กำลังแสดงผล 1 ถึง 9 จากทั้งหมด 9

หัวข้อ: กาลักน้ำ กับภูมิปัญญาชาวบ้าน เหมาะสำหรับการกักเก็บน้ำของเกษตรกร

Threaded View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    ศิลปิน นักเขียน สัญลักษณ์ของ maanoy
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    กระทู้
    2,271

    กาลักน้ำ กับภูมิปัญญาชาวบ้าน เหมาะสำหรับการกักเก็บน้ำของเกษตรกร

    ขั้นตอนการเตรียมถังบรรจุน้ำสุญญากาศ
    กาลักน้ำ กับภูมิปัญญาชาวบ้าน เหมาะสำหรับการกักเก็บน้ำของเกษตรกร
    1. นำถังเหล็กขนาด 200 ลิตรมาล้างทำความสะอาด ควรเลือกใช้ถังที่ไม่ได้ใช้บรรจุน้ำมันหรือสารไวไฟมาก่อน เพราะจะเกิดปัญหาระเบิดขึ้น มาขณะที่ทำการเชื่อมข้อต่อได้ ดังนั้นควรเลือกดีดีและทำความสะอาดภายในถังให้ดี ถังพลาสติกจะมีความแข็งแรงไม่เพียงพอ
    2. เจาะถังสำหรับต่อวาล์วเติบน้ำเพื่อเชื่อมข้องอ
    3. เชื่อมข้องอเหล็กเข้ากับขอบด้านก้นถัง(วาล์วเติมน้ำ) โดยข้องอจะต้องต่อท่อเหล็กยาวอย่างน้อยประมาณ 15 cm ให้ลึกลงไปภายในถัง
    4. วางถังบนฐานและต่อท่อดูดและวาล์วเติมน้ำ โดยที่ปลายของท่อดูดจะต่อฟุตวาล์วที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้น้ำไหลย้อนกลับลงไปในบ่อ ปลายท่อดูดควรจะจมอยู่ในน้ำลึกประมาณ 15 cm โดยผูกติดกับแกลลอนไว้ที่ปลายท่อดูด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อดูดน้ำควรมีขนาด 6 หุนยาวประมาณ 3 เมตรจะเหมาะกับถังขนาด 200 ลิตร และควรปรับแต่งสปริงของฟุตวาล์วลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง ฟุตวาล์วแบบเหล็กจะมีสปริงอ่อนกว่าฟุตวาล์วแบบพลาสติก
    5. ต่อวาล์วลม ที่รูระบายอากาศด้านบนของถังขนาดท่อ 6 หุน
    5. ต่อท่อส่งน้ำขนาด 2 นิ้วด้านบนของถัง
    6. เดินระบบท่อส่งน้ำไปยังแปลงเพาะปลูก โดยท่อส่งน้ำในช่วงแรกจะมีขนาดประมาณ 2 นิ้ว อย่างน้อย 15 เมตร และทุก 50 เมตรจะต้องต่อท่อพักลมไว้ด้วย
    7. เมื่อระยะไกลมากขึ้นควรลดขนาดท่อส่งให้เหลือ 1 นิ้ว เพื่อรีดน้ำให้ไหลแรงขึ้น หรือเล็กลงเรื่อยๆ เพื่อให้น้ำเต็มท่อ
    8. ต่อวาล์วเปิดปิดที่ปลายสายใช้งาน

    ขั้นตอนการใช้งานมีดังนี้

    1. เปิดวาล์วลม และวาล์วเติมน้ำ ปิดวาล์วปลายสาย โดยเติมน้ำให้เต็มถัง ให้สังเกตุด้วยว่าถ้าถังไม่รั่วเมื่อเติมน้ำเต็มถังแล้ว น้ำจะไม่ลดลงจะนิ่งอยู่อย่างนั้น แต่ถ้าถังรั่วหรือส่วนใดส่วนหนึ่งรั่ว น้ำจะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ จะต้องแก้ปัญหารอยรั่วนั้นให้เรียบร้อยก่อน
    2. ปิดวาล์วลม และวาล์วเติบน้ำ แล้วเปิดวาล์วปลายสายค่อยๆ ให้น้ำไหลออกไม่ควรเปิดแรงมาก น้ำจะไหลออกมาระยะหนึ่งแล้วจะหยุดไหล หลังจากนั้นปิดวาล์วที่ปลายสาย แล้วเติมอากาศเข้าสู่ระบบโดยการการเอามือปิดที่ปลายวาล์วเติมน้ำแล้วเปิดวาล์วเติมน้ำเล็ก
    พญาแร้งให้น้ำ


    วันนี้จินูนขอนำเรื่องราวของระบบกาลักน้ำที่ทุกคนคุ้นเคยกับชื่อนี้ดี บางคนอาจจะเคยใช้สำหรับดูดน้ำจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ เพราะไม่สิ้นเปลืองพลังงาน แต่ถ้าจะบอกว่าระบบกาลักน้ำที่จะพูดถึงนี้เป็นการดูดน้ำจากที่ต่ำขึ้นสู่ที่สูงทุกท่านร่วมถึงจินูนเองก็ต้องคิดว่าจะเป็นไปได้อย่างไร คงต้องใช้บริการปั๊มน้ำที่ต้องอาศัยพลังงานจากแหล่งต่างๆ แน่นอน วันนี้จินูนขอพามารู้จักพญาแร้งให้น้ำที่เจ้าของไอเดียบอกว่าสุดแสนจะประหยัดเพราะไม่ต้องใช้พลังงานใดๆ เลย อาศัยเพียงแค่ระบบสุญญากาศช่วยในการดูดน้ำจากบ่อขึ้นมาสู่ด้านบน แนวคิดนี้เกิดจากที่คุณผ่านเมฆ ป้อมศิลา รองผอ. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเนินพอกิน พยายามคิดหาวิธีการนำน้ำจากบ่อเพื่อมาใช้รดต้นไม้ที่ปลูก โดยอาศัยหลักการณ์ของกาลักน้ำซึ่งหัวใจสำคัญคือการทำให้ถังบรรจุน้ำที่อยู่บนขอบสระเป็นสุญญากาศ และใช้ระบบท่อให้มีขนาดที่เหมาะสมเพื่อให้การไหลของน้ำนั้นไม่เสียสมดุล อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำพญาแร้งให้น้ำ มีดังนี้

    1. ถังบรรจุน้ำ 200 ลิตร
    2. ท่อ PVC ดูดน้ำ 6 หุน
    3. ท่อ PVC ส่งน้ำ 2 นิ้ว และ 1 นิ้ว
    4. ท่อพักอากาศระหว่างทาง
    5. ฟุตวาล์วหัวกระโหลก หรือเช็ควาล์ว
    6. วาล์วเปิดปิดที่ วาล์วเติมน้ำ วาล์วลม และวาล์วปลายสาย
    7. ข้องอ ท่อเหล็ก และ ฐานวาง


    น้อยให้อากาศเข้าแล้วปิด ทำแบบนี้ประมาณ สองสามครั้ง โดยให้อากาศเข้าไปอยู่ภายในถังประมาณ 25% ลองเปิดวาล์วปลายสายเบาๆ ดูอีกครั้งว่าน้ำไหลรึเปล่า ถ้าระบบเข้าสู่สภาวะที่สมดุลน้ำจะไหลออกมาได้เองอย่างต่อเนื่อง น้ำจึงไหลจากที่ต่ำขึ้นสู่ที่สูงได้จากหลักการณ์สุญญากาศของระบบรวมถึงแรงกดของอากาศที่เกิดขึ้นจากภายในถังนั้นเองครับพี่น้อง

    หมายเหตุ ถ้าน้ำไหลแล้วหยุดแสดงว่าน้ำกำลังไหลเข้าสู่ถังเพื่อปรับให้สุญญากาศเข้าสู่สมดุลเช่นเดิม วิธีแก้อาจจะเพิ่มถังให้เก็บปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น พื้นที่การเกษตรท่านแนะนำว่าควรใช้สี่ถัง และควรเป็นระบบน้ำหยดจะเหมาะที่สุด

    คำอธิบายจากการผู้คิดค้นจนสามารถใช้งานได้จริงขอแนะนำท่านให้คลิกเพื่อดูจากวีดีโอจะช่วยให้ท่านเข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้นครับ
    Attached Images Attached Images  

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •