ความรักกับความทุกข์

ความรัก


ที่สุดของความรัก
คือรักโดยไม่ครอบครอง


ความรักกับความทุกข์



ความรักกับความทุกข์ เมื่อสองคำนี้ถูกพูดขึ้นมา เรามักจะบริบทไปเป็นความรักในเชิงชู้สาวเสียมาก ในทรรศนะของพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า "ทุกๆ การยึดติดถือมั่นมีค่าเป็นความทุกข์อยู่เสมอ" ผู้เขียนแปลเสียใหม่ว่า "ที่ใดมีกอด ที่นั่นมีกัด" ทุกๆ การครอบครอง มีค่าเป็นการขาดอิสรภาพ

ในทรรศนะของมนุษย์ ทุกครั้งที่เราครอบครองสิ่งใดสิ่งหนึ่งเรามักจะภูมิใจว่า ฉันเป็นเจ้าของของสิ่งนั้นเรียบร้อยแล้ว เชน เรามีรถเบนซ์หนึ่งคัน มีบ้านหนึ่งหลัง มีแฟนหนึ่งคน เราก็คิดว่า "เอาละฉันเป็นเจ้าของรถ เจ้าของบ้าน เจ้าของแฟน" หารู้ไม่ว่า ทันทีที่เรายอมรับเอาสิ่งเหล่านั้นว่าเป็นของของเรา เราก็ตกเป็นทาสของสิงเหล่านั้นเรียบร้อยแล้ว มีแฟนสักคนหนึ่ง ส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือไปหาแล้วแต่เขาก็ยังหายไปตั้ง 3 วัน ชีวิตเราก็ไม่รื่นรมย์แล้ว เห็นหรือยังว่า เราครอบครองเขาหรือว่าเราตกเป็นทาสของเขา

ดังนั้น "ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์" จึงเป็นสัจธรรมสากลที่ถูกต้องที่สุดที่ถูกต้องที่สุด พระพุทธเจ้าตรัสไว้ตั้ง ๒,ooo กว่าปี แต่เหตุใดทุกวันนี้มนุษย์โดยมากจึงมักจะบอกว่า "ที่ใดมีรักที่นั่นมีสุข" นั่นเพราะเขายังไม่ได้เรียนรู้ความรักตั้งแต่ต้นสายถึงปลายทาง คนที่บอกว่า ที่ใดมีรักที่นั่นมีสุข โดยมากมักจะเริ่มต้นแค่รู้จักความรักช่วงโปรโมชั่น พเริ่มเรียนรู้ที่จะรักไปสักพักหนึ่ง ถ้าสังเกตอย่างละเมียดละไมก็จะเห็นว่า มันเริ่มสุขๆ ทุกข์ ๆ ปนกันมาโดยตลอด หลังจากนั้นเมื่อหลวมตัวแต่งงานไป วันเวลาส่วนใหญ่เป็นเรื่องของความทุกข์มากวก่าความสุข

ความสุขซึ่งเกิดจากากรมีความรักเชิงชู้สาวนั้น แท้ที่จริงก็คือความทุกข์ที่รอเวลาอยู่เท่านั้นเอง มันคือความสุขแต่แท้ที่จริงคือเจ้าความทุกข์ที่รอเวลาแสดงตัว คนหนึ่งคนสาวจำนวนมากไม่รู้ ก็เลยคิดว่าความรักนั้นช่างหอมหวานเหลือเกิน จริงอยู่ความรักเป็รความหอมหวาน แต่เป็นความหอมหวานของเนื้อทุเรียนซึ่งมีเปลือกที่แสนขรุขระ




ความรักกับความทุกข์


จากหนังสือ ๙ เรื่องเพื่อความก้าวหน้า โดย พระมหาวุฒิชัย ว.วชิรเมธี


ความรักกับความทุกข์