****************
การเรียนที่เน้นสมองเป็นฐาน
****************
การเรียนที่เน้นสมองเป็นฐาน
บทนำ
จะเห็นได้ว่ามนุษย์ใช้สมองไม่ถึงร้อยละ 10 แม้แต่บุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นอัจฉริยะของโลกก็ตาม มีงานวิจัยที่บ่งบอกว่าสมองมีศักยภาพและความซับซ้อนที่หลากหลาย ซึ่งวิทยาศาสตร์ไม่สามารถบอกไว้ว่าเหตุใดถึงเป็นเช่นนั้น
เมื่อเทียบกับขนาดของลำตัวและร่างกาย เราจะพบว่าสมองของมนุษย์มีขนาดใหญ่กว่าสัตว์ทั้งหลาย สมองมีโครงสร้างทางกายวิภาคและองค์ประกอบที่ซับซ้อนมาก แต่ยังไม่เท่ากับการทำงานของสมองที่มีศักยภาพซับซ้อนยิ่งกว่า
มีการเรียนรู้อย่างหนึ่งที่ชื่อว่า การเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning หรือ BBL) โดยนักจิตวิทยา เรอเนต นุมเบลา กับ เจฟฟี่ เคน ได้พบว่า
1 สมองเป็นตัวประมวลผลคู่ขนาน สมองมนุษย์ทำอะไรได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน นั่นคือ ความคิด อารมณ์ จินตนาการ ความรู้สึกที่หลากหลายในเวลาเดียวกัน ซึ่งเรียกว่าขนานกัน
2 การเรียนรู้ใช้ทุกส่วนของร่างกาย เนื่องจากสมองเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย ดังนั้น การเรียนรู้ทำให้ช้าลง หรือ เร็วขึ้นได้ เช่นเดียวกับการหายใจของมนุษย์ ที่ส่งผลกระทบกับร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น โภชนาการ การเติบโตของเส้นประสาท การจัดการกับความเครียด การพักผ่อน การออกกำลังกาย เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะกระทบกับการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นทั้งหมด
3 การค้นหาความหมายที่เกี่ยวข้องและเกิดขึ้นอย่างมีแบบแผน ซึ่งเป็นพื้นฐานในการทำงานของสมองมนุษย์ เพราะการเรียนรู้ตามปกติจะต้องมีความตื่นเต้นและมีความหมาย มีหลากหลายวิธีการในการเลือก สมองมนุษย์จะเป็นทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์ ในเวลาเดียวกัน ซึ่งสมองพยามค้นหาและทำความเข้าใจ เช่น การฝันกลางวัน การแก้ปัญหา การคิด ซึ่งมีอิทธิพลต่อมนุษย์ในการชี้นำ
4 อารมณ์ เป็นส่วนที่สำคัญต่อการเรียนรู้ เพราะอารมณ์ จะส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ ความรู้สึกด้านเจตคติที่เกิดขึ้น ที่เป็นฐานแห่งการเรียนรู้
5 สมองจะประมวลข้อมูลที่เป็นทั้งส่วนย่อยและส่วนรวมในเวลาเดียวกัน สมองซีกซ้าย จะมีหน้าที่ประมวลผลด้านตรรกะ ความคิดในแนวเส้นตรง การวิเคราะห์ และเนื้อเพลง สมองซีกขวาจะทำหน้าที่เกี่ยวกับศิลปะและจินตนาการ มิติสัมพันธ์ ทำนองเพลง เป็นต้น ดังนั้นจะเป็นว่าสมองทั้งสองซีกจะส่งเสริมกันและกัน ทั้งด้านภาษา ดนตรี ศิลปะ และ คณิตศาสตร์
6 การเรียนรู้เกิดจากความตั้งใจและมองโดยรอบ ซึ่งเกิดจากการประมวลผลของสมองทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว บางครั้งสมองจะรับข้อมูล และสัญญาณต่างๆที่นอกรัศมีสายตา ซึ่งเรียกว่าข้อมูลที่อยู่โดยรอบ เช่นเสียงระฆัง รอยยิ้ม การเคลื่อนไหวของร่างกาย คำขวัญ ข้อความที่ติดอยู่ที่ผนังห้อง ดนตรี ศิลปะ ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกและส่งเสริมความรู้ ที่ทรงพลัง
บางครั้งสัญญาณอย่างผิวเผินก็ส่งเข้าสู่สมองสมอง และเกิดปฏิกริยาโต้ตอบในระดับจิตใต้สำนึกโดยไม่รู้ตัว ส่วนใหญ่เราจะจำประสบการณ์ที่เกิดขึ้นโดยตรงมากว่าคำบอกเล่า
7 ความจำมี 2 ประเภท คือ ความจำแบบมีระยะทาง กับ ความจำแบบท่องจำ ความจำแบบมีระยะทาง จะจำทันทีจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้น ส่วนจำแบบท่องจำ จะปรากฏในชุดที่ออกแบบพิเศษ และเป็นข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เช่นตารางสูตรคูณ การสะกดคำ ข้อเท็จจริง วันสำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น
พบว่าสมองจะเข้าในและจำในข้อเท็จจริงมากที่สุด และจะถูกฝันลึกไปในความทรงจำแบบมีระยะทาง
8 สมองแต่ละคนมีเอกลักษณ์ ทุกคนมีประสาทสัมผัสและอารมณ์พื้นฐานเหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่สมองของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้นการเรียนรู้จำเป็นต้องมีหลายด้านเพื่อให้เกิดการแสดงออก นอกจากนี้แล้วมนุษย์ยังมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกันอีกด้วย
++++++++++++