พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๗)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๗)


พระพุทธรูปหยกขาว พระประธานในอุโบสถ
วัดถ้ำเสือวิปัสสนา ต.กระบี่น้อย อ.เมือง จ.กระบี่


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๗)

ในปี พ.ศ. 2518 หลวงพ่อจำเนียร สีลเสฏโฐ มีความประสงค์จะหาสถานที่ปฏิบัติธรรมใหม่ ก็เกิดนิมิตในมโนภาพว่าเป็นสถานที่มีภูเขาล้อมรอบ และถ้ำชื่อ “ถ้ำเสือ” ตลอดถึงถ้ำต่างๆ หลายถ้ำ และอยู่ในเขตจังหวัดกระบี่ด้วย ทันทีที่เกิดนิมิตเห็นก็เกิดความรู้สึกนึกรักสถานที่นั้นขึ้นมาจับใจ เหมือนรู้สึกคุ้นเคยกับสถานที่นี้มาก่อน หลวงพ่อได้ให้พระอาจารย์หีด ไปเสาะแสวงหาสถานที่จะตั้งสำนัก จนในที่สุดพระอาจารย์หีดได้พบสถานที่หลายๆ แห่งรวมถึงถ้ำเสือด้วย

หลวงพ่อได้มีโอกาสไปดูสถานที่ถ้ำตามที่พระอาจารย์หีดบอก ก็ตรงกับนิมิตที่หลวงพ่อเห็นจริงๆ หลวงพ่อจำเนียรได้นำคณะพระภิกษุสามเณร 53 แม่ชี 56 ท่าน จากวัดสุคนธาวาส มาอยู่ ณ สถานที่แห่งนี้อันมีนามว่า ถ้ำเสือ หรือในอดีตวัดมีชื่อว่า “สำนักสงฆ์หน้าชิง” ตามชื่อหมู่บ้าน เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2518

ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดถ้ำเสือ” เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2533 มาบุกเบิกเปิดเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานจนถึงปัจจุบัน ชื่อวัดนั้นมีข้อสันนิษฐานว่า เหตุที่ได้ชื่อว่า “ถ้ำเสือ” เพราะว่าบริเวณถ้ำด้านหน้าของทิวเขาอ่าวลูกธนูหรือที่เรียกว่า “เขาแก้ว” ในอดีตเคยมีเสือโคร่งขนาดใหญ่จำนวนมากอาศัยอยู่ และภายในถ้ำยังปรากฏหินธรรมชาติเป็นรูปอุ้งเท้าเสือ ส่วนที่มาของวัดนี้น่าจะมาจากพระธุดงค์ที่เดินทางจาริกไปเพื่อหาสถานที่วิเวกในการปฏิบัติธรรม มาอาศัยอยู่ตามถ้ำ และมีชาวบ้านที่ศรัทธาตามมากราบไหว้เป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นวัดในเวลาต่อมา

วัดแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันดีในจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งชาวต่างประเทศ ทั้งความโดดเด่นของวัดและชื่อเสียงของ “หลวงพ่อจำเนียร สีลเสฏโฐ” ประธานสงฆ์วัดถ้ำเสือวิปัสสนา (วัดถ้ำเสือ) ที่มีผู้เลื่อมใสศรัทธามาช้านาน สภาพโดยทั่วไปของวัดถ้ำเสือ มีลักษณะเป็นสวนป่า เป็นโพรงถ้ำ มีเพิงผาและแหล่งถ้ำธรรมชาติ เช่น ถ้ำคนธรรพ์ ถ้ำลอด ถ้ำช้างแก้ว ถ้ำลูกธนู ถ้ำงู ถ้ำเต่า ถ้ำมือเสือ สิ่งสำคัญใน “วัดถ้ำเสือ” นั้นที่ดูเหมือนจะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์มากที่สุดและ เป็นที่นิยมชื่นชอบของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๗)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๗)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๗)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๗)


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๗)

ประวัติหลวงพ่อจำเนียร สีลเสฎโฐ
ประธานสงฆ์ วัดถ้ำเสือ


หลวงพ่อจำเนียร สีลเสฏโฐ เกิดวันศุกร์ที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๖ ปีชวด แม่ชื่อ ต้า พ่อชื่อ เพชร ชลสาคร บ้านเกิดอยู่ที่บ้านปากนคร ต.ท่าไร่ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช มีพี่น้อง ๗ คน

๑. พระมณี
ปัจจุบันมรณภาพแล้ว
๒. นางจำรัส
๓. นางจำปี ปัจจุบันบวชเป็นแม่ชี ณ วัดถ้ำเสือ
๔. พระจำนง ปัจจุบันมรณภาพแล้ว
๕. หลวงพ่อจำเนียร สีลเสฎโฐ ประธานสงฆ์วัดถ้ำเสือ
๖. นางจำนันท์
๗ จำเริญ เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก



พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๗)

หลวงพ่อจำเนียร สีลเสฎโฐ ก่อนที่พ่อของหลวงพ่อจะมีครอบครัวเคยเป็นพระธุดงค์มาก่อน จึงได้ฝึกให้หลวงพ่อนั่งกรรมฐาน ตั้งแต่อายุ ๓ – ๔ ขวบ และผลการสมาธิระดับหนึ่ง จึงทำให้ท่านรักในการนั่งกรรมฐาน และบ่อยครั้งแอบไปนั่งกรรมฐานภาวนา ในป่าช้า แค่อายุเพียง ๕ ขวบ หลวงพ่อถูกฝึกหนักตั้งแต่ยังเด็ก ฝึกให้มีความกล้า เช่น ให้ลงไปในคลองที่มีจระเข้ ลงในทะเลที่มีฉลามเสือ เพื่อให้มีความกล้า ไม่กลัว ฝึกให้เพ่งกสิณ เพ่งดวงอาทิตย์ และยังได้รับการถ่ายทอดประสิทธิ์ ประสาทวิชาการต่างๆ เช่น คาถาอาคม โหราศาสตร์ ยาสมุนไพรแผนโบราณ วิชาที่พ่อเคยร่ำเรียนมาสมัยเป็นพระธุดงค์ ต่อมาแม่ของท่านได้เสียชีวิต เมื่ออายุได้ ๖ ขวบ ๔ เดือน และท่านได้แม่เลี้ยงช่วยสอนหนังสือ ให้โดยใช้ความพากเพียรพยายามอย่างแรงกล้า ๑๕ วัน
จึงเขียนได้อ่านออก พออายุ ๗ ขวบ นึกอยากจะบวชเพราะผิดหวังในความรักแม่ ที่แม่ต้องมาตายไปแต่พ่อไม่อนุญาติเนื่องจากสุขภาพของพ่อไม่ค่อยแข็งแรงจึงต้องรับ ภาระในการเลี้ยงดู ครอบครัว อายุ ๘ ขวบได้เรียนโหราศาสตร์ ไสยศาสตร์และพุทธศาสตร์ อายุ ๙ ขวบ เรียนพระไตรปิฏกทีวัดมหาธาติวรวิหาร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช และเรียนเพิ่มเติมที่วัดนารีประดิษฐ์อีก

ต่อมาเมื่ออายุ ๒๑ ปี ท่านจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ ๒ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ณ พัทธลีมาวัดนารีประดิษฐ์ ตำบลท่าไร่ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมี ท่านพระครูกาเดิม วัดบูรณาราม เป็น พระอุปัชฌาย์ พระครูประดิษฐ์สุวรรณวัตร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า ”สีลเสฎโฐ”



พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๗)


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๗)

การเดินทาง
จากตัวเมืองกระบี่ เลี้ยวซ้ายที่สี่แยกตลาดเก่า ใช้เส้นทางถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) เส้นทางอำเภอเหนือคลอง
เลี้ยวซ้ายที่สามแยกถ้ำเสือไปตามถนนราษฎรพัฒนา (ทางหลวงหมายเลข 4037) ไปประมาณ 2 กิโลเมตร




พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๗)

หลวงพ่อชินประทานพร หรือ “พระพุทธชินประทานพร”
พระคู่บ้านคู่เมือง วัดถ้ำเสือ ต.ม่วงชุม อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๗)

ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

หลวงพ่อชินประทานพร หรือ “พระพุทธชินประทานพร”
วัดถ้ำเสือ ต.ม่วงชุม อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี

“วัดถ้ำเสือ” (Wat Sua Cave) สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบไทย จากคำบอกเล่าต่อๆกันมา วัดถ้ำเสือแห่งนี้เดิมเป็นเพียงสำนักสงฆ์เล็กๆ อยู่ในถ้ำบนเขาซึ่งถือกำเนินมากว่า 100 ปี แต่เดิมภายในถ้ำมีพระพุทะรูปศิลาแลงซึ่งชำรุดหักพังมากมาย มีผู้บอกกล่าวกันต่อๆ มาว่าพระพุทธรูปเหล่านั้นเกิดการชำรุดเนื่องจากถูกทหารพม่าทำลายเมื่อครั้งที่ได้ยกทัพผ่านมา โดยใช้เส้นทางด่านพระเจดีย์ 3 องค์เป็นเส้นทางเดินทัพ

ในปี พ.ศ.2516 ได้มีการวางแผ่นฤกษ์สร้าง หลวงพ่อชินน์ประทานพร หรือพระพุทธชินราช ประทับปางประทานพร ขนาดใหญ่สีทองอร่ามโดดเด่นเป็นสง่าอยู่บนยอดเขา มีพุทธลักษณะที่สวยงามมาก ต่อมาในปี พ.ศ.2518 ได้สร้างมณฑปครอบรอยพระพุทธบาท ซึ่งเป็นรอยพระพุทธบาทเบื้องซ้ายยาว 1.50 เมตร ลึก 2.50 เมตร มีน้ำซึมตลอดเวลา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานวิสุงคามสีมา ในปี พ.ศ.2520 และในปีเดียวกันก็ได้จัดสร้าง อุโบสถอัฏมุข หรือพระอุโบสถ 8 มุข เป็นลักษณะทรงไทยมีลวดลายสวยงามวิจิตร ภายในพระอุโบสถมีภาพเล่าเรื่องราวพระพุทธประวัติ สำหรับอุโบสถ 8 มุขนี้ไม่มีที่ใดสร้าง แต่ที่วัดถ้ำเสือสร้างขึ้นด้วยมโนภาพ ด้วยจิตสำนึกที่พระอรหันต์มาประชุมและกราบทูลพระพุทธเจ้าออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้ง 8 ทิศ

ต่อมา เมื่อปี พ.ศ.2527 ได้สร้าง เจดีย์เกษแก้วมหาปราสาท สูง 75 เมตร ภายในโปร่งมี 9 ชั้น มีบันไดเวียนสำหรับขึ้นไปนมัสการพระบรมสารีริกธาตุด้านบนยอดสุดของพระเจดีย์ ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชเสด็จมาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในปราสาทจุฬามณีบรมสารีริกธาตุ ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่ชั้นบนสุดของเจดีย์เกษแก้วมหาปราสาท เมื่อ พ.ศ.2533 ที่ผ่านมา


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๗)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๗)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๗)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๗)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๑๗)





มีต่อ


เครดิต : http://www.watthumsua-krabi.com/history-monk-jumnien.htm
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=73&t=41085&sid=9c6c2d526ef61db926b8454a3cb12745
http://www.baanmaha.com/community/newthread.php?do=newthread&f=35