กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: โคขุนโพนยางคำเป็นอย่างไร ทำไมต้อง “โพนยางคำ”

  1. #1
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ jinnawat90
    วันที่สมัคร
    Mar 2013
    กระทู้
    620

    โคขุนโพนยางคำเป็นอย่างไร ทำไมต้อง “โพนยางคำ”

    โคขุนโพนยางคำเป็นอย่างไร ทำไมต้อง “โพนยางคำ”

    ที่มาของเนื้อโคขุนยางคำ

    จุดเริ่มต้นเนื้อโคขุนโพนยางคำ
    ปัจจุบันกระแสความนิยมบริโภคเนื้อโคขุนโพนยางคำทวีสูงขึ้นต่อเนื่องอย่างชัดเจน เห็นได้จากปริมาณร้านอาหารที่ติดป้ายโฆษณา ให้ผู้บริโภคได้รับรู้ว่า ที่ร้านนี้มีเนื้อโคขุนคุณภาพเยี่ยมจากสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด (เรียกย่อๆว่า สหกรณ์ฯ โพนยางคำ จำกัด) ไว้คอยให้บริการบรรดาลูกค้าทั้งหลาย กระจายเพิ่มขึ้นทั่วเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตลอดจนตามต่างจังหวัดหลายแห่ง ทั้งนี้เป็นเพราะเนื้อโคขุนภายในประเทศจาก สหกรณ์ฯ โพนยางคำ จำกัด ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ ณ บ้านโพนยางคำ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลโนนหอม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร นั้น ได้รับความเชื่อถือว่า เป็นเนื้อที่มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย ทัดเทียมกับเนื้อโคคุณภาพสูง ที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยที่คำว่าคุณภาพของเนื้อโพนยางคำ นั้น หมายรวมถึง
    คุณภาพด้านการผลิต
    เริ่มตั้งแต่พันธุ์โคที่ใช้การคัดเลือกโคขุน การเลี้ยงดูอาหารที่ใช้ การป้องกันโรค ตลอดจนถึงการฆ่า และการชำแหละที่ได้มาตรฐานสากล
    คุณภาพของการบริหารจัดการ
    ซึ่งมีทั้งระบบการขึ้นทะเบียนลูกโค และโคขุน การบริการผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อโคพ่อพันธุ์ชั้นเยี่ยมจากต่างประเทศ การป้องกันรักษาโรค โดยสัตวแพทย์ ระบบบันทึกข้อมูลอย่างละเอียด ถูกต้องและมีคุณภาพ

    โคขุนโพนยางคำเป็นอย่างไร ทำไมต้อง “โพนยางคำ”

    คุณภาพของเนื้อโค
    ที่ผ่านการแปรสภาพละตัดแต่งอย่างถูกสุขลักษณะเนื้อ ผ่านการบ่มตามหลักสากล มีการสุ่มตรวจหาจุลินทรีย์และสารตกค้างในเนื้ออย่างต่อเนื่อง
    ทั้งหมดจึงเป็นที่มาของกระแสความนิยมที่พุ่งสูงขึ้น จนปัจจุบันสหกรณ์ฯ โพนยางคำ ไม่สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตโคขุนให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดภายในประเทศได้ นับเป็นตัวอย่างของความสำเร็จอันยอดเยี่ยมของกลุ่มบุคคล ที่ทุ่มเทความพยายาม เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ภายในประเทศมานานกว่า ๓๐ ปี อย่างแท้จริง แม้ว่าเนื้อโคขุนโพนยางคำจะมีชื่อเสียงโด่งดังตามกระแสนิยมไปทั่วประเทศ แต่น้อยคนนักที่จะทราบว่า จุดกำเนิดหรือจุดเริ่มต้นอันแท้จริงของเนื้อโคขุนโพนยางคำนั้น มีที่มาจากผลงานการริเริ่มและทุ่มเทของกำลังพลใน หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย แห่งนี้นี่เอง
    โดยในปี พ.ศ.๒๕๐๘ ปัญหาภัยคุกคามจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ทวีความรุนแรงขึ้น มีการเริ่มโจมตีด้วยอาวุธ และการบ่อนทำลายหลากหลายรูปแบบ เกิดความไม่สงบขึ้นทั่วทุกภาคของประเทศ การปราบปราม ทำให้ต้องสูญเสียชีวิตทั้งฝ่ายเจ้าหน้าที่ และประชาชน ไปเป็นจำนวนมาก ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ยกเอาเงื่อนไขของความยากจน และความไม่เป็นธรรมที่ประชาชนผู้ห่างไกล และด้อยโอกาสได้รับมาเป็นข้ออ้าง โน้มน้าวให้ชาวบ้านเห็นชอบ ที่จะสนับสนุนสงครามปฏิวัติ เพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองครองบ้านเมือง ไปสู่ลัทธิคอมมิวนิสต์ รัฐบาลและผู้นำกองทัพในขณะนั้น จึงมีแนวความคิดที่จะส่งเสริมให้ราษฎรในพื้นที่ทุรกันดารมีอาชีพเลี้ยงสัตว์อย่างถูกวิธี ควบคู่ไปกับการทำไร่ทำนา เพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ ขณะเดียวกันก็สร้างแหล่งน้ำและเส้นทางคมนาคม เพื่อนำความเจริญเข้าไปสู่พื้นที่ที่ห่างไกล
    ปี พ.ศ.๒๕๑๙ หน่วยทหารชื่อว่า กรป.กลาง หรือ กองอำนวยการกลางรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ซึ่งปัจจุบันคือ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย ได้ดำเนินการส่งเสริมการเลี้ยงโคขึ้น ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มผู้เลี้ยงโคขุน เริ่มต้นที่บ้านโพนยางคำ ตำบลโนนหอม จังหวัดสกลนคร ดดยนำเข้าโคพ่อพันธุ์จากต่างประเทศ เช่น พันธุ์ชาร์โรเล่ส์ พันธุ์ลิมูซีน พันธุ์ซิเมนทอล เป็นต้น นำมาเลี้ยงที่ *****กองสนับสนุนและขยายพันธุ์สัตว์ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา *****
    จากนั้นมาทำการรีดน้ำเชื้อสด เพื่อผลิตเป็นน้ำเชื้อโคแช่แข็ง ทำการผสมเทียมให้กับแม่โคพื้นเมืองของของสมาชิก ทำให้ได้สายพันธุ์โคลูกผสมที่เลี้ยงง่ายโตเร็ว ให้เนื้อมาก โดยเฉพาะเนื้อเป็นเนื้อที่มีคุณภาพ และมีไขมันแทรก จนถึงปี พ.ศ.๒๕๒๒ ปรากฎว่าได้มีการผสมเทียมโค ให้แก่เกษตรกรผู้เป็นสมาชิกถึง ๙๖๖ ราย เกิดเป็นลูกโคเฉพาะที่เป็นเพศผู้ พร้อมที่จะจำหน่ายประมาณ ๑,๕๐๐ ตัว และเกิดปัญหาในการหาตลาดรองรับ จึงหาวิธีแก้ไข โดยทดลองขุนโคลูกผสมเพศผู้ ตามหลักวิชาการด้านสุขศาสตร์ ทั้งการฆ่า การตรวจเนื้อ ระบบห้องเย็น และนำซากไปจำหน่ายในตลาดกรุงเทพฯ ซึ่งปรากฎว่าเนื้อโคขุนที่ได้ มีคุณภาพทัดเทียมเนื้อวัวต่างประเทศ สมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงโค จึงขอให้ กรป.กลาง ดำเนินการช่วยเหลือจัดตั้งเป็นสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ เพื่อจะได้มีเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาอาหารโค ควบคู่ไปกับการส่งเสริมทางวิชาการ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาในเรื่องการหาตลาดสำหรับขาย มีการจัดประชุมร่วมกันระหว่าง เจ้าหน้าที่โครงการสหกรณ์ กรป.กลาง เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ฯ เจ้าหน้าที่หน่วยส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ กรป.กลาง และราษฎร มีมติให้จัดตั้งสหกรณ์ ดังนั้น กรป.กลาง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ฯ จึงได้ดำเนินการจัดตั้งสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด ขึ้นที่บ้านโพนยางคำ ตำบลโนนหอม จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๒๓ โดยหน่วยงาน กรป.กลาง ให้การสนับสนุนในด้าน บุคลากร เงินทุนยืมทดลอง สถานที่และอื่นๆ นับเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี แล้วที่สหกรณ์ฯ แห่งนี้ได้ทำหน้าที่ให้การดูแล และควบคุมมาตรฐานการผลิตเนื้อโคขุนคุณภาพของสมาชิก ตั้งแต่การเลี้ยง การพัฒนาสายพันธุ์ การผลิตอาหาร การฆ่า การชำแหละและตัดแต่งชิ้นเนื้อ ให้เป็นไปตามหลักสากล จนได้เนื้อโคขุนที่มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย จากเชื้อโรคและสารเร่งโต สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค จากสมาชิกในปีแรกเพียง ๕๐ คน จวบจนปัจจุบันมีสมาชิกกว่า ๕,๐๐๐ ราย ผลิตเนื้อโคขุนออกจำหน่ายภายในประเทศ ปีละกว่า ๖,๐๐๐ ตัว มีรายได้จากการจำหน่ายเนื้อโคขุนและอาหารสัตว์ ไม่ต่ำกว่าปีละ ๔๐๐ ล้านบาท นับเป็นต้นแบบของการรวมกลุ่มผู้ผลิต ที่มีการบริหารจัดการสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ระดับชุมชนอย่างแท้จริง

    ประโยชน์ของโคขุนยางคำ
    บ้านโพนยางคำ จ.สกลนคร นับเป็นแหล่งเลี้ยงโค และผลิตเนื้อโคขุนขึ้นชื่อที่สุดในประเทศไทย หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันว่า “โคขุนโพนยางคำ” นอกจากเนื้อชั้นเลิศแล้ว ผลพลอยได้จากการเลี้ยงโคขุน ยังเกิดอาชีพแปลกที่สร้างรายได้อย่างงาม โดยต่อยอดนำไขมันโคขุนมาต้มเป็นน้ำมันดิบเพื่อขายต่อให้แก่อุตสาหกรรมทำเครื่องสำอาง
    เพ็ญทูล บุตรโคษา

    โคขุนโพนยางคำเป็นอย่างไร ทำไมต้อง “โพนยางคำ”

    เพ็ญทูล บุตรโคษา ผู้ยึดอาชีพทำน้ำมันดิบจากไขมันโคขุน เล่าว่า ไขมันโคขุนในท้องถิ่นมีจำนวนมาก เนื่องจากชาวบ้านมีอาชีพหลักเลี้ยงโคเนื้อโพนยางคำ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในแต่ละวันจะมีโคเข้าโรงเชือดจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ต้องการเฉพาะส่วนเนื้อเท่านั้น ที่เหลือ ไม่ว่าเป็นไขมัน หนัง และกระดูก ทางสหกรณ์ที่เป็นโรงเชือดจะขายออกไปหมด

    ส่วนตัวที่มาทำอาชีพ เกิดจากเดิมวิ่งรถรับส่งนักเรียน มีรถประจำ 2 คัน ได้แก่ รถกระบะ กับรถตู้ ซึ่งช่วงปี พ.ศ. 2550 ราคาน้ำมันดีเซลขึ้นสูงอย่างมาก ทำให้เริ่มสนใจศึกษาการผลิตน้ำมัน ไบโอดีเซล

    “ตอนนั้นเราไม่มีความรู้เลย อาศัยหาความรู้จากอินเตอร์เน็ต ปรึกษาจากคนที่เชี่ยวชาญบ้าง และลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง โดยซื้อไขมันวัวมาต้ม แล้วผสมกับวัตถุดิบอื่นๆ ตามสัดส่วนที่ได้ศึกษามา เพื่อทำเป็นไบโอดีเซล หลังจากนั้น ทดลองนำไปผสมกับน้ำมันดีเซลในสัดส่วน 1 ต่อ 5 แล้วใช้กับรถของตนเอง ปรากฏว่าใช้ได้ดี ลดค่าน้ำมันได้เยอะมาก” เพ็ญทูล กล่าว
    นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่า น้ำมันที่ได้จากไขมันสัตว์ยังมีประโยชน์มากมายหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เครื่องบำรุงผิว เป็นต้น จึงมีแนวคิดผลิตน้ำมันดิบต้มจากไขมันโคขุน แล้วขายส่งให้แก่อุตสาหกรรมเหล่านี้ หลังจากนั้นได้ติดต่อกับผู้ส่งออกน้ำมันไขมันสัตว์ใน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม รายหนึ่ง ซึ่งได้รับความสนใจ สั่งซื้อไปขายยังต่างประเทศ ทั้งอินเดีย ปากีสถาน และลิเบีย ซึ่งจะนำไปผลิตเป็นเครื่องสำอาง

    เพ็ญทูล เล่าว่า เนื่องจากโคขุนโพนยางคำ เป็นโคที่ถูกเลี้ยงดูมาอย่างดี ไขมันที่ได้จึงมีความเข้มข้นและคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก

    ประวัติโคขุนยางคำ

    โคขุนโพนยางคำ เป็นเนื้อโคคุณภาพสูงจากหมู่บ้านโพนยางคำ ตำบลโนนหอม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โคเป็นโคเนื้อลูกผสมไทย-ฝรั่งเศส โดยมีการตกลงจัดตั้งเป็นสหกรณ์โพนยางคำขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างมากทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ แม้จะมีราคาสูงกว่าเนื้อโคปกติก็ตาม


    โคขุนโพนยางคำมีที่มาจากโคเนื้อลูกผสมไทย-ฝรั่งเศส เกิดจากการผสมเทียมโดยใช้น้ำเชื้อจากพ่อ-แม่พันธุ์โคเนื้อ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ชาโรเลย์ส (Charolais) ถิ่นกำเนิดประเทศฝรั่งเศส เป็นสายพันธุ์หลัก, พันธุ์ซิมเมนทอล (Simmental) ถิ่นกำเนิดประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และพันธุ์ลิมูซีน (Limusin) ถิ่นกำเนิดประเทศฝรั่งเศส[1]กระบวนการ

    หลังจากลูกโคสายเลือดผสมมีอายุประมาณ 2 ปีแล้ว ก็จะเข้าสู่วิธีการ "ขุนโค" โดยจัดการถ่ายพยาธิ ฉีดวัคซีน และตอนก่อนที่จะนำเข้าคอก ทางสหกรณ์ใช้เทคนิคการให้โคฟังเพลงเพื่อให้วัวกินอาหารได้มาก โดยเชื่อว่าเนื้อวัวที่ได้จะนุ่ม[2] เลี้ยงด้วยอาหารธรรมชาติเป็นหลัก แบ่งเป็นอาหารหยาบที่ใช้หญ้าหรือฟาง เสริมด้วยอาหารสูตรพิเศษที่ใช้ธัญพืชในการผลิต ซึ่งเชื่อกันว่าเนื้อโคจะมีกลิ่นหอมและรสหวานยิ่งขึ้น[2] และที่คอกวัวนั้นมีการดูแลความสะอาดเป็นอย่างดี ทำความสะอาดพื้น เก็บมูล อาบน้ำวัว แปรงขัดขน ให้วัวกินอาหารได้มากขึ้น ซึ่งวิธีการดังกล่าวช่วยย่นระยะเวลาการขุนโคจากเดิมประมาณ 1 ปี ลงเหลือ 8-9 เดือน[2]
    เมื่อขุนโคเสร็จแล้วก็นำมาชำแหละในโรงฆ่ามาตรฐาน แล้วนำไปเก็บบ่มนาน 7 วัน ก่อนจะมีการให้คะแนนไขมันแทรก แล้วตัดแบ่งชิ้นส่วนและกำหนดเรียกชื่อตามแบบฝรั่งเศส 17 ส่วน ใช้มาตรฐานของฝรั่งเศส

    ราคา

    ในปี พ.ศ. 2554 ราคาเนื้อโคขุนโพนยางคำเกือบสามสิบรายการมีตั้งแต่หนึ่งร้อยถึงหนึ่งพันบาทต่อกิโลกรัม เนื้อที่มีราคาต่ำสุด คือ เนื้อย่าง (5 กิโลกรัม) กิโลกรัมละ 115 บาท ที่มีราคาสูงที่สุด คือ เนื้อสันใน กิโลกรัมละ 1,050 บาท[3] ซึ่งโรงแรมดุสิต โฮเต็ล ในเขตเทศบาลเมืองสกลนคร จำหน่ายสเต๊กในราคาเริ่มต้น 280 บาท และเมนูชาบูเริ่มต้นที่ 350 บาท[4]

    ความนิยม

    ปัจจุบันโคขุนโพนยางคำได้รับความนิยมทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ตลาดเนื้อโคชำแหละในบรรจุภัณฑ์ส่วนใหญ่อยู่ที่กรุงเทพมหานคร มีตัวแทนจำหน่ายต่างประเทศที่จังหวัดปทุมธานี[4] มีสหกรณ์จำหน่ายในจังหวัดสกลนคร ปัจจุบันสามารถผลิตโคได้ 55 ตัวต่อวัน ชำแหละสัปดาห์ละ 2 วัน[4] จากความสำเร็จของโคขุนโพนยางคำ ทำให้มีการแอบอ้างโดยร้านค้าหลายแห่ง ซึ่งถือเป็นการหลอกลวงผู้บริโภค โคขุนโพนยางคำจริงจะมีป้ายรับรองมาตรฐานของสหกรณ์ติดอยู่หน้าร้าน[4]
    อาชีพโคเนื้อในปัจจุบันได้รับความนิยมมากขึ้น และรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุน ชาวบ้านผู้เลี้ยงโคขุนคนหนึ่งบอกว่า ตนได้กำไรจากการเลี้ยงโคขุนโพนยางคำปีละกว่า 300,000-350,000 บาท[4]

    ประวัติ

    กองอำนวยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (กรป.กลาง) ซึ่งตั้งขึ้นที่บ้านโพนยางคำ ต้องการจะพัฒนาพันธุ์โคเนื้อของไทยให้เป็นอาหารขายได้ จึงได้ของบประมาณจากรัฐบาลจัดหาน้ำเชื้อโคพันธุ์เนื้อจากต่างประเทศมาผสมเทียมโดยไม่คิดมูลค่าให้แก่สมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงโคในภาคอีสาน แต่ยังประสบปัญหาไม่มีตลาดรองรับเนื้อโคพันธุ์ลูกผสม กรป.กลางจึงได้ขอความร่วมมือจากประเทศฝรั่งเศส และมีการตั้งลงจัดตั้งสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง บ้านโพนยางคำขึ้นในปี พ.ศ. 2523[4] ซึ่งทางรัฐบาลฝรั่งเศส โดยสถานเอกอัครราชทูตได้ให้การสนับสนุนด้านการฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ไทย ตลอดจนสนับสนุนด้านเงินทุนเป็นค่าใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลออสเตรเลียและบริษัท เนสเล่ (ประเทศไทย) จำกัด อีกด้วย[5]
    ในปีแรกสหกรณ์มีสมาชิก 50 คน ปัจจุบันมีสมาชิกกระจายอยู่ใน 18 อำเภอของจังหวัดสกลนคร แล้วยังมีสมาชิกในจังหวัดหนองคายและจังหวัดนครพนมด้วย[4] จนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 สหกรณ์มีสมาชิก 4,702 ราย[5]โคขุน โพนยางคำ
    โคขุนโพนยางคำ เป็นโคลูกผสมที่เลี้ยงในจังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหาร หนองคาย และจังหวัดใกล้เคียง โดยสมาชิกของสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลางโพนยางคำ จำกัด

    วิธีการขุน จะขังโว้ในคอกตลอด เพื่อไม่ให้โคได้ออกกำลัง อาหารที่ให้จะเป็นอาหารข้นและกากน้ำตาลเป็นหลัก เพื่อให้โคสร้างเนื้อและไขมันแทรกในเนื้อ โดยไม่ใช้ฮอร์โมนและสารเร่งโต ทำให้เนื้อมีความนุ่มและรสชาติอร่อยเป็นที่มาของชื่อ "โคขุนโพนยางคำ" หรือรู้จักกันในชื่อ เนื้อไทย-ฝรั่งเศส "Thai-French Beef" (T.F.)

    พ่อพันธุ์ จะใช้น้ำเชื้อสายพันธุ์ยุดรปสายเลือดแท้ เพื่อใช้ผสมเทียม คือ พันธุ์ชาโรเล่ส์ (Charolais) และพันธุ์ชิมเมนทอล (Simmental)

    แม่พันธุ์ เป็นโคลูกผสมพันธุ์พื้นเมืองที่ทนทานต่อสภาพภูมิอากาศ และพันธุ์บราห์มันที่มีโครงสร้างใหญ่

    โคลูกผสม ที่ได้เหมาะสำห์มันรับเลี้ยงในสภาพภูมิอากาศของไทยมีลักษณะ เป็น โคพื้นเมือง 25% โคบราห์มัน 25% โคสายพันธุ์ยุโรป 50%

    โคที่จะขุนต้องมีอายุ 2 ปีขึ้นไป มีการถ่ายพยาธิก่อนขุนและก่อนนำมาชำแหละ 3 เดือน ใช้เวลาขุนอย่างน้อย 8 เดือนขึ้นไปจึงนำมาชำแหละ แล้วบ่มซาก (Egering) ในห้องเย็นที่อุณหภูมิ 3 องศาอย่างน้อย 7 วัน

    โคขุนโพนยางคำเป็นอย่างไร ทำไมต้อง “โพนยางคำ”

    โคขุนโพนยางคำเป็นอย่างไร ทำไมต้อง “โพนยางคำ”

    ***** ข้อมูลจาก วารสารทหารพัฒนา ฉบับที่ ๔ ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๕๓ *****

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63
    แซบกะดีเพราะในช่วงขณะนี้คนไทยนิยมของนอกเกือบครบอันเนื่องมาจากการเรียนรู้ในการเลี้ยงการกิน
    หรือการนำไปต่อยอดเป็นอาชีพใหม่ที่ยั้งยืน.แม้แต่ต่างจังหวัดตอนนี้ต้องสั่งเนื้องโคขุนมาสำรองในร้านในแต่ละวันไม่ใช่น้อยๆเลย.ก็เพราะคนนิยมไปนั่งทานเนื้อโคขุนในหลายๆเมนู

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •