กำลังแสดงผล 1 ถึง 1 จากทั้งหมด 1

หัวข้อ: บุญกิริยาวัตถุ10

  1. #1
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ jinnawat90
    วันที่สมัคร
    Mar 2013
    กระทู้
    620

    บุญกิริยาวัตถุ10


    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=C6uUBuobTxQ


    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=55QBpRjDRHk

    บุญกิริยาวัตถุ10 หมายถึง ที่ตั้งแห่งการทำบุญ ทางแห่งการทำความดี 10 ประการประกอบด้วย
    1. ทานมัย หมายถึง ทำความดีด้วยการให้ทาน อันหมายถึง การให้ การสละ หรือ การเผื่อแผ่แบ่งปัน ไม่ว่าจะเป็น การให้วัตถุสิ่งของ เรียกว่า วัตถุทาน หรือ อามิสทาน เงินทอง ข้าวของเครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใด และไม่ว่าจะให้แก่ใครก็ถือเป็นบุญทั้งสิ้น การให้ความรู้ เรียกว่า วิทยาทาน หรือ ธรรมทาน ถือว่าเป็นการช่วยเหลือให้เขามีปัญญา สามารถแก้ไขปัญหา ดำเนินชีวิติต่อไปได้ ถ้าหากมีผู้เผลอทำผิดบกพร่องไปบ้างแล้วเรายกโทษให้ เรียกว่า อภัยทาน เปิดโอกาสให้ผู้ทำผิดได้ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องที่เผลอทำผิดหรือพลาดไป ได้เริ่มต้นใหม่ การให้ทานเป็นการลดความเห็นแก่ตัว ความตระหนี่ถี่เหนียว และความคับแคบในจิตใจให้น้อยลง ทำให้เราไม่ยึดติดในวัตถุสิ่งของ อีกทั้งสิ่งที่เราบริจาคหรือให้ทานแก่ผู้อื่นก็จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และเป็นประโยชน์ต่อผู้รับและสังคมโดยส่วนรวม การให้ทานนี้อยู่ที่ไหนๆ ก็ทำได้ และไม่จำเป็นต้องเป็นเงิน เช่น การแบ่งของกินให้กับเพื่อนที่ทำงาน หรือขอทาน เป็นต้น
    2. สีลมัย หมายถึง ทำความดีด้วยการรักษาศีล หรือ คำว่า ศีล แปลว่า ปรกติ หมายถึง การรักษา กาย วาจา ใจ ให้เป็นปรกติ ข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนา ที่กำหนดการปฏิบัติทางกายและวาจา ใจ เช่น การรักษาศีล 5 การรักษาศีล 8 หรืออาจจะหมายถึงการรักษากายวาจาให้เรียบร้อย การรักษาศีล เป็นการฝึกฝนมิให้ไปเบียดเบียนผู้อื่น ในขณะเดียวกันก็เป็นการลด ละ เลิกความชั่ว มุ่งให้กระทำความดี โดยการปฏิบัติเบญจธรรม อันเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต มิให้ตกต่ำลง เช่น มีความเมตตา กรุณา ต่อมนุษย์และสัตว์ การประกอบอาชีพสุจริต รักษาความสัตย์ เหล่านี้ล้วนเป็นการรักษาศีล และปฏิบัติธรรม เป็นการทำบุญอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งผลบุญข้อนี้จะทำให้เรากลายเป็นคน สุขุมรอบคอบในการทำงาน
    3. ภาวนามัย หมายถึง การทำความดีด้วยการเจริญภาวนา หรือ เป็นการทำบุญอีกรูปแบบ ที่มุ่งพัฒนาจิตใจและปัญญา ทำให้จิตใจสงบ เห็นคุณค่าสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง ซึ่งในข้อนี้หลายคนอาจจะทำเป็นประจำอยู่แล้ว เช่น นั่งสมาธิ วิปัสสนา แต่หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องยากเกินกำลัง ดังนั้น อาจจะทำง่ายๆ ด้วยวิธีการสวดมนต์สั้นๆ อาทิ กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย ก่อนนอนก็ได้ หรือ นั่งสมาธิกล่าวคำแผ่เมตตา สวดคาถาพระพุทธเจ้าชนะมาร คาถาชินบัญชร เป็นต้น การสวดมนต์เป็นประจำ อย่างน้อยก็เป็นการน้อมนำจิตใจของเรา ไปสู่สิ่งที่เป็นมงคลในชีวิต เป็นการเตือนสติให้เรายึดมั่นในการประพฤติปฏิบัติชอบ ตามสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เรานับถือ และผลบุญข้อนี้จะทำให้เกิดปัญญาแก่ผู้ปฏิบัติ
    4. อปจายนมัย หมายถึง การทำความดีด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน มีสัมมาคารวะ คนบางคนอาจคิดไม่ถึงว่า การประพฤติตนเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน มีความสำรวม กาย วาจา ใจ จะถือเป็นบุญอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ ก็เพราะว่าการอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ว่าจะเป็นผู้น้อยประพฤติต่อผู้ใหญ่ และการที่ผู้ใหญ่แสดงตอบด้วยความเมตตา หรือการอ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรม รวมถึงการให้เกียรติ ให้ความเคารพต่อความคิด ความเชื่อ และวิถีปฏิบัติของบุคคล หรือสังคมอื่นที่แตกต่างจากเรานั้น เป็นการลดความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นตัวตนของเรา ช่วยให้สังคมทุกระดับเกิดความเข้าใจต่อกัน และช่วยให้ชาติบ้านเมืองเกิดความสงบสุข จึงถือเป็นบุญอย่างหนึ่ง ผลบุญข้อนี้จะทำให้เกิดความเมตตาต่อกัน
    5. เวยาวัจจมัย หมายถึง การทำความดีด้วยการช่วยขวนขวายทำในกิจที่ชอบ หรือ พูดง่ายๆ ว่า เป็นการให้ความช่วยเหลือแก่สังคมรอบข้าง ในการทำกิจกรรมความดีต่างๆ เช่น เข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ในการทำความสะอาดถนนสาธารณะ หรือวัดวาอาราม ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้านไม่นิ่งดูดาย ช่วยสอดส่องดูแลบ้านให้เพื่อนบ้าน ยามที่เขาไม่อยู่ ช่วยงานเพื่อนที่ทำงานให้แล้วเสร็จทันเวลา ให้กำลังใจแก่เพื่อนที่มีความทุกข์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ถือเป็นบุญอีกแบบหนึ่ง และผลบุญในข้อนี้ก็จะช่วยให้เกิดความรักความสามัคคีขึ้นในหมู่คณะ
    6. ปัตติทานมัย หมายถึง การทำความดีด้วยการให้ผู้อื่นมาร่วมทำบุญกับเรา หรือ กล่าวง่ายๆคือ ไม่ว่าจะทำบุญอะไร ก็เปิดโอกาสให้คนอื่นได้มาร่วมทำบุญด้วย ไม่ขี้เหนียว หรือ งกบุญเพราะอยากได้บุญใหญ่ไว้คนเดียว เช่น จะทำบุญสร้างตู้เก็บพระไตรปิฎก ก็ให้คนอื่นได้ร่วมสร้างด้วย ไม่คิดจะทำเพียงคนเดียว เพราะคิดว่าทำบุญด้วยการสร้างตู้เก็บพระไตรปิฎก จะได้กุศลกลายเป็นคนเด่น เลยอยากดังเดี่ยว ไม่อยากให้ใครมาร่วมด้วย เป็นต้น นอกจากนี้ การเปิดโอกาสให้คนอื่นมาร่วมทำงาน ร่วมแสดงความคิดเห็น รวมไปถึงการทำบุญ อุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ก็ถือเป็นการทำบุญในข้อนี้ด้วย ผลบุญดังกล่าว จะช่วยให้เราเป็นคนใจกว้าง และปราศจากอคติต่างๆ เพราะพร้อมเปิดใจรับผู้อื่น
    7. ปัตตานุโมทนามัย หมายถึง การทำความดีด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ กล่าวคือ การยอมรับหรือยินดีในการทำความดีหรือทำบุญของผู้อื่น เมื่อใครไปทำบุญมาก็รู้สึกชื่นชมยินดีไปด้วย โดยไม่คิดอิจฉาหรือระแวงสงสัยในการทำความดีของผู้อื่น เช่น เพื่อนเดินทางไปสักการะพระสารีริกธาตุ สักการะรอยพระพุทธบาท สักการะสังเวชนียสถานมา หรือไปทำบุญทอกกฐินก็ร่วมอนุโมทนา ที่เขามีโอกาสได้ไปทำบุญ ในดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ไม่อิจฉาเขา แม้เราไม่ได้ไป ก็อย่าไปคิดอกุศลว่า เขาได้ไปเพราะอิจฉาเขาว่ามีผู้ออกเงินให้ เป็นต้น การไม่คิดในแง่ร้าย จะทำให้เรามีจิตใจไม่เศร้าหมอง แต่จะสดชื่นอยู่เสมอ เพราะได้ยินดีกับกุศลผลบุญต่างๆ อยู่ตลอดเวลา แม้จะมิได้ทำเองโดยตรงก็ตาม
    8. ธรรมสวนมัย หมายถึง การทำความดีด้วยการฟังธรรม จะทำให้เราได้ฟังเรื่องที่ดี มีประโยชน์ทั้งต่อสติปัญญา และการดำเนินชีวิต ซึ่งการฟังธรรมนี้ ไม่จำเป็นต้องไปฟังที่วัด หรือจากพระท่านโดยตรง แต่อาจจะฟังจากเทป ซีดี หรือเป็นการฟังจากผู้รู้ต่างๆ และธรรมในที่นี้ ก็มิได้หมายถึงแต่เฉพาะหลักธรรม ในทางศาสนาเท่านั้น แต่ยังหมายรวมไปถึงเรื่องจริง เรื่องดีๆ หรือสิ่งที่ครูบาอาจารย์สั่งสอนจนทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้และปัญญา สามารถนำความรู้หรือหลักธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิต อยู่ในสังคมอย่างมีความสุขผลบุญข้อนี้จะทำให้ผู้ฟังเกิดการรู้แจ้งเห็นจริงในสัจจธรรมยิ่งขึ้น
    9. ธัมมเทสนามัย หมายถึงการทำความดีด้วยการอบรมสั่งสอนให้ความรู้ การแสดงธรรม คือการให้ธรรมะหรือข้อคิดที่ดีๆ แก่ผู้อื่น ด้วยการนำธรรมะหรือเรื่องดีๆ ที่เป็นประโยชน์ไปบอกต่อ หรือให้คำแนะนำให้เขาได้รู้จักวิธีการดำเนินชีวิตที่ดี เช่น สอนวิธีการทำงานให้ แนะหลักธรรมที่ดี ที่เราได้ยินได้ฟังมา และปฏิบัติได้ผลแก่เพื่อนๆ เป็นต้น ผลบุญในข้อนี้ นอกจากจะทำให้ผู้อื่นได้รับรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว ยังทำให้ผู้บอกกล่าวได้รับการยกย่องสรรเสริญอีกด้วย
    10. ทิฏฐุชุกรรม หมายถึง การทำความดีด้วยการทำความเห็นให้ถูกต้อง เหมาะสม การไม่ถือทิฐิ เอาแต่ความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่ แต่ให้รู้จักแก้ไข ปรับปรุงพัฒนาความคิด และความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ให้ถูกต้องตามธรรมอยู่เสมอ หรือจะพูดง่ายๆ ว่า ให้คิดและประพฤติตนให้ถูกต้อง ตามทำนองคลองธรรมก็ได้ ซึ่งข้อนี้แม้จะเป็นข้อสุดท้ายแต่ก็สำคัญยิ่ง เพราะไม่ว่าจะทำบุญใดทั้ง 9 ข้อที่กล่าวมา หากมิได้ตั้งอยู่ในทำนองคลองธรรม การทำบุญนั้นก็ไม่บริสุทธิ์ และให้ผลได้ไม่เต็มที่
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย jinnawat90; 11-03-2013 at 13:09.

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •