พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๖)

พระประธานยิ้มรับฟ้า
พระประธานในพระอุโบสถ วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ

ชมหอไตร ไหว้หลวงพ่อโต กราบพระยิ้ม ที่ “วัดระฆัง”


ชมหอไตร ไหว้หลวงพ่อโต กราบพระยิ้ม ที่ “วัดระฆัง”

ใครที่เคยไปตระเวนทัวร์ไหว้พระ 9 วัด มาแล้วก็คงจะมีโอกาสได้ไปวัดระฆังโฆสิตาราม วัดฝั่งธนบุรีริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่มีคติว่า “ไหว้พระวัดระฆัง มีคนนิยมชมชื่น มีชื่อเสียงโด่งดังตลอดปี” มาเป็นที่เรียบร้อย และสำหรับเราที่ถือคติว่า “จะไหว้พระวัดเดียวหรือไหว้พระกี่วัดภายในกี่วันก็ไหว้กันไปเถอะ ขอให้ไหว้อย่างตั้งใจก็ได้บุญแล้ว” ทางเราก็ได้มีโอกาสไปไหว้พระที่วัดระฆังมาแล้วเช่นกันเมื่อเร็วๆ นี้เอง

จริงๆ แล้ววัดระฆังนี้ หากมองเผินๆ หลายคนอาจจะบอกว่า ไม่เห็นมีอะไรโดดเด่น ไม่เหมือนวัดพระแก้วที่มีปราสาทราชวังงดงามหลายหลัง ไม่เหมือนวัดอรุณที่มีพระปรางค์ใหญ่โต ไม่เหมือนวัดโพธิ์ที่มีสิ่งที่น่าสนใจเยอะแยะจนดูสามวันก็ไม่หมด


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๖)
พระประธาน ยิ้มรับฟ้า

ใครคิดอย่างนั้นนับว่าคิดผิดเสียแล้ว เพราะวัดระฆังก็มีสิ่งที่น่าสนใจไม่น้อยเหมือนกันนะ ถ้าไม่เชื่อก็ลองตามเรามาสิ แค่นั่งเรือข้ามฟากจากท่าช้างมาก็ถึงแล้ว...

ระหว่างนั่งเรือข้ามฟาก ก็จะขอเท้าความถึงประวัติของวัดระฆังให้ฟังก่อนสักหน่อยก็แล้วกันว่า วัดระฆังโฆสิตารามวรวิหาร หรือ วัดระฆังโฆสิตาราม หรือ วัดระฆัง เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ก่อนหน้านี้มีชื่อเดิมว่าวัดบางหว้าใหญ่ มาเปลี่ยนเป็นวัดระฆังโฆสิตารามในตอนหลัง ก็เพราะในสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ได้มีการขุดพบระฆังลูกหนึ่งซึ่งมีเสียงไพเราะมาก ซึ่งต่อมารัชกาลที่ 1 ก็ได้นำระฆังลูกนั้นไปไว้ที่วัดพระแก้ว และโปรดให้สร้าง หอระฆัง พร้อมทั้งระฆังอีก 5 ลูกไว้ให้แทน จึงเป็นที่มาของชื่อวัดระฆัง


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๖)

แต่จริงๆ แล้ววัดนี้ยังเคยมีอีกชื่อหนึ่งว่า วัดราชคัณฑิยาราม ซึ่งเป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระราชทานตั้งให้ แต่คนไม่นิยมเรียก จึงเรียกกันว่าวัดระฆังมาจนถึงบัดนี้ และทำให้ใครๆ มักจะนำเอาระฆังทั้งเล็กใหญ่มาถวายที่วัดนี้เพื่อเป็นการทำบุญอีกด้วย เพราะได้เห็นระฆังเหล่านั้นแขวนเรียงกันอยู่มากมายข้างๆ พระอุโบสถ พอลมพัดมาทีหนึ่งก็ได้ยินเสียงระฆังก้องกังวานไปทั่วบริเวณ

แต่ว่าถ้าพูดถึงวัดระฆังโฆสิตาราม หรือ วัดระฆัง ขึ้นมา สิ่งหนึ่งที่หลายคนต้องนึกถึงก็คือ หลวงพ่อโต และพระคาถาชินบัญชร เพราะหลวงพ่อโต หรือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สมเด็จพระราชาคณะที่มีชื่อเสียงของวัดนี้ เป็นที่เคารพนับถือของเหล่าพุทธศาสนิกชนเป็นอย่างมาก และท่านยังเป็นผู้ที่นำเอาบทสวดอันศักดิ์สิทธิ์ที่ตกทอดมาจากลังกามาดัดแปลงแต่งเติมให้สมบูรณ์ขึ้น จนกลายเป็นพระคาถาชินบัญชรที่เราๆ รู้จักกันดี ซึ่งหากผู้ใดสวดเป็นประจำแล้วก็จะเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง

แน่นอนว่า ที่วัดระฆังนี้ต้องมีรูปเคารพของท่านอยู่แน่นอน แต่ก่อนที่จะไปกราบท่าน เราควรจะเข้าไปไหว้พระประธานในโบสถ์กันก่อนเป็นอย่างแรกจะดีกว่า


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๖)

สำหรับพระประธานในพระอุโบสถวัดระฆังนี้มีเรื่องเล่ากันว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เคยตรัสว่า “ไปวัดไหนไม่เหมือนมาวัดระฆัง พอเข้าประตูโบสถ์ พระประธานยิ้มรับฟ้าทุกที...” น่าจะเป็นเพราะพระพักตร์ของพระพุทธรูปที่อ่อนโยนและเมตตา ทำให้เห็นเป็นเช่นนั้น ใครที่อยากรู้ว่า พระประธานยิ้มรับฟ้าเป็นอย่างไร เชิญมาชมได้ที่พระอุโบสถวัดระฆัง

ไหว้พระประธานภายในโบสถ์เสร็จแล้ว ก็ลองเดินชมจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามไม่ใช่เล่น ภาพผนังด้านหน้าพระประธานเป็นภาพพระพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์ และภาพเดียรถีย์ท้าแข่งรัศมีกับพระพุทธองค์ ส่วนด้านหลังเป็นภาพพระมาลัยขณะขึ้นไปนมัสการพระมหาจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ผนังด้านข้างเบื้องบนเขียนเป็นรูปเทพชุมนุม ตอนล่างเขียนภาพทศชาติชาดก เมื่อได้ดูภาพจิตรกรรมฝาผนังนี้แล้วบอกได้เลยว่าใครเป็นคนวาด เพราะบนภาพมีชื่อคนเขียนอยู่เรียบร้อย คือ เสวกโท พระวรรณวาดวิจิตร (ทอง) จารุวิจิตร ซึ่งเป็นจิตรกรเอกในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2465

เมื่อออกมาจากพระอุโบสถแล้วจะเห็นว่า ด้านหน้ามีวิหารสองหลังตั้งอยู่ หลังหนึ่งนั้นเป็น พระวิหารสมเด็จพระสังฆราช (สี) ซึ่งเป็นพระสังฆราชองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนวิหารอีกหลังที่อยู่ตรงกันข้ามติดแอร์เย็นฉ่ำ เป็นวิหารที่ประดิษฐานรูปหล่อสมเด็จพระราชาคณะของวัดนี้ไว้ 3 องค์ ซึ่งก็คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ม.จ.ทัด เสนีย์วงศ์) และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร) ซึ่งทั้งสามท่านนี้เป็นพระภิกษุที่มีคนเคารพนับถืออย่างมาก เพราะเห็นมีคนเข้ามาสักการะท่านทั้งสามไม่ขาดสาย โดยมีเครื่องสักการะเป็นดอกไม้ มาลัย และหมากพลูต่างๆ สวดมนต์ท่องคาถาชินบัญชร และเมื่อสวดจบแล้วก็จะปิดทองที่องค์ท่านเป็นอันเสร็จ

ครั้นไหว้รูปหล่อสมเด็จฯ ทั้งสามองค์เสร็จแล้ว ใครจะออกมาทำบุญกับพระประจำวันเกิด และเติมน้ำมันในตะเกียงต่อก็ได้ แต่สำหรับเราแล้วยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ตั้งใจไว้ว่าเมื่อมาวัดนี้แล้วจะต้องไปดูให้ได้ นั่นก็คือ “ตำหนักจันทน์” หรือ “หอพระไตรปิฎก” ซึ่งอยู่ทางด้านข้างของพระอุโบสถ ตรงข้ามกับหอระฆัง ดูมีรั้วกั้นเป็นสัดเป็นส่วนซ่อนตัวอยู่ในร่มไม้หนา


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๖)
ตำหนักจันทน์หรือหอพระไตรปิฎก
โบราณสถานที่ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๖)
พระวิหารสมเด็จพระสังฆราช (สี)








พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๖)


พระศรีสรรเพชญ์ พระประธานในพระอุโบสถ
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๖)


ประวัติวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ (โดยย่อ)
รวบรวมจากพระนิพนธ์ของ
มเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรงนิพนธ์เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๐


วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เดิมชื่อว่า “วัดสลัก” ผู้สร้างวัดแห่งนี้ไม่ปรากฏนาม แต่สันนิษฐานว่า
มีมาแต่ครั้งกรุงเก่า (กรุงศรีอยุธยา) เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (พระอนุชาธิราช
ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑) ทรงมาพบวัดนี้แล้ว ทรงบูรณ-
ปฏิสังขรณ์ และทรงสร้างถาวรวัตถุขึ้นมาใหม่ ทรงสถาปนาวัดนี้ขึ้นเป็นพระอารามหลวงแห่งแรก
ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงขอพระราชทานพระอารามจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชว่า“วัดนิพพานาราม”

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้ทำการสังคายนาพระไตรปิฎก
ที่วัดนิพพานาราม จึงโปรดให้เปลี่ยนนามพระอารามว่า “วัดพระศรีสรรเพชญ์” ต่อมาพระองค์ทรงประชุมพระราชาคณะให้จัดการศึกษาพระปริยัติธรรม และจัดให้มีการสอบไล่พระปริยัติธรรมที่วัดแห่งนี้ จึงโปรดให้เปลี่ยนนามพระอารามอีกครั้งว่า “วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ราชวรมหาวิหาร” ตามแบบอย่างครั้งกรุงเก่า

เมื่อ พ.ศ ๒๓๔๖ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดให้เรียกวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ราชวรมหาวิหารว่า “วัดมหาธาตุ” ด้วยเหตุว่านามวัดดังกล่าวเป็นหลักของพระนครที่มีทุกราชาธานีในประเทศนี้ จึงควรต้องมีในพระนครอมรรัตนโกสินทร์ อีกทั้งพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระมณฑป ซึ่งเป็นพระศรีรัตนมหาธาตุก็มีอยู่ในพระอาราม และเป็นพระอารามที่สถิตสมเด็จพระสังฆราชเหมือนวัดมหาธาตุที่กรุงเก่า จึงพระราชทานนามพระอารามแห่งนี้ใหม่ในรัชสมัยของพระองค์ว่า “วัดมหาธาตุ”

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระราชทรัพย์อันเป็นส่วนของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เพื่อปฏิสังขรณ์วัดมหาธาตุ จึงโปรดให้เพิ่มสร้อยนามพระอาราม เฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชว่า “วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์”


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๖)
พระเจดีย์ทองศรีรัตนมหาธาตุ ณ พระมณฑป


ถาวรวัตถุที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงสร้าง


๑. พระมณฑปเป็นที่ประดิษฐานพระเจดีย์ทองศรีรัตนมหาธาตุ ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

๒. พระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระประธานนามว่า “พระศรีสรรเพชญ์” และ “พระอรหันต์ ๘ ทิศ”

๓. พระวิหาร

๔. พระระเบียงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ๑๐๘ องค์ (มีการสร้างเสริม ๔ องค์ รวม ๑๑๒ องค์)

๕. พระปรางค์และพระเจดีย์

๖. หอไตรกับหอระฆัง

๗. ศาลาการเปรียญ

๘. เสนาสนะ

๙. กำแพงวัด


พระมณฑป

ในสิ่งปลูกสร้างทั้ง ๙ อย่างที่ยังปรากฏอยู่ในปัจจุบันดังกล่าวนั้น สิ่งหนึ่งที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงสร้างให้เป็นสิ่งสำคัญและเป็นประธานของวัดแห่งนี้คือ “พระมณฑป”

พระมณฑปทรงสร้างครอบพระเจดีย์ทองซึ่งเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าวข้างต้นนั้น นอกจากนั้นยังมีพระพุทธที่นำมาจากเมืองเหนือ เมืองสุโขทัย เมืองสวรรคโลก เมืองพิษณุโลก เมืองลพบุรี และที่กรุงเก่า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทนำมาประดิษฐานไว้ภายนำพระมณฑปถึง ๒๘ องค์ล้วนแต่องค์งาม ๆ ทั้งนั้น พระมณฑปนี้ทรงสร้างไว้ด้านทิศตะวันออกกึ่งกลางระหว่างพระอุโบสถกับพระวิหาร พระองค์ทรงเอาเครื่องไม้ที่จะทรงสร้างปราสาทในวังหน้านำมาสร้างพระมณฑป แต่มณฑปที่สร้างด้วยเครื่องไม้นั้นถูกเพลิงไห พระอุโบสถและพระวิหารก็ถูกไหม้ในครั้งนั้นด้วย พระองค์ก็ทรงให้สร้างพระมณฑปใหม่ให้เป็นหลังคาทรงโรงอย่างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน พระมณฑปนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาตามลำดับ


นสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๗ ทรงบูรณะวัดมหาธาตุโดยการก่ออิฐถือปูนทั้งพระอาราม ส่วนการบูรณะพระมณฑปให้รื้อเครื่องบนเปลี่ยนตัวไม้ที่ชำรุด และเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาใหม่ ลงรักปิดทองพระเจดีย์ทอง ประดับกระจกใหม่ทั้งหลัง

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๓๙ เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สวรรคตได้ ๒ ปี พระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล โปรดให้นิมนต์สมเด็จพระวันรัต (ฑิต) แต่ยังเป็นพระพิมลธรรม ถวายพระธรรมเทศนา แล้วทรงบูชากัณฑ์เทศน์ ๑,๐๐๐ ชั่ง ทรงพระราชอุทิศเพื่อปฏิสังขรณ์สิ่งสำคัญในวัดมหาธาตุ คือ พระมณฑป พระอุโบสถ และพระวิหาร ให้เปลี่ยนตัวไม้เครื่องบนที่ชำรุด เปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาใหม่ ประดับกระจกหน้าบันใหม่ ฉาบปูนผนังใหม่เหมือนกันทุกหลัง แต่ที่หน้าบันพระวิหารนั้นเปลี่ยนลายเป็นรูปจุลมงกุฎของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช จากงบประมาณการบูรณปฏิสังขรณ์ที่ได้มาดังกล่าว จึงโปรดให้เพิ่มสร้อยนามพระอารามเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชว่า “วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์”

พระมณฑปนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาตามลำดับ โดยอดีตอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุเสมอมา ด้วยการบูรณะตามสภาพของส่วนที่ทรุดโทรม

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๕๐ พระธรรมสุธี (พีร์ สุชาโต) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ รูปปัจจุบัน พิจารณาเห็นว่าพระมณฑปทรุดโทรมมากแล้ว จึงได้เชิญชวนคณะสงฆ์วัดมหาธาตุ พร้อมทั้งอุบาสก อุบาสิกา และชาวพุทธ ร่วมกันหาทุนทรัพย์ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้น เมื่อวันเสาร์ที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ตรงกับวันมาฆบูชา ซึ่งเป็นการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในมงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุ ๘๐ พรรษาในปีนี้อีกด้วย


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๖)

พระอุโบสถ


พระอุโบสถที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงสร้างไว้นั้น ได้ถูกเพลิงไหม้ในคราวเดียวกับพระมณฑป พระองค์ทรงโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ โดยขยายตัวอาคารพระอุโบสถออกถึงแนวเขตสีมาจนเกือบชิดกับพระมณฑป จึงยกสีมาขึ้นติดกับแนวผนัง ประตูติดตั้งให้เปิดออกด้านข้าง ลักษณะพระอุโบสถอย่างนี้มีเพียง ๒ แห่ง คือ วัดมหาธาตุ กับ วัดชนะสงคราม เพราะทั้ง ๒ วัดนี้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงสร้าง

นสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๗ ทรงบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ โดยรื้อเครื่องบนเปลี่ยนตัวไม้ที่ชำรุด และเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาใหม่ เสริมผนังและเสาให้สูงขึ้นกว่าเก่า ๑ ศอก ลงรักปิดทองประดับกระจกใหม่ทั้งหลัง แต่ผนังข้างในยังไม่ได้เขียนใหม่ สิ้นรัชกาลเสียก่อน

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๓๙ เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสวรรคตได้ ๒ ปี พระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล โปรดให้นิมนต์สมเด็จพระวันรัต (ฑิต) แต่ยังเป็นพระพิมลธรรม ถวายพระธรรมเทศนา แล้วทรงบูชากัณฑ์เทศน์ ๑,๐๐๐ ชั่ง ทรงพระราชอุทิศเพื่อปฏิสังขรณ์สิ่งสำคัญในวัดมหาธาตุ คือ พระมณฑป พระอุโบสถ และพระวิหาร ให้เปลี่ยนตัวไม้เครื่องบนที่ชำรุด เปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาใหม่ ประดับ กระจกหน้าบันใหม่ ฉาบปูนผนังใหม่เหมือนกันทุกหลัง จากงบประมาณการบูรณปฏิสังขรณ์ที่ได้มาดังกล่าว จึงโปรดให้เพิ่มสร้อยนามพระอาราม เพื่อเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชว่า “วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์”

พระอุโบสถนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาตามลำดับ โดยอดีตอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุเสมอมา ด้วยการบูรณะตามสภาพของส่วนที่ทรุดโทรม

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๔๗ พระเทพเมธี (พีร์ สุชาโต) รักษาการอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุ ในขณะนั้น (ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมสุธี เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙) พิจารณาเห็นว่าพระอุโบสถทรุดโทรมมาก จึงเชิญชวนคณะสงฆ์วัดมหาธาตุ พร้อมทั้งอุบาสก อุบาสิกา และชาวพุทธ ร่วมกันหาทุนทรัพย์ และทำการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้น โดยรื้อเครื่องบนเปลี่ยนตัวไม้ที่ชำรุด และเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาใหม่ รื้อปูนฉาบที่ผนังด้านนอกด้านในและเสาแล้วใช้ปูนตำฉาบใหม่ทั้งหลัง ทาสี เขียนลาย ลงรักปิดทองพื้นเพดานเครื่องบนทั้งหมด ประตูหน้าต่างเปลี่ยนเครื่องไม้ที่ชำรุดและเขียนลายใหม่ทั้งหมด ปิดทองหลวงพ่อพระศรีสรรเพชญ์และพระอรหันต์ทั้ง ๘ องค์ ชุกชี (ฐาน) พระประธานลงรักปิดทองประดับกระจกใหม่ทั้งหมด เปลี่ยนพัดลมและโคมไฟเพดานทั้งหมด ติดตั้งระบบเสียงใหม่ทั้งหมด เมื่อวันเสาร์ที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ นับเป็นการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ แล้วเสร็จเมื่อวัน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นการร่วมเฉลิมฉลองในมงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙



พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๖)

พระศรีสรรเพชญ์ พระประธานในพระอุโบสถ
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร



วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมเรียกว่า วัดสลัก

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อทรงตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี และทรงสร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ และสร้างพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นที่ประทับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล นั้น วัดสลักเป็นวัดที่อยู่กึ่งกลางระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดสลักเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๖ พร้อมกับการก่อสร้างพระราชวังบวรสถานมงคล จากนั้นทรงเปลี่ยนชื่อวัดจาก วัดสลัก เป็น วัดนิพพานาราม

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ใช้วัดนิพพานารามเป็นสถานที่สังคายนาพระไตรปิฎกใน พ.ศ. ๒๓๓๑ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดพระศรีสรรเพชญ” และใน พ.ศ. ๒๓๔๖ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรมหาวิหาร ตามชื่อวัดในกรุงศรีอยุธยาที่เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช

วัดมหาธาตุเป็นสถานที่ที่ใช้เป็นที่พระราชทานเพลิงพระบุพโพเจ้านายซึ่งดำรงพระเกียรติยศสูง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ใช้พื้นที่ของวัดเป็นที่สร้างเมรุพระราชทานเพลิงพระศพพระบรมวงศ์ชั้นสูง

พ.ศ. ๒๔๓๙ โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในการบูรณะวัดมหาธาตุและพระราชทานนามว่า “วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์”

“พระศรีสรรเพชญ” เป็นพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตักกว้าง ๕.๑๖ เมตร วัสดุก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง เป็นพระพุทธรูปที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท วังหน้าในรัชกาลที่ ๑ ทรงเคารพศรัทธาสูงสุด

ประดิษฐานเป็นพระประธานใหญ่ในพระอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ได้เคยตั้งสัตยาธิษฐานขอบารมีให้ช่วยคุ้มครองจากข้าศึกในระหว่างทรงร่วมกอบกู้ชาติบ้านเมือง เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒

พระศรีสรรเพชญ์ เป็นพระพุทธรูปที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทให้ความเคารพศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง

สันนิษฐานว่า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท โปรดให้พระยาเทวารังสรรค์ ช่างวังหน้า เป็นผู้ปั้น “พระศรีสรรเพชญ” ขึ้นเพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดมหาธาตุ (ขณะนั้นเรียกชื่อวัดพระศรีสรรเพชญ์ คือ ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๓๑ - ๒๓๔๖ ซึ่งเป็นยุคต้นของรัตนโกสินทร์)

พร้อมกับการปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ทั่วทั้งพระอาราม ในครั้งนั้นนามของพระประธาน จึงอนุโลมตามชื่อวัดไปด้วย

มีเรื่องราวบันทึกไว้ว่า เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ใกล้สวรรคต ได้เสด็จขึ้นพระเสลี่ยงไปที่วัดมหาธาตุฯ เพื่อทรงนมัสการพระประธานในพระอุโบสถ สมเด็จพระบวรราชเจ้าฯ ทรงจบพระหัตถ์อุทิศถวายพระแสงดาบให้ทำเป็นราวเทียน โปรดให้จุดเทียนเรียงติดไว้ที่พระแสง เมื่อครั้งทรงพระประชวรในปลายสมัยของพระองค์ เพื่อเป็นพุทธบูชา

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๘๗ วัดชำรุดทรุดโทรมมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ทั่ว ทั้งพระอาราม โปรดให้เสริมส่วนสูงพระอุโบสถเพิ่มขึ้น ๑ ศอก

ในการนี้ พระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นพระประธานได้รับการเสริมสร้างให้ใหญ่ขึ้นตามพระอุโบสถ โดยพระยาชำนิรจนาเป็นผู้ปั้น ในเวลาต่อมาองค์พระได้รับการปิดทองใหม่อีก ๒ ครั้ง คือใน พ.ศ. ๒๔๔๕ เกิดอสุนีบาตพระอุโบสถด้านตะวันตก พระประธานต้องสายฟ้าดำไปทั้งองค์ และอีกครั้งหนึ่งใน พ.ศ. ๒๔๖๗



พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๖)

พระศรีสักยมุนี หรือพระศรีศากยมุนี (หลวงพ่อโต)
พระประธานในพระวิหารหลวง
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ กรุงเทพมหานคร


พระศรีสักยมุนี หรือพระศรีศากยมุนี (หลวงพ่อโต) ประดิษฐานในวิหารหลวง วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่มีขนาดใหญ่องค์หนึ่ง (ไม่มีรายละเอียดขนาดหน้าตัก และความเป็นมา) สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น




เครดิต : http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=73&t=41086&sid=bd744aac2a9bba9cd015f9a379715ee5
http://www.baanmaha.com/community/newthread.php?do=postthread&f=35