พระพุทธสัมฤทธิ์นิรโรคันตราย หรือ “หลวงพ่อองค์ดำ”
พระประธานในหอพระ วัดกลาง (พระอารามหลวง) จ.กาฬสินธุ์


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด  (๑๘) ต่อ

ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

พระพุทธสัมฤทธิ์นิรโรคันตราย
พระประธานในหอพระ วัดกลาง (พระอารามหลวง)
ถ.กาฬสินธุ์ ต.กาฬสินธุ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์


วัดกลาง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ 47 ถนนกาฬสินธุ์ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2387 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2480 และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญเมื่อ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่บนพื้นที่ 7 ไร่ 2 งาน 55 ตารางวา เป็นวัดที่มีเฉพาะพื้นที่ตั้งวัดเท่านั้น ไม่มีธรณีสงฆ์ หรือ กัลปนา โดยประดิษฐานพระพุทธสัมฤทธิ์นิรโรคันตราย หรือ หลวงพ่อองค์ดำ

พระพุทธสัมฤทธิ์นิโรคันตราย หรือ “หลวงพ่อองค์ดำ” หรือ “หลวงพ่อองค์ดำ-ชุ่มเย็น” เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองจังหวัดกาฬสินธุ์ หล่อด้วยคำแดง (ตัมพะโลหะ) ราวจุลศักราช 172 เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 41 เซนติเมตร ความสูงจากฐานถึงยอดพระเมาลี 75 เซนติเมตร พุทธลักษณะเป็นงานช่างที่เก่าแก่มาก ใต้ฐานพระพุทธรูปมีอักษรจารึก (อักษรธรรม) กล่าวถึงประวัติศาสตร์และตำนานการสร้างโดยเจ้าครูนาขาม (กิว) เป็นประธานในการหล่อพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้น

ดิมอยู่ที่โบสถ์วัดนาขาม ตำบลนาคู อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ญาคูนาขามหรือญาคูกิว ร่วมกับอุบาสก อุบาสิกา จัดสร้างขึ้นในปีมะเมีย เดือน 2 ขึ้น 15 ค่ำ วันพฤหัสบดี จ.ศ. 172 ต่อมาพระยาชัยสุนทรได้อัญเชิญมาจากบ้านนาขามโดยใส่หลังช้างมาประดิษฐานในโฮงเจ้าเมือง และต่อมาได้อัญเชิญมาประดิษฐานในวิหารวัดกลาง (ปัจจุบันเป็นหอพระ) สมัยนั้น ญาคูอ้มเป็นเจ้าอาวาส ต่อมาพระครูสุขุมวาทวรคุณ (สุข สุขโณ) สมณศักดิ์ในขณะนั้น เป็นเจ้าอาวาสได้อัญเชิญมาประดิษฐานบนกุฎีของท่าน ทุกปีในวันสงกรานต์ ชาวเมืองกาฬสินธุ์ได้อัญเชิญหลวงพ่อองค์ดำแห่รอบเมืองเพื่อให้ชาวเมืองกาฬสินธุ์ได้สรงน้ำ ปรากฏว่ามีฝนตกทุกครั้งไป ชาวเมืองกาฬสินธุ์จึงเรียกชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า หลวงพ่อชุ่มเย็น ต่อมา พระวิเชียรกวี (ปราชญ์ อกฺกโชโต) สมณศักดิ์ในขณะนั้น เจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์และคณะกรรมการวัดพร้อมด้วยผู้มีจิตศรัทธา บริจาคเงินสมทบทุนในการก่อสร้างพระวิหารฯ ได้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2546 โดยมีพระธรรมปริยัติโมลี เจ้าคณะภาค 9 วัดทินกรนิมิต เป็นประธาน และได้อัญเชิญหลวงพ่อองค์ดำขึ้นประดิษฐาน ณ พระวิหารนี้ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2546 ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 12 ปีมะแม จ.ศ. 1365 ซึ่งมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) กรรมการมหาเถรสมาคมเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก วัดสระเกศ เป็นประธานในพิธีเปิดพระวิหารนี้

คำบูชาพระพุทธสัมฤทธิ์นิโรคันตราย

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ จบ)

อะหัง วันทามิ พุทธะสัมฤทธิ์ นิระโรคันตะรายัง อะหัง วันทามิ ตัง สะท


พระเทพปัญญาเมธี (ปราชญ์ อักกโชโต) เจ้าอาวาส เจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด  (๑๘) ต่อ

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด  (๑๘) ต่อ




หลวงพ่อเทพโมฬี หรือ “หลวงพ่อโม้”
พระประธานในศาลาโล่งใหญ่ วัดเทพโมฬี จ.กำแพงเพชร


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด  (๑๘) ต่อ

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด  (๑๘) ต่อ

ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

หลวงพ่อเทพโมฬี หรือ “หลวงพ่อโม้”
วัดเทพโมฬี ต.ในเมือง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร

“เมืองกำแพงเพชร” เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีความสำคัญ
ทางด้านการเมือง การสงคราม และด้านพระพุทธศาสนา
หลักฐานที่ปรากฏให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงความรุ่งเรืองรุ่งโรจน์
ของพระพุทธศาสนาสมัยเก่า คือ ซากปรักหักพังของอุโบสถ
และวิหารต่างๆ ของวัด ที่มีอยู่รายล้อมเมืองกำแพงเพชร

“หลวงพ่อเทพโมฬี” (หลวงพ่อโม้) เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น
ปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ ก่ออิฐถือปูน ได้สะท้อนถึงความรุ่งโรจน์
ของเมืองกำแพงเพชรโบราณ ชาวเมืองเรียกว่า “หลวงพ่อโม้”

องค์พระพุทธรูปมีขนาดหน้าตักกว้าง ๑๐ ศอก ๑ คืบ สูง ๑๓ ศอก ๑ คืบ
ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ สร้างครอบองค์เดิมไว้ภายใน
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ เดิมสันนิษฐานว่าเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น

“หลวงพ่อเทพโมฬี” ประดิษฐานเป็นพระประธานในศาลาโล่งใหญ่
ณ วัดเทพโมฬี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
ซึ่งเป็นวัดที่มีขนาดเล็ก มีเนื้อที่ประมาณ ๑๒ ไร่ ตั้งอยู่นอกเขตเมืองชากังราว
อยู่ทิศใต้ของคูเมืองเก่า ด้านหน้าทิศตะวันออก ติดกับถนนราชดำเนิน
ด้านหลังทิศตะวันตกติดกับบ้านพักอัยการจังหวัด และโรงพยาบาลแพทยบัณฑิต
ทิศเหนืออยู่ใกล้กับสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร
สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

วัดเทพโมฬี ชาวกำแพงเพชร เรียกว่า วัดหลวงพ่อโม้
เป็นวัดทิ้งร้างนอกเขตคูเมืองเดิมด้านทิศใต้เป็นเวลานานนับร้อยปี
ซากปรักหักพังเป็นศิลาแดง จึงกำหนดอายุว่าน่าจะร่วมสมัยกับโบราณสถาน
ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมื่อครั้งยังเป็นเมืองชากังราว
เฉพาะองค์หลวงพ่อเทพโมฬี เป็นพระประธานในอุโบสถมาแต่เดิม
ได้ชำรุดแตกหักเหลือแต่พระปฤษฎางค์และพระเศียร ส่วนพระกรหลุดร่วงหายไป
มีต้นไม้และเถาวัลย์ขึ้นรกคลุมจนแทบมองไม่เห็นองค์พระพุทธรูป
นอกจากนี้ยังมี งู แมงป่อง เป็นต้น จำนวนมากมาย ทำให้ไม่มีผู้ใดกล้าเข้าใกล้

ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ นายกาจ รักษ์มณี
ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ในสมัยนั้น
มีความคิดที่จะบูรณะพุทธสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีคนกราบไหว้
เพื่อจะได้เป็นสาธารณสถานให้ชาวกำแพงเพชรได้กราบไหว้บูชา
ท่านจึงปรึกษาหารือกับนายจำรูญ อรรถธรรมสุนทร อัยการจังหวัดกำแพงเพชร
อัยการจังหวัดจำรูญเรียนท่านผู้ว่าราชการจังหวัดว่า
มีพระพุทธรูปเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์อยู่องค์หนึ่ง ชาวบ้านนับถือกันมาก
อยู่หลังบ้านพักอัยการจังหวัด มีนามว่า หลวงพ่อโม้
มีความศักดิ์สิทธิ์มาก ชาวบ้านนิยมกราบไหว้บูชา บนบานศาลกล่าวกันอยู่เสมอ

ผู้ว่าราชการจังหวัดและอัยการจังหวัดกำแพงเพชร
จึงตกลงพร้อมใจที่จะบูรณปฏิสังขรณ์วัดเทพโมฬีแห่งนี้
เพื่อให้เป็นสถานที่บูชากราบไหว้ของชาวกำแพงเพชร
และชาวจังหวัดใกล้เคียงสืบไปภายหน้า
โดยชักชวนข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนชาวกำแพงเพชร
ให้ร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์ หลวงพ่อเทพโมฬี
ควบคู่กับ หลวงพ่อแป้งข้าวหมาก ที่ปรักหักพังด้วยกัน
ขึ้นมาใหม่ให้เป็นองค์พระพุทธรูปที่สมบูรณ์
โดยก่อปูนสร้างครอบหุ้มองค์พระพุทธรูปเดิมไว้ภายใน

ทางจังหวัดกำแพงเพชรได้ไปกราบอาราธนา หลวงพ่อโง่น โสรโย
วัดพระพุทธบาทเขารวก อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร
ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการปั้นและทำพิธีทางศาสตร์เวทในด้านนี้มาเป็นผู้ปั้น
พร้อมทั้งบูรณปฏิสังขรณ์องค์หลวงพ่อเทพโมฬี หลวงพ่อโง่นได้เป็นองค์ประธาน
ควบคู่กับการประกอบพิธีกรรมตามประเพณีทุกขั้นตอน
โดยใช้เวลาปั้นหลวงพ่อเทพโมฬี พร้อมทั้งปรับปรุงบริเวณโดยรอบแล้ว
แล้วเสร็จในปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ ในระหว่างนั้น พระครูวิธานวชิรศาสน์
หรือหลวงพ่อภา อดีตเจ้าอาวาสวัดเสด็จ (ปัจจุบันมรณภาพแล้ว)
ได้นำพาพระภิกษุ-สามเณรมาช่วยร่วมบูรณปฏิสังขรณ์โดยตลอด

เหตุที่ชาวเมืองกำแพงเพชร เรียกว่า “หลวงพ่อโม้” จนติดปาก
เพราะมีเรื่องเล่าขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ของท่านอยู่เสมอๆ
ไม่ว่าจะบนบานศาลกล่าวสิ่งใดในเรื่องที่ดีก็มักจะประสบความสำเร็จทุกรายไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบนขอให้ฝนไม่ตกในช่วงเวลาจัดงานต่างๆ ในจังหวัด

ด้วยความศักดิ์สิทธิ์เสมือนหนึ่ง “โม้” นี่เอง
จึงเรียกกันติดปากเรื่อยมาว่า “หลวงพ่อโม้”

หลวงพ่อเทพโมฬี หรือ “หลวงพ่อโม้” นับเป็นเป็นพระพุทธรูป
ที่ชาวบ้านนับถือในความศักดิ์สิทธิ์มาอย่างยาวนาน
มีผู้ระลึกถึงโดยกราบไหว้บนบานขอความช่วยเหลือในยามที่เดือดร้อน
ก็ล้วนได้รับผลสำเร็จเป็นเนืองนิจ
อาจกล่าวได้ว่าเป็นพระพุทธรูปอันเป็นมิ่งขวัญหลักชัย
ของชาวเมืองกำแพงเพชรอยู่ตลอดมาไม่เสื่อมคลาย

ปัจจุบัน วัดเทพโมฬี เป็นพุทธศาสนสถานแห่งสาธารณชน
อยู่ในความดูแลของวัดเสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
และถูกบรรจุให้เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร
ในแต่ละวันจะมีพุทธศาสนิกชนแวะเวียนมากราบไหว้บูชาเพื่อขอพร
และแก้บนเมื่อประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตนปรารถนาต่อท่านเสมอมิได้ขาด
สำหรับเครื่องแก้บน นอกจากดอกไม้ธูปเทียนแล้วก็มีขนมจีนกับแป้งข้าวหมาก

สาธุชนท่านใดที่มีโอกาสเดินทางผ่านไปยังจังหวัดกำแพงเพชร
ควรจะแวะไปสักการบูชาขอพรต่อองค์หลวงพ่อเทพโมฬี ที่วัดเทพโมฬี
ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
โทร.๐๘๑-๗๒๗-๒๖๘๙ เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัว







พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด  (๑๘) ต่อ

หลวงพ่อพระลับ วัดธาตุ จ.ขอนแก่น

ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

หลวงพ่อพระลับ
วัดธาตุ อ.เมือง จ.ขอนแก่น

“หลวงพ่อพระลับ” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยสัมฤทธิ์
มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑๑ นิ้ว และสูง ๒๙ นิ้ว ประทับนั่งขัดสมาธิราบ
พระพักตร์รูปไข่ พระนลาฏกว้าง พระขนงโก่ง
พระเนตรเรียว เหลือบตาลงต่ำ พระนาสิกสันปลายแหลม
พระโอษฐ์แย้ม ขนาดพระเกศาเล็กแหลม พระเกตุมาลาใหญ่

รัศมีเป็นเปลวตั้งอยู่บนฐานกลีบบัว ครองจีวรห่มเฉียง
เปิดพระอังสาขวา ชายจีวรยาวลงมาจรดพระนาภี
นิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกัน ฐานปัทม์ยกสูงทรงสี่เหลี่ยมบัวคว่ำหงาย
และแนวลูกแก้วอกไก่งอนขึ้นทางด้านบน

“หลวงพ่อพระลับ” จัดอยู่ในกลุ่มพระพุทธรูปศิลปะลาว
“สกุลช่างเวียงจันทน์” คล้ายพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ระเบียงหอพระแก้ว
เมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๔

ประวัติเล่าสืบกันมาว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๑ (พ.ศ.๒๐๗๗-๒๑๑๔)
เป็นกษัตริย์ครองเมืองหลวงพระบาง เมื่อพม่ายกทัพมาตีเมืองหลวงพระบาง
พ.ศ.๒๐๙๐ พระองค์อพยพไปตั้งเมืองหลวงใหม่ชื่อ “เวียงจันทน์บุรีศรีสัตนาค”
การอพยพครั้งนี้ได้นำพระแก้วมรกต พระบางพระพุทธรูปองค์อื่นๆ ไปด้วย
ซึ่งพระพุทธรูปทั้งหมดสร้างในสมัยเชียงแสน สมัยเชียงใหม่
และสมัยพระเจ้าโพธิสารมหาธรรมิกราชาธิราช

จากการศึกษาพระพุทธลักษณะจึงสันนิษฐานว่า หลวงพ่อพระลับ
สร้างขึ้นโดย “พระเจ้าโพธิสาร พระมหาธรรมิกราชาธิราช”
ประมาณปีพุทธศักราช ๒๐๖๘ ณ นครหลวงพระบาง
ครั้นเมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๑ สวรรคต เมื่อปีพุทธศักราช ๒๑๑๔
พระเจ้าศรีวรมงคล ผู้น้องขึ้นครองราชสืบมา พระนามว่า “พระยาธรรมิกราช”
(พ.ศ.๒๑๓๔-๒๑๖๕) มีโอรส ๑ พระองค์ ชื่อ เจ้าศรีวิชัย

เมื่อพระยาธรรมิกราชสิ้นพระชนม์
กลุ่มของพระยาแสนสุรินทร์ขว้างฟ้า ยึดเมืองเวียงจันทน์ได้
เจ้าศรีวิชัยจึงหลบหนีพร้อมนำพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ไม่ทราบจำนวน
ซึ่งมี “หลวงพ่อพระลับ” รวมอยู่ด้วย
ไปอาศัยอยู่กับท่านพระครูหลวง (เจ้าอาวาสวัดโพนสะเม็ด)

เจ้าศรีวิชัย มีโอรสอยู่ ๒ คน คือ เจ้าแก้วมงคล และเจ้าจันทร์สุริยวงศ์

พ.ศ.๒๒๓๓ ท่านราชครูหลวงได้อพยพชาวเวียงจันทน์บางส่วน
ประมาณ ๓,๐๐๐ คน ไปบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพนม
แล้วพาครอบครัวเวียงจันทน์ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ดอนโขง
เนื่องจากท่านราชครูได้รับความเคารพจากประชาชนมาก
สองพี่น้องชื่อ นางเพา นางแพง ซึ่งปกครองดูแลเมืองจำปาศักดิ์
จึงได้อาราธนาท่านราชครูให้ไปอยู่ที่นครจำปาศักดิ์

เมื่อท่านไปปกครองได้ขยายอาณาเขตนครจำปาศักดิ์ให้กว้างขวางออกไป
และสร้างเมืองใหม่ ไม่ขึ้นต่อเมืองเวียงจันทน์และหลวงพระบาง
ได้อัญเชิญ “เจ้าหน่อกษัตริย์” หรือ “เจ้าหน่อคำ” มาเสวยราชสมบัติ
เป็นกษัตริย์ปกครองนครจำปาศักดิ์ใหม่ ทรงพระนามว่า “เจ้าสร้อยศรี สมุทรพุทธางกูร”
(พ.ศ.๒๒๕๖-๒๒๘๐) และได้ให้เจ้าแก้วมงคล อพยพครอบครัว พร้อมประชาชนพลเมือง
นำเอาพระพุทธรูปเก่าแก่ศักดิ์สิทธิ์ที่นำมาจากเวียงจันทน์
ไปสร้างเมืองทง หรือ “เมืองสุวรรณภูมิ” (ปัจจุบันคือ อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด)

เจ้าแก้วมงคล ได้เป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิคนแรก (พ.ศ.๒๒๕๖-๒๒๖๘)
จากนั้นก็มีเจ้าเมือง สืบต่อมาจนถึงปีพุทธศักราช ๒๓๒๖
“ท้าวภู” ได้เป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “พระรัตนวงษา”
ได้แต่งตั้งให้ลูกชาย “ท้าวศักดิ์” ไปดำรงตำแหน่ง “เมืองแพน”
มียศเป็น “เพีย” เทียบเท่าพระยาฝ่ายทหาร
ให้ไปตั้งรักษาการอยู่ริมแม่น้ำชี สถานที่นั้นเรียกว่า “ชีโหล่น”

ต่อมาถึงปีพุทธศักราช ๒๓๓๒ ก็ได้รับคำสั่งให้ไปตั้งแห่งใหม่ชายแดนด้านเหนือ
เขตเมืองสุวรรณภูมิกับเขตเมืองร้อยเอ็ดในขณะนั้น
“ท้าวศักดิ์” อพยพประชาชนพลเมืองประมาณ ๓๓๐ ครอบครัว
พร้อมนำเอาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์หลายองค์ไปไว้เคารพสักการะเป็นมิ่งขวัญเมืองด้วย
ตั้งบ้านใหม่เรียกว่า “บ้านบึงบอน” และได้ก่อสร้างหลักเมืองฝั่งตะวันตกบึง

เมื่อสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยเรียบร้อยแล้ว จึงได้สร้างวัดขึ้น ๔ วัด
คือ “วัดเหนือ” ให้เจ้าเมืองพร้อมลูกหลานไปทำบุญอุปัฏฐาก
“วัดกลาง” ให้เสนาอำมาตย์พร้อมลูกหลานไปทำบุญอุปัฏฐาก
“วัดใต้” ให้ประชาชนพลเมืองทั่วไปทำบุญอุปัฏฐาก
“วัดท่าแขก” อยู่ฝั่งบึงด้านทิศตะวันออก สำหรับพระภิกษุอาคันตุกะ
จากถิ่นอื่นๆ มาพำนักเพื่อประกอบพุทธศาสนพิธี

เมื่อสร้างวัดเหนือแล้วจึงสร้างพระธาตุมีอุโมงค์ภายใน นำเอาพระพุทธรูป
ไปเก็บซ่อนไว้อย่างลับที่สุด รู้แต่เจ้าอาวาสวัดเหนือเท่านั้น คนทั้งหลายจึงเรียกว่า
“พระลับ” หรือ “หลวงพ่อพระลับ” สืบมาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้

กระทั่ง พ.ศ.๒๓๔๐ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
มีพระบรมราชโองการยกฐานะบ้านบึงบอนขึ้นเป็น “เมืองขอนแก่น”
ตั้งให้ “ท้าวศักดิ์” เป็นเจ้าเมืองขอนแก่นคนแรก มีนามว่า “พระนครศรีบริรักษ์”

เมื่อกล่าวถึงพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ในพระธาตุ
ก็จะเรียกว่า “พระลับ” เพราะไม่มีใครเคยเห็น

ปัจจุบันบ้านพระลับกลายเป็นเทศบาลเมืองขอนแก่น
ที่คงเหลือเป็นอนุสรณ์ คือ ตำบลพระลับ
ส่วน “วัดเหนือ” เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดธาตุ” (พระอารามหลวง)

สมัย หลวงปู่พระเทพวิมลโมลี (เหล่ว สุมโน) เป็นเจ้าอาวาส
(ปัจจุบันดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมวิสุทธาจารย์)
เกรงว่าต่อไปจะไม่มีใครรู้จักหลวงพ่อพระลับ
จึงเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น มาเป็นสักขีพยานเปิดเผย
พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์นี้ให้เป็นพระพุทธรูปคู่เมืองขอนแก่น
เมื่อวันออกพรรษาปีพุทธศักราช ๒๕๓๗ ซึ่งตรงกับวันอังคาร
ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีจอ (วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๗)

พระลับจึงประจักษ์แก่สายตาเป็นพระคู่เมืองขอนแก่นนับแต่นั้น







เครดิต : http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19120
http://www.baanmaha.com/community/newthread.php?do=newthread&f=35