**รู้ทันวัยทอง ( Menopause )**

**รู้ทันวัยทอง

**รู้ทันวัยทอง

**รู้ทันวัยทอง

รู้ทันวัยทอง ( Menopause )

วัยทองเป็นช่วงชีวิตที่เชื่อมต่อระหว่างวัยผู้ใหญ่และวัยผู้สูงอายุ ในช่วงเวลานี้มีการเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมถอยเกิดขึ้นอย่างมากทั้งทางกายภาพและในหน้าที่การทำงานของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นกับอวัยวะในทุกระบบ แต่จะเห็นได้อย่างเด่นชัดในการทำงานของระบบสืบพันธุ์ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในบุรุษจะเป็นไปอย่างช้าๆค่อยเป็นค่อยไป แต่ในสตรีจะมีช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วคือช่วงก่อนที่จะหมดระดูไปจนถึงช่วงหมดระดูใหม่ๆ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ทำให้สตรีวัยทองต้องมีการปรับตัวอย่างมาก สตรีส่วนใหญ่สามารถปรับตัวได้และผ่านเข้าสู่วัยผู้สูงอายุได้โดยไม่มีปัญหาใดๆ แต่ในสตรีบางรายอาจมีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงจนก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพและต้องการการดูแลรักษา นอกจากปัญหาอันเกิดจากการเสื่อมถอยในหน้าที่การทำงานของระบบสืบพันธุ์แล้ว สตรีวัยทองยังอาจจะมีปัญหาสุขภาพในระบบอื่นซึ่งต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ในหลายสาขา วิชา ดังนั้นแพทย์ในทุกสาขาที่มีโอกาสให้การดูแลสตรีวัยทองจึงควรจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาด้านสุขภาพ และ หลักการการดูแลสุขภาพสตรีวัยทอง

ชนิดของภาวะหมดระดู
ภาวะหมดระดูแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ


1. ภาวะหมดระดูตามธรรมชาติ ( natural menopause )
ภาวะหมดระดูตามธรรมชาติเป็นการหมดระดูเนื่องจากกระบวนการทางสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการที่รังไข่หยุดทำงานตามธรรมชาติ ดังจะได้กล่าวแล้ว ในหัวข้อสรีรวิทยา

2. ภาวะหมดระดูที่เกิดจากโรคและผลพวงของการรักษาโรค
ภาวะหมดระดูในกลุ่มนี้มักจะเป็นภาวะหมดระดูก่อนวัยอันควร ( premature menopause ) หรือหมดระดูเร็วกว่าอายุเฉลี่ยในประชากร โรคที่มีรายงานว่าทำให้รังไข่หยุดทำงานก่อนวัยอันควร และส่งผลให้เกิดการหมดระดูก่อนวัยอันควร มักจะเป็นโรคในกลุ่มที่ทำให้เกิดมีภูมิไวเกินต่อเนื้อเยื่อของรังไข่ (ตารางที่ 1) นอกจากนี้ กระบวนการรักษาโรคบางอย่างก็อาจทำให้รังไข่หยุดทำงานเร็วกว่าปกติ เช่น การให้เคมีบำบัดรักษามะเร็งชนิดต่างๆ การให้รังสีรักษาสำหรับมะเร็งในอุ้งเชิงกราน การผ่าตัดรักษาโรคในอุ้งเชิงกรานที่ทำให้เกิดการสูญเสียเนื้อเยื่อรังไข่ หรือมีการรบกวนต่อหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงรังไข่ เป็นต้น ส่วนภาวะหมดระดูอันเกิดจากการผ่าตัดเอารังไข่ออกทั้งสองข้าง เรียกว่า surgical menopause

การส่งเสริมสุขภาพสำหรับสตรีวัยทอง
แนะนำให้ “ ปรับเปลี่ยน วิถีการดำเนิน ชีวิต ” ( life style modification )ได้แก่
1 การเลิกสูบบุหรี่
2 การ รับประทานอาหารที่เหมาะสม
3 การคลายเครียด และ
4 การ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

1 เรื่องอาหาร ควรจะเป็นอาหารที่มีเส้นใยมาก มีแคลเซี่ยม พอเพียง และมีโปรตีนจากเนื้อสัตว์ในปริมาณต่ำ อาหารดังกล่าวได้แก่ ผัก ผลไม้ และธัญพืชต่างๆ สำหรับแคลเซี่ยมนั้นปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 1 , 000-1 , 500 มก ดังนั้นอาจจะต้องเสริมแคลเซี่ยมจากแหล่งอื่น เช่น นม ผลิตภัณฑ์ของนม หรือยาเม็ดแคลเซี่ยม เนื่องจากปริมาณแคลเซี่ยมที่มีอยู่ในอาหารไทยโดยเฉลี่ยมีไม่เพียงพอ
2 การออกกำลังกาย ควรจะเป็น การออกกำลังกายแบบแอโรบิก เนื่องจากมีผลดีต่อสุขภาพโดยรวม ทำให้ระบบทางเดินหายใจและระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดีขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้มีรูปร่างและการทรงตัวที่ดี ไม่หกล้มง่าย ช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด นอกจากนี้การออกกำลังกายชนิดที่มีการลงน้ำหนัก ( weight bearing ) ยังช่วยเสริมสร้างมวลกระดูก การออกกำลังกายแบบแอโรบิก มีหลายชนิด การ จะ เลือกชนิด ใดนั้น ขึ้นอยู่กับความสะดวก ความชอบ และข้อจำกัดด้านสุขภาพ สำหรับสตรีสูงอายุซึ่งมักจะมีโรคข้อเสื่อมร่วมด้วยนั้นไม่แนะนำให้ออกกำลังกายแบบที่มีการกระแทกน้ำหนักอย่างรุนแรง แต่เน้นในเรื่องความยืดหยุ่นและการทรงตัว เช่น การรำมวยจีน ส่วน ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ควรเริ่มการออกกำลังในปริมาณน้อยๆ ก่อน แล้วจึง เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ตามสมรรถภาพของร่างกาย
การออกกำลังกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพจะต้องทำอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย 3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 30 นาที การออกกำลังแต่ละครั้งจะต้องเริ่มจากการอบอุ่นร่างกาย ( warm up ) โดยค่อยๆ เพิ่มความรุนแรงจนอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นถึงประมาณร้อยละ 70 ของอัตราการเต้นสูงสุด (คำนวณจากสูตร อัตราการเต้นสูงสุด= 220 – อายุ) แล้วคงไว้ที่ระดับนั้นจนได้เวลา ที่ต้องการ ก่อนที่จะหยุดจะต้องค่อยๆ ลดความรุนแรงของการออกกำลังลง ( cool down ) ไม่ควรหยุดทันที
3 การตรวจเช็คสุขภาพสำหรับสตรีวัยทอง
การส่งเสริมสุขภาพด้วยวิธีดังกล่าวจะช่วยป้องกัน หรือลดความรุนแรงของปัญหาในวัยทองลงได้ แต่สตรีที่อายุมากขึ้นก็มีความเสี่ยงของโรคที่พบในผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น จึงควรจะมีการตรวจเช็คสุขภาพประจำปีเพื่อตรวจหาโรคในระยะแรกเริ่มและให้การรักษาที่เหมาะสม

แนวปฏิบัติในการตรวจเช็คสุขภาพประจำปีได้แก่
1การชั่งน้ำหนัก การวัดความดันโลหิต และการตรวจเต้านม ควรทำ เป็นประจำ ทุกปี
2การตรวจภายในและเช็คมะเร็งปากมดลูก ในสตรีไทยแนะนำให้ทำทุกปี แต่อาจจะทำห่างออกเป็นทุก 3 – 5 ปีก็ได้ถ้าผลการตรวจประจำปีเป็นปกติ 3 ครั้งติดต่อกัน
3การตรวจระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ถ้าพบว่าปกติอาจจะตรวจทุก 3 – 5 ปีในผู้ที่มีความเสี่ยง ต่ำต่อโรคเหล่านี้
4การตรวจหน้าที่การทำงานของไตและตับ ควรจะทำในรายที่จะได้รับการรักษาด้วยยาเป็นเวลานาน และในผู้ที่มีโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง
5การตรวจที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น mammogram และการวัดความหนาแน่นกระดูกนั้นยังไม่มีเกณฑ์ที่แน่นอนว่าควรจะเริ่มตรวจเมื่อไร และตรวจซ้ำบ่อยเท่าใด จึงจะให้ผลคุ้มค่าที่สุดสำหรับสตรีไทย โดยทั่วไปจะพิจารณาส่งตรวจเฉพาะในรายที่มีความเสี่ยงสูง
6การตรวจ mammogram ประจำปี แนะนำให้ทำในผู้ ที่มีประวัติมะเร็งเต้านมในครอบครัว ส่วนผู้ที่ได้รับฮอร์โมนเพศนั้นยังไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ว่า จำเป็นต้องตรวจเป็นประจำทุกปีหรือไม่ ในประเทศที่ มีการ ตรวจ mammogram เป็นปกติประจำทุกปีอยู่แล้ว ก็ไม่ได้แนะนำให้ตรวจเพิ่มขึ้นในสตรีที่ได้รับฮอร์โมนเพศ แต่สำหรับในประเทศไทยซึ่งไม่ได้ตรวจประจำปีในสตรีทุกราย อาจจะมีความจำเป็นต้องทำการตรวจ เป็นประจำ ในผู้ที่ได้รับฮอร์โมนเพศเนื่องจากฮอร์โมนเพศเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม 19
7การตรวจความหนาแน่นกระดูก แนะนำให้เริ่มตรวจที่อายุ 65 ปี หรือตรวจในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน เช่น น้ำหนักตัวน้อย หรือมีประวัติกระดูกหักมาก่อน สำหรับประเทศไทยอาจจะใช้ OSTA index ใน การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน 26 ก่อนที่จะส่งตรวจ BMD

สูตรคำนวณ

OSTA index = 0.2 x [ น้ำหนัก ( กิโลกรัม ) – อายุ ( ปี) ]
การแปลผล
OSTA index ต่ำกว่า – 4 = ความเสี่ยงสูง
OSTA index ระหว่าง – 4 ถึง – 1 = ความเสี่ยงปานกลาง
OSTA index สูงกว่า – 1 = ความเสี่ยงต่ำ

5 การใช้ยารักษาปัญหาในสตรีวัยทอง
ยาที่ใช้ ในการรักษาปัญหาในสตรีวัยหมดระดู แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม ฮอร์โมนเพศ และ กลุ่ม ยาที่ใช้รักษาเฉพาะอาการ
5.1 ยาในกลุ่มฮอร์โมนเพศ ยังเป็น ยา ที่ได้ผลดีในการรักษาปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะหมดระดู
5.2 ส่วนยาที่ใช้รักษาเฉพาะอาการนั้นเหมาะสำหรับสตรีที่มีข้อบ่งชี้ที่จะต้องให้การรักษา แต่ มีข้อห้าม หรือไม่ต้องการ ใช้ฮอร์โมนเพศ

นอกจาก ยาใน 2 กลุ่มนี้ ยังมีการนำเอาการแพทย์ทางเลือก ( complementary alternative medicine หรือ CAM ) ชนิดต่างๆ มาใช้ในการรักษาหรือบรรเทาอาการที่สัมพันธ์กับภาวะหมดระดู แต่วิธีการเหล่านี้ยังขาดหลักฐานที่จะพิสูจน์ถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย และจาก หลักฐาน เท่าที่มี ในปัจจุบันพบว่าประสิทธิภาพของวิธีการเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่ต่างจากการใช้ยาหรือวิธีการหลอก ( placebo )

สรุป

วัยทองเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาตามปกติจากวัยผู้ใหญ่สู่วัยสูงอายุ การดูแลสตรีวัยทองตั้งอยู่บนพื้นฐานของเวชศาสตร์ป้องกัน โดยเน้นที่การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ในสตรีที่มีปัญหาด้านสุขภาพอาจจะต้องให้การรักษาด้วยยา หรือฮอร์โมน การเลือกที่จะใช้ยาชนิดใดนั้นให้พิจารณาและปรับแต่งตามความเหมาะสมต่อสตรีวัยหมดระดูแต่ละราย โดยพิจารณาจาก อายุ อาการ ข้อบ่งชี้ ข้อห้าม และโรคประจำตัว


**รู้ทันวัยทอง

**รู้ทันวัยทอง

**รู้ทันวัยทอง







ที่มา บางส่วนของบทความเรื่องสตรีวัยทอง ( Menopause ) โดยมณี รัตนไชยานนท์, พ.บ.ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, มหาวิทยาลัยมหิดล/หมอสาระพี/บ้านมหา.คอม