กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: พระมเหศวร กรุวัดสว่างอารมณ์ จ.สุพรรณบุรี

  1. #1
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ Lerm ubon
    วันที่สมัคร
    Jan 2009
    ที่อยู่
    Chonburi-BASF The Chemical company
    กระทู้
    271

    เยี่ยมมาก พระมเหศวร กรุวัดสว่างอารมณ์ จ.สุพรรณบุรี

    พระมเหศวร กรุวัดสว่างอารมณ์ จ.สุพรรณบุรี

    ข้อมูลเกี่ยวกับ พระมเหศวร

    เจาะลึกพระมเหศวร วัตถุมงคลดังสุพรรณบุรี

    พระพิมพ์หนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมมาแต่โบราณรู้จักกันในชื่อ "พระมเหศวร" กรุวัดพระศรีมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี ซึ่งบางคนเข้าใจว่าเป็นชื่อของจอมโจรคนดังแถบเมืองสุพรรณนามว่า "เสือมเหศวร" แต่ความจริงไม่เกี่ยวกันเลย ชื่อ พระมเหศวร นั้น มาจากเอกลักษณ์ขององค์พระที่มีรูปพระทั้งสองด้าน แต่กลับหัวลงในลักษณะสวนกันระหว่างด้านหน้าและด้านหลัง เลยเรียกมาแต่ก่อนว่า "พระสวน" ส่วนคำว่า "มเห" แปลว่า ยิ่งใหญ่ เพราะถือกันว่ากรุวัดพระศรีมหาธาตุ สุพรรณบุรี นั้น เป็นวัดที่พระมหากษัตริย์เป็นผู้สร้าง ยิ่งภายในกรุพระปรางค์ นอกจากจะพบพระมเหศวรแล้ว ยังพบพระสำคัญอื่นๆ อีกจำนวนมาก อาทิ พระผงสุพรรณ อันลือลั่น พระกำแพงศอก พระกำแพงคืบ และพระกำแพงนิ้ว เป็นต้น การสวนกันขององค์พระของ "พระมเหศวร" นับเป็นภูมิปัญญาโบราณที่ทำให้ส่วนพระศอหรือลำคอขององค์พระมีความหนาแข็งแกร่งไม่หักได้ง่าย

    เราจัด "พระมเหศวร" เป็นพระพิมพ์เนื้อชินเงิน หรือชินแข็ง หมายถึง การผสมตะกั่วกับดีบุก ซึ่งพระที่พบส่วนใหญ่จะมีเปอร์เซ็นต์ของดีบุกมากกว่า บางคนเรียก "ชินกรอบ" เมื่อผ่านอายุและกาลเวลาจะเกิดปฏิกิริยากับอากาศ คือเกิดเป็นรอยสนิมกัดกร่อนลงไปในเนื้อเรียกกันว่า "สนิมขุม" และอาจมีรอยปริแตกตามผิวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง



    นอกจากนี้ ยังมีพระบางส่วนที่มีส่วนผสมของตะกั่วมากกว่าดีบุก เรียกกันว่า "ชินอ่อน" เนื้อจะไม่แข็งกรอบเหมือนชินเงิน ข้อดีของพระที่ตะกั่วมากกว่าดีบุกก็คือ จะไม่เกิดขุมสนิม รอยกร่อน หรือรอยระเบิดปริตามผิวเหมือนเนื้อชินเงิน หากแต่เมื่อเกิดสนิมจะขึ้นเป็นไขสีนวลขาวเรียกกันว่า "สนิมไข" และสนิมไขนี้จะไม่เป็นเม็ดเต่งตึงเหมือนสนิมไขที่เกิดขึ้นในพระกรุประเภทอื่น แม้จะเป็นเนื้อชินอ่อนเหมือนกัน แต่สนิม ไขของพระมเหศวรจะเกิดเป็นแผ่นบางๆ เหมือนทำเทียมขึ้นแต่ของจริงค่อยๆ เขี่ยจะหลุดออก แต่หากอาราธนาขึ้นคอพอเจอไอเหงื่อสักพักก็จะขึ้นมาอีก ไม่เหมือนของปลอมที่หากล้างออกก็จะเกลี้ยงเกลาไม่เกิดขึ้นใหม่เมื่อโดนเหงื่อ "ผิวขององค์พระ" นั้น หากไม่ใช้จะนวลเนียนและค่อนไปทางคล้ำดำ แต่ถ้าถูกใช้จนสึกแลเห็นเนื้อในเป็นสีค่อนข้างขาวนวล พูดง่ายๆ ว่า ถ้าส่องแล้วดูเหมือนว่าผิวพระเป็นสองชั้นนั่นแหละพระแท้ คนโบราณเรียก "พระใส่เสื้อ"

    แต่เดิม "พระมเหศวร" นิยมเล่นหากันไม่กี่พิมพ์ พิมพ์นิยม ได้แก่ พิมพ์มีขีดที่พื้นผนังเหนือเศียรองค์พระ เรียกว่า พิมพ์สิบโท สิบเอก ส่วนพิมพ์ไม่มีขีดนั้นเรียกว่า พิมพ์ไม่มีบั้ง มีทั้งพิมพ์หน้าใหญ่ (นิยม) พิมพ์หน้ากลาง พิมพ์หน้าเล็ก ซึ่งความจริงขีดที่ปรากฏนั้นแทนความหมายของพระศรีมหาโพธิ์ ขีดบั้ง ก็คือ ใบโพธิ์ ซึ่งองค์พระจะประทับนั่ง ขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ใต้โพธิ์บัลลังก์นั่นเอง แต่ด้วยความหายากขึ้นทุกวัน ปัจจุบันก็เล่นหากันทุกพิมพ์ไม่ว่าจะเป็น สวนเดี่ยว สวนตรง พิมพ์หน้าเดียว พิมพ์สองหน้า บางครั้งพบพิมพ์พิเศษ ที่ด้านหน้าเป็นพระมเหศวร แต่ด้านหลังเป็นพระนาคปรก หรือเป็นพระซุ้มจิก แต่หาค่อนข้างยาก ซึ่งล้วนแล้วแต่มี ราคาค่างวดทั้งสิ้น

    อาจกล่าวได้ว่า "พระมเหศวร" เป็นพระกรุเก่าแก่ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเทคนิควิธีการผสมโลหะและการเทที่ชาญฉลาด ที่สำคัญ องค์พระจะไม่เกิดสนิมแดงเป็นเด็ดขาด และจะมีขุมสนิมคล้ายตีนกาแผ่เป็นแห่งๆ ในองค์ ก้นกรุจะมีรอยระเบิดจากภายในออกมายังผิวภายนอก ส่วนของเก๊นั้น จะเป็นรอยระเบิดจากภายนอกเข้าไปข้างใน พิมพ์ทรงก็จะดูตื้นๆ และในองค์ที่ใช้สึกแล้วเห็นเนื้อใน จะเห็นออกเป็นสีขาวนวลคล้ายสีเงินยวง

    แต่ถ้าใช้แล้วสึกเห็นเนื้อในเป็นสีดำหม่นๆ ซีดๆ คล้ายเนื้อตะกั่วน้ำนม ก็ต้องกราบสวัสดีแล้วนิมนต์ท่านไปไว้วัดดีกว่าครับผม

    พันธุ์แท้พระเครื่อง
    ราม วัชรประดิษฐ์

    ที่มา วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7207 ข่าวสดรายวัน
    http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdOakl6TURnMU13PT0

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ catfish
    วันที่สมัคร
    Jan 2013
    กระทู้
    13
    กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ Lerm ubon
    ขอบคุณที่นำมาให้ชมนะคะ เป็นบุญตาจริงๆค่ะ สาธุ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •