พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๓)

พระพุทธกาญจนธรรมสถิต พระประธานในพระอุโบสถ
วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก กรุงเทพฯ


ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

พระพุทธกาญจนธรรมสถิต
วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก กรุงเทพฯ

“พระพุทธกาญจนธรรมสถิต” เป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก อันเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

“วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก” พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เป็นวัดตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ ๙ รัชกาลปัจจุบัน แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ตั้งอยู่เลขที่ ๙๙๙ ซอยพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ๑๙ ถนนพระราม ๙ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ ๑๐๓๒๐

จากพระราชดำริเริ่มแรกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แก้ปัญหาน้ำเน่าเสียในชุมชนริมคลองลาดพร้าวย่านพระราม ๙ เริ่มมาจากที่แต่ก่อนนี้ชุมชนริมคลองลาดพร้าวย่านพระราม ๙ นี้ ต้องประสบกับปัญหาน้ำเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็น ซึ่งน้ำในคลองนั้นเป็นน้ำที่ไหลมาจากคลองรังสิต ผ่านสะพานใหม่ดอนเมือง บางซื่อ สามเสน และมารวมที่คลองลาดพร้าว ก่อนที่จะไหลลงคลองแสนแสบต่อไป

สำหรับ พระประธานที่ประดิษฐานภายในพระอุโบสถ นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยเลือกแบบพระพุทธรูปปางมารวิชัย (ปางชนะมาร) จากการออกแบบเสนอโดยนาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น อธิบดีกรมศิลปากร (ในขณะนั้น) และศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม ทั้งหมด ๗ แบบ โดยพระองค์ทรงแก้ไขแบบเล็กน้อยด้วยพระองค์เอง

พระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์นี้ มีลักษณะแบบรัตนโกสินทร์ มีขนาดความสูงจากทับเสร็จ (หน้ากระดาน) ถึงปลายรัศมี ๑๘๐ เซนติเมตร ขนาดหน้าพระเพลา ๑๒๐ เซนติเมตร โดยมีพระพุทธสาวกเบื้องซ้าย และเบื้องขวาของพระประธาน ฐานชุดชีทำด้วยหินอ่อน ส่วนองค์พระพุทธรูปทำด้วยทองเหลือผสมทองที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างอุดมคติ และเหมือนจริงด้วยการห่มจีวรแบบพระสงฆ์ แต่มีพระเกศาแบบอุดมคติ สวยงาม กลมกลืนและปราณีตยิ่งนัก และทรงพระราชทานนามว่า พระพุทธกาญจนธรรมสถิต

และเมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ทรงประกอบพิธีเททองหล่อองค์พระประธานประจำพระอุโบสถ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก

สำหรับ พระอุโบสถ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก นั้นถือว่าเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนิกชนที่เข้ามาปฏิบัติธรรม หรือมาร่วมกิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและวันสำคัญของชาติ นับว่าเป็นพระอุโบสถเพียงวัดเดียวในกรุงเทพมหานคร ที่ปลูกสร้างแบบสมัยใหม่ โดยคำนึงถึงประโยชน์การใช้สอยเป็นสำคัญ และบริเวณโดยรอบเป็นสีขาวทั้งหลัง สามารถรองรับบรรจุคนได้ประมาณไม่เกิน ๑๐๐ คน

ในส่วน รูปแบบทางศิลปกรรม เป็นการผสมผสานรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยสมัยโบราณกับสถาปัตยกรรมร่วมสมัย เน้นความเป็นเฉพาะตัวในแบบอย่างสถาปัตยกรรมปัจจุบัน โดยได้ต้นเค้าของการออกแบบพระอุโบสถมาจากพระอุโบสถ ๓ แห่งในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้แก่ พระอุโบสถ วัดราชาธิวาส ราชวรวิหาร กรุงเทพฯ ในเรื่องรูปเสาของพระอุโบสถสำหรับความเรียบง่าย ส่วนมุขประเจิดจำลองแบบมาจาก พระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม และได้นำเอาต้นแบบในการผูกลายปูนปั้นประดับหน้าบันมาจาก พระอุโบสถ วัดเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนนทบุรี วัสดุก่อสร้างทั้งหมดเป็นของที่ผลิตภายในประเทศ

โครงสร้างพระอุโบสถ หลังคาพระอุโบสถมุงกระเบื้องทำด้วยแผ่นเหล็กสีขาว องค์ประกอบเครื่องบนหลังคาเป็นปูนปั้นลายดอกพุดตาน ประดับหน้าบันด้วยลายปูนปั้น ปิดทองเฉพาะที่ ตราพระราชลัญจกร ประจำพระองค์รัชกาลที่ ๙ ช่อฟ้าและใบระกาเป็นลวดลายปูนปั้น ไม่ปิดทองประดับกระจก ผนังและเสาก่ออิฐฉาบปูนเรียบทาสีขาว บานประตูหน้าต่างใช้กรอบบานอลูมิเนียม และลูกฟักเป็นกระจก เพดานพระอุโบสถเป็นไม้แบบเรียบ ฝังไฟเป็นระยะ โคมไฟในแนวกลางเดิมออกแบบเป็นโคมหวดหรืออัจกลับแบบเรียบ แต่ได้มีผู้มีจิตศรัทธาถวายโคมระย้าเป็นพุทธบูชาประดับไว้แทนรวม ๔ ช่อ สำหรับพื้นพระอุโบสถเป็นพื้นปูนแกรนิต ตลอดถึงพื้นโถงและบันไดหน้าหลัง ดูเรียบง่ายแต่สวยงามคลาสสิคสมเป็นสถาปัตยกรรมปัจจุบัน

สำหรับการประดับ ตราพระราชลัญจกร ประจำพระองค์รัชกาลที่ ๙ ที่หน้าบันพระอุโบสถนั้น เป็นพระราชกระแสรับสั่งในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและแสดงถึงพระราชอำนาจแห่งองค์พระมหากษัตริย์ รวมถึง เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษกอีกด้วย


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๓)
“พระพุทธกาญจนธรรมสถิต” พระประธานในพระอุโบสถ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๓)

“พระอุโบสถ” วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๓)
“หน้าบันพระอุโบสถ” ประดับด้วยลายปูนปั้น
ปิดทองเฉพาะที่ ตราพระราชลัญจกร ประจำพระองค์รัชกาลที่ ๙


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๓)

วัดประจำรัชกาลที่ ๙
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๓)
พระอุโบสถวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก

• วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ


“วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก” เป็นวัดที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริเริ่มแรกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ ๙ รัชกาลปัจจุบัน ที่ทรงให้แก้ปัญหาน้ำเน่าเสียในชุมชนริมคลองลาดพร้าวย่านพระราม ๙ เริ่มมาจากที่แต่ก่อนนี้ชุมชนริมคลองลาดพร้าวย่านพระราม ๙ นี้ ต้องประสบกับปัญหาน้ำเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็น ซึ่งน้ำในคลองนั้นเป็นน้ำที่ไหลมาจากคลองรังสิต ผ่านสะพานใหม่ดอนเมือง บางซื่อ สามเสน และมารวมที่คลองลาดพร้าว ก่อนที่จะไหลลงคลองแสนแสบต่อไป

จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชดำริให้แก้ปัญหาน้ำเน่าเสียด้วยวิธีการเติมอากาศที่บึงพระราม ๙ ซึ่งเป็นที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยมีวัตถุประสงค์คือ ทำการทดสอบการบำบัดน้ำเน่าเสียที่ไหลมาตามคลองลาดพร้าวส่วนหนึ่งให้มีคุณภาพดีขึ้น โดยวิธีการเติมอากาศลงไปในน้ำ แล้วปล่อยให้น้ำตกตะกอน และปรับสภาพน้ำก่อนระบายลงสู่คลองตามเดิม จากแนวพระราชดำรินี้เองทำให้ชาวชุมชนริมคลองลาดพร้าวย่านพระราม ๙ มีสภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ต่อมาได้มีพระราชดำริเพิ่มเติมให้ทำการปรับปรุงพื้นที่และพัฒนาชุมชนบริเวณบึงพระราม ๙ และมีพระราชประสงค์ให้ดำเนินการจัดตั้งวัดขึ้นในบริเวณชุมชนบึงพระราม ๙ เพื่อเป็นทั้งพุทธสถานในการประกอบกิจของพระสงฆ์ในการสืบทอดและเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในขณะเดียวกันก็เป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของราษฎรในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องทางศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนการพัฒนาชุมชนบริเวณบึงพระราม ๙ ร่วมกับทางโรงเรียนหรือส่วนราชการต่างๆ


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๓)

“วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก” พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เป็นวัดตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ ๙ รัชกาลปัจจุบัน แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ตั้งอยู่เลขที่ ๙๙๙ ซอยพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ๑๙ ถนนพระราม ๙ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ ๑๐๓๒๐

วัดได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘ จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก และเมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานประกอบพิธีผูกพัทธสีมา-ฝังลูกนิมิตตามประเพณี

ส่วนบริเวณที่ตั้งของวัดแห่้งนี้ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเนื้อที่ทั้งหมดจำนวน ๘ ไร่ ๒ งาน ๕๔ ตารางวา ด้านทิศเหนือยาว ๒๓๔ เมตร ติดกับโรงเรียนสมาคมไทย-ญี่ปุ่น, ด้านทิศตะวันออกยาว ๖๑.๕ เมตร ติดคลองลาดพร้าว, ด้านทิศใต้ยาว ๒๑๗ เมตร ติดกับที่ดินที่กั้นไว้เป็นถนนทางเข้า และด้านทิศตะวันตกยาว ๖๕ เมตร ติดกับ โรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๓)
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ได้ประทานอนุญาตให้ พระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระราชสุมนต์มุนี เลขานุการในพระองค์ และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เป็นองค์ปฐมแห่งอาราม ตั้งแต่วันอาสาฬหบูชาที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมา พร้อมด้วยคณะสงฆ์ภิกษุสามเณรจำนวนหนึ่ง

พระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล) เจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ได้เล่าให้เราฟังว่า เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขยายโครงการในพื้นที่ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และบริเวณข้างเคียง โดยให้ทำการปรับปรุงสภาพพื้นที่และพัฒนาชุมชน บริเวณบึงพระราม ๙ ดำเนินการจัดตั้งวัดเพื่อเป็นพุทธสถานในการประกอบกิจของสงฆ์ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของราษฎรที่จะประกอบพิธีกรรมต่างๆ ร่วมกัน

สำหรับที่ดินของวัด น.ส.จวงจันทร์ สิงหเสนี เจ้าของที่ดินได้ถวายที่ดินบริเวณดังกล่าวให้แก่มูลนิธิชัยพัฒนาเพื่อดำเนินการสร้างวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก และเมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ มูลนิธิชัยพัฒนาได้รับอนุญาตจากกรมศาสนาให้จัดสร้างวัด โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เป็นองค์อุปถัมภ์ฝ่ายสงฆ์ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์อุปถัมภ์ฝ่ายฆราวาส

วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วัดนี้มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากวัดอื่นหลายประการ ที่สังเกตเห็นได้ชัดก็คือวัดนี้เป็นวัดขนาดเล็ก ใช้งบประมาณอย่างประหยัด และเรียบง่ายที่สุด โดยยึดหลักความพอดีและพอเพียงเป็นพื้นฐาน ภายในวัดประกอบด้วยพระอุโบสถ ศาลาเอนกประสงค์ สระน้ำ กุฎิเจ้าอาวาส กุฏิพระจำนวน ๕ หลัง โรงครัว สระน้ำ กังหันน้ำชัยพัฒนา บ่อบำบัด ห้องสมุด และอาคารประกอบที่จำเป็นเท่านั้น อย่างไรก็ตามที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นคืออาคารทุกหลังจะทาด้วยสีขาวทั้งหมด เพื่อแสดงถึงความบริสุทธิ์ สะอาด สวยงาม

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๓)
ด้านหน้าพระอุโบสถ์ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก

สำหรับ “พระอุโบสถ” วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ถือว่าเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนิกชนที่เข้ามาปฏิบัติธรรม หรือมาร่วมกิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและวันสำคัญของชาติ นับว่าเป็นพระอุโบสถเพียงวัดเดียวในกรุงเทพมหานคร ที่ปลูกสร้างแบบสมัยใหม่ โดยคำนึงถึงประโยชน์การใช้สอยเป็นสำคัญ และบริเวณโดยรอบเป็นสีขาวทั้งหลัง สามารถรองรับบรรจุคนได้ประมาณไม่เกิน ๑๐๐ คน

ส่วน รูปแบบทางศิลปกรรม เป็นการผสมผสานรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยสมัยโบราณกับสถาปัตยกรรมร่วมสมัย เน้นความเป็นเฉพาะตัวในแบบอย่างสถาปัตยกรรมปัจจุบัน โดยได้ต้นเค้าของการออกแบบพระอุโบสถมาจากพระอุโบสถ ๓ แห่งในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้แก่ พระอุโบสถ วัดราชาธิวาส ราชวรวิหาร กรุงเทพฯ ในเรื่องรูปเสาของพระอุโบสถสำหรับความเรียบง่าย ส่วนมุขประเจิดจำลองแบบมาจาก พระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม และได้นำเอาต้นแบบในการผูกลายปูนปั้นประดับหน้าบันมาจาก พระอุโบสถ วัดเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนนทบุรี วัสดุก่อสร้างทั้งหมดเป็นของที่ผลิตภายในประเทศ

โครงสร้างพระอุโบสถ หลังคาพระอุโบสถมุงกระเบื้องทำด้วยแผ่นเหล็กสีขาว องค์ประกอบเครื่องบนหลังคาเป็นปูนปั้นลายดอกพุดตาน ประดับหน้าบันด้วยลายปูนปั้น ปิดทองเฉพาะที่ ตราพระราชลัญจกร ประจำพระองค์รัชกาลที่ ๙ ช่อฟ้าและใบระกาเป็นลวดลายปูนปั้น ไม่ปิดทองประดับกระจก ผนังและเสาก่ออิฐฉาบปูนเรียบทาสีขาว บานประตูหน้าต่างใช้กรอบบานอลูมิเนียม และลูกฟักเป็นกระจก เพดานพระอุโบสถเป็นไม้แบบเรียบ ฝังไฟเป็นระยะ โคมไฟในแนวกลางเดิมออกแบบเป็นโคมหวดหรืออัจกลับแบบเรียบ แต่ได้มีผู้มีจิตศรัทธาถวายโคมระย้าเป็นพุทธบูชาประดับไว้แทนรวม ๔ ช่อ สำหรับพื้นพระอุโบสถเป็นพื้นปูนแกรนิต ตลอดถึงพื้นโถงและบันไดหน้าหลัง ดูเรียบง่ายแต่สวยงามคลาสสิคสมเป็นสถาปัตยกรรมปัจจุบัน

สำหรับการประดับ ตราพระราชลัญจกร ประจำพระองค์รัชกาลที่ ๙ ที่หน้าบันพระอุโบสถนั้น เป็นพระราชกระแสรับสั่งในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและแสดงถึงพระราชอำนาจแห่งองค์พระมหากษัตริย์ รวมถึง เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษกอีกด้วย

สำหรับพระประธานที่ประดิษฐานภายในพระอุโบสถวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษกนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยเลือกแบบพระพุทธรูปปางมารวิชัย (ปางชนะมาร) จากการออกแบบเสนอโดยนาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น อธิบดีกรมศิลปากร (ในขณะนั้น) และศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม ทั้งหมด ๗ แบบ โดยพระองค์ทรงแก้ไขแบบเล็กน้อยด้วยพระองค์เอง

พระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์นี้ มีลักษณะแบบรัตนโกสินทร์ มีขนาดความสูงจากทับเสร็จ (หน้ากระดาน) ถึงปลายรัศมี ๑๘๐ เซนติเมตร ขนาดหน้าพระเพลา ๑๒๐ เซนติเมตร โดยมีพระพุทธสาวกเบื้องซ้าย และเบื้องขวาของพระประธาน ฐานชุดชีทำด้วยหินอ่อน ส่วนองค์พระพุทธรูปทำด้วยทองเหลือผสมทองที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างอุดมคติ และเหมือนจริงด้วยการห่มจีวรแบบพระสงฆ์ แต่มีพระเกศาแบบอุดมคติ สวยงาม กลมกลืนและปราณีตยิ่งนัก และทรงพระราชทานนามว่า พระพุทธกาญจนธรรมสถิต

และเมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ทรงประกอบพิธีเททองหล่อองค์พระประธานประจำพระอุโบสถวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก




พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๓)

พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร หรือ “หลวงพ่อทองคำ”
พระประธานในพระมหามณฑป วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพฯ


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๓)

ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร
(หลวงพ่อทองคำ)
วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร กรุงเทพฯ


“พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร” หรือ “หลวงพ่อทองคำ”
เป็นพระพุทธรูปทองคำที่ได้รับการบันทึกไว้ในกินเนสส์บุ๊ก พ.ศ.๒๕๓๔
(THE GUINNESS BOOK OF WORLD RECORDS 1991)

ว่าเป็น พระพุทธรูปทองคำแท้ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
มีมูลค่าสูงกว่า ๒๑ ล้านปอนด์ แต่คุณค่าแห่งพลังศรัทธา

ในจิตใจของพุทธศาสนิกชนนั้น มูลค่าใดๆ ก็มิอาจจะเทียบเทียมได้

ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ พระมหามณฑป “พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร”
วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในพระอิริยาบถนั่งสมาธิราบ
พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางเหนือพระชานุ
ปลายพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณี หน้าตักกว้าง ๖ ศอก ๕ นิ้ว หรือมากกว่า ๒.๕๐ เมตร

ความสูงจากพระเกตุมาลาถึงฐานทับเกษตร (ฐานที่รองรับพระพุทธรูป)
๗ ศอก ๑ คืบ ๙ นิ้ว หรือประมาณ ๓.๐๔ เมตร ๑๐ ฟุต
มีน้ำหนักประมาณ ๕.๕ ตัน หรือ ๕,๕๐๐ กิโลกรัม

นักประวัติศาสตร์ชี้ว่า เป็น “พระพุทธรูปทอง” ในวิหารวัดมหาธาตุ กรุงสุโขทัย
ที่อ้างถึงในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
บรรทัดที่ ๒๓-๒๗ มีข้อความปรากฏดังนี้

“กลางเมืองสุโขทัย มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารส มีพระพุทธรูป
มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม มีพิหารอันใหญ่ มีพิหารอันราม”


ข้อความดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ในสมัยสุโขทัยมีการก่อสร้างพระวิหาร
พระพุทธรูปปูนปั้น โลหะ และทองคำ ทั้งขนาดใหญ่และขนาดกลาง
ดังปรากฏเป็นหลักฐานประติมากรรมสมัยสุโขทัยที่ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๓)

จึงสันนิษฐานได้ว่า
หลวงพ่อทองคำน่าจะถือกำเนิดในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ก่อนปี พ.ศ.๑๘๒๖ อันเป็นพุทธศักราชที่ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทย
หากนับเนื่องมาจนถึงปัจจุบันปี พ.ศ.๒๕๕๐


ในสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
ทรงมีพระบรมราชโองการให้อัญเชิญพระพุทธรูปตามวัดร้างต่างๆ
ที่สุโขทัยมาประดิษฐานไว้ที่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์
รวมจำนวนได้ ๑,๒๔๘ องค์ รวมทั้ง “หลวงพ่อทองคำ” ด้วย
ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในสภาพพอกปูนปั้นหุ้มทั้งองค์ ดูเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นธรรมดา

ต่อมาปี พ.ศ.๒๓๔๔ ได้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธาน
ใน วัดพระยาไกร หรือวัดโชตินาราม อันเป็นวัดที่
พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ทองจีน ไกรฤกษ์) สร้างถวายเป็นพระอารามหลวง
ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ.๒๔๗๕


ต่อมา วัดพระยาไกรชำรุดทรุดโทรม บริษัท อีสต์เอเซียติก ได้มาขอเช่า
จัดสร้างโรงเลื่อยไม้ขนาดใหญ่ รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ชำรุดทรุดโทรม
ของวัดออกจนเหลือแต่พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่

ขณะนั้น วัดสามจีน หรือที่ต่อมาเป็น วัดไตรมิตรวิทยาราม แห่งนี้
กำลังบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ และเห็นว่าจะทิ้งพระพุทธรูปไว้เช่นนั้น
ไม่เหมาะสม จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๗๘


เล่ากันว่าอาจจะด้วยปาฏิหาริย์ที่หลวงพ่อทองคำท่านคงจะเลือกประดิษฐานอยู่ที่นี่
เพราะมีหลายครั้งที่วัดวาอารามในต่างจังหวัดได้ทำการขอพระพุทธรูป
จากวัดต่างๆ ในส่วนกลางมาหลายครั้ง และองค์หลวงพ่อทองคำก็ได้ถูกยกให้
ทางวัดต่างๆ หลายครั้งเช่นกัน แต่ก็ไม่มีวัดไหนอัญเชิญไปสักที
บางวัดตัดสินใจรับที่จะอัญเชิญไปแล้ว แต่ในที่สุดก็ติดปัญหาต่างๆ จนมิได้อัญเชิญไป

การก่อสร้างใช้เวลาถึง ๒๐ ปี จึงแล้วเสร็จในวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๘
ทางวัดได้ประกอบพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปปูนปั้นองค์นี้ขึ้นไปประดิษฐาน
บน พระวิหาร ที่สร้างขึ้นใหม่ ขณะทำการโยกย้ายอัญเชิญองค์พระซึ่งมีน้ำหนักมาก
ก็เกิดอุบัติเหตุ เชือกลวดสะลิงที่ยกองค์พระลอยขึ้นจากพื้นเกิดขาด
องค์พระตกกระแทกพื้น ขณะนั้นเป็นช่วงค่ำและฝนตกหนัก การอัญเชิญหยุดชะงักลง


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๓)

ตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น พระวิสุทธาธิบดี (ไสว ฐิตวีโร) เจ้าอาวาส
ขณะนั้นมีสมณศักดิ์เป็น พระวีรธรรมมุนี ได้มาตรวจตราดูองค์พระ
สังเกตเห็นปูนตรงพระอุระแตกเป็นรูกว้าง มองเห็นเนื้อทองคำจับตา
เมื่อกะเทาะปูนและลอกรักที่หุ้มออก พบว่าเป็นพระพุทธรูปทองคำทั้งองค์
ที่มีพระพุทธลักษณะงดงามสุกปลั่งขนาดใหญ่มหึมาเช่นที่เห็นในปัจจุบัน
และยังพบ กุญแจกล ซ่อนอยู่บริเวณฐานทับเกษตร ที่สามารถใช้ไขถอด
หรือแยกองค์พระออกได้เป็น ๙ ส่วนด้วยกัน อันเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย
ที่ทำไว้เพื่อให้สะดวกในการเคลื่อนย้ายได้เมื่อยามจำเป็น
และยังมีทองคำเนื้อเดียวกันบางส่วนสำรองไว้ที่ใต้ฐานองค์พระ
เพื่อไว้สำหรับเชื่อมต่อเมื่อประกอบให้เป็นเนื้อเดียวกัน
นับเป็นความรอบคอบของบรรพบุรุษผู้สร้างเป็นอย่างยิ่ง


ทางวัดจึงได้ถอดหรือแยกองค์พระออกเป็นสี่ส่วน แล้วอัญเชิญขึ้นไป
ประดิษฐานบนพระวิหาร แรกๆ เรียกว่า พระสุโขทัยไตรมิตร
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระพุทธรูปทองคำองค์นี้ว่า
“พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร” ตามลักษณะของพระพุทธรูป
แต่ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกพระองค์นี้ว่า “หลวงพ่อทองคำ” มาจนปัจจุบัน
ต่อมาทางวัดไตรมิตรวิทยารามได้สร้าง พระมหามณฑป ขึ้นใหม่
เพื่อเป็นที่ประดิษฐาน “พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร” หรือ “หลวงพ่อทองคำ”

มีนามว่า พระมหามณฑป “พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร”

หลวงพ่อทองคำ เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยเชื้อสายจีน
ที่อาศัยอยู่แถวเยาวราชมาอย่างยาวนาน
นอกจากนี้ ยังเป็นเอกลักษณ์อันยิ่งใหญ่เคียงคู่ชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีนอีกด้วย

หลวงพ่อทองคำ มีพระพุทธลักษณะงดงามยิ่งนัก
สมดังที่ได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นรูปแบบของศิลปกรรมสุโขทัยยุครุ่งเรือง
ที่ได้รับการยอมรับว่ามีความวิจิตรอ่อนช้อยกว่าสกุลช่างยุคใด
ขนาดและน้ำหนักทองคำขององค์หลวงพ่อสะท้อนความสามารถ
อันฉลาดลุ่มลึกของฝีมือช่าง ทั้งด้านการออกแบบ ศิลปกรรม การปั้นหล่อ

เป็นหนึ่งในมรดกทางอารยธรรมล้ำค่ายิ่งของพระพุทธศาสนาคู่ผืนแผ่นดินไทย


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๓)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๓)
พระมหามณฑป “พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร” วัดไตรมิตรวิทยาราม
สถานที่ประดิษฐาน “พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร” หรือ “หลวงพ่อทองคำ” ในปัจจุบัน






เครดิต : http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=73&t=41086&sid=792bf457aa93c09fc64251b98a6aa87d
http://www.baanmaha.com/community/newthread.php?do=newthread&f=35