กำลังแสดงผล 1 ถึง 1 จากทั้งหมด 1

หัวข้อ: วิธีปฏิบัติธรรมอย่างง่าย ๆ

Hybrid View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ jinnawat90
    วันที่สมัคร
    Mar 2013
    กระทู้
    620

    วิธีปฏิบัติธรรมอย่างง่าย ๆ

    ทำกายให้ผ่อนคลาย สบาย ๆ เข้าไว้

    ผ่อนคลายร่างกาย อย่าเกร็ง ไม่ต้องเคร่งเครียด แล้วก็อย่าตั้งใจเกินไป

    ให้หมั่นสังเกตที่กายให้ดี คือ เมื่อไหร่ที่กายผ่อนคลาย สบายดี ใจก็จะพลอยผ่อนคลายสบาย ๆ ไปด้วย ให้รักษาความสบายนั้นไว้

    ไม่ว่าจะทำการทำงานอะไร ให้หมั่นสังเกต และรักษาความสบายนั้นไว้เสมอ ๆ

    ถ้าจิตเกิดอาการเมื่อไหร่ ร่างกายจะเกิดอาการเปลี่ยนแปลง เช่นเกร็ง มากบ้างน้อยบ้าง

    ลมหายใจจะเปลี่ยนแปลง การหายใจจะสะดุด หายใจได้ไม่คล่องตัวบ้าง เกิดอาการที่เรียกว่า หนักหัวอก

    นี่แหละที่ครูบาอาจารย์บางท่านเรียกว่า มีอารมณ์ใจหนัก ให้เราสังเกตตรงนี้บ่อย ๆ



    พยายามฝึกผ่อนคลายความตึงเครียดไว้เสมอ ๆ อารมณ์ใจจะได้ไม่หนักไปด้วย

    การผ่อนคลายอาจจะใช้วิธีการสูดลมหายใจ เข้าลึก ๆ ให้ทั่วท้อง แล้วค่อย ๆ ผ่อนลมหายใจออกมาช้า ๆ ก็ได้

    ทำเช่นนี้สักสองสามเที่ยว เป็นการเรียกความรู้สึกตัวกลับมาอยู่กับกาย ไม่ให้หลงส่งจิตออกไปภายนอก ใจก็จะรู้สึกปลอดโปร่งโล่งใจมากขึ้น ทำให้ชำนาญจนเป็นนิสัย

    กายไม่เครียด จิตใจดี โรคภัยไข้เจ็บก็จะได้ไม่ถามหา



    ทีนี้เวลาจิตมันไม่โล่ง จิตมันกลุ้ม ให้ลองสังเกตดูให้ดีจะเห็นว่า ความคิดมันวิ่งพล่านไปหมด

    ให้เราดับความคิดที่เกิดจากจิตนั้นเสีย ใหม่ ๆ มันอาจจะอึดอัดเพราะเราไม่เคยฝืน ไม่เคยทวนกระแสเลย เราก็ต้องอดทน มีขันติ

    ตะเพิดความคิดมันทิ้งซะ เราไม่เอากับมัน หยุดคิด เจริญพรหมวิหารเข้าไปทดแทน ท่องบทแผ่เมตตา บังคับจิตให้อยู่กับบทแผ่เมตตานั้นไว้เท่่าที่จะทำได้

    ถ้าทำได้จิตจะสงบลงได้ ความเย็นใจจะมาแทนที่ แต่เราก็อย่าไปอินกับมัน ถือซะว่า เป็นการเรียนรู้วิธีการรักษาใจก็พอ

    ถ้าเราทำได้ครั้งหนึ่ง ต่อไปมันจะทำได้อีก และทำได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ให้รักษาความต่อเนื่องนั้นไว้

    ความสำคัญคือ กิเลสมันจะรบเร้า ความคิดมันจะพยายามก่อกวนให้จิตขุ่นตาม เราต้องรู้จักฝืน รู้จักข่ม เอาชนะใจตนเองให้ได้ ก้าวข้ามความเคยชินตรงนี้ไปให้ได้

    ถ้าเราก้าวข้ามตรงนี้ไปได้ จิตของเราจะมีกำลังต้านทานกิเลสได้มาก มันจะนิ่งขึ้น ปลอดโปร่งขึ้น ทีนี้การสังเกตความผิดปกติจะง่ายขึ้น



    ความคิดนี่แหละตัวดี คอยก่อกวนป่วนจิตให้เกิดอาการ ให้เราสังเกตอาการตรงนี้ให้ดี

    จิตของเราเดิมมันปกติ ผ่อนคลายสบาย ๆ ดีอยู่ พอเราเผลอ โดนความคิดมันกระหน่ำจนเกิดอาการ กายก็เปลี่ยน ลมหายใจก็เปลี่ยน อารมณ์ขึ้นทันที ฉ็อตนี้สำคัญ

    ให้ดับความคิดตัวที่คอยป่วนตัวนี้ด้วยการหยุดคิด ให้ได้ให้ทันตั้งแต่มันเริ่มจะก่อตัวจะคิดเลยทีเดียว ไม่ลองดับไม่รู้ความแตกต่าง

    ลองดับไปด้วย แล้วก็ลองทำความเข้าใจไปด้วย สังเกต ๆ ๆ ทำความเข้าใจไปเรื่อย ๆ เรื่อย ๆ

    อีกหน่อยเมื่อมันเข้าใจกระบวนการของเขาแล้ว มันก็จะค่อย ๆ วางไปเอง เราจะเบากายเบาใจขึ้น



    ทำไปเรื่อย ๆ ศึกษาไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องเร่งต้องรีบเอาเป็นเอาตาย แค่ขอให้ทำให้ต่อเนื่องเพียงอย่างเดียว

    มันจะยากก็ตอนฝืนใจตนเองนี่แหละยากที่สุด ข้ออ้างของกิเลสมันจะเยอะมาก ถ้าเอาชนะใจตนเองได้แล้วต่อไปจะไม่ยาก

    การบ้านการเรือนการงานอย่าให้ขาด ถ้าสมมุติพวกนี้มันบกพร่องซะแล้วมันก็มีผลทำให้การดำเนินชีวิตมันยุ่งยาก

    ต้องมัวแต่มาคอยแก้เรื่องยุ่ง ๆ จิตส่งออกนอกตลอด แบบนี้พลังจิตรั่วหมด ไม่มีกำลัง เมื่อไหร่จะเต็ม จิตไม่มั่นคง สมมุติบีบหนัก ๆ นี่ก็ยากเหมือนกันนะ

    และถ้าเราไม่มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อส่วนรวม มันก็อยู่ในสังคมยาก การปฏิบัติเราก็จะพลอยยากไปด้วย

    หมั่นสร้างกุศลไว้เสมอ ๆ บุญทำไปเถอะ มีแต่ได้ความสุขความสบายใจ ทำให้มากถ้าทำได้

    เพราะจิตที่คิดจะให้สบายกว่าจิตที่คิดจะเอา จิตที่มีแต่จะเอาหรือเอาแต่ได้ มันจะหนักอึ้ง

    แบกภาระเอาไว้เยอะ โดยเฉพาะแบกเงื่อนไขไว้บนบ่ามาก ๆ ระวังจะโดนกิเลสมันทับตายไปฟรี ๆ



    ทำบุญอย่าโลภมากหวังผล หวังรวย จิตมันจะหนักเพราะความอยากได้ ให้เข้าใจว่า เราทำบุญเพื่อเป็นการฝึกเสียสละ ฝึกสร้างประโยชน์ให้สังคมส่วนรวม

    สร้างวินัยให้เกิดมีกับตัวเอง เพราะการรักษาวินัยต่อตัวเองคือ การมีสัจจะ การรักษาวินัยให้ส่วนรวม คือ ความเสียสละ ฝึกเสียสละเข้าไว้ ใจจะได้พัฒนา

    ขอให้เตรียมความพร้อมเช่นนี้ไว้เสมอ สักวันหนึ่งเมื่อโอกาสมาถึง ถ้าเรามีการเตรียมพร้อมมาดี มันก็ง่ายแล้วล่ะตอนนั้น...




    ขอให้ทุกท่านโชคดีครับ...

    แหล่งที่มา http://board.palungjit.com
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย jinnawat90; 17-05-2013 at 07:57.

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •