พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๗

พระศรีศากยมุนี พระประธานในพระวิหารหลวง
วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๗

ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

พระศรีศากยมุนี
วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ

“พระศรีศากยมุนี” เป็นพระประธานในพระวิหารหลวง
วัดสุทัศนเทพวราราม แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ
อันเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๘ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
นับเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริดที่ใหญ่กว่าพระพุทธรูปหล่อองค์อื่นๆ
ชึ่งปรากฏในประเทศไทย ในยุคก่อน ๒๕ พุทธศตวรรษ
เดิมเป็นพระประธานอยู่ในพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย
มีพระพุทธลักษณะงดงาม สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย
ขนาดหน้าตักกว้าง ๖.๒๕ เมตร (หรือ ๓ วา ๑ คืบ)

มี ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง กล่าวอ้างถึงว่า พระมหาธรรมราชาลิไท
กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง (พ.ศ. ๑๘๙๐-๑๙๑๙ ปีครองราชย์) แห่งกรุงสุโขทัย
โปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้น และทำการฉลองในปีพุทธศักราช ๑๙๑๔


ข้อความในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงเป็นหลักฐานของข้อสันนิษฐาน
ที่ว่าพระศรีศากยมุนีสร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย ตอนหนึ่งมีว่า
“...กลางเมืองสุโขทัยนี้มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารศ มีพระพุทธรูป
มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม มีพิหารอันใหญ่ มีพิหารอันราม...”
ซึ่งหมายถึงพระศรีศากยมุนีในวัดมหาธาตุซึ่งเป็นที่ประดิษฐานเดิมนั่นเอง

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
ทรงเห็นว่าถ้าทิ้งไว้ที่เดิมก็จะต้องตากแดด ตากฝน ทำให้ชำรุด
จึงให้อัญเชิญมายังกรุงเทพฯ โดยทรงมีพระราชดำริจะสร้างพระอาราม
ที่มีพระวิหารใหญ่อย่างวัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โดยประดิษฐานไว้กลางพระนคร เมื่อชลอพระศรีศากยมุนีมาถึงกรุงเทพฯ
แล้วให้ประทับท่าสมโภช ๗ วัน แล้วจึงทรงชักเลื่อนองค์พระทางสถลมารค
และพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินตามขบวนแห่พระ
ในรัชสมัยของพระองค์ทำได้เพียงอัญเชิญองค์พระขึ้นตั้งไว้
สำหรับตัว “พระวิหารหลวง” นั้นได้ลงมือก่อสร้างขึ้น
ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๗

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๗

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๗
พระพุทธลักษณะพระศรีศากยมุนีเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบ
พระหัตถ์ขวาอยู่ในท่าปางมารวิชัย และพระหัตถ์ช้ายหงายวางบนพระเพลา
ครองจีวรห่มเฉียงชายสังฆาฏิยาวลงมาถึงระดับพระนาภี
มีปลายเป็นสองแฉกเขี้ยวตะขาบ ลักษณะพระองค์ค่อนข้างสั้น
บั้นพระองค์เล็ก พระอังสาใหญ่ หัวพระถันโปน
ลักษณะพระพักตร์และพระเศียรที่ปรากฏ
คือพระรัศมีเป็นเปลวสูงตั้งอยู่บนพระอุษณีษะ
รูปมะนาวตัด เส้นพระศกขมวดเล็กแบบก้นหอย
พระพักตร์รูปไข่เกือบกลม พระขนงโก่งแยกออกจากกัน
ระหว่างพระขนงมีพระอุณาโลมคั่นอยู่
พระนาสิกงุ้มพระโอฐอมยิ้มเล็กน้อย พระหนุกลม

พระศรีศากยมุนีประดิษฐานบนฐานชุกชีแบบฐานลายแข้งสิงห์
ตลอดทั้งฐานชุกชีประดับลายปูนปั้น เป็นลายดอก ลายเถา ลายเทศ
ปิดทองคำเปลวประดับกระจกสีทั้งหลัง

ตรงใต้ฐานพระศรีศากยมุนีที่ผ้าทิพย์ได้บรรจุ พระบรมราชสรีรางคาร
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘
ส่วนด้านหลังบัลลังก์พระศรีศากยมุนีมีแผ่นศิลาสลัก เป็นศิลปะแบบทวารวดี
เป็นรูปสลักปิดทอง ปางยมกปาฏิหาริย์ และปางประทานเทศนาในสวรรค์
เป็นของเก่าและหาดูได้ยาก กล่าวได้ว่าเป็นงานศิลปะที่มีเพียงชิ้นเดียวในโลก

พระราชวิจิตรปฏิภาณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม กล่าวว่า
“พระศรีศากยมุนีเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริดที่ใหญ่ที่สุดในสมัยสุโขทัย
มีความงามอย่างน่าอัศจรรย์ ต่อเมื่อผู้ใดมีความทุกข์ใจ
หากได้กราบไหว้ และมองพระพักตร์แล้ว
ความทุกข์ของคนนั้นจะปลาสนาการสิ้นไป เกิดเป็นความสุขอย่างน่าอัศจรรย์
ข้อนี้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจะสามารถสัมผัสได้ด้วยตนเอง”

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๗
ด้านหลังฐานชุกชีพระศรีศากยมุนี จะมี ภาพศิลาสลัก ติดประดับอยู่
(หรือด้านหลังบัลลังก์พระศรีศากยมุนี พระประธานในพระวิหารหลวง)
เป็นภาพสลักนูนต่ำปิดทอง ขนาดสูง ๒.๔๐ เมตร กว้าง ๐.๙๕ เมตร
อยู่ในกรอบลายใบเทศ ปิดทองประดับกระจกทั้ง ๔ ด้าน
ภาพศิลาสลักแผ่นนี้นับเป็นศิลปกรรมชิ้นเอกของวัดชิ้นหนึ่ง
มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ ศิลปะสมัยทวารวดี
สันนิษฐานว่าอาจย้ายมาจากจังหวัดนครปฐม
การสลักแบ่งภาพพระพุทธประวัติเป็น ๒ ตอน คือปางยมกปาฏิหาริย์
และปางเทศนาโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ภาพตอนล่างเป็น ภาพพระพุทธประวัติ ปางยมกปาฏิหาริย์
ซึ่งเป็นภาพที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ตรงกลาง
มีพระอินทร์และพระพรหม ยืนถือแส้อยู่ทั้งสองข้าง
ใต้เบื้องพระยุคลบาทพระพุทธเจ้า มีดอกบัวขนาดใหญ่รองรับ
ดอกบัวนี้ประคองอยู่โดยพระยานาคซึ่งมีร่างกายเป็นมนุษย์
แต่มีเศียร เป็นนาค ๗ เคียรแผ่พังพานอยู่เบื้องหลัง
พระยานาคนี้สมมติว่าอยู่ใต้บาดาลอันเป็นสถานที่
รองรับก้านบัวชึ่งเป็นแกนของมนุษยโลก
ใต้บัลลังก์ด้านหนึ่งของพระองค์มีบรรดาเจ้านาย
ซึ่งเสด็จมาแสดงความชื่นชมในปาฏิหาริย์ของพระพุทธองค์

และอีกด้านหนึ่งก็คือนักบวชที่พ่ายแพ้
นักบวชเหล่านี้ก็คือพวกดาบสเปลือยกายและดาบสเกล้าผมสูง
ชึ่งไม่อาจจะต่อสู้กับอิทธิปาฎิหาริย์ของพระพุทธองค์ได้

เหนือนั้นขื้นไปมีเหล่าเทวดากำลังประนมหัตถ์
แสดงคารวะต่อพระพุทธองค์อยู่ด้วยความเคารพ
เบื้องหลังบัลลังค์ คือ ต้นมะม่วงที่เกิดจากปาฏิหาริย์
มีกิ่งก้านรองรับพระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปเหล่านี้แสดงปางด้วยพระหัตถ์ขวาหรือพระหัตถ์ซ้าย
เพื่อให้ได้สัดส่วนกันเป็นคู่ๆ

ภาพตอนบนขึ้นไปเป็น ภาพพระพุทธประวัติ
ปางเทศนาโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ซึ่งเป็นภาพที่พระพุทธเจ้ากำลังประทับบนบัลลังก์ในสวรรค์
มีพระอินทร์และพระพรหม ยืนถือแส้อยู่ทั้งสองข้าง
เบื้องหลังทางด้านขวาของพระพุทธองค์ พระพุทธมารดากำลังประทับอยู่
แวดล้อมด้วยเทวดาองค์อื่นๆ จากสวรรค์ชั้นต่างๆ มาชุมนุมกัน
เพื่อฟังพุทธองค์ทรงแสดงธรรมแด่พระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๗
พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๗
พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๗


พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ พระประธานในพระอุโบสถ
วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๗

ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

พระพุทธตรีโลกเชษฐ์
วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ


“พระพุทธตรีโลกเชษฐ์” เป็นพระประธานในพระอุโบสถ
วัดสุทัศนเทพวราราม แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ
อันเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๘ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
โดยหล่อขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๐ ศอก ๘ นิ้ว เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย
ประดิษฐานบนฐานชุกชีสูง ปั้นลายปิดทองคำเปลวประดับกระจกสี

เบื้องหน้า “พระพุทธตรีโลกเชษฐ์” พระประธานในพระอุโบสถ
ประดิษฐาน พระพุทธรูปปูนปั้นลงสีพระอสีติมหาสาวก ๘๐ องค์
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นแทนพระศรีศาสดา
ที่อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร
สร้างด้วยปูนปั้นลงสี นั่งพนมมือกำลังฟังพระบรมโอวาท
จากพระพุทธองค์ชึ่งประทับเป็นประธานอยู่ตรงกลาง
ส่วนขนาดของรูปหล่อพระอสีติมหาสาวกทั้ง ๘๐ องค์นั้น
เป็นขนาดซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคิดคำนวณขึ้น

สำหรับ พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร นั้น
เป็นพระอุโบสถที่มีขนาดใหญ่ยาวสวยงามที่สุดในประเทศไทย

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น
เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. ๒๓๗๗ สำเร็จเรียบร้อยในปี พ.ศ. ๒๓๘๖
เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแบบสถาปัตยกรรมไทย
ขนาดกว้าง ๒๒.๖๐ เมตร ยาว ๗๒.๒๕ เมตร
เป็นอาคารสูงใหญ่มาก มีเสาสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่รองรับหลังคาทั้งหมด ๖๘ ต้น
หลังคา ๔ ชั้น และขั้นลด ๓ ชั้น มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์
มุงกระเบื้องเคลือบสีเขียวเป็นพื้น คั่นกรอบด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง


หน้าบันมุขหน้าและหลังเป็นไม้แกะสลักลายประดับกระจกสี
ด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันออก
สลักเป็นรูปพระอาทิตย์ประทับนั่งในบุษบกบนราชรถเทียมราชสีห์
มีคติความเชื่อว่า พระอาทิตย์เป็นผู้ให้แสงสว่างแก่โลกในเวลากลางวัน
พระวรกายเป็นสีแดงสวมเทริดทรงน้ำเต้ากลม
พระหัตถ์ช้ายถือดอกบัวบาน หมายถึงการห้ามอุปัทวอันตรายทั้งปวง
ส่วนพระหัตถ์ขวาถือดอกบัวตูม หมายถึงการอำนวยพร

ด้านหลังหรือด้านทิคตะวันตก
สลักเป็นรูปพระจันทร์ประทับนั่งในบุษบกบนราชรถเทียมม้า
มีคติความเชื่อว่า พระจันทร์เป็นเทพเจ้าผู้ให้แสงสว่างแก่โลกในเวลาตอนกลางคืน
พระวรกายสีขาว สวมเทริดทรงน้ำเต้ากลม พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์
การสลักหน้าบันเป็นรูปพระอาทิตย์และพระจันทร์ หมายถึงว่า
พระอาทิตย์และพระจันทร์เวียนรอบเขาพระสุเมรุคือพระวิหารหลวง


ผนังพระอุโบสถได้เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างชั้นครู
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นภาพพระพุทธประวัติของพระสมณโคดม
พระพุทธเจ้าพระองค์ที่ ๒๘ และภาพพระปัจเจกพระพุทธเจ้า
ซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นซุ้มยอดที่พระพิชัยมหามงกุฎ
ที่มีลักษณะค่อนข้างแปลกและงดงามมาก

