หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 11

หัวข้อ: สารอันตราย ที่ห้ามใช้ในอาหาร

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    สารอันตราย ที่ห้ามใช้ในอาหาร



    สารอันตราย ที่ห้ามใช้ในอาหาร


    1 สารฟอกขาว
    อันตรายต่อร่างกาย



    สารอันตราย ที่ห้ามใช้ในอาหาร



    อันตรายที่จะเกิดขึ้น

    จะเกิดอาการปวดท้อง เวียนศรีษะ อาเจียน อุจจาระร่วง ความดันโลหิตต่ำ
    ผู้ที่แพ้อย่างรุนแรง หรือผู้ป่วยโรคหอบหืด จะเกิดอาการช็อค หมดสติ และเสียชีวิต


    ชนิดอาหารที่พบ

    - น้ำแช่ผักผลไม้ เช่น ถั่วงอก ขิงฝอย ยอดมะพร้าว หยวกกล้วย กล้วยดิบ ฯลฯ
    - ผัก ผลไม้แปรรูป เช่น ทุเรียนกวน หน่อไม้ดอง ขิงดอง สับปะรดกวน กะปิ ฯลฯ


    กฎหมายกำหนด

    ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 62/24 ,84/27 สามารถเจือปนได้ในอาหารบางชนิด แต่สารฟอกขาวเป็นสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ




    ขอบคุณ
    กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม


    ++++++++++++


    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    2 สารบอแรกซ์
    อันตรายต่อร่างกาย







    อาการ

    อาการเฉียบพลัน อาเจียน ท้องเสีย ผิวหนังร้อนแดง ชัก มีไข้สูง ตัวเหลือง ความดันลด หมดสติ ตายในที่สุด

    อาการเรื้อรัง ได้แก่ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาเจียน ผมร่วง ชัก และโลหิตจาง
    ทำให้ทางเดินอาหารเกิดการระคายเคือง
    เป็นพิษต่อไต และสะสมในสมอง


    ชนิดอาหารที่พบ

    - เนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์ ( หมูบด ปลาบด ทอดมัน ลูกชิ้น หมูสด เนื้อสด ไส้กรอก ฯลฯ)
    - ผลไม้ดอง
    - ทับทิมกรอบ ลอดช่อง


    กฎหมายกำหนด

    ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 151 ( พ.ศ.2536 ) กำหนดให้สารบอแรกซ์เป็นสารที่ห้ามใช้ในอาหาร ผู้ฝ่าฝืนมีโทษให้ปรับไม่เกิน 20,000 บาท

    พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 กำหนด บอแรกซ์เป็นสินค้าควบคุมฉลาก ต้องมีข้อความ “บอแรกซ์อันตรายห้ามใช้ในอาหาร“ ถ้าไม่มีฉลากมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท



    ขอบคุณ
    กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม


    +++++++++++++

    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  3. #3
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    3 กรดซาลิซิลิค (สารกันรา)
    อันตรายต่อร่างกาย






    อาการ

    1 อาการเฉียบพลัน ปาก คอไหม้ หายใจถี่ อาเจียน หูอื้อ ง่วงซึม เหงื่อออกมาก ชัก หมดสติ ผิวหนังเป็นสีเขียว เนื่องจากขาดออกซิเจน
    2 พิษเรื้อรัง ได้แก่ หูอื้อ มีเลือดออกในกระเพาะหรือไต มีแผลในกระเพาะอาหาร
    3 หายใจลึกถี่ผิดปกติ ความเป็นกรด-ด่าง ของร่างกายเสียไป


    ชนิดอาหารที่พบ

    - อาหารหมักดอง ได้แก่ มะม่วงดอง ผักดอง ผลไม้ดอง
    - เครื่องแกง


    กฎหมายกำหนด

    ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 151 ( พ.ศ.2536 ) “ กำหนดให้กรดซาลิซิลิคเป็นสารที่ห้ามใช้ในอาหาร ”



    ขอบคุณ
    กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม


    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  4. #4
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    4 สารฟอร์มาลิน
    อันตรายต่อร่างกาย






    ฟอร์มาลดีไฮด์ หรือฟอร์มาลีน สารไร้สีกลิ่นแรงใช้ทำยาฆ่าเชื้อและยากันเน่า ที่เรามักรู้จักสารนี้ในการใช้สำหรับดองศพเพื่อไม่ให้ศพเน่าเปื่อย ใช้ฆ่าเชื้อโรค ฆ่าเชื้อรา และทำความสะอาดห้องคนป่วย โดยฟอร์มาลีนเป็นส่วนประกอบของยาสีฟัน(นอกจากนี้ยังมี ยาบ้วนปาก


