พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด  ๑o (ต่อ)

• ซุ้มเสมายอดมณฑป

องค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งซึ่งส่งผลให้เสมามีความโดดเด่น
และมีความงดงามมากยิ่งขึ้นนั่นคือ ‘ซุ้มเสมา’
ซุ้มเสมาเป็นอีกรูปแบบสถาปัตยกรรมหนึ่งที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม
โดยสืบทอดแบบอย่างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
เป็นแบบแผนที่ยังคงมีให้ศึกษามาจวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
สำหรับซุ้มเสมาวัดอรุณราชวรารามนั้นเป็น
ซุ้มเสมายอดมณฑป คือซุ้มเสมาที่ทำส่วนยอดซุ้ม
ให้มีลักษณะคล้ายอย่างเรือนยอดพระมณฑปหรือบุษบก

โดยรอบพระอุโบสถจะมี ‘ซุ้มเสมายอดมณฑป’ ทั้งหมด ๘ ซุ้ม
ใบเสมาเป็นหินสลักลวดลายงดงาม มีใบเสมา ๒ ใบ เรียกว่าเสมาคู่
ประดิษฐานอยู่ในซุ้มหินอ่อน ทำเป็นรูปบุษบกยอดเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง
ระหว่างช่องเสมามี สิงโตหิน ตั้งอยู่บนแท่นรอบพระอุโบสถ
หน้าพระระเบียงมี ตุ๊กตาหินทหารจีน ตั้งเรียงเป็นแถวรอบพระอุโบสถ


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด  ๑o (ต่อ)

• หอไตร

มีหอไตร ๒ หอ อยู่ทางด้านหน้าของหมู่กุฏิคณะ ๑ ใกล้กับสระเล็กๆ
และรั้วด้านตะวันตกของพระปรางค์ ๑ หลัง ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา
ทำเป็นปูนปั้นประดับกระเบื้องถ้วยเป็นชิ้นๆ หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบสี
กรอบหน้าต่างเป็นปูนปั้นลายดอกไม้ ลงรักปิดทอง

และอีกหลังหนึ่งอยู่มุมด้านเหนือหน้าคณะ ๗ มีช่อฟ้า ใบระกา
ลงรักปิดทอง ประดับกระจก บานหน้าต่างเป็นลายรดน้ำรูปต้นไม้
คติเกี่ยวกับที่มีหอไตร ๒ หอ พระเถระผู้ใหญ่ในวัดนี้เล่าว่า
เป็นเพราะวัดแห่งนี้แต่เดิมมีพระราชาคณะได้ ๒ รูป


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด  ๑o (ต่อ)

ซุ้มเหนือบานประตูกลางระหว่าง โบสถ์น้อย (ซ้าย) และ พระวิหารน้อย (ขวา)
เป็น ‘รูปพระเกี้ยว’ ซึ่งเป็นรูปพระราชลัญจกรประจำพระองค์ในรัชกาลที่ ๕


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด  ๑o (ต่อ)

• โบสถ์น้อยและพระวิหารน้อย

โบสถ์น้อยและพระวิหารน้อย (พระวิหารเล็ก) ตั้งอยู่หน้าพระปรางค์ใหญ่
ซึ่งโบสถ์น้อยและพระวิหารน้อยนั้นเป็นโบสถ์และพระวิหารเดิมของวัดมะกอกนอก
สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเคียงคู่กันมากับพระปรางค์ใหญ่องค์เดิม

ซุ้มเหนือบานประตูกลาง ระหว่างโบสถ์น้อยและพระวิหารน้อย
เป็น ‘รูปพระเกี้ยว’ ซึ่งเป็นรูปพระราชลัญจกรประจำพระองค์ในรัชกาลที่ ๕
ในปัจจุบันยังใช้ประตูกลางเป็นทางผ่านเข้าไปสู่พระปรางค์ใหญ่ได้ด้วย

ภายในโบสถ์น้อยมีพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย เป็นประธานของอาคาร
ด้านหน้าองค์พระประธานก่ออิฐเป็นลับแลกั้นอยู่เพื่อแบ่งสัดส่วนภายในโบสถ์น้อย
ส่วนทางด้านข้างขององค์พระประธานนั้นเป็นที่ประดิษฐานของ ศาล, พระบรมรูป
และ พระแท่นสำหรับทรงเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

สำหรับพระแท่นสำหรับทรงเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น
เป็นพระแท่นทำด้วยไม้กระดานแผ่นเดียว
มีขนาดใหญ่โตกว่าไม้กระดานแผ่นใดใดที่เคยพบเห็นมา

พระแท่นของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ตามพระราชพงศาวดารได้กล่าวไว้ว่า
ครั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจะสิ้นรัชกาล
ได้ทรงผนวชและเสด็จพระราชดำเนินมาประทับที่โบสถ์
บ้างก็ว่าทรงถูกพวกกบฏบังคับให้ผนวชและจับพระองค์กักขังไว้ที่โบสถ์
พระแท่นนี้นับเป็นงานประณีตศิลป์ที่มีคุณค่ามาก
แต่ตำแหน่งที่ตั้งของพระแท่นในปัจจุบันยังอยู่ในมุมที่ไม่เด่น


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด  ๑o (ต่อ)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด  ๑o (ต่อ)

• ศาลาท่าน้ำรูปเก๋งจีน

มีศาลาท่าน้ำรูปเก๋งจีน ทั้งหมด ๖ หลัง ตั้งอยู่ที่เขื่อนบริเวณหน้าวัด
ตรงมุมเหนือสุดที่ปากคลองวัดแจ้งหลัง ๑ ตรงกับประตูซุ้มยอดมงกุฎ ๓ หลัง
ตรงกับต้นพระศรีมหาโพธิ์หลัง ๑ และตรงกับทางเข้าพระปรางค์ใหญ่อีกหลัง ๑

ที่ศาลาท่าน้ำรูปเก๋งจีนมี สะพาน ยื่นลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยา เว้นแต่ด้านเหนือสุด
ส่วนหลังที่ตรงกับทางเข้าพระปรางค์นั้น มีรูปจระเข้หินอยู่ด้านหน้าข้างละตัว
ศาลาเหล่านี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ เหมือนกันหมด คือหลังคาเป็นรูปเก๋งจีน
มียกพื้นสำหรับนั่งพักทำด้วยหินทรายสีเขียว โดยเฉพาะ ๓ หลังตรงประตูซุ้มยอดมงกุฎนั้น
หลังเหนือและใต้มีแท่นหินสีเขียวตั้งอยู่ตรงกลาง เข้าใจว่าจะเป็นที่สำหรับวางของ
และหลังศาลาเก๋งจีน ๓ หลังนี้มีรูปกินรีแบบจีนทำด้วยหินทรายสีเขียวตั้งอยู่ ๒ ตัว


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด  ๑o (ต่อ)

• ภูเขาจำลอง

อยู่หน้าวัดทางด้านเหนือ หลังศาลาท่าน้ำรูปเก๋งจีน ๓ หลัง
กล่าวกันว่า เดิมรัชกาลที่ ๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างภูเขาจำลองขึ้นในพระบรมมหาราชวัง
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ โปรดให้นำมาไว้ที่วัดนี้
ภูเขาจำลองนี้มีรั้วล้อมไว้เป็นส่วนหนึ่งโดยเฉพาะ
มีตุ๊กตาจีน ๒ ตัวนั่งบนแท่นอยู่นอกรั้วด้านหน้า
ตรงประตูเข้าทำเป็นรูปทหารเรือเฝ้าอยู่ ๒ คน

• อนุสาวรีย์ธรรมเจดีย์

อยู่ด้านใต้ของภูเขาจำลอง มีถนนที่ขึ้นจากศาลาท่าน้ำรูปเก๋งจีน ๓ หลัง
ไปพระอุโบสถคั่นกลาง อนุสาวรีย์แห่งนี้มีกำแพงเตี้ยๆ เป็นรั้วล้อมรอบ
ภายในรั้วนอกจากจะมีโกศหินทรายสีเขียวแบบจีน
ที่ใช้บรรจุ อัฐิของพระธรรมเจดีย์ (อุ่ม ธมฺมธโร)
อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม รูปที่ ๙ แล้ว
ยังมีประตู มีภูเขาจำลองเตี้ยๆ มีปราสาทแบบจีนเล็กๆ และ
มีตุ๊กตาหินนอนอยู่ภายใน มีภาษาจีนกำกับซึ่งชาวจีนอ่านว่า ฮก ลก ซิ่ว


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด  ๑o (ต่อ)

• ตุ๊กตาหินจีน

ตุ๊กตาหินจีนในวัดอรุณฯ นี้ ถือเป็นหนึ่งในสี่วัดที่มีตุ๊กตาหินจีนอยู่มากที่สุด
แต่โดยมากแล้วจะเป็นตุ๊กตาหินขนาดเล็กเสียเป็นส่วนใหญ่
โดยอีก ๓ วัด ที่มีตุ๊กตาหินจีนอยู่เป็นจำนวนมากเช่นกัน ก็คือ วัดโพธิ์
(วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม) วัดสุทัศนเทพวราราม และวัดราชโอรสาราม

เฉพาะที่ลานพระระเบียงคดที่ล้อมรอบพระอุโบสถมีถึง ๓๐๔ ตัว
(ไม่รวมตุ๊กตาหินจีนที่ประดับอยู่รอบๆ) ที่ตั้งเรียงรายอยู่เต็มไปหมด
นับตั้งแต่ระหว่างซุ้มเสมายอดมณฑปทั้ง ๘ ซุ้ม ก็มี สิงโตหินจีนตัวเล็ก
ตั้งอยู่บนแท่นเรียงกัน เว้นไว้แต่ตรงช่องบันไดทางขึ้นพระอุโบสถเท่านั้น
ตุ๊กตาหินจีนในวัดอรุณฯ นี้ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กกว่าที่วัดโพธิ์
นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบของงานสถาปัตยกรรมอื่นๆ อีก
ไม่ว่าจะเป็น ศาลเจ้า ถะ เขามอ และเสามังกร เป็นต้น

ตุ๊กตาหินจีนนั้นสันนิษฐานกันว่ามาโดยพวกที่แล่นเรือสำเภาจีน
เข้ามาค้าขายได้นำเข้ามาด้วย ๒ จุดประสงค์คือ
เพื่อนำมาเป็นราชบรรณาการแด่รัชกาลที่ ๕ และเพื่อถ่วงน้ำหนักเรือ
ให้สามารถแล่นผ่านคลื่นผ่านลมพายุในทะเลมาได้โดยไม่ล่มเสียก่อน
ซึ่งตุ๊กตาเหล่านี้ได้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เครื่องอับเฉาเรือ”








เครดิต : http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19404
http://www.baanmaha.com/community/newthread.php?do=newthread&f=35