พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด ๑๑

พระพุทธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร
พระประธานในพระอุโบสถ วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ


ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

พระพุทธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร
วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพฯ

“พระพุทธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร” เป็นพระประธานในพระอุโบสถ
วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ
อันเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๓ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
โดยเป็นเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้างประมาณ ๑ วา ๒ ศอก
หรือประมาณ ๓.๑๐ เมตร สูงประมาณ ๒ วา ๑ ศอก
หรือประมาณ ๔.๕๐ เมตร ด้านล่างเป็นฐานเขียนรูป
ยกขอบปลายกลีบบัว ลงรักปิดทอง ประดับด้วยกระจกที่พระพุทธอาสน์

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญ พระบรมราชสรีรังคารของ
พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๓ ประดิษฐานไว้ที่ผ้าทิพย์ใต้ฐานพระพุทธรูป
พระประธานในพระอุโบสถ “พระพุทธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร”
พร้อมกับถวายพระปรมาภิไธยประจำรัชกาล และศิลาจารึกดวงชันษา

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ ๙
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ “พระพุทธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร”
ประดิษฐานภายใต้พระมหาฉัตร ๙ ชั้น (นพปฏลมหาเศวตฉัตร)
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๔ พระพุทธรูปองค์นี้กล่าวกันว่า
เป็นพระพุทธรูปที่สร้างได้งดงามกว่าพระพุทธรูปองค์อื่นที่สร้างในสมัยเดียวกัน

นอกจากนี้แล้ว เบื้องหน้าพระประธานในพระอุโบสถยังได้ประดิษฐาน
ภาพพระบรมสาทิศลักษณ์ของรัชกาลที่ ๓
ทรงเครื่องราชภูษิตาภรณ์เสด็จออกรับราชทูตอังกฤษ ทรงฉลองพระองค์ครุยกรองทอง
ภาพพระบรมสาทิศลักษณ์นี้เป็นภาพสีน้ำมันในพระอิริยาบทเต็มพระองค์ที่งดงามมาก
โดยนำมาเข้า กรอบลับแลลายทอง ซึ่งกรอบลับแลเป็นของโบราณ
นำมาซ่อมแซมปิดทองใหม่ ส่วนภาพพระบรมสาทิศลักษณ์เขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘

สำหรับ พระอุโบสถ วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร นั้น
มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมผสมระหว่างไทยและจีน
หลังคาเป็นแบบจีนสองชั้นแต่มุงกระเบื้องสีแบบไทย ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา
หางหงส์ หรือไม่มีเครื่องบน หน้าบันประดับกระเบื้องเคลือบสีต่างๆ สวยงาม
แต่งเป็นรูปแจกันดอกเบญจมาศ มีรูปสัตว์มงคลตามคติของจีน
คือ มังกร หงส์ และนกยูงอยู่รอบๆ แจกัน ตอนล่างเป็นภาพทิวทัศน์มีบ้านเรือน
สัตว์เลี้ยง ภูเขา ต้นไม้ ตามขอบหลังคาประดับกระเบื้องสี และถ้วยชามโดยรอบ

บริเวณหน้าประตูทางเข้าพระอุโบสถยังมี “นายทวารบาล”
ตุ๊กตากระเบื้องเคลือบ ๒ ตัว ขนาดใหญ่กว่าคนจริง
เป็นรูปชาวจีนหน้าตาดุดันยืนเฝ้าประตูอยู่ดูน่าเกรงขาม
ดูจากลายเสื้อซึ่งเป็นลายมังกรของตุ๊กตากระเบื้องเคลือบ
สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นรูปเยาวกษัตริย์ของจีน

ซุ้มประตูและซุ้มหน้าต่างพระอุโบสถประดับกระเบื้องสีปูนปั้น
ประดิษฐ์เป็นลวดลายดอกเบญจมาศ สำหรับ ซุ้มประตูทางเข้าพระอุโบสถ นั้น
เดิมเป็นยอดทรงจุลมงกุฏหรือพระเกี้ยวแปลง ทำนองเดียวกับวัดสุทัศนเทพวราราม
มาเปลี่ยนเป็น ซุ้มประตูแบบเก๋งจีน เมื่อประมาณสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้เอง

บานประตูด้านนอกพระอุโบสถ ลงรัก ประดับมุกลายมังกรดั้นเมฆ
ล้อมกรอบด้วยลายดอกเบญจมาศสลับลายอาวุธจีน
ฝีมือละเอียดประณีตและสวยงามเป็นอย่างยิ่ง ถือว่ามีแห่งเดียวของวัดในประเทศไทย
ส่วน ด้านในของประตูพระอุโบสถ เป็นภาพทวารบาลแต่งกายแบบจีน
สำหรับ บานหน้าต่างพระอุโบสถ นั้นแกะสลักเป็นรูปมังกรดั้นเมฆ
ทำนองเดียวกับบานประตู มังกรถือเป็นสัตว์มงคลตามคติจีน

ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังด้านในพระอุโบสถ
เขียนเป็นลายเครื่องบูชาและสิ่งมงคลแบบจีน
บางช่วงมีความหมายในการให้พร ฮก ลก ซิ่ว ตามคติของจีน
ซึ่งเขียนไว้อย่างวิจิตรงดงาม บนเพดานเขียนดอกเบญจมาศทองบนพื้นสีแดง

ภาพเขียนจิตรกรรมด้านในของประตูหน้าต่างพระอุโบสถ
เป็นภาพเครื่องบูชาและสิ่งมงคลแบบจีน
เหนือช่องกรอบประตูหน้าต่างมี ‘กระจกโบราณ’
เป็นกระจกเงา ซึ่งเป็นสิ่งมงคลและให้ความสว่างไสว
กรอบกระจกฉลุสลักลวดลายและทำเป็นรูปหน้าปัดนาฬิกา
และลวดลายต่างๆ หลายรูปแบบอย่างสวยงาม
ติดไว้ช่องละ ๓ แผ่น เพื่อความเป็นมงคลตามคติจีน

ส่วนภายนอกพระอุโบสถก็ยังมีสิ่งสำคัญที่น่าสนใจคือ
ศาลาราย, พระวิหารคด (พระระเบียงคด), ถะ (สถูปเจดีย์หิน)
ซึ่งเป็นศิลปะแบบจีนเห็นได้ชัด ตั้งอยู่เคียงกับ พระปรางค์สีขาว
และ พระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะแบบไทยได้อย่างไม่ขัดเขิน


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด ๑๑
“พระพุทธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร” พระประธานในพระอุโบสถ
โดยมี ภาพพระบรมสาทิศลักษณ์ของรัชกาลที่ ๓ ประดิษฐานอยู่ด้านข้าง


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด ๑๑



พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด ๑๑

วัดประจำรัชกาลที่ ๓
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร


๏ ประวัติของวัดราชโอรสาราม
๏ สถาปัตยกรรมวัดราชโอรสาราม
๏ ศาสนสถานและศาสนวัตถุอันงดงามล้ำค่า
• พระอุโบสถ
• พระพุทธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร
• พระแท่นที่ประทับใต้ต้นพิกุล
• พระวิหารพระพุทธไสยาสน์
• พระวิหารพระยืน
• ศาลาการเปรียญหรือพระวิหารพระนั่ง
• สุสานพระธรรม
• ถะ (สถูปเจดีย์)
• ซุ้มเสมาทรงเกี้ยว
• หอระฆัง
๏ กิตติศัพท์วัดราชโอรสาราม
๏ งานสมโภชวัดราชโอรสาราม


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด ๑๑

๏ ประวัติของวัดราชโอรสาราม

วัดประจำรัชกาลที่ ๑ ถึง ๓...วัดเก่า ทำใหม่

สำหรับ วัดประจำรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
บางคนอาจคิดว่าเป็น วัดราชนัดดาราม ราชวรวิหาร
เนื่องจากมีพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์
อยู่ตรงบริเวณลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ใกล้ๆ กับวัดราชนัดดาราม
แต่จริงๆ แล้ววัดประจำรัชกาลที่ ๓ คือ “วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร”
หรือ “วัดราชโอรสาราม” หรือ “วัดราชโอรส”

วัดราชโอรสาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร
ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่มีมาก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ คือ
เป็นวัดราษฎร์ที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
เดิมเรียกว่า ‘วัดจอมทอง’ บ้าง ‘วัดเจ้าทอง’ บ้าง หรือ ‘วัดกองทอง’ บ้าง

มูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ทรงสถาปนา “วัดราชโอรสาราม” นั้น
สืบเนื่องจากบริเวณนี้เป็นนิวาสสถานของพระประยูรญาติ
ข้างฝ่ายพระบรมราชชนนีของพระองค์ คือ กรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย
(เจ้าจอมมารดาเรียม พระสนมเอกในรัชกาลที่ ๒)
ธิดาของพระยานนทบุรีศรีมหาอุทยาน (บุญจัน) ซึ่งมีจวนอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
อันเป็นที่ตั้งวัดเฉลิมพระเกียรติในปัจจุบัน กับคุณหญิงเพ็ง
ซึ่งเป็นธิดาของพระยาราชวังสัน (หวัง) บ้านอยู่ข้างวัดหงส์รัตนาราม
และท่านชู ท่านชูนี้เป็นพระปัยยิกา (ยายทวด) ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
กล่าวกันว่าเป็นธิดาของคฤหบดีชาวสวน มีนิวาสสถานอยู่แถววัดหนัง
ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของวัดจอมทอง โดยมีคลองบางหว้าคั่นอยู่บริเวณ
สองฟากคลองด่านและคลองบางหว้า ซึ่งมีวัดอยู่ ๓ วัดคือ วัดจอมทอง
วัดหนัง และวัดนางนอง จึงมีพวกชาวสวนผู้เป็นวงศาคณาญาติของท่านชู
อยู่จำนวนมาก และกล่าวได้ว่าบุคคลเหล่านี้ล้วนเป็นพระประยูรญาติ
ข้างฝ่ายพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งสิ้น


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด ๑๑

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด ๑๑

๏ สถาปัตยกรรมวัดราชโอรสาราม

ถึงแม้ว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
จะทรงสถาปนาวัดแห่งนี้ ในขณะที่ทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ในรัชกาลที่ ๒ ก็ตาม
แต่เนื่องจากทรงสถาปนาเป็นการส่วนพระองค์
มิได้เกี่ยวข้องกับทางราชการแต่อย่างใด จึงทรงพระราชดำริ
เปลี่ยนแปลงแบบอย่างศิลปกรรมตามความพอพระราชหฤทัย
เพราะขณะนั้นได้ทรงกำกับการกรมท่า ทำการค้าติดต่อกับประเทศจีน
และทรงนิยมศิลปกรรมแบบจีนมาก วัตถุสถานต่างๆ ที่พระองค์
โปรดให้สร้างขึ้นในวัดแห่งนี้จึงตกแต่งด้วยศิลปกรรมแบบจีนทั้งสิ้น

ดังนั้น เมื่อขึ้นครองราชย์พระองค์จึงเข้ามาบูรณะวัดแห่งนี้
และอย่างที่ทราบกันว่า ศิลปะแบบ “พระราชนิยม” ของรัชกาลที่ ๓
จะมีลักษณะเป็นศิลปะแบบจีน วัดราชโอรสนับเป็นวัดแรก
ที่คิดสร้างออกนอกแบบอย่างวัดซึ่งสร้างกันอย่างสามัญงดงามยิ่งนัก
ศิลปกรรมไทยที่มีอยู่ในวัดนี้พระองค์ทรงสร้างได้อย่างเหมาะสมกลมกลืน
อย่างหาที่ติมิได้ ตั้งแต่ซุ้มประตูทางเข้าวัด ที่มีหลังคาสี่ชั้นแบบจีนเด่นชัด
หน้าบันของพระอุโบสถและพระวิหารนั้นจะเป็นแบบเรียบๆ
ตัดส่วนที่เป็นช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หรือที่เรียกว่าเครื่องบนออกทั้งหมด
ด้วยเหตุผลที่ว่าชำรุดเสียหายได้ง่ายและเปลืองเวลาในการทำ
แต่มีการประดับหน้าบันด้วยกระเบื้องเคลือบแบบไทยเป็นลวดลาย
เช่น ดอกไม้ หรือสัตว์ต่างๆ ตามแบบจีน เช่น หงส์ หรือมังกร แทน
ส่วนกุฏิพระสงฆ์เป็นอาคารตึกแทนเรือนไม้แบบของเดิม

มเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงมีลายพระหัตถ์ทูล
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวิดติวงศ์
ความว่า

“หม่อมฉันเคยเห็นกลอนหรือโคลงซึ่ง พระยาไชยวิชิต (เผือก)
แต่งเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
จารึกศิลาไว้ที่ในโบสถ์หน้าพระเมรุ มีความแห่งหนึ่งกล่าวถึงทรงสร้างวัดราชโอรส
ชมพระปัญญาว่าช่างแก้ไขยักเยื้อง มิให้มีช่อฟ้า ใบระกา อันเป็นของหักพังง่ายไม่ถาวร
ก็วัดราชโอรสนั้นสร้างในรัชกาลที่ ๒ ความที่พระไชยวิชิตกล่าวถึงนั้น
ส่อว่าเป็นวัดแรกคิดสร้างออกนอกแบบอย่างวัดซึ่งสร้างกันอย่างเป็นสามัญ
จะเรียกต่อไปในจดหมายนี้ว่า “วัดนอกอย่าง” พิจารณาดูวัดราชโอรสเห็นได้ว่า
วัดนอกอย่างนั้นไม่ใช่แต่เอาช่อฟ้าใบระกาออกเท่านั้น
ถึงสิ่งอื่นเช่นลวดลายและรูปภาพเป็นต้น ก็แผลงไปเป็นอย่างอื่นหมด
คงไว้แต่สิ่งอันเป็นหลักของวัดอันจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เช่น โบสถ์ วิหาร เป็นต้น
นอกจาก ทรงสร้างตามพระราชหฤทัย ไม่เกรงใจใครจะติเตียน
แต่ตั้งพระราชหฤทัยประจงให้งามอย่างแปลก มิใช่สร้างแต่พอเป็นกิริยาบุญ”


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด ๑๑

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด ๑๑

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด ๑๑เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ พระสนมเอกในรัชกาลที่ ๕

นายจอห์น ครอฟอร์ด ราชทูตอังกฤษ
ได้บันทึกไว้ในจดหมายเหตุรายวันของเขาว่า

“หลังคาโบสถ์ดูแปลกแต่ใช่ว่าไม่งาม ใช้กระเบื้องเคลือบน้ำยาสีเขียว
บริเวณรอบๆ โบสถ์เป็นสวนปลูกต้นไม้ประดับและต้นไม้ผล
กุฏิพระเป็นแบบใหม่ เพราะแทนที่จะเป็นเครื่องไม้ กุฏิในวัดนี้ก่อเป็นตึกหมด
ใช้อิฐฉาบปูน ทำให้รู้สึกว่าเหมือนบ้านเรือนน้อยๆ ในประเทศอังกฤษ...”


จ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ พระสนมเอก
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

ได้แสดงปาฐกถาเรื่องวัดราชโอรส มีความตอนหนึ่งว่า

“แผนผังของวัดราชโอรสก็เหมือนกับวัดทั่วๆ ไป เช่น
พระอุโบสถตั้งอยู่ตรงกลาง พระวิหารพระยืนอยู่ด้านซ้าย
ศาลาการเปรียญอยู่ด้านขวา พระวิหารพระพุทธไสยาสน์อยู่ด้านหลัง
แผนผังหลักที่พร้อมสรรพเช่นนี้ก็เห็นมีแต่วัดพระเชตุพนฯ
วัดอื่นที่คล้ายกันหายาก วัดนี้แม้ดูจากภายนอกจะเป็นแบบจีนทั่วบริเวณก็ตาม
แต่ภายในเป็นไทยแท้ทุกประการ เช่น รูปเซี่ยวกางไทยที่กล่าวแล้ว
แม้พระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองที่เรียงรายอยู่ภายในรอบพระวิหารพระพุทธไสยาสน์
หรือพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารหรือพระอุโบสถ
ล้วนเป็นพุทธศิลป์แบบสยามแท้ ไม่มีพระพุทธรูปองค์ใดมีรูปอย่างพระพุทธรูปจีน
นอกจากพระพุทธรูปหินสลักนูนจากแผ่นศิลาในเก๋งจีนเรือไฟหิน
หรือที่เรียกกันว่า “สุสานพระธรรม” ซึ่งตั้งอยู่ข้างถะ ด้านหลังพระอุโบสถเท่านั้น
พระพุทธรูปในวัดราชโอรสทุกองค์สร้างด้วยส่วนสัดที่งดงามมาก
จะไปเปรียบเทียบกับสมัยใดก็ยากเพราะทรงพยายามที่จะให้งามเป็นพิเศษ.....”


สำหรับการประดับตกแต่งภายในวัดที่เป็นแบบจีนผสมไทย
เช่น บานประตูบานหน้าต่างพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ (พระวิหารพระนอน)
ประดับด้วยเซี่ยวกางทรงเครื่องแบบไทยแทนลายเทพนมหรือลายไทยแบบของเดิม
หน้าบันพระอุโบสถและพระวิหารประดับพระเบื้องเคลือบสี
จึงนับเป็นครั้งแรกที่มีการประยุกต์ศิลปกรรมได้อย่างประณีต
เหมาะสมเป็นสัญลักษณ์แห่งศาสนสถานได้อย่างสง่าและงดงาม
วัดราชโอรสนี้ถือเป็นต้นแบบของวัดแบบพระราชนิยมอื่นๆ ทั้งหลายด้วย

เนื่องจากช่วงรัชกาลที่ ๓ เป็นช่วงที่การค้าของประเทศไทยกับประเทศจีน
รุ่งเรืองที่สุด ถึงขนาดที่พระองค์ได้รับฉายาว่าเป็น “เจ้าสัว”
เนื่องจากความสามารถในการแต่งสำเภาไปค้าขาย
และในช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่มีชาวจีนอพยพเดินทางมาพร้อมกับเรือสำเภา
เข้ามาอยู่อาศัยและทำมาหากินพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
อยู่ในเมืองไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งคนจีนเหล่านี้
ต่อมาก็ได้เป็นกำลังสำคัญในการช่าง การสร้างวัดต่างๆ มากมาย

การที่ศิลปะแบบจีนนั้นกลายมาเป็นพระราชนิยม ทำให้เหล่าขุนนาง
รวมทั้งผู้มีจิตศรัทธาในยุคนั้นต่างก็นิยมสร้างวัดตามแบบพระราชนิยม
เช่นเดียวกัน ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ จึงมีวัดหลายแห่งด้วยกัน
ที่มีลักษณะของศิลปะแบบจีนให้เราได้ชมกันอยู่เป็นจำนวนมาก


๏ ศาสนสถานและศาสนวัตถุอันงดงามล้ำค่า

สิ่งสำคัญที่น่าสนใจในวัดราชโอรสารามนั้น มีมากมายนับตั้งแต่

• พระอุโบสถ

มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมผสมระหว่างไทยและจีน
หลังคาเป็นแบบจีนสองชั้นแต่มุงกระเบื้องสีแบบไทย ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา
หางหงส์ หรือไม่มีเครื่องบน หน้าบันประดับกระเบื้องเคลือบสีต่างๆ สวยงาม
แต่งเป็นรูปแจกันดอกเบญจมาศ มีรูปสัตว์มงคลตามคติของจีน
คือ มังกร หงส์ และนกยูงอยู่รอบๆ แจกัน ตอนล่างเป็นภาพทิวทัศน์มีบ้านเรือน
สัตว์เลี้ยง ภูเขา ต้นไม้ ตามขอบหลังคาประดับกระเบื้องสี และถ้วยชามโดยรอบ

บริเวณหน้าประตูทางเข้าพระอุโบสถยังมี “นายทวารบาล”
ตุ๊กตากระเบื้องเคลือบ ๒ ตัว ขนาดใหญ่กว่าคนจริง
เป็นรูปชาวจีนหน้าตาดุดันยืนเฝ้าประตูอยู่ดูน่าเกรงขาม
ดูจากลายเสื้อซึ่งเป็นลายมังกรของตุ๊กตากระเบื้องเคลือบ
สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นรูปเยาวกษัตริย์ของจีน

ซุ้มประตูและซุ้มหน้าต่างพระอุโบสถประดับกระเบื้องสีปูนปั้น
ประดิษฐ์เป็นลวดลายดอกเบญจมาศ สำหรับ ซุ้มประตูทางเข้าพระอุโบสถ นั้น
เดิมเป็นยอดทรงจุลมงกุฏหรือพระเกี้ยวแปลง ทำนองเดียวกับวัดสุทัศนเทพวราราม
มาเปลี่ยนเป็น ซุ้มประตูแบบเก๋งจีน เมื่อประมาณสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้เอง


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด ๑๑

บานประตูด้านนอกพระอุโบสถ ลงรัก ประดับมุกลายมังกรดั้นเมฆ
ล้อมกรอบด้วยลายดอกเบญจมาศสลับลายอาวุธจีน
ฝีมือละเอียดประณีตและสวยงามเป็นอย่างยิ่ง ถือว่ามีแห่งเดียวของวัดในประเทศไทย
ส่วน ด้านในของประตูพระอุโบสถ เป็นภาพทวารบาลแต่งกายแบบจีน
สำหรับ บานหน้าต่างพระอุโบสถ นั้นแกะสลักเป็นรูปมังกรดั้นเมฆ
ทำนองเดียวกับบานประตู มังกรถือเป็นสัตว์มงคลตามคติจีน

ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังด้านในพระอุโบสถ
เขียนเป็นลายเครื่องบูชาและสิ่งมงคลแบบจีน
บางช่วงมีความหมายในการให้พร ฮก ลก ซิ่ว ตามคติของจีน
ซึ่งเขียนไว้อย่างวิจิตรงดงาม บนเพดานเขียนดอกเบญจมาศทองบนพื้นสีแดง

ภาพเขียนจิตรกรรมด้านในของประตูหน้าต่างพระอุโบสถ
เป็นภาพเครื่องบูชาและสิ่งมงคลแบบจีน
เหนือช่องกรอบประตูหน้าต่างมี ‘กระจกโบราณ’
เป็นกระจกเงา ซึ่งเป็นสิ่งมงคลและให้ความสว่างไสว
กรอบกระจกฉลุสลักลวดลายและทำเป็นรูปหน้าปัดนาฬิกา
และลวดลายต่างๆ หลายรูปแบบอย่างสวยงาม
ติดไว้ช่องละ ๓ แผ่น เพื่อความเป็นมงคลตามคติจีน

ส่วนภายนอกพระอุโบสถก็ยังมีสิ่งสำคัญที่น่าสนใจคือ
ศาลาราย, พระวิหารคด (พระระเบียงคด), ถะ (สถูปเจดีย์หิน)
ซึ่งเป็นศิลปะแบบจีนเห็นได้ชัด ตั้งอยู่เคียงกับ พระปรางค์สีขาว
และ พระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะแบบไทยได้อย่างไม่ขัดเขิน


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด ๑๑

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด ๑๑

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด ๑๑

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด ๑๑

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด ๑๑







มีต่อ


เครดิต : http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19388
http://www.baanmaha.com/community/newthread.php?do=newthread&f=35