หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 12

หัวข้อ: พระสมเด็จวัดเกศไชโย 9 ชั้น

  1. #1
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ บ่าววิทย์
    วันที่สมัคร
    Jun 2006
    กระทู้
    754

    อ่านข่าวออนไลน์ พระสมเด็จวัดเกศไชโย 9 ชั้น

    พระสมเด็จวัดเกศไชโย 9 ชั้น อกตัน
    วัดเกศไชโย ตั้งอยู่ที่ ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ได้พระจากท่านจ้าวอาวาสวัดเกศไชโย จากการถวายผ้าป่าที่วัดติดต่อกันครบ 3 ปีในปี พ.ศ.2536 ได้มาไม่กี่องค์ พระรุ่นนี้เจ้าอาวาสองค์ก่อนสร้าง มีมวลสารพระสมเด็จเกศไชโยรุ่นก่อนที่แตกหัก ผงพุทธคุณ ผงกฤติยาคมต่างๆ รวมถึงมวลสารต่างๆที่เป็นมงคล ผงใบลานเผา ผงธูป เกสรบัว เกสรดอกไม้มงคล แล้วถูกเก็บเข้ากรุในโบสถ์ ตอนนั้นเจ้าอาวาส ยังเป็นเณรน้อย ต้องใช้เวลานาน 40-45 ปีกว่าจะได้เป็นเจ้าอาวาส ผมได้พระองค์นี้มาในปี พ.ศ. 2536 -2556 เป็นเวลา 20 ปี พระรุ่นนี้น่าจะสร้างมาแล้วอย่างน้อย 60 ปีผมใส่กรอบไว้เป็นอย่างดี
    ใครรู้ประวัติรุ่นที่ผมได้มารุ่น แจกประธานและรองประธาน ผ้าป่า ที่แน่นอนก็ช่วยบอกผมด้วยครับ โทร.0908092678

    ดูเนื้อพระมีการแตกลายตามธรรมชาติ เมื่อเทียบกับพระรุ่นสร้างเขื่อน เนื้อเหลือง พิมพ์ 7 ชั้น ใครดูได้ว่าพระองค์ไหนสร้างก่อน ช่วยแนะนำด้วยครับ



    พระสมเด็จวัดเกศไชโย 9 ชั้น

    ส่วนพระเนื้อนุ่มปานกลาง มีส่วนผสมที่ได้สัดส่วนลงตัว ส่วนใหญ่สีขาวอมเหลือง



    พระสมเด็จวัดเกศไชโย รุ่นสร้างเขื่อน เนื้อเหลือง พิมพ์ 7 ชั้น ขั้นบันได (นิยม) ปี พ.ศ. 2495 ให้ดูเพื่อศึกษาครับ

    พระอาจารย์วร เจ้าอาวาสขณะนั้น และกรรมการวัดได้นำมวลสาร ชิ้นส่วนที่ชำรุดแตกหักของวัดเกศไชโย ผงมวลสารของพระเกจิอาจารย์ต่างๆ และผงมวลสารเก่าที่เก็บรวบรวมไว้ สร้างเป็นพระสมเด็จ 7ชั้น นอกจากพระสมเด็จแล้ว ยังมีทั้งเหรียญ แหวน และอื่นๆ พิธีปลุกเสกสมเด็จ7ชั้น รุ่นสร้างเขื่อนจัดเป็นพิธีใหญ่ที่ วัดเกศไชโยวรวิหาร อ่างทอง ในเดือน เมษายน พศ.2495 ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 5 ในพิธีนอกจากจะนิมนต์พระเกจิจารย์ดังในยุคนั้นแล้ว ยังได้อัญเชิญบารมี สมเด็จพุทธจารย์โต พรหมรังษี ด้วยการอธิฐานจิต โยนด้ายสายสิญจน์จากรูปหล่อสมเด็จพุทธจารย์โต พรหมรังสี มายังวัตถุมงคลที่ปลุกเสกด้วย



    พระสมเด็จวัดเกศไชโย 9 ชั้น

    พระสมเด็จวัดเกศไชโย 9 ชั้น




    ชื่อพระ : สมเด็จ 9ชั้น วัดไชโยวรวิหาร ปี21


    พระสมเด็จวัดเกศไชโย 9 ชั้น

    พระสมเด็จวัดเกศไชโย 9 ชั้น


    ชื่อพระ : สมเด็จ 9ชั้น วัดไชโยวรวิหาร ปี21
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย บ่าววิทย์; 19-07-2013 at 15:24.
    [*] สื่อบันเทิงที่นำมาให้รับชม รับฟังเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น หากท่านชื่นชอบ สื่อใด โปรดซื้อสินค้าลิขสิทธิ์
    [*] เกี่ยวกับลิขสิทธิ์
    [*] ทำเนียบกองทุนเว็บไซต์ บ้านมหา

  2. #2
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ บ่าววิทย์
    วันที่สมัคร
    Jun 2006
    กระทู้
    754






    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย บ่าววิทย์; 26-06-2013 at 13:44.
    [*] สื่อบันเทิงที่นำมาให้รับชม รับฟังเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น หากท่านชื่นชอบ สื่อใด โปรดซื้อสินค้าลิขสิทธิ์
    [*] เกี่ยวกับลิขสิทธิ์
    [*] ทำเนียบกองทุนเว็บไซต์ บ้านมหา

  3. #3
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ jinnawat90
    วันที่สมัคร
    Mar 2013
    กระทู้
    620
    ก่อนที่จะเริ่มทำการศึกษา เรามาทำความรู้จักพระสมเด็จวัดเกศไชโย กันก่อนครับ นี้แหละครับ...พระสมเด็จวัดเกศไชโย...สวยมั๊ย...ครับ



    พระสมเด็จวัดเกศไชโย 7 ชั้นนิยม



    ประวัติวัดเกศไชโย
    วัดเกศไชโย ตั้งอยู่ที่ ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นวัดเก่าแก่จากหลักฐานที่พบเป็นวัดที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่พบหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง แต่จากหลักฐานทราบเพียงว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาแค่นั้น เริ่มแรกเลยวัดไชโยไม่มีผู้คนรู้จักกันมากนัก มาเริ่มรู้จักกันแพร่หลาย เมื่อครั้งสมเด็จพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆัง ธนบุรีตอนนั้นท่านสละตำแหน่ง เจ้าอาวาส... เดินทางมาสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้น ในสมัย รัชกาลที่ ๔ ซึ่งหลังจากนั้น ต่อมา (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) รัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดเกล้าให้ เจ้าพระยาบดินทร(บุญรอด) สำเร็จราชการกรมมหาดไทย ทำการปฎิสังขรณ์ วัดเกศไชโย ขึ้นใหม่ทั้งอาราม เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๐ และได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่ แทนองค์เดิม เนื่องจากชำรุดเสียหาย หน้าตัก กว้าง ๘ วา ๗ นิ้ว และสูงถึงยอดเกศรัศมี ๑๑ วา ๑ ศอก ๗นิ้ว การสร้างพระหลวงพ่อโต นั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าสมเด็จโต ท่านชอบสร้างพระองค์ใหญ่ๆ และการที่สร้างไว้ที่วัดเกศนั้น ท่านสร้างเพื่ออุทิศให้กับโยมมารดา แต่เนื่องจากโครงสร้างและรากฐานไม่ดีนัก จึงทำให้องค์หลวงพ่อโตพังลงถึง ๒ ครั้ง ด้วยกัน และการสร้างตั้งแต่ครั้งแรกๆ ก็มีการบรรจุ พระพุทธพิมพ์ลงไป ทุกครั้งเมื่อชำรุดลงอีก มีการบูรณะ ก็มีการบรรจุ พระพิมพ์ลงไปอีก พระที่บรรจุลงไปนั้นจึงพบว่ามีการบรรจุลงหลายครั้ง โดยนำพระที่สร้างจากวัดระฆัง แล้วนำมาบรรจุไว้ที่วัดเกศไชโย พระที่พบในวัดเกศไชโยนั้นเป็นพระที่บรรจุไม่นาน บรรจุราวๆปี 2406 พระที่บรรจุ ก็บรรจุ ที่สูง จึงไม่พบคราบกรุ มากนัก บางองค์จะไม่พบเลย หรือแทบไม่มีเลย....พระที่บรรจุก็ยังพบว่ามีหลายๆพิมพ์ด้วยกัน.......!
    การสร้างพระวัดเกศนั้นมีการสร้างที่วัดระฆังฯ แล้วนำมาบรรจุไว้ที่วัดเกศ เนื้อพระวัดเกศนั้นจะต่างกับเนื้อวัดระฆัง แต่ก็ไม่แตกต่างมากนัก เนื้อวัดเกศจะเป็นเนื้อที่ละเอียดเพราะบดด้วยเครื่องบดยาในสมัยนั้นเนื้อพระจึงเป็นเ นื้อที่ละเอียด แต่ถึงจะเป็นวัดเกศก็จริงแต่ผู้ที่สร้างนั้นเป็นองค์สมเด็จพุฒาจารย์โตเช่นกันฉะนั้น มวลสารต่างๆ และส่วนผสมที่ผสมลงไปในเนื้อพระนั้นย่อมไม่ต่างกันมากนัก เนื้อพื้นของ วัดระฆังนั้นมีมากมายหลายชนิด แต่เนื้อพื้นของวัดเกศ เท่าที่พบจะเป็นเนื้อที่ละเอียดเท่านั้น แต่จะต่างกันบ้างก็เรื่องของวรรณะสี คือ มีขาว ขาวอมเลือง และออกน้ำตาลเลย ขึ้นอยู่กับส่วนผสม ของน้ำมันตั้งอิ้วที่มากบ้างน้อยบ้างนั่นเอง...สรุปง่ายๆก็คือ เนื้อพื้นของวัดเกศ จะต้องเป็นเนื้อปูนหอยที่ละเอียดเพราะผ่านการบดนั่นเอง.... เมื่อบดเนื้อปูนหอยได้ละเอียดแล้วจึงนำผงพุทธคุณ ผงกฤติยาคมต่างๆผสมลงไป รวมถึงมวลสารต่างๆที่เป็นมงคล ที่ได้เตรียมไว้ ผงใบลานเผา ผงธูป เกสรบัว เกสรดอกไม้มงคล และยังอีกหลายๆอย่างผสมลงไป แต่ที่ไม่ค่อยปรากฏให้เห็นคือ ก้อนมวลสารเก่า ที่ได้จากพระที่ชำรุดแตกหัก แบบวัดระฆัง ซึ่งในพระวัดระฆังมักจะมีให้เห็น อาจเป็นไปได้ว่า มีการบดไปพร้อมกับปูนหอยด้วยเครื่องบด จึงไม่ค่อยพบ แบบชิ้นใหญ่ๆ จะมีให้เห็นบ้างก็เล็กๆเท่านั้น....ธรรมชาติและกาลเวลา ของพระวัดเกศ จะไม่ต่างอะไรกับวัดระฆังฯ เลยนะครับ ยังคงมีให้เห็น เช่น การยุบตัว การแตกลาน หลุม บ่อต่างๆ เนื่องจากการย่อยสลายของมวลสาร หรือส่วนผสมที่ไม่ต่างไปจากวัดระฆังฯ มากนักแต่จะพบ ได้น้อยกว่าวัดระฆัง เท่านั้นเองครับ...เนื้อวัดเกศเป็นเนื้อที่มีความละเอียด เมื่อนำมากดเข้ากับแม่พิมพ์ ที่ทำด้วยหินลับมีดโกน ซึ่งมีความละเอียดสูง พระที่ถอดออกจากแม่พิมพ์จึงมีความสวยงามเรียบร้อย และเมื่อแห้งดีแล้วจะทำการฝนตกแต่ง สังเกตุได้ว่า ที่ด้านข้างนั้นจะมีการตกแต่งฝนให้สวยงาม ไม่มีรอยปริแตกเหมือนกับวัดระฆัง และ ด้านหลัง มักพบรอยนิ้วมืออีกด้วย เมื่อกาลเวลาที่ผ่านไป... เนื้อพระที่ละเอียด เมื่อมีการสัมผัส ก็จะเกิดการขึ้นมันจะยิ่งทำให้เนื้อพระดูนุ่มยิ่งขึ้น

    พระสมเด็จวัดเกศไชโย เป็นพระ 1ใน 3 ตระกูลพระสมเด็จที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี )โดยได้บรรจุไว้ในองค์พระมหาพุทธพิมพ์ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารวัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง

    พระสมเด็จเกศไชโย ซึ่งเป็นพระสมเด็จที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร นั่นคือจะต้องมีลักษณะของ อกร่อง หูบายศรี มีขอบกระจก เกือบทุกพิมพ์ทรง วงการพระเครื่องในปัจจุบันให้ความนิยมเป็นอย่างสูงและจัดรวมพระสมเด็จวัดเกศไชโยให้อ ยู่ในชุด เบญจภาคี เช่นเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม อีกด้วยครับ

    การที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)มาสร้างพระหลวงพ่อโตหรือที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามให้ภายหลังว่า พระมหาพุทธพิมพ์ ขึ้นไว้ที่นี่ ก็เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่ระลึกถึงโยมมารดาซึ่งได้ร่วงลับไปแล้วและเป็นอนุสรณ์สถานความผ ูกพันในช่วงชีวิตของท่าน เนื่องจากมารดาเคยพาท่านมาพักอยู่ที่ตำบลไชโยเมื่อตอนท่านยังเล็กๆ ซึ่งตามประวัตินั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)ท่านมักสร้างสิ่งที่เป็นอนุสรณ์เกี่ยวกับชีวิตของท่านไว้ตามสถานที่ต่างๆ ไว้มากมาย

    พระสมเด็จวักเกศไชโย จึงถือได้ว่าเป็นสมเด็จอีกตระกูลหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี ทั้งในด้านการปลุกเสก และบรรจุกรุ ส่วนผสมในการสร้างนั้นล้วนแล้วแต่เป็นของดีของวิเศษซึ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี นำมาผสมกันเป็นเนื้อพระนั้น ส่วนใหญ่ใช้สูตรเดียวกับสมเด็จวัดระฆังฯ และสมเด็จบางขุนพรหม

    เนื้อพระสมเด็จวัดเกศไชโย อาจแบ่งได้ 3 ลักษณะคือ... เนื้อนุ่ม เนื้อนุ่มปานกลาง และเนื้อแกร่ง
    พระเนื้อนุ่มมีมวลสารและน้ำมันตั้งอิ้วผสมอยู่มาก เรียกว่า เนื้อจัด ส่วนใหญ่มีสีขาวขุ่นอมน้ำตาล (ไม่ใช่คราบเปลื้อนที่ผิว)
    ส่วนพระเนื้อนุ่มปานกลาง มีส่วนผสมที่ได้สัดส่วนลงตัว ส่วนใหญ่สีขาวอมเหลือง
    และพระเนื้อแกร่ง เป็นพระเนื้อแก่ปูน ผิวแห้ง แกร่ง คล้ายเนื้อหินอ่อน มวลสารปรากฏให้เห็นในปริมาณน้อย
    พระสมเด็จวัดเกศไชโยนี้ มีด้วยกันหลายพิมพ์ แต่พิมพ์ที่วงการสากลนิยมมี 3 พิมพ์ด้วยกันคือ...

    สมเด็จเกศไชโยพิมพ์ 7 ชั้น
    สมเด็จเกศไชโยพิมพ์ 6 ชั้นอกตัน
    สมเด็จเกศไชโยพิมพ์ 6 ชั้นอกร่อง
    พระสมเด็จเกศไชโย พิมพ์ที่นิยมที่สุด คือ พิมพ์ 7ชั้นนิยม พิมพ์นั้ศิลปะลายเส้นงดงาม มีรายละเอียดลึดชัดเจน จัดอยู่ในกลุ่มพิมพ์ใหญ่ที่มีราคาเช่าบูชาสูงที่สุดในของสมเด็จเกศไชโย
    ในการพิจารณาความแท้ของพระสมเด็จเกศไชโยนั้น ไม่ว่าพิมพ์ไหนพิมพ์อะไรเราสามารถดูจุดตำหนิในพิมพ์ เป็นส่วนสำคัญได้ เพราะพระสมเด็จเกศไชโยมีเนื้อหาที่แน่นละเอียด จุดตำหนิจึงมักติดพิมพ์ชัดเจนมาพร้อมกับการกดพิมพ์ แม้ว่าจะผ่านการลงกรุแต่ก็ไม่ปรากฏคราบขี้กรุเหมือนพระสมเด็จบางขุนพรหมแต่อย่างไรก็ ตามพระแต่ละองค์อาจปรากฏตำหนิไม่ครบตามที่ควรจะมีอาจเป็นเพราะผ่านการใช้จนสึกหรือกร ่อนตัว ดังนั้นจึงต้องพิจารณาศิลปะเส้นสาย เนื้อหา ความเก่าเป้นองค์ประกอบด้วยครับ

  4. #4
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ jinnawat90
    วันที่สมัคร
    Mar 2013
    กระทู้
    620
    จุดตำหนิที่ต้องสังเกตในพระสมเด็จเกศไชโยพิมพ์ 7 ชั้นนิยม

    จุดที่ 1.ลักษณะกรอบกระจกด้านบนขวาเหมือนกับชายธงหรือรูปสระโอ
    จุดที่ 2.ลักษณะเกศเป็นรูปเปลวเพลิงพลิ้วไหวแบ่งเป็น เกศเปลวเพลิงเล็ก และ เกศเปลวเพลิงใหญ่
    จุดที่ 3.พระพักตร์กลมเล็กมองดูเหมือนหัวไม้ขีดไฟ
    จุดที่ 4.พระกรรณเป็นรูปบายศรี
    จุดที่ 5.วงแขนเหมือนรูปแก้วไวน์
    จุดที่ 6.ลำองค์พระเหมือนรูปฟันคน
    จุดที่ 7.ลักษณะของหัวเข่ามีทั้งเข่ายกและขวาตรง ถ้าเป็นพิมพ์เข่ายกหัวเข่าด้านขวาองค์พระจะยกเชิดขึ้น
    จุดที่ 8.ฐานชั้นแรกเหมือนรูปเรือสำเภา
    จุดที่ 9.เนื้อเกินตรงฐานชั้นล่างด้านขวาองค์พระจะค่อยๆกลืนหายไปในเส้นซุ้ม
    จุดที่ 10.เส้นทิวใต้ฐาน 1-2เส้น
    จุดที่ 11.ฐานชั้นล่างจะไม่เป็นเส้นตรง แต่จะแอ่นโค้งตรงกลางเล็กน้อย
    จุดที่ 12.สลักเดือยไก่ ปลายแหลมพุ่งชนเข้าไปในเส้นซุ้ม
    จุดที่ 13.ถ้าพิมพ์ติดชัดจะเห็นเส้นแซมระหว่างเส้นซุ้มกับกรอบกระจก
    จุดที่ 14.ถ้าพิมพ์ติดชัดจะเห็นติ่งแหลมเล็กๆเหนือหัวไหล่ซ้าย
    จุดที่ 15.กรอบกระจกตกท้องช้างเบาๆ
    มาดูตำหนิในพิมพ์พระสมเด็จเกศไชโยพิมพ์ 6 ชั้นอกตัน ครับ

    มาชมพระสมเด็จเกศไชโย 7 ชั้นนิยมครับ

  5. #5
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ บ่าววิทย์
    วันที่สมัคร
    Jun 2006
    กระทู้
    754
    ขอบคุณครับ jinnawat90 สำหรับข้อมูลดีๆ พระสร้างมา 150 ปี สวยงามมากครับ:*-
    [*] สื่อบันเทิงที่นำมาให้รับชม รับฟังเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น หากท่านชื่นชอบ สื่อใด โปรดซื้อสินค้าลิขสิทธิ์
    [*] เกี่ยวกับลิขสิทธิ์
    [*] ทำเนียบกองทุนเว็บไซต์ บ้านมหา

  6. #6
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ บ่าววิทย์
    วันที่สมัคร
    Jun 2006
    กระทู้
    754
    [*] สื่อบันเทิงที่นำมาให้รับชม รับฟังเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น หากท่านชื่นชอบ สื่อใด โปรดซื้อสินค้าลิขสิทธิ์
    [*] เกี่ยวกับลิขสิทธิ์
    [*] ทำเนียบกองทุนเว็บไซต์ บ้านมหา

  7. #7
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ แก่งสนาม
    วันที่สมัคร
    Oct 2012
    กระทู้
    59
    เกศไชโยย้อนยุกเบาะครับงามเนาะ

  8. #8
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ บ่าววิทย์
    วันที่สมัคร
    Jun 2006
    กระทู้
    754
    แม่นครับ แก่งสนาม ผมยังบ่รู้เลยครับว่าพระผมรุ่นได๋ ยังบ่เคยเห็นรูปจากใสเลยครับ
    [*] สื่อบันเทิงที่นำมาให้รับชม รับฟังเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น หากท่านชื่นชอบ สื่อใด โปรดซื้อสินค้าลิขสิทธิ์
    [*] เกี่ยวกับลิขสิทธิ์
    [*] ทำเนียบกองทุนเว็บไซต์ บ้านมหา

  9. #9
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ บ่าววิทย์
    วันที่สมัคร
    Jun 2006
    กระทู้
    754
    พระสมเด็จวัดเกศไชโย พศ. 2531



    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย บ่าววิทย์; 19-07-2013 at 15:26.
    [*] สื่อบันเทิงที่นำมาให้รับชม รับฟังเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น หากท่านชื่นชอบ สื่อใด โปรดซื้อสินค้าลิขสิทธิ์
    [*] เกี่ยวกับลิขสิทธิ์
    [*] ทำเนียบกองทุนเว็บไซต์ บ้านมหา

  10. #10
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ พิณอิสระ
    วันที่สมัคร
    Sep 2008
    ที่อยู่
    ขอนแก่น อุดรธานี และสุรินทร์
    กระทู้
    503
    พระมีตระกูล จะรุ่นไหนก็ดีหมดครับ ควรค่าแก่การเก็บรักษาเป็นมรดกตกทอดไปถึงลูกหลานครับ

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •