๙ สิ่งมหัศจรรย์วัดโพธิ์ (๗) มหัศจรรย์ “ผ่านภพรัตนโกสินทร์”



๙ สิ่งมหัศจรรย์วัดโพธิ์ (๗) มหัศจรรย์ “ผ่านภพรัตนโกสินทร์”

[B][SIZE="4"][COLOR="DarkSlateGray"](๗)มหัศจรรย์ “ผ่านภพรัตนโกสินทร์”

“วัดโพธิ์” หรือ “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร”
เดิมชื่อว่า “วัดโพธาราม” เป็นวัดโบราณเก่าแก่
ซึ่งราษฎรสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
แม้ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างวัดโพธารามที่แน่ชัด
แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นหลังจากปีพุทธศักราช ๒๒๓๑
ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชาต่อกับรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เป็นวัดราษฎร์ขนาดเล็กอยู่ในเขตตำบลบางกอก ปากน้ำเจ้าพระยา เมืองธนบุรี
ชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดโพธิ์” มาจนถึงกระทั่งทุกวันนี้

พระอุโบสถหลังเก่าของวัดโพธารามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
แต่ภายหลังการสถาปนาพระอุโบสถหลังใหม่ของวัดโพธิ์แล้ว
จึงได้ลดฐานะพระอุโบสถหลังเก่าเป็น “ศาลาการเปรียญ”
โดยภายในมี “พระพุทธศาสดา” ประดิษฐานเป็นพระประธาน





๙ สิ่งมหัศจรรย์วัดโพธิ์ (๗) มหัศจรรย์ “ผ่านภพรัตนโกสินทร์”



๙ สิ่งมหัศจรรย์วัดโพธิ์ (๗) มหัศจรรย์ “ผ่านภพรัตนโกสินทร์”



๙ สิ่งมหัศจรรย์วัดโพธิ์ (๗) มหัศจรรย์ “ผ่านภพรัตนโกสินทร์”



๙ สิ่งมหัศจรรย์วัดโพธิ์ (๗) มหัศจรรย์ “ผ่านภพรัตนโกสินทร์”



๙ สิ่งมหัศจรรย์วัดโพธิ์ (๗) มหัศจรรย์ “ผ่านภพรัตนโกสินทร์”



[B][SIZE="4"][COLOR="DarkSlateGray"]“ศาลาการเปรียญ” ในปัจจุบัน
(พระอุโบสถหลังเก่าของวัดโพธารามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา)[B]

๙ สิ่งมหัศจรรย์วัดโพธิ์ (๗) มหัศจรรย์ “ผ่านภพรัตนโกสินทร์”



“พระพุทธศาสดา” พระประธานในศาลาการเปรียญ
พระพุทธรูปองค์นี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด ใครเป็นผู้สร้าง
ปรากฏแต่ว่าเดิมเป็นพระประธานอยู่ในพระอุโบสถ
เห็นจะตั้งแต่ครั้งแรกสร้างวัดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาประมาณก็อยู่ในราว
รัชกาลสมเด็จพระเพทราชาต่อกับรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ปีพุทธศักราช ๒๒๓๑-๒๒๔๖ หรือภายหลังนั้นมา

ครั้นถึงกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
องค์ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงสถาปนาวัดพระเชตุพนฯ
แต่ครั้งยังเรียกว่า “วัดโพธาราม” อันเป็นอารามเก่า
ให้เป็นพระอารามใหญ่โตสำหรับพระนคร เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๒
ครั้งนั้นได้ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอุโบสถขึ้นหลังใหม่
ส่วนพระอุโบสถหลังเก่านั้นให้สร้างแก้เป็นศาลาการเปรียญ
ซึ่งยังปรากฏอยู่ทุกวันนี้ ข้อนี้มีปรากฏอยู่ใน
พระนิพนธ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
เรื่องตำนานพระพุทธรูปสำคัญ เพราะฉะนั้น “พระพุทธศาสดา”
จึงคงประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในศาลาการเปรียญตั้งแต่นั้นมา

ครั้นต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๕ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ
ครั้งนั้นได้ให้ปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญให้ใหญ่โตกว่าเก่า
คือให้ตั้งเสารอยรอบนอกทำเป็นเฉลียงรอบต่อออกไปอีกชั้นหนึ่ง
ส่วนพื้นของเก่านั้นเป็นพื้นกระดานชำรุดหมด ให้รื้อเสียแล้วถมเป็นพื้นปูศิลา
ยกอาสนสงฆ์ทั้ง ๒ ข้างๆ ละ ๔ ห้อง ส่วน “พระพุทธศาสดา” นั้น
ก็คงประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในศาลาการเปรียญต่อมาจนกาลทุกวันนี้

ต่อมารัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายพระนามว่า
“พระพุทธศาสดา มหากรุณาทิคุณ สุนธรธรรมทาน บุราณสุคตบพิตร”
และโปรดเกล้าฯ ให้จารึกพระนามลงในแผ่นศิลาประดับฐานไว้ดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้



๙ สิ่งมหัศจรรย์วัดโพธิ์ (๗) มหัศจรรย์ “ผ่านภพรัตนโกสินทร์”

๙ สิ่งมหัศจรรย์วัดโพธิ์ (๗) มหัศจรรย์ “ผ่านภพรัตนโกสินทร์”