กำลังแสดงผล 1 ถึง 4 จากทั้งหมด 4

หัวข้อ: ยาสมุนไพรในบ้านเฮา..หมวด ก.

  1. #1
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
    ช่างภาพอิสระ

    วันที่สมัคร
    Sep 2006
    กระทู้
    689

    ยาสมุนไพรในบ้านเฮา..หมวด ก.

    ยาสมุนไพรในบ้านเฮา..หมวด ก.

    กานพลู
    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eugenia earyophyllus Bullock ET Harrison
    ชื่อท้องถิ่น : จันจี่ (ภาคเหนือ )

    ลักษณะของพืช : กานพลูเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบหนาเป็นมัน ถ้าเอาใบส่องแดดจะเห็นจุดน้ำมันอยู่ทั่วไป ออกดอกเป็นช่อขนาดเล็ก ดอกสีแดงอมชมพู เก็บดอกตูมช่วงที่เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดง และตากแดดให้แห้งเก็บไว้ใช้ ปลูกโดยใช้เมล็ด ขึ้นได้ดีในเมืองร้อน ชอบอากาศร้อน และความชื้นสูง
    คุณค่าด้านอาหาร : ดอกกานพลูแห้งเป็นเครื่องเทศ ช่วยแต่งกลิ่นอาหาร ประกอบด้วยสารอาหารหลายอย่าง และมีแคลเซี่ยมและฟอสฟอรัสมาก ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง

    ส่วนที่ใช้เป็นยา : ดอกกานพลูแห้งที่ยังไม่ได้สกัดเอาน้ำมันออก และมีกลิ่นหอมจัด
    รสและสรรพคุณยาไทย : รสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม ช่วยขับลม

    ประโยชน์ทางยา : ดอกแห้งมีน้ำมันหอมระเหยมาก รสเผ็ด ช่วยขับลม แก้อาหารท้องอืด ท้องเฟื้อและแน่นจุกเสียด โดยใช้ดอกแห้ง 5-8 ดอก (0.12-0.6 กรัม ) ต้มหรือบดเป็นผง ชงทานกับน้ำสุก และดอกกานพลูยังช่วยป้องกันไม่ให้เด็กอ่อนท้องขึ้น ท้องเฟื้อได้ โดยใช้ดอกแห้ง 1-3 ดอก แช่ไว้ในกระติกน้ำร้อนที่ใช้ชงนมให้เด็กอ่อน


    กระเพรา
    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum sanctum Linn.
    ชื่อท้องถิ่น : กะเพราขาว กะเพราแดง (กลาง) กอมก้อ (เหนือ)

    ลักษณะของพืช : เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก โคนต้นที่แก่เป็นไม้เนื้อแข็ง ยอดเป็นไม้เนื้ออ่อน ลำต้นและใบมีขนอ่อน ใบมีกลิ่นหอมฉุน รูปร่างรี ปลายใบและโคนใบแหลมหรือมนเล็กน้อย ขอบใบหยัก ดอกออกเป็นช่อ ดอกย่อยออกรอบแกนกลางเป็นชั้นๆ กะเพราปลูกเป็นผักสวนครัวอยู่ทั่วไป มีกะเพราขาวและกะเพราแดง กะเพราขาวมีส่วนต่าง ๆ เป็นสีเขียว ส่วนกะเพราแดงจะมีส่วนต่าง ๆ เป็นสีเขียวอมม่วงแดง ปลูกโดยใช้กิ่งชำหรือใช้เมล็ด ปลูกได้ทั่วไป
    คุณค่าด้านอาหาร : กะเพราแดงเป็นผักที่มีวิตามินเอ และฟอสฟอรัสค่อนข้างมาก ใช้เป็นเครื่องปรุงรสอาหาร ทำให้ร้อนและขับลมได้ดี ใบกะเพราใช้ใส่แกงป่า ผัดเผ็ดใส่ใบกะเพรา ผัดเผ็ดนก ผัดขี้เมา และนำไปแต่งสีและกลิ่นอาหารให้ชวนทานได้อีกด้วย

    ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบแห้งหรือสด
    รสและสรรพคุณยาไทย : รสเผ็ดร้อน เป็นยาตั้งธาตุ แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น จุกเสียดในท้อง ใช้แต่งกลิ่นแต่งรสได้

    ประโยชน์ทางยา : ใบกะเพรา มีน้ำมันหอมระเหย (Volatile oil) เป็นจำนวนมาก ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟื้อ แน่นจุกเสียดและปวดท้อง โดยใช้ใบและยอดกะเพรา 1 กำมือ (ถ้าสดหนัก 25 กรัม แห้งหนัก 4 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม เหมาะสำหรับเด็กท้องอืด หรือนำมาปรุงเป็นอาหารรับประทานแก้ท้องอืดได้ จำนวนยาจะใช้วิธีเดียวกันนี้ ใช้แก้อาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดจากธาตุไม่ปกติได้


    กล้วยน้ำว้า
    ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa sapientum Linn
    ชื่อท้องถิ่น กล้วย

    ลักษณะพืช พืชล้มลุก ลำต้นสูง ลำต้นที่อยู่เหนือดิน รูปร่างกลม มีกาบใบหุ้มซ้อนกัน ใบสีเขียวขนาดใหญ่ ก้านใบยาวยาว เห็นได้ชัดเจน ดอกที่ปลายเป็นช่อ ลักษณะห้อยหัวลงยาว 1-2 ศอก เรียกว่า ปลี มีดอกย่อยออกเป็นแผง ผลจะติดกันเป็นแผง เรียกว่า หวี ซ้อนกันหลายหวี เรียกว่า เครือ ใช้หน่อปลูก ปลูกได้ทั่วไป
    คุณค่าด้านอาหาร กล้วย เป็นพืชที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันมาก ตั้งแต่ใบกล้วย ที่เรียกว่าใบตองใช้ห่อขนม ต้นกล้วยใช้เลี้ยงหมู ไส้ในต้นกล้วย ที่ยังไม่ออกเครือ ใช้ทำอาหารได้ เช่น แกงกับกะทิ กินสด หรือแกล้มกับขนมจีนน้ำยา หัวปลีใช้แกงเลียง ภาคใต้ นิยมเอาหัวปลีมาเผาให้สตรีหลังคลอดบุตร ทาน บำรุงน้ำนม ลูกห่าม และลูกสุกของกล้วย เป็นผลไม้ที่มีแร่ธาตุเหล็กมาก มีทานกันตลอดทั้งปี กล้วยสุกทุกชนิด มีประกอยด้วยสารอาหารครบครัน คือ น้ำ แป้ง โปรตีน ไขมัน เส้นใย เกลือแร่ต่างๆ ( โดยเฉพาะในกล้วยหอม มีแคลเซี่ยม เหล็ก และโปรแตสเซี่ยมมาก ) วิตามินและอื่นๆ มีการนำเอากล้วย มาดัดแปลงทำอาหารได้หลายรูปแบบ คือ กล้วยเชื่อม กล้วยฉาบ กล้วยปิ้ง กล้วยตากอบน้ำผึ้ง กล้วยกวน กล้วยทอด ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งนั้น และหากทานกล้วยน้ำว้าสุกเป็นประจำ ยังช่วยระบบขับถ่ายให้ปกติอีกด้วย

    ส่วนที่ใช้เป็นยา ลูกดิบ หรือลูกห่าม
    รสและสรรพคุณยาไทย ลูกดิบรสฝาด ฤทธิ์ฝาดสมาน

    ประโยชน์ทางยา กล้วยดิบมีสาร แทนนิน ( Tannin ) เพ็กติน (pectin ) แป้งและอื่นๆ สารเหล่านี้ มีฤทธิ์ช่วยฝาดสมาน รักษาอาการท้องเดิน ใช้กล้วยน้ำว้าห่าม รับประทานครั้งละครึ่งผล หรือใช้กล้วยน้ำว้าดิบฝานเป็นแว่นตากแดดให้แห้ง ชงน้ำทานครั้งละครึ่งผล หรือบดเป็นผงปั้นเป็นยาลูกกลอนก็ได้ ทานแล้วอาจจะมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ป้องกันได้โดยทานร่วมกันกับยาขับลมเช่นน้ำขิง พริกไทย เป็นต้น


    กระเจี๊ยบแดง
    ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Hibicus sabdariffa Linn.
    ชื่อท้องถิ่น : กระเจี๊ยบ, กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง ) ผักเก็งเค็ม, ส้มเก็งเค็ม (ภาคเหนือ ) ส้มตะ , แลงแครง ( ตาก ) ส้มปู ( เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) กระเจี๊ยบเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงราว 3-6 ศอก ก้านสีม่วงแดงใบมีหลายแบบขอบใบเรียง บางครั้งมีหยักเว้า 3 หยัก ดอกสีชมพูตรงกลางจะมีสีเข้มกว่าส่วนนอกของกลีบ เมื่อกลีบดอกร่วงโรยไป กลีบรองดอก และกลีบเลี้ยงจะเจริญขึ้น มีสีม่วงเข้มหุ้มเมล็ดไว้ภายใน ใช้เมล็ดปลูกปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศ

    คุณค่าด้านอาหาร : กลีบรองดอกและกลีบเลี้ยงของกระเจี๊ยบแดง รสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำเติมน้ำตาลดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนม เยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบใช้เป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกว่า ?ส้มพอเหมา ? ในใบมีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วยกลีบเลี้ยงดอกและกลีบดอก มีสารแคลเซี่ยม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
    ส่วนที่ใช้เป็นยา : กลีบเลี้ยง และกลีบรองดอก

    รสและสรรพคุณยาไทย : กลีบรองดอก กลีบเลี้ยง และใบ มีรสเปรี้ยว ใช้เป็นยากัดเสมหะ
    ประโยชน์ทางยา : กลีบรองดอกและกลีบเลี้ยงมีสารชื่อ แอนโธไซนานิน ( Anthocyanin) จึงทำให้มีสีม่วงแดง มีรสเปรี้ยวเพราะประกอบด้วยกรดอินทรีย์ ( พวก Fatty acid ) ทานน้ำต้มกระเจี๊ยบแดง ทำให้ ปัสสาวะเป็นกรด ใช้เป็นยาแก้ขับเบา ช่วยขับปัสสาวะ โดยนำเอากลีบเลี้ยงและกลีบรองดอกตากแห้ง บดเป็นผงครั้งละ 1 ช้อนชา

  2. #2
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
    ช่างภาพอิสระ

    วันที่สมัคร
    Sep 2006
    กระทู้
    689

    Re: สมุนไพรในบ้านเฮา..หมวด ก.

    กระเทียม

    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia tora Linn.
    ืชื่อท้องถิ่น หอมเทียม ( เหนือ ) หัวเทียม ( ใต้ ) กระเทียมขาว ( อุดรธานี ) หอมขาว (อุดรธานี ) กระเทียม ( กลาง ) ปะเซ้วา ( กระเหรี่ยง ? แม่ฮ่องสอน )

    ลักษณะของพืช พืชล้มลุก มีลำต้นใต้ดิน เรียกว่าหัว หัวมีกลีบย่อยหลายกลีบ ติดกันแน่น เนื้อสีขาวมีกลิ่นฉุน บางครั้งในหนึ่งหัว มีกลีบเดียว เรียกว่า กระเทียมโทน หัวค่อนข้างกลม ใบยาว แบนปลายแหลม ภายในกลวง ดอกรวมกันเป็นกระจุก ที่ปลายก้านช่อ ดอกสีขาวอมเขียว หรืออมชมพู ม่วง ผลมีขนาดเล็ก ใช้หัวปลูก ปลูกได้ทั่วไป
    ่คุณค่าด้านอาหาร กระเทียมใช้เป็นผักได้ ทั้งใบและหัวใต้ดิน หัวกระเทียมมักตากแห้งเก็บไว้ใช้ได้นาน ใช้ปรุงรสและกลิ่นอาหารหลายอย่าง หัวกระเทียมมีน้ำมันหอมระเหย และสารอาหารหลายอย่างเช่น คาร์โบไฮเดรท ไขมัน โปรตีน เกลือแร่ เช่น กำมะถัน แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส ( ในจำนวนนี้มีกำมะถันมากที่สุด ) วิตามิน และเส้นใย เป็นต้น ยังแปรรูปเป็นกระเทียมดอง เก็บไว้ทานได้นานๆ ปัจจุบันนี้ ทั้งในและนอกประเทศมีการนำเอากระเทียม มาอัดเม็ดหรือบรรจุแคปซูลแนะนำให้ทานเป็นอาหารเสริมอีกด้วย

    ส่วนที่ใช้เป็นยา หัวใต้ดิน
    รสและสรรพคุณยาไทย เผ็ดร้อน เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้กลากเกลื่อน แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร

    ประโยชน์ทางยา สารในหัวกระเทียม มีน้ำมันกระเทียม ( Essential Oil )และสารประกอบกำมะถัน น้ำมันกระเทียม มีสารสำคัญชื่อ อัลลิซีน ( Allicin ) ยังมีสารอื่นๆอีกหลานตัว มีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ช่วยระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย และแก้อาการท้องอืด เฟ้อ และมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ และเชื้อราได้ด้วย หัวกระเทียม ใช้รักษาอาการต่างๆดังนี้ คือ
    1. อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และแน่นจุกเสียด ใช้กลีบปอกเปลือกรับประทานดิบๆ ครั้งละประมาณ 5 กลีบ ( หนัก 5 กรัม )

    2. อาการกลากเกลื่อน ฝานกลีบกระเทียมแล้วน้ำมาถูบ่อยๆ หรือตำเอาน้ำขยี้ทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆ โดยใช้ไม้เล็กๆขูดบริเวณที่เป็นพอให้ผิวแดงๆ ก่อน แล้วจึงเอาน้ำกระเทียมมาขยี้ทา


    กระชาย

    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenberia rotunda ( L ) Mansf
    ชื่อท้องถิ่น : กระแอน ระเอน ( เหนือ ) ขิงทราย ( มหาสารคาม ) ว่านพระอาทิตย์ ( กรุงเทพ ) จี๊ปู , ซีฟู ( ฉาน ?แม่ฮ่องสอน ) เป๊าซอเร้าะ เป๊าะลี ( กระเหรี่ยง ? แม่ฮ่องสอน )

    ลักษณะพืช : กระชายเป็นไม้ล้มลุก สูงราว 1-2 ศอก มีลำต้นเป็นเหง้าใต้ดิน รูปทรงกระบอก ปลายแหลมจำนวนมาก เนื้อในสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะ กาบใบสีแดงเรื่อ ใบใหญ่ยาวรี ปลายแหลม ดอกเป็นช่อ สีขาวอมชมพู ปลูกในฤดูแล้ง โดยใช้เหง้า
    คุณค่าด้านอาหาร : กระชายมีรสเผ็ดร้อน ช่วยดับกลิ่นคาวได้ดี ปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิด เช่น น้ำยาที่ใส่ขนมจีน , แกงป่าปลา, ผัดเผ็ดปลาดุก, ปลาร้าหลน, กะปิคั่ว,แกงขี้เหล็ก, เหง้ากระชายมีสารอาหารสำคัญคือ แคลเซี่ยม และวิตามินเอ ส่วนแป้ง ไขมัน เกลือแร่ และวิตามิน มีจำนวนน้อย ทานอาหารที่มีกระชายอยู่ด้วย จะช่วยขับลมได้ดีที่เดียว..

    ส่วนที่ใช้เป็นยา : เหง้าใต้ดิน
    รสและสรรพคุณยาไทย : รสเผ็ดร้อนขม แก้ปวดมวนในท้อง แก้ท้องอืด เฟ้อ บำรุงกำลัง

    ประโยชน์ทางยา : เหง้ากระชาย มีน้ำมันหอมระเหย ที่มีกลิ่นหอม มีฤทธิ์ช่วยขับลม ถ้ามีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ให้ใช้เหง้าและรากประมาณครึ่งกำมือ ( สดหนัก 5-10กรัม แห้งหนัก 3-5 กรัม ) ต้มเอาน้ำดื่ม หรือปรุงเป็นอาหารรับประทาน



    กระวาน
    ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Amomum Krervanh Pierre
    ชื่อท้องถิ่น กระวานโพธิ์สัตว์ กระวานจันทร์ ( กลาง ) กระวานดำ กระวานแดง กระวานขาว ( กลาง,ตะวันออก )

    ลักษณะของพืช กระวานเป็นไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 3 เมตร ใบเรียวแหลม ดอกเป็นช่อแทงออกจากดิน กลีบดอกสีเหลือง ผลกลมใช้วิธีแยกหน่อปลูก ชอบความชื้นสูง ปลูกในป่าหรือใต้ต้นไม้ใหญ่จะงามดี
    คุณค่าด้านอาหาร เหง้าอ่อนของกระวานใช้รับประทานเป็นผักได้ มีกลิ่นหอม และเผ็ดเล็กน้อย ลูกแก่ของกระวาน ตากแห้ง ใช้เป็นเครื่องเทศ และพืชเศรษฐกิจตัวหนึ่ง ส่งไปขายยัง อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น

    ส่วนที่ใช้เป็นยา ผล
    รสและสรรพคุณยาไทย รสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม เป็นยาขับลม และเสมหะ

    ประโยชน์ทางยา ผลกระวานมีน้ำมันหอมระเหย เป็นยาช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และ แน่นจุกเสียด โดยเอาผลแก่จัด และแห้งมาบดเป็นผง รับประทานครั้งละ หนึ่งช้อนครึ่ง ถึงสามช้อนชา ( หนัก 1-2 กรัม ) ชงกับน้ำอุ่น



  3. #3
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ ฅนภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    กระทู้
    2,115
    บล็อก
    1

    Re: ยาสมุนไพรในบ้านเฮา..หมวด ก.

    ฤทธิ์ฝาดสมาน บ่เข้าใจความหมาย...อธิบายให้ฟังแหน่ครับ

  4. #4
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ ตรี ศรีเมืองใหม่
    วันที่สมัคร
    Apr 2006
    ที่อยู่
    หนุ่มอุบล คนศรีเมืองใหม่
    กระทู้
    4,490

    Re: ยาสมุนไพรในบ้านเฮา..หมวด ก.

    ขอบคุณข้อมูลและความรู้ดีๆ ดอกสเลเต ครับ เอาไป 1 แต้ม..
    :welcome3"...ศรีเมืองใหม่แดนธรรมประเสริฐ ถิ่นกำเนิดหลวงปู่มั่น ลือลั่นสวรรค์ภูหล่น ยลสวยหินผานางคอย ลอยล่องแก่งจุการ งามตระหง่านเสาธงวงกลมใหญ่...">>>>> www.muangmai.ob.tc

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •