ผมได้อ่านหนังสือ “บุคลิกภาพเชิงบวก” เขียนโดย ฟลอเรนซ์ ลิทธอเรอร์ แปลโดยนราธิป นัยนา กล่าวถึงการพัฒนาบุคลิกภาพคนประเภทต่างๆ และมีบุคลิกภาพประเภท
หนึ่งที่น่าสนใจ คือ บุคลิกภาพประเภท “คนไม่ยอมใคร”

ผมขอนำเสนออย่างย่นย่อเท่าที่จะพอนำเสนอได้ ดังนี้ครับ

บุคลิกภาพของคนไม่ยอมใคร
รวดเร็ว ควบคุม บัญชาการ มั่นใจในตนเอง มุ่งมั่นสูง ครอบงำ รับผิดชอบ ตัดสินใจ ออกคำสั่ง ทุ่มสุดตัว สุดขั้ว มีทิศทาง พลัง อำนาจ สมบูรณ์แบบ

ข้อดีของคนไม่ยอมใคร
ทำอะไรรวดเร็ว มีลักษณะเป็นผู้นำ กล้าตัดสินใจ และ มุ่งมั่น

ข้อจำกัดของคนไม่ยอมใคร
ชอบออกคำสั่ง ชอบควบคุมคนอื่น เจ้ากี้เจ้าการ ตนเองถูกฝ่ายเดียว

คนไม่ยอมใครในประสบการณ์จริง
ตรงนี้ผมเขียนเองครับ จากประสบการณ์จริงที่ผ่านมา ผมพบคนไม่ยอมใครมามาก บุคลิกภาพของคนไม่ยอมใคร ก็มีทั้งผลดีและผลเสียครับ
ผลดีของคนไม่ยอมใคร คือ ชอบทำงานและชอบพัฒนา ทำให้ในองค์กรมีการเปลี่ยนแปลง และ มีการพัฒนางาน
แต่ก็มีผลเสียที่ตามมา คือ คนไม่ยอมใครมักจะชอบคิดเอง ตัดสินใจเอง คิดว่าตัวเองเก่งและมีอำนาจโดยไม่ต้องฟังใคร และไม่ต้องดูทางลม ผลเสียที่ตามมา คือ อย่างเบาที่สุด ก็ถูกนินทาใส่ร้าย ปล่อยข่าวลือ หนักขึ้นไป ก็ถูกสร้างกลุ่มขึ้นต่อต้าน ไปจนถึงการร้องเรียน และ เดินขบวนขับไล่
ดังนั้น คนไม่ยอมใครถ้าได้ปรับลดข้อจำกัดลงมาบ้าง ก็น่าที่จะลดผลเสียลงได้มาก ซึ่งหนังสือเล่มนี้เขาได้แนะนำไว้ดังนี้ครับ
ทางออกของคนไม่ยอมใคร
1 ผ่อนคลายลงบ้าง
2 อย่ากดดันคนรอบข้าง
3 ยอมรับการเป็นผู้นำของคนอื่น
4 อย่าดูถูกความรู้ความสามารถของคนอื่น
5 ใช้วิธีการที่เป็นมิตร แทนการออกคำสั่ง
6 คุยกัน แทนการโต้เถียง
7 เป็นฝ่ายผิดได้ ขอโทษได้
ส่วนใหญ่ ผู้บริหารมักจะเป็นคนไม่ยอมใครครับ ซึ่งก็เป็นเรื่องดีในการบริหารและพัฒนางาน แต่ถ้าจะให้ดีและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ก็น่าจะปรับลดลงมาสักนิด ให้ผู้ร่วมงานทุกคนได้มีส่วนร่วมในการทำงานบ้าง
ถอยหลังเข้ามา แล้วค่อยเดินหน้าไปพร้อมกัน
จะดีกว่าไหมครับ สำหรับคนไม่ยอมใคร
ขอบคุณครับ

แหล่งที่มาข้อมูล http://www.gotoknow.org