรงอ้างพระนางธรณีเป็นพยาน


    ปฐมสมโพธิว่า “พระธรณีก็มิอาจดำรงกายอยู่ได้...ก็อุบัติบันดาลเป็นรูปนารี ผุดขึ้นจากพื้นปฐพี...” แล้วกล่าวเป็นพยานพระมหาบุรุษ พร้อมกับบีบน้ำออกจากมวยผม น้ำนั้นคือสิ่งที่เรียกว่า “ทักษิโณทก” อันได้แก่ น้ำที่พระมหาบุรุษทรงกรวดทุกครั้งที่ทรงบำเพ็ญบุญบารมีแต่ชาติปางก่อนเป็นลำดับมา ซึ่งแม่พระธรณีเก็บไว้ที่มวยผม เมื่อนางบีบก็หลั่งไหลออกมา

    ปฐมสมโพธิว่า “เป็นท่อธารมหามหรรณพ นองท่วมไปในประเทศทั้งปวง ประดุจห้วงมหาสาครสมุทร...หมู่มารเสนาทั้งหลายมิอาจดำรงกายอยู่ได้ ก็ลอยไปตามกระแสน้ำ ปลาสนาการไปสิ้น ส่วนคิรีเมขลคชินทร ที่นั่งทรงองค์พระยาวัสสวดี ก็มีบาทาอันพลาด มิอาจตั้งกายตรงอยู่ได้ ก็ลอยตามชลธารไปตราบเท่าถึงมหาสาคร...พระยามารก็พ่ายแพ้ไปในที่สุด”

    บารมีนั้นคือความดี พระมหาบุรุษท่านทรงรำพึงว่า ชีวิต ดวงหทัย นัยน์เนตรที่ท่านทรงบริจาคให้เป็นกุศลผลทานมาก่อนนั้น ถ้าจะเก็บรวมไว้ก็จะมากกว่าผลาผลไม้ในป่า มากกว่าดวงดาราในท้องฟ้า

    ความดีที่ทำไว้นั้นไม่หนีไปไหน ถึงใครไม่เห็น ฟ้าดินก็เห็น ดินคือแม่พระธรณี
    -----------------------------------
    “ภาพพุทธประวัติ” อันงดงามมาก พร้อมคำบรรยายประกอบภาพ
    จากเว็ป ลานธรรมจักร ผู้ตั้งกระทู้ "สาวิกาน้อย" อ้างอิง http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=38107&start=15



    ที่มา : ลานธรรมจักร/บ้านมหา.คอม

  7. #7
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    การให้ธรรมเป็นทาน คือการให้ที่ยิ่งใหญ่

    ทรงลาดหญ้าประทับเป็นโพธิบัลลังก์
    ตกเย็นพระญามารก็กรีฑาพลมาขับไล่



    การให้ธรรมเป็นทาน คือการให้ที่ยิ่งใหญ่


    ทรงลาดหญ้าประทับเป็นโพธิบัลลังก์
    ตกเย็นพระยามารก็กรีฑาพลมาขับไล่
    -----------------------------------------


    เหตุการณ์ที่เกิดกับพระมหาบุรุษตอนนี้เรียกว่า “มารผจญ” ซึ่งเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนตรัสรู้ไม่กี่ชั่งโมง พระอาทิตย์กำลังอัสดงลงลับทิวไม้ สัตว์สี่เท้าที่กำลังจะใช้งาทิ่มแทงพระมหาบุรุษนั้นมีชื่อว่า “นาราคีรีเมขล์” เป็นช้างทรงของพระยาวัสสวดีมารซึ่งเป็นจอมทัพ สตรีที่กำลังบีบมวยผมนั้นคือ “พระนางธรณี” มีชื่อจริงว่า “สุนธรีวนิดา”

    พระยามารตนนี้เคยผจญพระมหาบุรุษมาครั้งหนึ่งแล้ว คือ เมื่อคราวเสด็จออกจากเมือง แต่คราวนี้เป็นการผจญชิงชัยกับพระมหาบุรุษยิ่งใหญ่กว่าทุกคราว กำลังพลที่พระยามารยกมาครั้งนี้มืดฟ้ามัวดิน มาทั้งบนเวหา บนดิน และใต้บาดาล ขนาดเทพเจ้าที่มาเฝ้ารักษาพระมหาบุรุษต่างเผ่นหนีกลับวิมานกันหมดเพราะเกรงกลัวมาร


    ปฐมสมโพธิพรรณนาภาพพลมารตอนนี้ไว้ว่า “...บางจำพวกก็หน้าแดงกายเขียว บางจำพวกก็หน้าเขียวกายแดง บางเหล่าจำแลงกายขาวหน้าเหลือง...บางหมู่กายลายพร้อยหน้าดำ...บางพวกกายท่อน ล่างเป็นนาค กายท่อนต่ำเป็นมนุษย์...”

    ส่วนตัว พระยามาร เนรมิตพาหาคือแขนซ้ายและขวาข้างละหนึ่งพันแขน แต่ละแขนถืออาวุธต่างๆ เช่น ดาบ หอก ธนู ศร โตมร (หอกซัด) จักรสังข์ อังกัส (ของ้าวเหล็ก) คทา ก้อนศิลา หลาว เหล็ก ครกเหล็ก ขวานถาก ขวานผ่า ตรีศูล (หลาวสามง่าม) ฯลฯ

    เหตุที่พระยามารมาผจญพระมหาบุรุษทุกครั้ง เพราะพระยามารมีนิสัยไม่อยากเห็นใครดีเกินหน้าตน เมื่อพระมหาบุรุษจะทรงพยายามเพื่อเป็นคนดีที่สุดในโลก จึงขัดขวางไว้ แต่ก็พ่ายแพ้พระมหาบุรุษทุกครั้ง ครั้งนี้เมื่อเริ่มยกแรกก็แพ้ แพ้แล้วก็ใช้เล่ห์ คือ กล่าวตู่พระมหาบุรุษว่ามายึดเอา “โพธิบัลลังก์” คือตรงที่พระมหาบุรุษประทับนั่ง ซึ่งพระยามารตู่เป็นที่ของตน พระยามารอ้างพยานบุคคลคือพวกพ้องของตน ฝ่ายพระมหาบุรุษทรงมองหาใครเป็นพยานไม่ได้ เทพเจ้าเล่าก็เปิดหนีกันหมด จึงทรงเหยียดพระหัตถ์ขวาออกจากชายจีวร แล้วทรงชี้พระดัชนีลงยังพื้นพระธรณี พระนางธรณีจึงผุดขึ้นตอนนี้เพื่อเป็นพยาน

    “ภาพพุทธประวัติ” อันงดงามมาก พร้อมคำบรรยายประกอบภาพ
    จากเว็ป ลานธรรมจักร ผู้ตั้งกระทู้ "สาวิกาน้อย" อ้างอิง http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=38107&start=15



    ที่มา : เวปลานธรรมจักร/บ้านมหา.คอม

  8. #8
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    การให้ธรรมะคือทานอันยิ่งใหญ่

    ขันธ์ห้า


    การให้ธรรมะคือทานอันยิ่งใหญ่




    ขันธ์ห้าที่มองเห็นชัดที่สุดตัวแรกก็คือ "รูป" ก็คือกายเนื้อนี่แหละ จะมองเป็นธาตุทั้งสี่ คือดิน น้ำ ลม ไฟ ก็ได้ จะมองเป็นอาการ 32 อย่างทางพระท่านมองก็ได้ รูปนั้นมันมีหน้าที่ทำทุกอย่างตามแต่ที่ใจผู้เป็นนายมาสั่งให้มันทำอย่างหนึ่ง และมันก็ทำทุกอย่างโดยอัตโนมัติทั้งที่ใจก็ไม่ได้สั่งให้มันทำอีกอย่างหนึ่ง เช่น การหายใจ การหายใจนี่ใจไม่ได้สั่งมันนะ ถ้าต้องรอใจไปสั่งมันเดี๋ยวพอเผลอหลับก็จะลืมหายใจตายไปซะก่อน(ข้อนี้จำระบบเอามาพูดต่อ) และยังส่วนอื่นๆ อีก ได้แก่ การเต้นการสูบฉีดโลหิตของหัวใจ การย่อยอาหารเพื่อสกัดสารอาหารไปบำรุงเซลต่างๆ ในร่างกาย ถ้าอายุยังน้อยมันก็จะค่อยๆ เสริมสร้างให้คนๆ นั้นค่อยๆ โตขึ้น แต่ถ้าโตขึ้นจนถึงจุดหนึ่งแล้ว มันก็จะเสริมสร้างเหมือนกัน แต่ว่าทำให้คนๆ นั้นค่อยๆ เหี่ยวลง แก่ลง เป็นต้น นี่คืออาการของรูปที่ใจมันไม่ได้ไปบังคับบัญชา และมันก็ไม่สามารถจะไปบังคับบัญชาได้ แต่มันก็เป็นไปของมันเองอย่างนั้นอยู่