    อันตรายที่จะได้รับ

    1 ปวดท้องอย่างรุนแรง ท้องเสียอาเจียน กระเพาะอาหารอักเสบ เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
    2 ตับ ไต และสมองถูกทำลาย เยื่อบุอวัยวะภายในอักเสบ หากเข้าสู่ร่างกาย 60-90 มล. ทำให้ตายได้


    ชนิดอาหารที่พบ

    - น้ำแช่อาหารทะเลสด เนื้อสัตว์ต่างๆ
    - ผักและผลไม้สด


    กฎหมายกำหนด

    ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 151 ( พ.ศ.2536 ) “ กำหนดให้สารฟอร์มาลินเป็นสารที่ห้ามใช้ในอาหาร ”



    ขอบคุณ
    กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม


    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  5. #5
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    5 กรดแร่อิสระ (น้ำส้มสายชูปลอม)
    อันตรายต่อร่างกา





    มื่อกล่าวถึงน้ำส้มสายชูทุกคนคงจะรู้จักกันดีและรับประทานกันมาแล้ว เพราะอาหารหลายอย่างต้องใช้น้ำส้มสายชูในการแต่งรสและที่พบเห็นบ่อยๆคือในพริกดอง น้ำส้มสายชูแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ

    1. น้ำส้มสายชูหมัก
    2. น้ำส้มสายชูกลั่น
    3. น้ำส้มสายชูเทียม

    น้ำส้มสายชูหมัก

    ทำจากการหมักน้ำตาลหรือผลไม้ที่มีน้ำตาล และข้าวเหนียวหมักด้วยยีสต์ให้เป็นอัลกอฮอล์แล้วจึงหมักต่อกับเชื้อน้ำส้มสายชูตามกรรมวิธีธรรมชาติ ซึ่งจะเปลี่ยนอัลกอฮอล์ให้เป็นกรดอะซิติกหรือกรดน้ำส้ม น้ำส้มสายชูที่ได้จะมีสีเหลืองอ่อนไปจนถึงสีน้ำตาล มีกลิ่นหอมปนกลิ่นเฉพาะของกรดน้ำส้ม ซึ่งน้ำส้มชนิดนี้ไม่ค่อยมีจำหน่ายในท้องตลาดเนื่องจากกรรมวิธีในการผลิตไม่สะดวก และเก็บไว้ได้ไม่นาน


    น้ำส้มสายชูกลั่น

    ทำจากการนำแอลกอฮอล์ที่ได้จากการหมักมากลั่นเสียก่อนแล้วจึงนำไปหมักกับเชื้อน้ำส้มสายชูทีหลัง ซึ่งจะได้น้ำส้มสายชูที่ไม่มีสีอาจแต่งเติมให้เป็นสีเหลืองอ่อนด้วยน้ำตาลเคี่ยวไหม้ น้ำส้มสายชูกลั่นจะมีกลิ่นกรดอ่อนๆ มีความบริสุทธิ์สูงกว่าน้ำส้มสายชูหมักและเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภค


    น้ำส้มสายชูเทียม

    ได้จากการนำเอากรดน้ำส้ม (acetic acid) อย่างเข้มข้น ซึ่งได้จากการสังเคราะห์ขึ้นตามกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์มาเจือจางให้มีคุณภาพหรือมาตรฐานตามกฎหมายกำหนดคือ ให้มีความเข้มข้นของกรดเหลือ 4 – 7 % น้ำส้มสายชูชนิดนี้มีลักษณะใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุนของกรดน้ำส้ม น้ำส้มสายชูชนิดนี้มีราคาถูกและไม่อนุญาตให้เติมแต่งสี

    น้ำส้มสายชูทั้งสามชนิดนี้รับประทานได้ไม่มีอันตราย


    น้ำส้มสายชูปลอม

    มีน้ำส้มสายชูอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นอันตรายต่อประชาชนถ้ารับประทานเข้าไปคือ น้ำส้มสายชูปลอม ซึ่งทำโดยนำเอาหัวน้ำส้มมาเจือจางกับน้ำแล้วบรรจุขวดขาย หัวน้ำส้มดังกล่าวเป็นกรดน้ำส้มชนิดเข้มข้นที่ใช้ในอุตสาหกรรม สิ่งทอ ฟอกหนัง ขนสัตว์ ไหม ไม่ปลอดภัยต่อการบริโภค นอกจากนี้อาจมีการนำกรดแร่อื่น ๆ เช่น กรดเกลือ กรดกำมะถันมาทำหัวน้ำส้ม หรือน้ำส้มสายชูปลอมเปรี้ยวเข็ดฟัน แต่ไม่มีกลิ่นเฉพาะของกรดน้ำส้ม จึงมักเติมน้ำส้มสายชูหมักลงไปด้วยเพื่อทำให้กลิ่นเหมือนน้ำส้มสายชูหมัก

    ถ้ารับประทานเข้าไปมาก ๆ จะกัดกระเพาะอาหาร และลำไส้จนเกิดแผลหรืออาจถึงกับกระเพาะอาหารและลำไส้ทะลุได้

    ผลที่จะเกิดขึ้น


    กัดกระเพาะ ทำให้ปวดท้องอย่างรุนแรง และเกิดโรคกระเพาะได้


    ชนิดอาหารที่พบ

    - น้ำส้มสายชูทุกชนิด
    - น้ำส้มพริกดอง


    กฎหมายกำหนด

    ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 204 (พ.ศ.2543) “ กำหนดให้กรดแร่อิสระเป็นสารที่ห้ามใช้ในอาหาร ”


    ปริมาณกรดน้ำส้มในน้ำส้มสายชู

    อันตรายต่อร่างกาย
    การบริโภคน้ำส้มสายชู ที่มีปริมาณกรดน้ำส้มเกินมาตรฐานที่กำหนด (7%) จำทำให้เกิดการกัดกร่อนอย่างรุนแรงต่อปาก และระบบทางเดินอาหาร


    กฎหมายกำหนด

    ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 48 (พ.ศ.2523) กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานน้ำส้มสายชูดังนี้

    - น้ำส้มสายชูหมักและกลั่นต้องมีปริมาณกรดน้ำส้มไม่น้อยกว่า 4 %
    - น้ำส้มสายชูเทียมต้องมีปริมาณกรดน้ำส้มไม่น้อยกว่า 4% และไม่เกิน 7%



    ขอบคุณ
    กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม


    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  6. #6
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    6 ค่าสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ


    น้ำมันทอดซ้ำที่เสื่อมคุณภาพและมีค่าโพลาร์เกินมาตรฐานอาจทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดและหัวใจ และโรคมะเร็งแก่ผู้บริโภคได้


    ชนิดอาหารที่พบ

    - น้ำมันทอดหรือประกอบอาหารที่มาจากพืชและสัตว์


    กฎหมายกำหนด

    ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 283 (พ.ศ. 2547) กำหนดมาตรฐานน้ำมันที่ใช้ทอดหรือประกอบอาหารเพื่อจำหน่ายมีสารโพลาร์ได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของน้ำหนัก หากฝ่าฝืน มีความผิดข้อหาจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ มีโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  7. #7
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ suny
    วันที่สมัคร
    Nov 2008
    ที่อยู่
    ภูมิลำเนา มหาสารคาม ทำงาน ประจวบ
    กระทู้
    787
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ ต่ไปเวลาซื้ออาหารต้องพิจารณาเบิ่งก่อนเนาะครับ

  8. #8
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ pcalibration
    วันที่สมัคร
    Nov 2008
    ที่อยู่
    เมืองฉะเชิงเทรา(แปดริ้ว)
    กระทู้
    1,883
    บล็อก
    1

    มัจจุราชที่มองบ่เห็นโต

    ขอบคุณครับครูเล็ก..ส่วนมากแล้วกะเป็นของที่ใกล้มือใกล้ปาก
    เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน...หลีกเลี่ยงไม่ค่อยจะได้เลยหละครับ..ถ้าจะเอากันจริงๆ
    ไม่ต้องรัปทานอะไรกันเลย..ชีวิตคนในเมืองก็ต้องเป็นหนูลองยาไปพลางๆ
    วิถีและวิธีการกินได้เป็นแปลงไปตามนวัตกรรมและยุคสมัย...

  9. #9
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ เปี๊ยกครับ
    วันที่สมัคร
    Apr 2012
    กระทู้
    156
    ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลดีๆมามอบให้ครับ จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้อาหารแทบทุกอย่างจะมีสารอันตราย เจือปนขึ้นอยูกับว่าเราสามารถเลือกรับประทานอย่างไหนครับ

  10. #10
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ sompoi
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    ที่อยู่
    japan
    กระทู้
    5,708
    บล็อก
    23
    บอแร๊กซ์กับซาลิซิลิค(กันเชื้อรา)
    สองสารนิคือสิเข้ามาเลี้ยงรุ่นกันคักแล้วล่ะค่ะในโตขะน้อยเพราะว่ามักกินคักพวกลูกชิ้นและของดองต่างๆ..บ้านเฮาเห็นอิหยังกะแซบๆแต่ว่าขั้นตอนและกรรมวิธียังบ่น่าไว้ใจได้ปานได๋เนาะค่ะ

    ส่วนแหนมเนื้อสดต่างๆเลี่ยงได้กะเลี่ยงค่ะ
    บ่ซั่นกะเลือกยี่ห้อที่น่าไว้ใจได้เอาค่ะ
    มองต่าง..อย่างปลง

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •