กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: วิ่งมาราธอนบ่ได้เพิ่มความเสี่ยง

Threaded View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ pcalibration
    วันที่สมัคร
    Nov 2008
    ที่อยู่
    เมืองฉะเชิงเทรา(แปดริ้ว)
    กระทู้
    1,883
    บล็อก
    1

    วิ่งมาราธอนบ่ได้เพิ่มความเสี่ยง

    วิ่งมาราธอนไม่เพิ่มความเสี่ยงหัวใจวาย
    ช่วงหลังๆ ข่าวคราวการแข่งขัน มาราธอน จากหลายๆ ประเทศทั่วโลกมักมีเรื่องเศร้าอย่างการเสียชีวิตของผู้เข้าแข่งขันแทรกอยู่เป็นระยะๆ
    บ่อยครั้งและติดหูเสียจนกลายเป็นความกลัวของคนเล่นกีฬาหลายคนว่า
    การวิ่งมาราธอนหรือแม้แต่ฮาล์ฟมาราธอนอาจเป็นต้นเหตุของอาการหัวใจวายเฉียบพลันมากกว่าการเลือกเล่นกีฬาชนิดอื่นๆอย่างไรก็ตาม
    วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ ได้นำเสนอบทความออนไลน์ชิ้นหนึ่ง
    เป็นงานวิจัยเชิงสถิติซึ่งมาแย้งกับความเชื่อข้างต้นว่า มาราธอนไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยงของอาการหัวใจวายมากกว่ากีฬาอื่นอย่างที่หลายคนคิดกัน
    นายแพทย์แอรอน แบกกิช ผู้อำนวยการแผนกหัวใจของโรงพยาบาลแมสซาชูเซตต์และคณะ
    ทำการศึกษาข้อมูลชาวอเมริกันซึ่งเกิดอาการหัวใจวายระหว่างแข่งขันมาราธอนและฮาล์ฟมาราธอน
    ช่วงระหว่างปี 2000-2010 โดยดูประวัติการแพทย์ รวมถึงสัมภาษณ์ผู้ที่รอดชีวิต หรือญาติและคนใกล้ชิดของผู้เสียชีวิต
    ได้ข้อสรุปว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ล้วนมีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจมาแต่เดิมทั้งสิ้น
    ความที่มาราธอนมีคนร่วมแข่งขันทุกเพศทุกวัย ที่เป็นวัยกลางคนค่อนไปทางชราก็มาก
    หลายคนไม่รู้ตัวมาก่อนว่าตัวเองมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ จึงไม่ได้ระมัดระวังป้องกันและนำไปสู่เรื่องเศร้าในที่สุด
    งานวิจัยดังกล่าวระบุว่า โอกาสของการเกิดอาการหัวใจวายระหว่างการวิ่งมาราธอนนั้นมีเท่าๆ กับ
    หรือน้อยกว่ากิจกรรมทางกายหรือการเล่นกีฬาลักษณะอื่นๆ อาทิ ไตรกีฬา หรือแม้กระทั่งวิ่งจ๊อกกิ้งธรรมดาทั่วไป
    หมายความว่ามาราธอนก็เป็นกีฬาที่ปลอดภัยหรือมีความเสี่ยงไม่ต่างจากกีฬาอื่นแต่อย่างใด
    ทั้งนี้ จากผู้ร่วมแข่งขันราว 11 ล้านคน มีกรณีหัวใจวายเกิดขึ้น 59 ครั้ง (40 ครั้งในมาราธอน และ 19 ครั้งในฮาล์ฟมาราธอน)
    คิดเป็นร้อยละ 0.54 ต่อผู้ร่วมแข่งขัน 100,000 คน
    จาก 59 ครั้งดังกล่าว เป็นผู้ป่วยชายถึง 85 เปอร์เซ็นต์ และเสียชีวิตรวม 42 ราย
    โดยมากสาเหตุการเกิดหัวใจวายมาจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรือกล้ามเนื้อหัวใจโต
    โดยปัจจัยที่จะช่วยให้รอดชีวิตได้คือการปฐมพยาบาลด้วยวิธีซีพีอาร์(CPR)
    หรือการช่วยฟื้นชีพขั้นพื้นฐาน อาทิ การปั๊มหัวใจ อย่างถูกหลักและทันท่วงที
    นั่นจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญที่เจ้าภาพผู้จัดการแข่งขันพึงระลึกอยู่เสมอ
    :,1-:,1-:,1-:,1-:,1-
    ขอบคุณข้อมูลที่มา http://www.sportclassic.in.th
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย pcalibration; 28-03-2013 at 10:14.

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •