หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 13

หัวข้อ: การประทวนข้าว ข้าวหอมมะลิตันละสองหมื่นสองร้อย

  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ หนุ่มลาวสาวขะแมร์
    วันที่สมัคร
    Aug 2012
    ที่อยู่
    รังสิต
    กระทู้
    558

    การประทวนข้าว ปี 2555 ข้าวหอมมะลิตันละสองหมื่นสองร้อย

    ขออนุญาตอ้ายพล อ้ายๆ เวบมาสเตอร์ บ้านมหาอีกครั้งหนึ่งครับ

    และขออนุญาตพี่น้องบ้านมหาโพสท์อีกครั้งครับ ช้ากว่านี้จะหมดฤดูกาลเสียก่อน

    ผมขอเอาเรื่องการประทวนข้าวของชาวนาหรือพ่อแม่พี่น้องเกษตรกรของเรามาเล่าให้ฟัง เพื่อประโยชน์สำหรับคนที่ยังไม่รู้

    ผมนำเรื่องนี้มาโพสท์ มาเล่าโดยไม่เกี่ยวข้องกับการบ้านการเมืองหรือประโยชน์แฝงใดๆ ด้วยสัตย์จริง

    เป็นเรื่องที่ผมสงสัยมาตลอดว่า การจำนำข้าว การประทวนข้าว เขามีวิธีการ ระเบียบปฏิบัติกันอย่างไร

    ชาวนาเกษตรกร ได้ประโยชน์สูงสุดจากโครงการนี้หรือไม่

    ผมเคยถามแม่ แม่เป็นชาวนาความรู้ ป4 แม่ก็ตอบไม่ค่อยชัดถ้อยชัดคำ ความสงสัยของผมจึงยังคงอยู่ในรูปของคำถาม


    กลับไปดูพ่อเกี่ยวข้าวครั้งนี้ พ่อนำข้าวไปประทวนส่วนหนึ่ง เป็นโอกาสที่ดีที่สุดของผม ขับรถตามไปที่โรงสี

    ไปถึงโรงสีที่รับการประทวน มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาถามว่า "มาติดต่ออะไรครับ" ผมตอบ "มากับพ่อครับ"(ตามพ่อมา)

    เจ้าหน้าที่ก็ให้ขับรถไปจอดที่ลานจอดรถ

    ผมเก้ๆ กังๆ รถข้าวของพ่อวิ่งไปนู้น สองร้อยเมตรที่เครื่องชั่ง ผมสอบถามคนที่เอาข้าวไปประทวน

    "นู้นเขาตรวจคุณภาพข้าวกันที่นู้น ไปดูได้" ครับ

    "แล้วพี่ได้กี่บาทครับ" ผมถามเดา(ฟร์อมเป็นรู้) "ได้ยี่สิบบาท ข้าวผมโชว์อยู่นั่นแหละ" เขาตอบอย่างภาคภูมิใจ

    "ผมตากสองแดดก่อนเอามา แต่ละเที่ยวได้สิบเก้าบาท ยี่สิบบาท ยี่สิบเอ็ดบาท แล้วแต่ หักนิดหน่อย" เขาอธิบายต่อ

    "บ้านพี่อยู่ไหนครับ" "บ้านกรวด" (อำเภอบ้านกรวด บุรีรัมย์) ขอบคุณครับ


    ผมเดินไปที่พี่เขาบอก


    ผมขออนุญาตเจ้าหน้าที่ถ่ายรูป เขาก็อนุญาต ผมขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ที่นั่นอีกครั้งครับ


    มาดูขั้นตอนการประทวนข้าวไปพร้อมกันครับ


    การประทวนข้าว ปี 2555 ข้าวหอมมะลิตันละสองหมื่นสองร้อย

    เริ่มจากเจ้าหน้าที่ไปเก็บตัวอย่างข้าวจากรถของชาวนาเกษตรกร



    การประทวนข้าว ปี 2555 ข้าวหอมมะลิตันละสองหมื่นสองร้อย

    นำมาวัดความชื้น



    การประทวนข้าว ปี 2555 ข้าวหอมมะลิตันละสองหมื่นสองร้อย

    ชั่งเอาตัวอย่างข้าวเปลือกจำนวน 100 กรัม แล้วนำไปสีเป็นข้าวกล้องเพื่อดูว่ามีข้าวพันธุ์อื่นๆ ปนมาหรือไม่
    แล้วนำข้าวกล้องนั้นเข้าเครื่องขัดข้าวขาว ก็จะได้ข้าวขาวจากข้าวเปลือก 100 กรัม



    การประทวนข้าว ปี 2555 ข้าวหอมมะลิตันละสองหมื่นสองร้อย

    นำข้าวขัดขาวที่ได้มาร่อนเพื่อคัดเอาเฉพาะข้าวเมล็ดเต็ม หรือที่เรียกว่า ข้าวต้น (ถ้าไม่ผิดตามบิล นะครับ)



    การประทวนข้าว ปี 2555 ข้าวหอมมะลิตันละสองหมื่นสองร้อย

    นำข้าวเมล็ดเต็มที่ได้มาชั่งน้ำหนัก

    น้ำหนักที่โชว์ 36 กรัม หมายถึง ถ้าเอาข้าวจากชาวนาคนนี้ไปสีเป็นข้าวขัดขาวก็จะได้ข้าวเมล็ดเต็ม 36 เปอร์เซ็นต์ ประมาณนั้น

    จบขั้นตอนนี้ เจ้าหน้าที่ก็จะให้ราคา หรือ กำหนดราคา ว่าจะขายได้กิโลกรัมละเท่าไหร่



    การประทวนข้าว ปี 2555 ข้าวหอมมะลิตันละสองหมื่นสองร้อย

    นี่เป็นตัวอย่างข้าวของพี่คนที่ว่าแต่ต้น นั่นแหละครับ

    สีขัดเป็นข้าวขาวได้ 43 กรัม ซึ่งถือว่าได้เยอะมาก เขาให้ราคาตามที่เห็นคือ 20 บาท 20 สตางค์

    หรือตันละ 20,200 บาท เป็นราคาที่เจ้าของข้าวต้องยิ้มแก้มปริ



    การประทวนข้าว ปี 2555 ข้าวหอมมะลิตันละสองหมื่นสองร้อย

    ข้าวหอมมะลิตันละสองหมื่นสองร้อยบาท



    การประทวนข้าว ปี 2555 ข้าวหอมมะลิตันละสองหมื่นสองร้อย

    ข้าวหอมมะลิที่ไม่สามารถรับประทวนได้ เนื่องจากมีข้าวปนเยอะมาก



    หลังจากนั้นรถข้าวก็จะวิ่งขึ้นตาชั่ง ชั่งน้ำหนัก นำข้าวไปเท กลับมาชั่งน้ำหนักรถเปล่า

    และโรงสีก็จะออกใบบิลให้ เป็นอันจบในวันนี้

    ส่วนรับเงินที่ไหนอย่างไร ผมยังไม่มั่นใจครับ ได้ยินว่าต้องไปขึ้นเงินที่ธนาคาร



    การประทวนข้าว ปี 2555 ข้าวหอมมะลิตันละสองหมื่นสองร้อย

    นี่เป็นตัวอย่างใบบิลจากทางโรงสีที่รับการประทวน (ขออนุญาตปิดข้อมูลที่ไม่เกี่ยวกับราคาข้าวนะครับ)

    รายละเอียดในบิล บอกว่า

    สินค้าเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ
    ค่าความชื้น 23.10 เปอร์เซ็นต์
    ค่าลง(น่าจะหมายถึงข้าวต้น) 33 กรัม
    ราคาต่อกิโลกรัม 18 บาท 20 สตางค์
    น้ำหนักข้าวทั้งหมด 3780 กิโลกรัม
    หักสิ่งเจือปน 530 กิโลกรัม (คิดเป็น 14% ของข้าวทั้งหมด)
    เหลือน้ำหนักข้าว 3250 กิโลกรัม

    คิดเป็นเงินสุทธิ 59,150 บาท


    ถ้าคิดเฉลี่ยราคาจากข้าวทั้งหมด คือ เอาเงินที่ได้ 59,150 บาท หารด้วย น้ำหนักข้าวทั้งหมด 3780 กิโลกรัม

    จะได้ 59,150 / 3780 = 15.648 บาทต่อกิโลกรัม หรือตันละ หนึ่งหมื่นห้าพันหกร้อยสี่สิบแปดบาทครับ

    ไม่ใช่ตันละสองหมื่น


    แต่ถ้าหากท่านไม่พอใจด้วยกรณีใดๆ นำข้าวไปขายให้โรงสีใดๆ โดยตรง ไม่ประทวน

    ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ราคาข้าวหอมมะลิ ที่เกี่ยวเสร็จใหม่ ความชื้น 20-30% อยู่ที่ 11-13 บาทต่อกิโลกรัม ครับ

    อย่างมากไม่เกิน 14 บาท บางรายก็เข็นข้าวกลับบ้าน ไปตาก แล้วก็คิดหา...ที่มาของเงินจะไปจ่ายค่าเกี่ยว ค่าปุ๋ย



    การประทวนข้าว ปี 2555 ข้าวหอมมะลิตันละสองหมื่นสองร้อย

    บิลนี้ข้าวตากแห้งแล้ว หักสิ่งเจือปนแค่ 2% แต่ให้ราคาข้าวแค่ ตันละ 15,600 บาท ก็ยังไม่ใช่ สองหมื่น



    การประทวนข้าว ปี 2555 ข้าวหอมมะลิตันละสองหมื่นสองร้อย

    บิลนี้หักสิ่งเจือปน 2% เช่นกัน ราคาดีขึ้นมาที่ 16,600 บาท เอ้...เมื่อไหร่จะสองหมื่นซักที



    การประทวนข้าว ปี 2555 ข้าวหอมมะลิตันละสองหมื่นสองร้อย

    บิลนี้ ข้าวสุทธิ 2180 กก หักสิ่งเจือปนรวม 468 กก คิดเป็นหักไป 21.5% ให้ราคาตันละ 18,400 บาท

    คิดเป็นราคาของข้าวทั้งหมดตันละ = 31,482 / 2180 = 14,441 บาท

    ตันละ หนึ่งหมื่นสี่พันสีร้อยบาท ครับ

    ราคานี้เกษตรกรบางท่านดูผิวเผินจะดีใจมาก เขาให้ตันละ หมื่นแปดสี่ร้อย ขอเถียงจนคอเป็นเอ็น

    ไม่ใช่หมื่นสี่แน่นอน ตัวเลขในบิลมันฟ้องอยู่โทนโท่.......



    การประทวนข้าว ปี 2555 ข้าวหอมมะลิตันละสองหมื่นสองร้อย



    การประทวนข้าว ปี 2555 ข้าวหอมมะลิตันละสองหมื่นสองร้อย



    การประทวนข้าว ปี 2555 ข้าวหอมมะลิตันละสองหมื่นสองร้อย



    การประทวนข้าว ปี 2555 ข้าวหอมมะลิตันละสองหมื่นสองร้อย


    สรุป จากบิลตัวอย่างทั้งแปดใบนี้ เป็นน้ำหนักข้าวเปลือกรวมกัน 19 ตัน

    นำไปประทวนได้เงิน รวม 300,000 บาท (สามแสนบาท)

    คิดเป็นราคาเฉลี่ยของข้าวหอมมะลิต่อตัน คือตันละ 15,500 บาท (ตันละหนึ่งหมื่นห้าพันห้าร้อยบาท)

    ตัวอย่างบิลที่ 4-8 คิดเป็นการหักน้ำหนักจากสิ่งเจือปนเฉลี่ย 20%

    หรือ ข้าวห้าตัน คิดราคาให้แค่สี่ตัน หรือ 5 หัก 1 เหลือ 4


    ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นละ

    ก็ข้าวลุงมันชื้น "ตากแล้ว"

    ก็ข้าวลุงมันปน "ปน..ไหนๆ...." เงียบ

    ก็ข้าวลุงมันกรอบมันหัก "......." เงียบ


    ผมนำเรื่องนี้มานำเสนอเพื่อฝากไว้ในคลังความรู้บ้านมหาแห่งนี้ เพื่อประโยชน์ที่ใครๆ

    อาจจะนำไปใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงใดๆ ในวันข้างหน้า

    ไม่มีเจตนาในทางที่ไม่ดีครับ

    โรงสีเขาก็อยากรับซื้อข้าวที่คุณภาพดี

    เกษตรกรก็จนปัญญาจะทำได้ ตายายทำนาสองคน ถ้าข้าวปนในนาก็คงไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้

    จะเอาข้าวเป็นตันไปตากแล้วค่อยขนขึ้นรถไปประทวน ลำพังตาๆ ยายๆ นี่นะ

    คนที่ขายได้ ประทวนได้ ตันละ สองหมื่น มีจริง แต่ก็เป็นเกษตรกรส่วนน้อยที่ยังพอมีกำลัง ยังแข็งแรง

    ผมเองก็ดีใจด้วย

    ส่วนเกษตรกรส่วนใหญ่ รวมทั้งพ่อแม่ญาติพี่น้องของผมด้วย ก็คงต้องเฝ้ารอวันนั้นต่อไปครับ

    หมดที่ให้ท่านท้อแล้ว ต้องรอ


    ข้าวเปลือกที่ชื้น 5 ตัน ตากให้แห้งแล้วจะเหลือ 4 ตัน จริงหรือไม่ มีใครตอบได้บ้าง


    บิลตัวอย่าง ผมขอถ่ายจากของญาติๆ หลายๆ คนครับ ขอขอบคุณทุกท่านด้วย


    หากผิดพลาดไปจากความเป็นจริง ผมขออภัยไว้นะที่นี้


    ขอบคุณบ้านมหาดอทคอม ไม่เหมาะสมประการใดพี่ๆ มาสเตอร์ทั้งหลาย ช่วยติติงด้วยนะครับ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย หนุ่มลาวสาวขะแมร์; 26-12-2012 at 18:22.

  2. #2
    Banned

    วันที่สมัคร
    Oct 2010
    กระทู้
    757
    บล็อก
    4
    เคยเห็นแต่แม่เอาไปขายหลังเก็บเกี่ยวเสร็จ แต่ไม่เคยรู้รายละเอียด ขอบคุณนะสำหรับข้อมูลที่ทำให้เสริมปัญญา หูตาสว่างขึ้น...สงสารแต่คนที่ยังหลงเข้าใจผิด...
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย หนึ่ง; 29-11-2012 at 20:30.

  3. #3
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ pcalibration
    วันที่สมัคร
    Nov 2008
    ที่อยู่
    เมืองฉะเชิงเทรา(แปดริ้ว)
    กระทู้
    1,883
    บล็อก
    1
    ขอบคุณครับข้อมูลดีดีที่นำเสนอ
    ถ้าแต่ละขั้นตอนมีความโปร่งใส ตรงไปตรงมา เกษตรกรสามารถตรวจสอบและยอมรับได้
    ก็คงไม่มีปัญหาอะไร...ถ้าเป็นสมัยแต่ก่อนการรับซื้อพ่อค้าเป็นคนไปรับซื้อโดยตรง
    ถึงยุ้งข้าว ตาชั่งนับว่าเป็นปัญที่ทำให้เกษตรกรพูดไม่ออกคือกัน

  4. #4
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430
    คนซื้อกับคนขาย ต้องมีความซื่อสัตย์เป็นสำคัญ ทุกวันนี้หายากเต็มที แต่ก่อนคนซื้อจะเป็นคนกำหนดราคา คนขายก็ต้องยอมจำนน เพราะต้องการเงินไปใช้จ่าย บางคนต้องจ่ายค่าเทอมให้ลูก ๆ ...ตอนนี้ก็เหมือนกันแต่มีลูกซิกแซกทำให้งง...5555

    สมัยก่อนบ้านผมพ่อค้าจะมาซื้อหน้ายุ้งข้าว (เล้า, เล่า) แม่จะเปิดเล้าขายข้าวเป็นถัง ไม่ได้ขายเป็นกิโล ตักใส่ถังเอาไม้กลม ๆ ปาด แบกขึ้นรถไปเท ส่วนพ่อค้าจะเอาไปขายเป็นกิโลให้กับโรงสีหรือยังไงผมไม่ได้ติดตาม

    แม่ผมก็หัวใส เอาข้าวปัดลาน ข้าวเบา เอาไว้ข้างหน้าใกล้ประตูเล้า เอาข้าวหนักไว้ข้างในเอาไว้สีกิน..ขายข้าวปัดลานนี่ล่ะส่งลูกเรียนจนได้เป็นเจ้าเป็นนายพะนะเลาว่า...555

    สมัยที่ผมทำไร่กาแฟที่ชุมพร ตากเม็ดกาแฟ คิดว่าแห้งพอแล้ว พอเอาไปขายพ่อค้าคนกลาง (นั่งกลางปลอดภัยไว้ก่อน) ก็บอกว่ามีความชื้นปนอยู่ ติโน่นตินี่ เราก็ขี้เกียจขนกลับ เขากดราคาเท่าใดก็ยอมให้เขา บางปีไม่คุ้มค่าปุ๋ยค่าจ้างคนเก็บกาแฟด้วยซ้ำ จึงต้องหันอาชีพมาเป็นดีเจบ้านมหาดอทคอมนี่ล่ะ ...5555

    ประเทศไทยมีผลผลิตข้าวประมาณปีละ 30-35 ล้านตัน แปรรูปเป็นข้าวสารได้ประมาณ 20 กว่าล้านตัน ใช้ในการบริโภคภายในประเทศประมาณ 10 ล้านตัน ที่เหลืออีกประมาณ 10 ล้านตันส่งออก

    แฮ่ม...นโยบายนี้ได้รับเสียงวิจารณ์กันมากว่าจะทำให้เกิดการโกงอย่างมโหฬาร ผู้ได้ประโยชน์ที่แท้จริงคือโรงสี ข้าราชการทั้งประจำและนักการเมือง (ชาติก่อนเขาคงทำบุญไว้เยอะ)

    รัฐต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล ชาวนาขายข้าวเปลือกซื้อข้าวสารรับประทาน สุดท้ายจะทำให้ราคาข้าวในประเทศสูงขึ้น ก็จะเป็นภาระกับประชาชนผู้บริโภค เงินที่ขายข้าวได้เมื่อต้นปี ซื้อข้าวสารกินสิม่มปีบ่ล่ะ ฝนแล้งบ่ได้เฮ็ดนาปีหน้าสิบ่ได้กินแกลบซะบ้อ

    ผู้ที่มีนาหลายท่ง ขายท่งหนึ่ง อีกท่งหนึ่งจ่งไว้ในเล้าถ่ากินยามบ่ได้เฮ็ดนาแนเด้อ...

    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย พล พระยาแล; 30-11-2012 at 01:05.

  5. #5
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197
    การจำนำข้าว
    1 มีการลงทะเบียนเกษตรกร ผู้ใหญ่บ้านจะดำเนินการให้
    2 ประชาพิจารณ์ ทางเกษตรอำเภอ ร่วมกับ ผู้ลงทะเบียน
    3 ทางเกษตรอำเภอ จะออกใบรับรองเกษตรกร
    4 ไปทำสมุดเหลืองที่ ธกส.
    5 นำข้าวไปขายได้ตามความพอใจ เอาใบเสร็จกลับบ้าน เพราะข้าวที่ขายประทวนจะอยู่ในคอมพิวเตอร์ของกระทรวงพานุชเรียบร้อยแล้ว เพียงแต่แจ้งชื่อไว้กับเสมียนที่ชั่งข้าว
    6 ถึงเวลาอยากได้เงิน นำเอกสารทั้งหมด บัตรปชช ทะเบียนบ้าน สำเนาสมุดเหลือง สำเนาสมุดฝากเงิน ธกส ใบรับรองเกษตรกรตัวจริง ไปยื่นให้กับเจ้าหน้าที่ที่รับประทวน
    7 เจ้าหน้าที่จะนัดมาเอาใบประทวน ให้นำไปที่ ธกส
    8 เมื่อไป ธกส จะนำใบจำนำ สำเนาสมุดเงินฝาก และสมุดเหลืองเก็บไว้
    9 ธกส นัดวันจ่ายเงิน
    10 ถึงวันจ่ายเงิน ธกส ให้นำสมุดเงินฝากของ ธกส ไปด้วย เพราะว่าจ่ายเงินผ่านบัญชีเงินฝาก
    11 ถ้าอยากถอนเงิน ถอนได้เลย หรือใครไม่อยากถอนเงินก็ทำบัตร เอทีเอ็ม ราคา 150 บาท ไว้กดเงินถ้าอยากใช้

    ส่วนความชื้นของข้าว
    1 ถ้าข้าวเกี่ยวสด จะวัดความชื้น เท่านั้น
    2 ข้าวแห้ง มีใบบอกว่าต้นข้าวเท่าไรได้ตันละเท่าไร ติดไว้หน้าโรงสีค่ะ
    หมายถึง ถ้าข้าวความชื้นมากๆๆ จะได้ต้นข้าวน้อย ถ้าความชื้นพอดี ก็ได้ต้นข้าวมากหน่อย
    3 การให้ราคาข้าว แล้วแต่คุณภาพของข้าวเปลือก ตามตารางบอกไว้ค่ะ

    ระยะเวลาจำนำ จากวันที่ 1 ตุลาคม 2555 ถึงวันที่ 29 กันยายน 2556 รวมแล้วไปจำนำเมื่อไรก็ได้ ในระยะเวลาหนึ่งปี ค่ะ

    ส่วนข้าวเกี่ยวสด โรงสีเอกชนที่ไม่รับจำนำ ขี่รถผ่านทุกวัน เวลานี้ประมาณ 13.50 บาทค่ะ
    ข้าวแห้งที่ไม่ได้เข้าโครงการ ราคาประมาณ 14.50 บาท ค่ะ ได้เงินสดเลย
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  6. #6
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ เปี๊ยกครับ
    วันที่สมัคร
    Apr 2012
    กระทู้
    156
    ชาวนาเสียเปรียบตลอด ตรงหักความชื้น สิ่งปลอมปนนี้หล่ะ ที่โรงสีมันจะได้โดยบ่ต้องลงทุนอิหยังครับ ตินั้นตินี้ พี่น้องบางคนต้องขนข้าวกลับบ้านครับ เพราะรับสภาพบ่ได้ เดี๋ยวยังคงเหลือข้าวสวมสิทธิ์อีกครับจากต่างประเทศ ที่รู้เพราะว่ารูจักกับน้องที่ทำงานโรงสี เอาข้าวจากต่างประเทศมาสีผสมกับ้าวไทยแล้วส่งขายต่างประเทศในราคาข้าวไทย

  7. #7
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา
    Mr.Reception
    สัญลักษณ์ของ คนตระการ...
    วันที่สมัคร
    Feb 2008
    กระทู้
    4,209
    หลายขั้นตอนคักเนาะ ราคานั่นกะแยกออกหลายอย่าง ...
    สู้ๆๆๆต่อไป ชาวนา
    ขอบคุณเจ้าของกะทู้เด้อ

  8. #8
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ ไผ่หวาน
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    ที่อยู่
    PATTAYA CITY
    กระทู้
    729
    บล็อก
    14
    ขอบคุณน้องวิดที่มาให้ความรู้ค่ะ พึ่งฮู้ค่ะว่าขั้นตอนมันเป็นแบบนี้เนาะ
    เคยถามเอื้อยคือกันวา เป็นหยังคือเรียกจำนำข้าว เฮาไปไถ่คืนได้สั่นเบาะ ยามข้าวเหมิดเล้า
    เพิ่นกะบ่มีรายละเอียดปานได๋

    ขอบคุณคนสุรินทร์สำหรับข้อมูลขั้นตอนการจำนำข้าวค่ะ
    เบิ่งแล้วน่าจะเรียกว่า ขายข้าวให้รัฐบาลสิคือกว่าเนาะค่ะ

  9. #9
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ เขย ตระการ
    วันที่สมัคร
    May 2012
    ที่อยู่
    Chachoengsao
    กระทู้
    190
    ขอบคุณเด้ออ้าย สำหรับข้อมูลดีๆครับ
    ถึงวาล่ะแม้ เฒ่าแม่ผมทางสารคามกะยังบ่ทันได้เอาข้าวไปขายอยู่ เอาเก็บไว้ในเล้าสาก่อนเลาวา เสียดายข้าวถ้าเอาไปขายตอนนี้ถึกโรงสีกดราคาคัก กะเลยเป็นจะของนี่หล่ะที่ต้องรับผิดชอบค่ารถเกี่ยวข้าวปีนี้กะดาย...

  10. #10
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ หนุ่มลาวสาวขะแมร์
    วันที่สมัคร
    Aug 2012
    ที่อยู่
    รังสิต
    กระทู้
    558
    ครับนี่ละขั้นตอนคร่าวๆ ตอนเอาข้าวไปโรงสี

    ขอบคุณอ้ายเอื้อยที่ตอบกระทู้ และเข้ามายามมาเบิ่งครับ

    คือพี่ติ่ง(เอื้อยไผ่หวาน) ว่า ขายข้าวให้รัฐบาล นั่นละครับ แม่นอยู่ แต่คนที่กำหนดราคาเป็นเจ้าหน้าที่โรงสีหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ บ่แน่ใจ

    ผมเองกะได้ยินแต่ข่าวคนเว้าว่าข้าวนาปี ประกันประทวน ตันละสองหมื่น เอาซะแท้หักนั่นหักนี่ ไกลกันเติบอยู่

    อ้ายเขยฯ กะดาย ซอยอีแม่เลาไปสาก่อน แต่อย่าลืมเขียนใส่ข้างฝาไว้ละ ปีนี่จักบาท ปีนั่นจักบาท เอาไว้เป็นหลักฐานยามปันมูลซั่นดอก

    พ่อแม่เลี้ยงเฮามาเพิ่นกะหวังสิได้กินเฮี่ยกินแฮง ทีเฮาซอยพ่อแม่กะหวังสิได้มูลนี่ละ...เนาะ ฮิฮิ

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •