กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: ต้นไม้ในพุทธประวัติ

Hybrid View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    ต้นไม้ในพุทธประวัติ

    ต้นรกฟ้าขาว (ต้นอัชชุนะ)


    ต้นไม้ในพุทธประวัติ


    ต้นรกฟ้าขาว (ต้นอัชชุนะ)

    “ต้นรกฟ้าขาว” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Terminalia alata Heyne ex Roth.” วงศ์ Combretaceaee ในภาษาบาลีเรียกว่า “ต้นอัชชุนะ” มีชื่อพื้นเมืองที่เรียกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นของไทย คือ กอง, คลี้, จะลีก, ชะลีก, เชือก, เซียก, ฮกฟ้า เป็นต้น

    ต้นรกฟ้าขาว เป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 20-30 เมตร เปลือกนอกสีเทาถึงเทาปนดำ แตกเป็นร่องลึกและเป็นสะเก็ดทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว ติดตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ทรงใบรูปขอบขนาน หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลทั้ง 2 ด้านใบแก่ขนหลุดร่วงหมด ด้านหลังใบจะมีต่อมคล้ายหูดหนึ่งหรือสองต่อม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อขนาดเล็ก ดอกช่อ panicle เกิดที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยสีขาวหรือขาวอมเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศผ่าศูนย์กลางประมาณ 4-5 มิลลิเมตร กลีบรองกลีบดอก โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย มีขนทั้งสองด้าน ไม่มีกลีบดอก เกสรผู้ 10 อันแยกกัน ผลรูปรีๆ มีครีบตามยาวผล 5 ครีบ ผลรวมทั้งครีบ กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 4-6 เซนติเมตร ผิวเกลี้ยง

    รกฟ้าขาวพบทั่วไปในป่าผลัดใบ และป่าเต็งรัง ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 100-1,000 เมตร ทิ้งใบในช่องเดือนมกราคม-เมษายน ผลัดใบใหม่ในเดือนมิถุนายน พร้อมตาดอก



    ต้นไม้ในพุทธประวัติ

    คุณประโยชน์ต้นรกฟ้าขาว อาทิเช่น ไม้รกฟ้าเป็นไม้เนื้อแข็งและมีลายละเอียดมาก ใช้ขัดซักเงาได้เป็นอย่างดี, ใช้ทำพื้น คาน เฟอร์นิเจอร์ ด้ามเครื่องมือ รวมทั้ง นิยมใช้ในงานตกแต่งสมัยใหม่ในโรงแรม ร้านอาหาร และร้านสปาต่างๆ เป็นต้น โดยเฉพาะเปลือกให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง

    ****ในพระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน หัวข้อ ‘อัชชุนปุปผิยเถราปทาน’ ได้กล่าวถึง ผลแห่งการถวาย ‘ดอกรกฟ้าขาว’ บูชาของพระอัชชุนปุปผิยเถระ ไว้ว่า ****

    “ครั้งนั้น เราเป็นกินนรอยู่ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา ได้เห็นพระสยัมภูพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสธุลี มีความเลื่อมใสมีใจโสมนัส เกิดความปราโมทย์ ประนมอัญชลีแล้วถือเอาดอกรกฟ้าขาวมาบูชาพระสยัมภู ด้วยกรรมที่เราทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างกินนรแล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เราได้เป็นจอมเทพเสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๖ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิเสวยราชสมบัติอันใหญ่ ๑๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณนานับมิได้ พืชอันหว่านในเนื้อนาอันดี คือ พระสยัมภู ได้สำเร็จผลเป็นอันดีแก่เราแล้ว กุศลของเรามีอยู่ เราบวชเป็นบรรพชิตทุกวันนี้ เราควรแก่การบูชาในศาสนาของพระศากยบุตร เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้”



    ต้นไม้ในพุทธประวัติ


    ในพระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน หัวข้อ ‘อัชชุนปุปผิยเถราปทาน’ ได้กล่าวถึง ผลแห่งการถวาย ‘ดอกรกฟ้าขาว’ บูชาของพระอัชชุนปุปผิยเถระ ไว้ว่า

    “ครั้งนั้น เราเป็นกินนรอยู่ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา ได้เห็นพระสยัมภูพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสธุลี มีความเลื่อมใสมีใจโสมนัส เกิดความปราโมทย์ ประนมอัญชลีแล้วถือเอาดอกรกฟ้าขาวมาบูชาพระสยัมภู ด้วยกรรมที่เราทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างกินนรแล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เราได้เป็นจอมเทพเสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๖ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิเสวยราชสมบัติอันใหญ่ ๑๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณนานับมิได้ พืชอันหว่านในเนื้อนาอันดี คือ พระสยัมภู ได้สำเร็จผลเป็นอันดีแก่เราแล้ว กุศลของเรามีอยู่ เราบวชเป็นบรรพชิตทุกวันนี้ เราควรแก่การบูชาในศาสนาของพระศากยบุตร เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... ฯลฯ ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้”




    เครดิต : บอร์ดต้นไไม้ในพุทธประวัตฺ/บ้านมหา.คอม

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ kamatep
    วันที่สมัคร
    May 2009
    กระทู้
    116
    อืม เคยผ่านตายุครับแต่บ่รู้ซื่อ จะขึ้นตามป่าเบญจพรรณกับพวกไม้ฮัง จิก

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •