พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๕

พระพุทธศาสดา พระประธานในศาลาการเปรียญ
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ


ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

พระพุทธศาสดา
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ


“วัดโพธิ์” หรือ “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร”
เดิมชื่อว่า “วัดโพธาราม” เป็นวัดโบราณเก่าแก่
ซึ่งราษฎรสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
แม้ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างวัดโพธารามที่แน่ชัด
แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นหลังจากปีพุทธศักราช ๒๒๓๑
ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชาต่อกับรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เป็นวัดราษฎร์ขนาดเล็กอยู่ในเขตตำบลบางกอก ปากน้ำเจ้าพระยา เมืองธนบุรี
ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า “วัดโพธิ์” มาจนถึงกระทั่งทุกวันนี้

พระอุโบสถหลังเก่าของวัดโพธารามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
แต่ภายหลังการสถาปนาพระอุโบสถหลังใหม่ของวัดโพธิ์แล้ว
จึงได้ลดฐานะ พระอุโบสถหลังเก่า เป็น “ศาลาการเปรียญ”
โดยภายในมี “พระพุทธศาสดา” ประดิษฐานเป็นพระประธาน


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๕

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๕

“พระพุทธศาสดา” พระประธานในศาลาการเปรียญ
พระพุทธรูปองค์นี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด ใครเป็นผู้สร้าง
ปรากฏแต่ว่าเดิมเป็นพระประธานอยู่ในพระอุโบสถ
เห็นจะตั้งแต่ครั้งแรกสร้างวัดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาประมาณก็อยู่ในราว
รัชกาลสมเด็จพระเพทราชาต่อกับรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ปีพุทธศักราช ๒๒๓๑-๒๒๔๖ หรือภายหลังนั้นมา

ครั้นถึงกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
องค์ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงสถาปนาวัดพระเชตุพนฯ
แต่ครั้งยังเรียกว่า “วัดโพธาราม” อันเป็นอารามเก่า
ให้เป็นพระอารามใหญ่โตสำหรับพระนคร เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๒
ครั้งนั้นได้ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอุโบสถขึ้นหลังใหม่
ส่วนพระอุโบสถหลังเก่านั้นให้สร้างแก้เป็นศาลาการเปรียญ
ซึ่งยังปรากฏอยู่ทุกวันนี้ ข้อนี้มีปรากฏอยู่ใน
พระนิพนธ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
เรื่องตำนานพระพุทธรูปสำคัญ เพราะฉะนั้น “พระพุทธศาสดา”
จึงคงประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในศาลาการเปรียญตั้งแต่นั้นมา

ครั้นต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๕ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ
ครั้งนั้นได้ให้ปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญให้ใหญ่โตกว่าเก่า
คือให้ตั้งเสารอยรอบนอกทำเป็นเฉลียงรอบต่อออกไปอีกชั้นหนึ่ง
ส่วนพื้นของเก่านั้นเป็นพื้นกระดานชำรุดหมด ให้รื้อเสียแล้วถมเป็นพื้นปูศิลา
ยกอาสนสงฆ์ทั้ง ๒ ข้างๆ ละ ๔ ห้อง ส่วน “พระพุทธศาสดา” นั้น
ก็คงประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในศาลาการเปรียญต่อมาจนกาลทุกวันนี้

ต่อมารัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ถวายพระนามว่า
“พระพุทธศาสดา มหากรุณาทิคุณ สุนธรธรรมทาน บุราณสุคตบพิตร”
และโปรดเกล้าฯ ให้จารึกพระนามลงในแผ่นศิลาประดับฐานไว้ดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๕

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๕

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๕

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๕

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๕

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๕



พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๕

พระพุทธปาลิไลย พระประธานในพระวิหารทิศเหนือมุขหน้า
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๕

ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

พระพุทธปาลิไลย
พระประธานในพระวิหารทิศเหนือมุขหน้า ปางป่าลิไลยก์
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ


“วัดโพธิ์” หรือ “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร”
เดิมชื่อว่า “วัดโพธาราม” เป็นวัดโบราณเก่าแก่
ซึ่งราษฎรสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
แม้ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างวัดโพธารามที่แน่ชัด
แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นหลังจากปีพุทธศักราช ๒๒๓๑
ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชาต่อกับรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เป็นวัดราษฎร์ขนาดเล็กอยู่ในเขตตำบลบางกอก ปากน้ำเจ้าพระยา เมืองธนบุรี
ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า “วัดโพธิ์” มาจนถึงกระทั่งทุกวันนี้

ภายใน พระวิหารทิศเหนือมุขหน้า มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางป่าลิไลยก์
ประดิษฐานอยู่ มีนามว่า “พระพุทธปาลิไลย” หรือนามทางการว่า
“พระพุทธปาลิไลย ภิรัติไตรวิเวก เอกจาริกสมาจาร วิมุตติญาณบพิตร”
เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ วัสดุหล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์
สูง ๒๐๙ นิ้ว หรือ ๘ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว ประทับนั่งห้อยพระบาทบนก้อนศิลา
มีช้างหมอบงวงถวายคนโทน้ำ และวานรถวายรวงผึ้ง

ปรากฏหลักฐานใน ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนฯ ว่า
เมื่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
ทรงสถาปนาวัดพระเชตุพนฯ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๒
ครั้งนั้นได้ทรงสร้างขึ้นใหม่เป็นพระพุทธรูปหล่อปิดทองสูง ๘ ศอกคืบ ๕ นิ้ว
มีพระอาการประทับห้อยพระบาท ทรงบรรจุพระบรมธาตุแล้วเชิญประดิษฐาน
เป็นพระประธานในพระวิหารทิศเหนือมุขหน้า ถวายพระนามว่า “พระปาลิไลย”
และโปรดฯ ให้หล่อรูปช้างถวายคนโทน้ำและรูปวานรถวายรวงผึ้ง
ผนังนั้นเขียนไตรภูมิ มีเขาพระสุเมรุราชและเขาสัตตะพันต์ทวีปใหญ่ทั้งสี่
และเขาพระนิพพานต์ อโนดาตสระ และปัญจมหานที
ดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้

พระพุทธรูปปางต่างๆ ทั้งหมดภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
นับว่า “พระพุทธปาลิไลย” พระประธานในพระวิหารทิศเหนือมุขหน้า
เป็นพระพุทธรูปที่หล่อขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เพียงองค์เดียวเท่านั้น

ต่อมาถึงรัชสมัย รัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๕ ครั้งนั้นได้โปรดฯ
ให้ลงรักปิดทองใหม่ในคราวเดียวกันกับพระพุทธรูปอื่นๆ ทั่วทั้งพระอาราม
ดังมีข้อความปรากฏใน พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (พระองค์เจ้าวาสุกรี สุวณฺณรํสี)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ดังต่อไปนี้

พระนิพนธ์

ปวงปฏิมามากถ้วน ทงงอา วาศเอย
อุโบสถวิหารทิศสถยร ทกเหล้า
รบยงสามสริบนนดา เดอมใหม่ ก็ดี
มีอาทิพระเจ้าเบื้อง โบสถ์ประธาน
ทรงศรัทธาไป่เอื้อ ออมราช ทรัพย์แฮ
เว้นมัจเฉรมลาย โลภมล้าง
รงงเรขรักมาดผจง เผจอศทั่ว องค์เอย
รมยลใหม่แม้นสร้างซ้ำ สืบแสดง

ล่วงมาถึงรัชสมัย รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดฯ ให้สร้างพระมหาเจดีย์ประจำพระองค์ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปทรงก่อพระฤกษ์ในวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๙๖
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถวายพระนามพระพุทธรูปปางต่างๆ
ที่ประดิษฐานภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถวายสร้อยพระนามของ “พระปาลิไลย”
พระประธานในพระวิหารทิศเหนือมุขหน้า ว่า
“พระพุทธปาลิไลย ภิรัติไตรวิเวก เอกจาริกสมาจาร วิมุตติญาณบพิตร” ดังนี้
และโปรดฯ ให้จารึกพระนามลงในแผ่นศิลาประดับฝาผนังไว้ดังปรากฏอยู่บัดนี้


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๕

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๕

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๕

• ประวัติของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

วัดประจำรัชกาลที่ ๑ ถึง ๓...วัดเก่า ทำใหม่

สำหรับ วัดประจำรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
บางคนอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
แต่จริงๆ แล้ววัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดประจำพระบรมมหาราชวังเท่านั้น
ส่วนวัดประจำรัชกาลที่ ๑ จริงๆ แล้วก็คือ
“วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร” หรือ “วัดโพธิ์”
วัดโบราณเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ที่ตั้งอยู่ใกล้กับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และพระบรมมหาราชวัง
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้เข้ามาบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่

“วัดโพธิ์” หรือมีนามทางราชการว่า
“วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร”
เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เดิมชื่อว่า “วัดโพธาราม”
เป็นวัดโบราณเก่าแก่ที่ราษฎรสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
แม้ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด
แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นหลังจากปีพุทธศักราช ๒๒๓๑
ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชาต่อกับรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เป็นวัดราษฎร์ขนาดเล็กอยู่ในเขตตำบลบางกอก ปากน้ำเจ้าพระยา เมืองธนบุรี
ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า “วัดโพธิ์” มาจนถึงกระทั่งทุกวันนี้


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๕

ครั้นมาในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
หรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสถาปนาเมืองธนบุรีเป็นนครหลวง
ได้ทรงกำหนดเขตเมืองหลวงทั้งสองฝั่ง มีแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ในเขตกลางเมืองหลวง
วัดโพธารามตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาจึงอยู่ในเขตพระมหานคร
และได้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง มีพระราชาคณะปกครองตั้งแต่นั้นมา

จนกระทั่งในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
องค์ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ขึ้นเสวยราชสมบัติ
และได้ย้ายเมืองหลวงมายังฝั่งพระนคร มีการสร้างพระบรมมหาราชวังขึ้นใหม่
จึงทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดโพธารามที่อยู่ในบริเวณเดียวกันไปด้วย
และโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดโพธารามเป็นวัดหลวงข้างพระบรมมหาราชวัง
ภายหลังวัดแห่งนี้ก็ได้ถือว่าเป็นพระอารามหลวงประจำรัชกาลที่ ๑

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๕

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๕

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระอารามหลวงแห่งนี้
มีเนื้อที่ทั้งหมด ๕๐ ไร่ ๓๘ ตารางวา ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง
ทิศเหนือจดถนนท้ายวัง ทิศตะวันออกจดถนนสนามไชย ทิศใต้จดถนนเศรษฐการ
ทิศตะวันตกจดถนนมหาราช มีถนนเชตุพนขนาบด้วยกำแพงสูงสีขาว
แบ่งเขตพุทธาวาสและเขตสังฆาวาสแยกจากกันไว้อย่างชัดเจน

มีหลักฐานปรากฏใน “จารึกวัดโพธิ์” ไว้ว่า
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
ทรงสถาปนาพระบรมมหาราชวังแล้ว ทรงพระราชดำริว่า
มีวัดเก่าแก่ขนาบพระบรมมหาราชวัง ๒ วัด ด้านเหนือ คือ วัดสลัก
(วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์) ส่วนด้านใต้ คือ วัดโพธาราม
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุนนางเจ้าทรงกรม ช่างสิบหมู่ฝีมือเยี่ยม
มาร่วมอำนวยการบูรณปฏิสังขรณ์เพื่อสถาปนาให้เป็นวัดหลวง
โดยเริ่มการบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๑ ใช้เวลาถึง ๗ ปี ๕ เดือน ๒๘ วัน
จึงแล้วเสร็จและโปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมฉลองเมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๔๔
แล้วพระราชทานนาม “วัดโพธาราม” ใหม่ว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ”
ครั้นต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนท้ายนามวัดเป็น “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม”
ดังปรากฏในศิลาจารึกซึ่งติดไว้ที่ผนังด้านในพระวิหารทิศพระพุทธโลกนาถมุขหลัง
เรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพน ครั้งรัชกาลที่ ๑ ความว่า

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๕

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๕

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๕

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๕





เครดิต : http://www.dhammajak.net
http://www.baanmaha.com