โดยรอบพระอุโบสถมี ‘ซุ้มเสมายอดเจดีย์’ ทั้งหมด ๘ ซุ้ม
คือเป็นซุ้มเสมาที่ทำเรือนซุ้มเป็นรูปสี่เหลี่ยม ยอดซุ้มทำเป็นรูปทรงอย่างเจดีย์
มีใบเสมา ๒ ใบ เรียกว่าเสมาคู่ เป็นหินสลักรูปช้าง ๓ เศียรชูงวง
แต่ละงวงถือ ดอกบัวตูม ๓ ดอก และดอกบัวบาน ๒ ดอก
เกสรดอกบัวบานเป็นรูปสัตว์ เป็นรูปนกนั้น หมายถึงพระอาทิตย์
และเป็นรูปกระต่ายนั้น หมายถึงพระจันทร์
สันนิษฐานว่า หมายถึงรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ ที่เสด็จสวรรคตไปแล้ว
ส่วนดอกบัวตูม ๓ ดอก หมายถึงสร้างโดยรัชกาลที่ ๓ สมัยยังทรงพระชนม์


บนกำแพงแก้วมีเกยทางทิศเหนือ ๔ เกย ทิศใต้ ๔ เกย
ทำด้วยหินอ่อนสีเทา สำหรับใช้ในงานพระราชพิธี
ประทับโปรยทานแก่พสกนิกร เรียกว่า “เกยโปรยทาน”

สำหรับ ซุ้มประตูทางเข้าพระอุโบสถ
บานประตูด้านนอกเป็นภาพจิตรกรรมรูป “ครุฑยุดนาค”
ซึ่งเป็นพระราชสัญลักษณ์ประจำพระองค์ในรัชกาลที่ ๒
มาจากพระนามเดิมว่า ฉิม และคำว่าวิมานฉิมพลีเป็นที่พำนักของครุฑ
พญาแห่งนก จึงทรงใช้ครุฑเป็นตราประจำพระองค์แทนพระบรมนามาภิไธย

บ้างก็กล่าวว่า ในเวลานั้นรัชกาลที่ ๒ ทรงนิยมเรื่องรามเกียรติ์
และทรงเทียบพระองค์เป็นพระราม (หรือพระนารายณ์อวตาร)
แม้แต่พระราชโอรสยังพระราชทานนามว่า เจ้าฟ้ามงกุฎ
(ต่อมาคือ รัชกาลที่ ๔) ตามชื่อพระมงกุฎในเรื่องนี้
จึงทรงใช้ครุฑซึ่งเป็นพาหนะของพระนารายณ์ เป็นตราประจำพระองค์

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๗

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๗
พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๗
พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๗



พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๗

วัดประจำรัชกาลที่ ๘
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร



• ประวัติของวัดสุทัศนเทพวราราม
• ศาสนสถานและศาสนวัตถุอันงดงามล้ำค่า
- พระอุโบสถ
- พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ : พระประธานในพระอุโบสถ
- พระวิหารหลวง
- พระศรีศากยมุนี : พระประธานในพระวิหารหลวง
- ภาพศิลาสลักศิลปะแบบทวารวดี
- ถะ (สถูปเจดีย์หิน)
- เก๋งจีนหน้าพระวิหารหลวง
- เขาพระสุเมรุและป่าหิมพานต์
- ศาลาการเปรียญ
- พระพุทธเสฏฐมุนี : พระประธานในศาลาการเปรียญ
- พระวิหารคด (พระระเบียงคด)
- พระตำหนักสมเด็จ
- สัตตมหาสถาน
- ตุ๊กตาจีน
- พระบรมราชานุสาวรีย์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘
- รอยพระพุทธบาทจำลอง
- ซุ้มเสมายอดเจดีย์


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๗

• ประวัติของวัดสุทัศนเทพวราราม

วัดประจำรัชกาลที่ ๖-๘...ไม่สร้าง แต่บำรุง

ตามพระราชประเพณีที่ถือปฏิบัติสืบกันมาว่า
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใดเสด็จสวรรคต
ก็จะอัญเชิญพระบรมราชสรีรังคารไปประดิษฐานไว้ที่วัดใดวัดหนึ่ง
อันทรงสร้างหรือทรงเกี่ยวข้อง และถือเป็นวัดประจำรัชกาล

อย่างใดก็ตามในทางนิตินัย วัดประจำรัชกาลได้สิ้นสุดลง
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
โดยได้มีพระราชดำริว่า พระอารามหลวงในกรุงเทพฯ มีเป็นจำนวนมากแล้ว
และการสร้างวัดนั้นก็เพื่อประโยชน์ในทางศึกษาของเยาวชนด้วย
เพราะการศึกษาของไทยแต่โบราณกาลมาก็เริ่มที่วัด
ดังนั้น จึงทรงสถาปนา โรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือในปัจจุบันคือ
โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ขึ้นเพื่อแทนการสร้างวัดประจำรัชกาล
และให้ถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์

การกำหนดว่าวัดใดเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๖ รัชกาลที่ ๗ และรัชกาลที่ ๘
เพื่ออาราธนาเจ้าอาวาสวัดนั้น มาในงาน
พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน
เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ จึงเป็นการกำหนดโดยทางพฤตินัยเท่านั้น

ครั้นมาถึงในสมัยรัชกาลที่ ๘ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
ก็ไม่ได้มีการสร้างวัด เพียงแต่บำรุงเท่านั้น เนื่องจากมีช่วงรัชสมัยที่สั้นมาก


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๗

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๗
วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร หรือ วัดสุทัศนเทพวราราม
เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ฝ่ายมหานิกาย
ตั้งอยู่ ณ แขวงราชบพิธ เขตพระนคร มีชื่อเรียกกันเป็นสามัญหลายชื่อ
ตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อาทิเช่น ‘วัดพระใหญ่’ ‘วัดพระโต’
ซึ่งเป็นการเรียกตามลักษณะพระพุทธรูปสำคัญของวัดคือพระศรีศากยมุนี
หรือ ‘วัดเสาชิงช้า’ ซึ่งเรียกตามสถานที่ตั้งที่อยู่ใกล้กับเสาชิงช้า
ด้านหน้าเทวสถานของพราหมณ์บริเวณใจกลางพระนคร

วัดสุทัศนเทพวรารามเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
รัชกาลที่ ๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๕๐
เพื่อให้เป็นวัดที่สำคัญที่ตั้งอยู่ใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร
ซึ่งการสร้างวัดเป็นไปตามตำรับมหาพิชัยสงคราม
ดังมีปรากฏข้อความอยู่ในบันทึกของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนรินทรเทวี

ที่กล่าวว่า มีพระบรมราชโองการรับสั่งให้สร้างวัดขึ้นกลางพระนคร
ให้สูงเท่าวัดพนัญเชิง โดยให้พระพิเรนทรเทพขึ้นไปรับพระใหญ่
ณ เมืองโศกโขไทย ชลอเลื่อนลงมากรุง ประทับท่าสมโภช ๗ วัน ฯลฯ
โดยเริ่มจากการกำหนดพระฤกษ์ขุดรากพระวิหารหลวง
ในวันจันทร์ที่ ๑ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๓๕๐

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๗
เมื่อการก่อสร้างพระวิหารหลวงและสร้างฐานชุกชีเสร็จแล้ว
โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระศรีศากยมุนี จากวิหารหลวงวัดมหาธาตุเมืองสุโขทัย
มาประดิษฐานบนฐานชุกชีพระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม
และพระราชทานนามว่า “วัดมหาสุทธาวาส”

กล่าวกันว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
ทรงตั้งพระทัยให้สร้างพระวิหารขึ้นก่อนเพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต)
ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย
แต่สิ้นรัชกาลก่อนที่จะประดิษฐานเป็นสังฆาราม
จึงเรียกกันว่า วัดพระโต, วัดพระใหญ่ หรือ วัดเสาชิงช้า บ้าง

จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อ
และทรงจำหลักบานประตูพระวิหารด้วยพระองค์เอง
แต่ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนที่การก่อสร้างจะแล้วเสร็จ

การก่อสร้างวัดมาเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในปี พ.ศ. ๒๓๙๐ และพระราชทานนามว่า “วัดสุทัศนเทพวราราม”
ปรากฏในจดหมายเหตุว่า “วัดสุทัศนเทพธาราม”


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๗
และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ทรงผูกนามพระประธานในพระวิหารหลวง พระอุโบสถ และศาลาการเปรียญ
ให้คล้องกันว่า “พระศรีศากยมุนี” , “พระพุทธตรีโลกเชษฐ์”
และ “พระพุทธเสฏฐมุนี” ตามลำดับ

และทรงพระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดสุทัศนเทพวราราม”
อันหมายถึง สุทัสสนนครหรือสุทัศน์เทวนคร บนเขาพระสุเมรุ
ศูนย์กลางของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ที่ประทับของพระอินทร์


อนึ่ง บริเวณที่ตั้งของวัดสุทัศนเทพวรารามนั้น
อยู่เกือบกึ่งกลางของกรุงเทพมหานคร อันเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ
ซึ่งเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาลและศูนย์รวมของสรรพสิ่งที่น่าสนใจ
รูปแบบการก่อสร้างของศาสนาสถานและศาสนวัตถุภายในวัด
มีทั้งคติธรรมปริศนาธรรมสัญลักษณ์ที่ต้องขบคิดตีปัญหาให้เข้าใจ
การวางผัง การก่อสร้างก็ทำอย่างเป็นระบบเป็นระเบียบสวยงาม
ที่เป็นจุดเด่นและศรีสง่าแก่บ้านเมืองเป็นยิ่งนัก


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๗

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๗

• ศาสนสถานและศาสนวัตถุอันงดงามล้ำค่า

กล่าวกันว่าในทางสถาปัตยกรรมนั้น วัดสุทัศนเทพวรารามได้รับคำยกย่องว่า
เป็นวัดที่มีการออกแบบ วางแผนผังกลุ่มอาคารและตัวอาคาร
ได้สัดส่วนงดงามที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ และมีศิลปวัตถุมีค่าอยู่มากมาย อาทิ

พระอุโบสถ

เป็นพระอุโบสถที่มีขนาดใหญ่ยาวสวยงามที่สุดในประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น
เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. ๒๓๗๗ สำเร็จเรียบร้อยในปี พ.ศ. ๒๓๘๖
เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแบบสถาปัตยกรรมไทย
ขนาดกว้าง ๒๒.๖๐ เมตร ยาว ๗๒.๒๕ เมตร
เป็นอาคารสูงใหญ่มาก มีเสาสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่รองรับหลังคาทั้งหมด ๖๘ ต้น
หลังคา ๔ ชั้น และขั้นลด ๓ ชั้น มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์
มุงกระเบื้องเคลือบสีเขียวเป็นพื้น คั่นกรอบด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๗

หน้าบันมุขหน้าและหลังเป็นไม้แกะสลักลายประดับกระจกสี
ด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันออก
สลักเป็นรูปพระอาทิตย์ประทับนั่งในบุษบกบนราชรถเทียมราชสีห์
มีคติความเชื่อว่า พระอาทิตย์เป็นผู้ให้แสงสว่างแก่โลกในเวลากลางวัน
พระวรกายเป็นสีแดงสวมเทริดทรงน้ำเต้ากลม
พระหัตถ์ช้ายถือดอกบัวบาน หมายถึงการห้ามอุปัทวอันตรายทั้งปวง
ส่วนพระหัตถ์ขวาถือดอกบัวตูม หมายถึงการอำนวยพร



ด้านหลังหรือด้านทิคตะวันตก
สลักเป็นรูปพระจันทร์ประทับนั่งในบุษบกบนราชรถเทียมม้า
มีคติความเชื่อว่า พระจันทร์เป็นเทพเจ้าผู้ให้แสงสว่างแก่โลกในเวลาตอนกลางคืน
พระวรกายสีขาว สวมเทริดทรงน้ำเต้ากลม พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์
การสลักหน้าบันเป็นรูปพระอาทิตย์และพระจันทร์ หมายถึงว่า
พระอาทิตย์และพระจันทร์เวียนรอบเขาพระสุเมรุคือพระวิหารหลวง

ผนังพระอุโบสถได้เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างชั้นครู
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นภาพพระพุทธประวัติของพระสมณโคดม
พระพุทธเจ้าพระองค์ที่ ๒๘ และภาพพระปัจเจกพระพุทธเจ้า
ซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นซุ้มยอดที่พระพิชัยมหามงกุฎ
ที่มีลักษณะค่อนข้างแปลกและงดงามมาก



โดยรอบพระอุโบสถมี ‘ซุ้มเสมายอดเจดีย์’ ทั้งหมด ๘ ซุ้ม
คือเป็นซุ้มเสมาที่ทำเรือนซุ้มเป็นรูปสี่เหลี่ยม ยอดซุ้มทำเป็นรูปทรงอย่างเจดีย์
มีใบเสมา ๒ ใบ เรียกว่าเสมาคู่ เป็นหินสลักรูปช้าง ๓ เศียรชูงวง
แต่ละงวงถือ ดอกบัวตูม ๓ ดอก และดอกบัวบาน ๒ ดอก
เกสรดอกบัวบานเป็นรูปสัตว์ เป็นรูปนกนั้น หมายถึงพระอาทิตย์
และเป็นรูปกระต่ายนั้น หมายถึงพระจันทร์
สันนิษฐานว่า หมายถึงรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ ที่เสด็จสวรรคตไปแล้ว
ส่วนดอกบัวตูม ๓ ดอก หมายถึงสร้างโดยรัชกาลที่ ๓ สมัยยังทรงพระชนม์

บนกำแพงแก้วมีเกยทางทิศเหนือ ๔ เกย ทิศใต้ ๔ เกย
ทำด้วยหินอ่อนสีเทา สำหรับใช้ในงานพระราชพิธี
ประทับโปรยทานแก่พสกนิกร เรียกว่า “เกยโปรยทาน”

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๗

สำหรับ ซุ้มประตูทางเข้าพระอุโบสถ
บานประตูด้านนอกเป็นภาพจิตรกรรมรูป “ครุฑยุดนาค”
ซึ่งเป็นพระราชสัญลักษณ์ประจำพระองค์ในรัชกาลที่ ๒
มาจากพระนามเดิมว่า ฉิม และคำว่าวิมานฉิมพลีเป็นที่พำนักของครุฑ
พญาแห่งนก จึงทรงใช้ครุฑเป็นตราประจำพระองค์แทนพระบรมนามาภิไธย

บ้างก็กล่าวว่า ในเวลานั้นรัชกาลที่ ๒ ทรงนิยมเรื่องรามเกียรติ์
และทรงเทียบพระองค์เป็นพระราม (หรือพระนารายณ์อวตาร)
แม้แต่พระราชโอรสยังพระราชทานนามว่า เจ้าฟ้ามงกุฎ
(ต่อมาคือรัชกาลที่ ๔) ตามชื่อพระมงกุฎในเรื่องนี้
จึงทรงใช้ครุฑซึ่งเป็นพาหนะของพระนารายณ์ เป็นตราประจำพระองค์


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๗

http://www.dhammajak.net/board/files/__1_141.jpg
พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ : พระประธานในพระอุโบสถ

หล่อขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๐ ศอก ๘ นิ้ว เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย
ประดิษฐานบนฐานชุกชีสูง ปั้นลายปิดทองคำเปลวประดับกระจกสี

เบื้องหน้า “พระพุทธตรีโลกเชษฐ์” พระประธานในพระอุโบสถ
ประดิษฐาน พระพุทธรูปปูนปั้นลงสีพระอสีติมหาสาวก ๘๐ องค์

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นแทนพระศรีศาสดา
ที่อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร
สร้างด้วยปูนปั้นลงสี นั่งพนมมือกำลังฟังพระบรมโอวาท
จากพระพุทธองค์ชึ่งประทับเป็นประธานอยู่ตรงกลาง
ส่วนขนาดของรูปหล่อพระอสีติมหาสาวกทั้ง ๘๐ องค์นั้น
เป็นขนาดซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคิดคำนวณขึ้น




เครดิต : http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19319
http://www.baanmaha.com/community/newthread.php?do=newthread&f=35