    ขันธ์ที่สอง ต้องขอพูดถึง "สัญญา" หรือความทรงจำก่อน เพื่อง่ายต่อการเห็นกลไกการทำงานของแต่ละขันธ์ตามลำดับ ในคนปกติถ้าสมองไม่ได้รับความเสียหาย คนๆ นั้นจะมีการบันทึกความทรงจำเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลาในทุกวินาทีจากการที่ใช้ชีวิตประจำวัน และมันเหมือนเป็นการบันทึกเทปไว้อย่างต่อเนื่องแบบไม่มีวันสิ้นสุด มีการเรียนรู้ มีการเก็บเอาความรู้ต่างๆ ไว้ในนี้ มันมีหน้าที่อย่างนี้ การทำงานของมันเป็นอย่างนี้

    ขันธ์ที่สามก็ขอพูดถึง "วิญญาณ" วิญญาณก็จะประกอบไปด้วยอายตนะทั้งหก ได้แก่ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เหล่านี้เรียกว่าอายตนะภายใน เมื่อมีอายตนะภายในแล้วก็จะต้องมีอายตนะภายนอกที่มาคู่กัน คือรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ คู่กันตามลำดับ เมื่อลืมตาขึ้นมา ถ้ามันไม่ได้อยู่ในความมืด หรือเป็นคนตาบอด ก็จะต้องเห็นภาพหรือที่เรียกว่ารูปนั่นแหละเป็นธรรมดา เมื่อมีเสียงผู้คนพูดคุยหรือเสียงอะไรต่างๆ ดังขึ้น ถ้าผู้นั้นหูไม่หนวกก็จะได้ยินเสียงนั้นๆ เป็นธรรมดา เมื่อมีกลิ่นโชยมาไม่ว่าจะหอมหรือเหม็นจมูกก็ต้องได้กลิ่นนั้นๆ เป็นธรรมดา เมื่อตักอาหารเข้าปากลิ้นก็ต้องได้รับรู้รสชาดอาหารนั้นๆ เป็นธรรมดา เมื่อมีอะไรมาสัมผัสถูกต้องผิวกายไม่ว่าจะนุ่มแข็งอ่อนร้อนอุ่นเย็น กายก็จะต้องได้รับรู้สัมผัสนั้นๆ เป็นธรรมดา และธรรมารมณ์ที่หลากหลายที่มันเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นดีใจ เสียใจ รัก โลภ โกรธ เกลียด กลัว ริษยา อาฆาต เมตตา มุทิตา นิวรณ์ทั้งห้า ฯลฯ ทั้งหลายเหล่านี้ ใจคือตัวที่ทำหน้าที่รับรู้ธรรมารมณ์เหล่านี้ ซึ่งที่สำคัญคือต้องไม่ลืมว่าธรรมารมณ์ที่หลากหลายเหล่านี้ มันเป็นแค่อายตนะภายนอกเท่านั้น


    ขันธ์ที่สี่ คือ "สังขาร" หรือการปรุงแต่ง ถ้าทางพระก็จะกล่าวว่ามีการปรุงแต่งอยู่สามทาง ก็คือกายสังขาร วจีสังขาร และมโนสังขาร กายสังขารก็อย่างที่กล่าวไว้ในเรื่องการบังคับบัญชาให้รูปขันธ์มันทำงานของมันตามที่ความคิดหรือจิตใจจะส่งเจตนาลงไปสั่ง วจีสังขารก็คือการพูดออกมาตามความคิดหรือจะพูดโดยที่ไม่ได้คิดก็แล้วแต่ ส่วนมโนสังขารนี่แหละตัวแสบ มันจะมีกลไกของมันแทบจะอัตโนมัติในการที่จะไปดึงเอาสัญญามาบ้าง ไปดึงเอาอายตนะภายนอกอันหลากหลายมาบ้าง เอามาปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา มันแทบไม่เคยอยู่เฉยเลย นอกจากจะกดมันไว้ไม่ให้มันคิดด้วยอำนาจของฌาณสมาบัติแบบชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น นี่คือมันมีการทำงานปกติของมันเป็นอย่างนี้ ธรรมดาของมันเป็นอย่างนี้

    ขันธ์ที่ห้า คือ "เวทนา" มันเป็นผลมาจากขันธ์ทั้งสี่ตัวดังกล่าวมาแล้วข้างต้นนี้แหละ รูปมันไปหกล้มมาเจ็บ มันก็อยู่ในข่ายทุกข์ สังขารขันธ์จู่ๆ มันเอาสัญญาเก่าๆ ที่มันน่าเศร้าสร้อยเอามาคิดวนใหม่ มันก็จะอยู่ในข่ายทุกข์ หรือจะเก็บเอาเรื่องดีดีจากในสัญญามาคิด มันก็จะออกมาในข่ายสุข แต่ส่วนใหญ่แล้วเวทนาขันธ์นี้มันมักจะอิงกับวิญญาณขันธ์ที่ชื่อว่า "ใจ" เป็นหลัก มันคอยจะสุขคอยจะทุกข์คล้องจองตามไปกับใจที่เป็นอายตนะภายใน แล้วไปรับรู้เอาธรรมารมณ์ที่เป็นอายตนะภายนอกเข้ามามีผลอยู่เสมอๆ


    เอาหละเข้าเรื่องซักที จะวางยังไงดี วางยังไงมันก็ยังไม่หายซักทีนะสิ่งที่มันเกิดขึ้นกับในขันธ์ห้าเนี่ย เมื่อเรารู้ในกลไกการทำงานของขันธ์ทั้งห้าขันธ์ไปแล้ว ที่นี้เราก็ต้องมีสติน่ะสิ "สติ" คืออะไร สติคือการระลึกรู้ทัน หรือเท่าทันมันและเพ่งมองมันว่ามันมีอะไรที่เด่นขึ้นมาบ้างในขันธ์ใดขันธ์หนึ่งในห้าขันธ์นี้บ้าง เมื่อมองดูมันทันแล้วนั่นแหละเรียกว่าสติ เป็น "สัมมาสติ" เมื่อเอาสติมองดูมันอย่างเดียวไปได้นานๆ อย่างต่อเนื่องได้แล้ว นี่เรียกว่า "สมาธิ" เป็น "สัมมาสมาธิ" และเมื่อเราเข้าใจกลไกการทำงานของขันธ์ทุกตัวมาแล้ว เราจะทำอะไรกับมันได้บ้าง อย่างมากเราก็จะแค่มองดูมันได้อยู่เฉยๆ เพียงอย่างเดียว ถ้าอยากให้สิ่งที่เรามองมันทุเลาลง หรือหายไป ความอยากนั้นคือวิภวตัณหานะ ถ้าสิ่งที่เรามองมันแล้วมันช่างน่ารื่นรมย์ยิ่งนัก ไม่อยากให้มันหายไปเลย นั่นเรียกว่าภวตัณหานะ แล้วตัว "ตัณหา" เนี่ย พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสบอกไว้แล้วว่ามันคือนายช่างผู้สร้างเรือน เป็นตัวสร้างภพสร้างชาติ ดังนั้นเราจึงเป็นได้แค่ผู้เฝ้ามองดูกลไกการทำงานของขันธ์ทั้งห้ามันได้แต่เพียงอย่างเดียว เมื่อเรามีสติตามนัยยะที่ได้กล่าวมานี้ มีสมาธิตามนัยยะที่ได้กล่าวมานี้ ตามรู้ตามเห็นตามความเป็นจริงของขันธ์ห้าที่มันย่อมมีอาการเป็นเช่นนั้นเองในแต่ละขันธ์ของมัน ไม่มีตัวเรา หรือของเรา และเราก็ไม่สามารถไปบังคับบัญชามันได้ นี่แหละคือการวางแล้ว คือการวางที่ถูกต้องแล้ว ธาตูรู้จะถูกอบรมด้วยปัญญา และความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าก็คงจะลดน้อยลงๆ ตามลำดับ

    ทุกข์ ไม่สามารถจะเพิ่มหรือลดได้ด้วยการวางโดยการไปบีบบังคับ แต่สามารถที่จะข้ามมันไปได้ ด้วยความเพียร



    ที่มา : การให้ธรรมะคือทานอันยิ่งใหญ่/บ้านมหา.คอม

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •