(๖) มหัศจรรย์ “ตำนานยักษ์วัดโพธิ์”


๙ มหัศจรรย์วัดโพธิ์ (๖) มหัศจรรย์ “ตำนานยักษ์วัดโพธิ์”



“ยักษ์วัดโพธิ์” ตั้งเก็บไว้อยู่ในตู้หน้าซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป (หอไตรจตุรมุข)


(๖) มหัศจรรย์ “ตำนานยักษ์วัดโพธิ์”

ในส่วนของยักษ์ประจำวัดโพธิ์ หลายคนคงเคยได้ยินตำนานกำเนิดท่าเตียน
ที่เล่าปากต่อปากกันมาว่าบริเวณท่าเตียนอันเป็นพื้นที่โล่งเตียนนั้น
เป็นผลจากการต่อสู้ของ “ยักษ์วัดแจ้ง” กับ “ยักษ์วัดโพธิ์”
โดยมี “ยักษ์วัดพระแก้ว” เป็นผู้ห้ามทัพ
ตำนานกำเนิดท่าเตียนมีว่า ยักษ์วัดโพธิ์ซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดโพธิ์
และยักษ์วัดแจ้งซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดแจ้งหรือวัดอรุณฯ ฝั่งตรงข้ามนั้น
ทั้ง ๒ ตนเป็นเพื่อนรักกัน วันหนึ่งทางฝ่ายยักษ์วัดโพธิ์ไม่มีเงิน
จึงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปขอยืมเงินจากยักษ์วัดแจ้ง
พร้อมทั้งนัดวันที่จะนำเงินไปส่งคืน
เมื่อถึงกำหนดส่งเงินคืน ยักษ์วัดโพธิ์กลับไม่ยอมจ่าย เบี้ยวเอาเสียดื้อๆ
ยักษ์วัดแจ้งเมื่อรอแล้วรอเล่าจนทนไม่ไหว
จึงตัดสินใจข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาทวงเงินคืนแต่ยักษ์วัดโพธิ์ไม่ยอมให้
ดังนั้น ในที่สุดยักษ์ทั้ง ๒ ตนจึงเกิดการทะเลาะถึงขั้นต่อสู้กัน
แต่เพราะรูปร่างที่ใหญ่โตมหึมาและมีกำลังมหาศาลของยักษ์ทั้ง ๒ ตน
เมื่อต่อสู้กันจึงทำให้ต้นไม้ในบริเวณนั้นถูกยักษ์ทั้งสองเหยียบย่ำจนล้มตายลงหมด
หลังจากที่เลิกต่อสู้กันแล้วบริเวณที่ทั้งสองประลองกำลังกันนั้น
จึงราบเรียบกลายเป็นสถานที่ที่โล่งเตียนไปหมด ไม่มีอะไรเหลือเลย

ครั้นเมื่อพระอิศวรได้ทราบเรื่องราวการต่อสู้กัน
ทำให้บรรดามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายในบริเวณนั้นเดือดร้อน
จึงได้ลงโทษโดยการสาปให้ยักษ์ทั้ง ๒ กลายเป็นหิน
แล้วให้ยักษ์วัดโพธิ์ทำหน้าที่ยืนเฝ้าหน้าพระอุโบสถ
และให้ยักษ์วัดแจ้งทำหน้าที่ยืนเฝ้าพระวิหารวัดแจ้งเรื่อยมา

ส่วนฤทธิ์จากการสู้รบของยักษ์ทั้งคู่ที่ทำชุมชนละแวกนี้ราบเรียบเป็นหน้ากลอง
ทำให้ชาวบ้านพากันเรียกว่า “ท่าเตียน” เรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้


๙ มหัศจรรย์วัดโพธิ์ (๖) มหัศจรรย์ “ตำนานยักษ์วัดโพธิ์”

เมื่อคาดคะเนจากตำนานการต่อสู้ ยักษ์ทั้งสามน่าจะมีขนาดใกล้เคียงกัน
บางคนเลยเข้าใจผิดคิดว่า “ลั่นถัน นายทวารบาล”
หรือตุ๊กตาสลักหินรูปทหารนักรบจีนขนาดใหญ่
ที่ยืนถือศาสตราวุธเฝ้าซุ้มประตูเข้า-ออกในเขตพุทธาวาส
ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด ๓๒ ตัวนั้น คือ “ยักษ์วัดโพธิ์”
แต่โดยแท้จริงแล้ว “ยักษ์วัดโพธิ์” มีเพียง ๒ ตัวเท่านั้น
คือ ยักษ์กายสีแดง และ ยักษ์กายสีเขียว
ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับยักษ์ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์
เช่นเดียวกับ “ยักษ์วัดพระแก้ว” หากแต่มีขนาดเล็กกว่ามาก
เล็กจนสามารถตั้งเก็บไว้ในตู้หน้าซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป (หอไตรจตุรมุข) ได้



๙ มหัศจรรย์วัดโพธิ์ (๖) มหัศจรรย์ “ตำนานยักษ์วัดโพธิ์”

๙ มหัศจรรย์วัดโพธิ์ (๖) มหัศจรรย์ “ตำนานยักษ์วัดโพธิ์”


๙ มหัศจรรย์วัดโพธิ์ (๖) มหัศจรรย์ “ตำนานยักษ์วัดโพธิ์”


๙ มหัศจรรย์วัดโพธิ์ (๖) มหัศจรรย์ “ตำนานยักษ์วัดโพธิ์”


๙ มหัศจรรย์วัดโพธิ์ (๖) มหัศจรรย์ “ตำนานยักษ์วัดโพธิ์”


ที่มา : เวปธรรมจักร.เน็ต/บ้านมหา.คอม