พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด   (๒o)

ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

หลวงพ่อดำ หรือ “พระสัมพุทธมหามุนีศรีคุณาศุภนิมิต”
พระประธานในวิหาร วัดช่องแสมสาร ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี



“พระสัมพุทธมหามุนีศรีคุณาศุภนิมิต” หรือ “หลวงพ่อดำ”
วัดช่องแสมสาร ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
เป็นพระพุทธปฏิมากรศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่ง ซึ่งชาวประมงฝั่งตะวันออก
เลื่อมใสศรัทธา ทุกครั้งที่ออกทะเลมักจะไปนมัสการและขอพร
ชาวประมงทุกคนจะกลับมาโดยสวัสดิภาพ
มีโชคได้สินทรัพย์จากทะเลเป็นกอบเป็นกำ

พระสัมพุทธมหามุนีศรีคุณาศุภนิมิต หรือหลวงพ่อดำ
ประดิษฐานเป็นพระประธานในวิหาร วัดช่องแสมสาร
เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิสูง ๕ เมตร มีรูปใบหน้าอิ่มเอิบ
ดวงตาทอดต่ำลงแผ่เมตตาให้กับผู้คนที่เดินทางมากราบไหว้

ตำนานหลวงพ่อดำ ระบุว่า เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๑
“หลวงพ่อดำรง คุณาสโภ” ได้เดินทางจาก จ.สุพรรณบุรี
มาปักกลด ณ บริเวณพระเจดีย์เก่าบนเขาของวัดช่องแสมสาร

หลวงพ่อดำรง ได้เล่าให้ญาติโยมที่ไปกราบนมัสการให้ฟังว่า
ท่านจำพรรษาอยู่วัดเขาขึ้น อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี
สาเหตุที่เดินทางมายังสถานที่แห่งนี้ เพราะได้ฝันว่า
เทพยดาองค์หนึ่งบอกให้ไปสร้างพระพุทธรูปไว้ใกล้ๆ
พระเจดีย์เก่าองค์หนึ่ง บนเขาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก

“ในภายภาคหน้า พระประธานองค์นี้จะกลายเป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์
และมีประชาชนให้ความเคารพนับถือเดินทางมากราบไหว้กันเป็นจำนวนมาก
เนื่องจากบริเวณแห่งนี้มีความเหมาะสมที่จะบูรณะให้กลายเป็น
แหล่งรักษาศีลและความสงบให้กับชาวพุทธศาสนิกชนเป็นอย่างมาก...”


หลวงพ่อดำรง ได้ออกเดินทางจากวัดเขาขึ้น
กว่าจะถึงวัดช่องแสมสารเป็นเวลาหลายวัน
เพราะท่านเดินทางถึงหมู่บ้านติดทะเลที่ใดก็จะแวะดูเรื่อยไป

จนถึงบ้านช่องแสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี คือ สถานที่ท่านปักกลดอยู่นี้
เป็นสถานที่มีภูมิทัศน์ตรงกับสภาพที่ท่านนิมิตฝัน ท่านจึงชักชวนญาติโยม
ช่วยกันบริจาควัสดุในการสร้างพระพุทธปฏิมากร ซึ่งได้รับศรัทธาร่วมมือด้วยดี

ในสมัยนั้นยังไม่มีทางรถยนต์ จึงจำเป็นต้องใช้แรงงานคนแบกขนวัสดุขึ้นไป
การสร้างใช้เวลาสร้างประมาณ ๒ ปี จึงแล้วเสร็จและ ทารักสีดำ
ตั้งเป็นสง่าอยู่กลางแจ้ง โดยไม่มีหลังคาคลุมแต่อย่างใด

ชาวบ้านชาวเรือและผู้พบเห็น จึงเรียกว่าหลวงพ่อดำกันจนติดปาก
ทั้งๆ ที่ตอนสร้างเสร็จท่านได้ถวายนามว่า “พระสัมพุทธมหามุนีศรีคุณาศุภนิมิต”
ซึ่งชื่อในตอนท้าย มีความหมายระบุว่า เป็นพระที่เกิดจากความฝันดี


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด   (๒o)


หลังจากสร้างเสร็จประมาณ ๑ เดือน
ได้จัดงานฉลองพระและประกอบพิธีเบิกพระเนตร
ในครั้งนั้นได้มีการผูกหุ่นฟาง ๒ หุ่น
เพื่อเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อดำ หลังจากเสร็จพิธีก็เผาหุ่นฟาง

หลวงพ่อดำ ได้ตั้งตากแดดอยู่กลางแจ้งเป็นเวลาถึง ๑๐ ปีเศษ
จนมีชาวประมงจากจังหวัดสมุทรปราการแล่นเรือผ่านมาเห็นหลวงพ่อดำตากแดด
จึงบนขอพรว่าออกเรือเที่ยวนี้ขอให้ได้ ๒๐๐,๐๐๐ บาท จะมาทำหลังคาให้
ปรากฏว่าได้ดังคำขอ จึงเอาเงินมาฝากให้นายเจริญ ทิศาบดี ผู้ใหญ่บ้าน
ช่วยทำหลังคา แต่ไม่มีฝา เมื่อฝนตกก็สาดเปียก

ต่อมาชาวประมงอีกรายผ่านมา ก็บนหลวงพ่อดำอีก
ขอให้จับปลาได้เยอะๆ จะมากั้นฝาให้
ปรากฏว่าได้สมหวังก็เอาเงินมาฝากผู้ใหญ่ให้ช่วยทำต่อไป

สภาพวิหารหลวงพ่อดำในขณะนั้น จึงเป็นเพียงมีหลังคาและฝาไม้สามด้าน
มีชาวบ้านและชาวเรือต่างขึ้นไปนมัสการกราบไหว้
เป็นจำนวนมาก และมักประสบผลสำเร็จ

หลังจากสิบปีผ่านไป สภาพของวิหารชำรุดทรุดโทรมจนใช้งานไม่ได้
นายเสน่ห์ พิทักษ์กร สมาชิกสภาจังหวัดชลบุรี
ได้ร่วมมือกับพระครูวิสารทสุตากร เจ้าอาวาส พร้อมชาวบ้าน
ร่วมกันสร้างเป็นวิหารจตุรมุข ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง
และมีภาพปูนปั้นเรื่องราวพุทธประวัติ ซึ่งหาชมได้ยากในปัจจุบัน

ครั้นสร้างเสร็จ ได้ทำพิธีเปิดวิหารอย่างเป็นทางการ
เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๓๒

ในแต่ละวันมีประชาชนเดินทางไปนมัสการขอบน
และแก้บนสิ่งสมปรารถนาโดยมิได้ขาด
เรื่องราวพุทธานุภาพปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อดำมีมาก
จากคำบอกเล่าของผู้คนที่มาแก้บนแต่ละวัน
จะเข้าสักการะแก้บนด้วยไข่ต้มและพวงมาลัยดอกไม้สด

ตามความเชื่อว่าหลวงพ่อดำคุ้มครองรักษาให้ปลอดภัย
และได้โชคลาภสิ่งที่สมปรารถนาไม่ขาดสาย
จนหลวงพ่อดำที่ทารักสีดำ
กลายเป็นหลวงพ่อดำสีทองเหลืองอร่ามไปทั่วทั้งองค์ในปัจจุบัน

ผู้ที่จะเดินทางไปวัดช่องแสมสารแห่งนี้ หากเดินทางจากกรุงเทพมหานคร
ให้ใช้เส้นทางมอเตอร์เวย์ผ่านไปถนนสุขุมวิทและไปถึง อ.สัตหีบ
หรือหากมาจากถนนบางนา-ตราด ให้วิ่งไปทางพัทยาและผ่านไปถึง อ.สัตหีบ

สำหรับถนนทางขึ้นสู่ยอดเขานั้นราดยางอย่างดีตลอดเส้นทาง
และจะได้พบกับทัศนียภาพอันสวยงาม
ทั้งทางทะเลและบนภูเขาควบคู่กันไปด้วย

หากมีเวลาจะได้ชมพระอาทิตย์ตกทะเลอย่างสวยงามอีกด้วย


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด   (๒o)
หลวงพ่อดำ วัดช่องแสมสาร จ.ชลบุรี

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด   (๒o)
วิหารหลวงพ่อดำ วัดช่องแสมสาร จ.ชลบุรี

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด   (๒o)
ป้ายชื่อหลวงพ่อดำ วัดช่องแสมสาร จ.ชลบุรี




พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด   (๒o)

ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

หลวงพ่อธรรมจักร
พระประธานในพระวิหารเชิงเขา วัดธรรมามูลวรวิหาร
เชิงเขาธรรมามูล ต.ธรรมามูล อ.เมือง จ.ชัยนาท


“หลวงพ่อธรรมจักร” เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองชัยนาท ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารเชิงเขา วัดธรรมามูลวรวิหาร ต.ธรรมมูล อ.เมือง จ.ชัยนาท เป็นศิลปะประยุกต์ช่างสมัยเชียงแสนตอนปลายถึงสุโขทัยตอนต้นผสมกับสมัยอยุธยา มีพุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ประทับยืนบนฐานดอกบัว พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ สูงประมาณ 4.50 เมตร กลางฝ่าพระหัตถ์มีรอย “ธรรมจักร” ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว ซึ่งเป็นที่มาของชื่อพระพุทธรูปองค์นี้

ประวัติ “หลวงพ่อธรรมจักร” วัดธรรมามูลวรวิหาร ไม่พบหลักฐานทางประวัติอย่างแน่ชัด มีเพียงตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาว่า มีผู้พบพระพุทธรูปลอยตามแม่น้ำเจ้าพระยามาพร้อมกันถึง 3 องค์ ได้แก่ หลวงพ่อโสธร (วัดโสธรวรารามวรวิหาร จ.ฉะเชิงเทรา) หลวงพ่อวัดบ้านแหลม (วัดบ้านแหลมหรือวัดเพชรสมุทรวรวิหาร จ.สมุทรสงคราม) และ หลวงพ่อธรรมจักร (วัดธรรมามูลวรวิหาร จ.ชัยนาท) บ้างกล่าวว่ามีพระพุทธรูปอีกองค์ คือ หลวงพ่อวัดไร่ขิง (วัดไร่ขิง จ.นครปฐม) ลอยตามมาด้วย แต่สำหรับ “หลวงพ่อธรรมจักร” เมื่อลอยมาถึงบริเวณหน้าวัดธรรมามูลวรวิหาร ปรากฏว่าได้ลอยวนเวียนอยู่บริเวณหน้าวัดแห่งนี้

พระภิกษุและชาวบ้านจึงได้พร้อมใจกันอัญเชิญขึ้นประดิษฐานที่วัด โดยนำเชือกพร้อมด้ายสายสิญจน์ผูกกับพระพุทธรูป แต่ไม่สามารถนำขึ้นมาได้ กระทั่งตกเย็นจึงแยกย้ายกันกลับ โดยวางแผนจะมาดึงในวันรุ่งขึ้น

พอถึงรุ่งเช้า ชาวบ้านต่างหาพระพุทธรูปไม่พบ ต่างคิดว่าพระพุทธรูปได้หลุดลอยน้ำไปแล้ว จึงแยกย้ายกันกลับ ปรากฏว่าในขณะนั้นได้มีผู้พบเห็นพระพุทธรูปองค์ที่ลอยน้ำมานั้น ได้มาประดิษฐานปิดทางเข้าประตูพระวิหาร วัดธรรมามูลวรวิหาร เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง จึงได้เรียกชาวบ้านที่อยู่ด้านล่างให้ขึ้นไปดู ชาวบ้านจึงได้ร่วมแรงร่วมใจก่อสร้างต่อเติมพระวิหารออกมาอีกช่วงหนึ่ง รวมเป็น 3 ช่วง จากคำบอกเล่า เมื่อองค์หลวงพ่อธรรมจักรประดิษฐ์อยู่ได้ 3 วัน ก็ได้หายไปจากพระวิหาร และกลับมาประดิษฐานดังเดิมโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งมีโคลนและจอกแหนติดเปื้อนมาด้วย ชาวบ้านจึงได้นำโซ่มาล่ามผูกไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้องค์หลวงพ่อธรรมจักรหายไปอีก

ต่อมามีคนต่างถิ่นล่องแพมาจากทางเหนือเพื่อตามหาพระพุทธรูป เมื่อมาถึงท่าน้ำหน้าวัดธรรมามูลวรวิหาร ได้พบพระพุทธรูปที่ตามหาอยู่ ขณะนั้นเป็นช่วงพลบค่ำ ชายผู้นั้นจึงได้ขออาศัยนอนอยู่ที่วัด เพื่อรอเวลาอัญเชิญองค์หลวงพ่อธรรมจักรกลับ ณ วัดแห่งเดิม ชายคนนั้นได้ฝันว่า หลวงพ่อไม่ขอกลับไปด้วย จะขออยู่ที่วัดธรรมามูลวรวิหารแห่งนี้ ครั้นรุ่งเช้า จึงได้กราบลาท่านสมภารเดินทางกลับบ้าน และได้ขอถอดเอา “จักร” ที่กลางฝ่าพระหัตถ์องค์หลวงพ่อธรรมจักรกลับไป นับแต่นั้นมาหลวงพ่อธรรมจักรก็ไม่หายไปไหนอีก ชาวบ้านจึงได้นำโซ่ที่ล่ามออก และได้ร่วมกันสร้าง “จักร” ขึ้นใหม่ พร้อมทั้งจัดให้มีงานสมโภชต่อเนื่องทุกปีจนถึงปัจจุบัน นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ได้มีพุทธบริษัทเป็นจำนวนมากเดินทางมานมัสการ “หลวงพ่อธรรมจักร” ไม่ขาดระยะ


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด   (๒o)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด   (๒o)
พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ในคราวทรงเสด็จมาสักการะ “หลวงพ่อธรรมจักร”



ในสมัย ร.ศ.120, 125 และ 127 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงเสด็จมาสักการะ “หลวงพ่อธรรมจักร” ถึง 3 ครั้ง ดังมีข้อความปรากฏในหนังสือประวัติศาสตร์ประพาสต้นของพระพุทธเจ้าหลวง ว่าพระองค์ได้มีพระราชหัตถเลขา ฉบับที่ 8 เดือนตุลาคม ร.ศ.120 ถึงพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ ความว่า “เวลาเช้า 3 โมงเศษ ถึงวัดธรรมามูล ขึ้นเขามีราษฎรอยู่มาก พระวิหารใหญ่หลังคาพังทลายลงทั้งแถบ จำเป็นต้องปฏิสังขรณ์ เมื่อนมัสการพระ แจกเสมาราษฎรแล้วลงเรือเดินทางต่อมาอีก”

ส่วนพระราชหัตถเลขา ฉบับลงวันที่ 9 สิงหาคม ร.ศ.125 ทรงบันทึกว่า “บ่าย 2 โมงได้ออกเรือแวะที่โรงทหาร (ที่ตั้งศาลากลางในปัจจุบัน) ขึ้นตรวจแถว กลับจากโรงทหารขึ้นมาถึงเขาธรรมามูล 4 โมงครึ่ง ข้ามไปถ่ายรูปที่หาดตรงข้ามจนเย็น จึงเข้าเรี่ยรายปฏิสังขรณ์ศาลา และพระวิหารขึ้นใหม่”

อนึ่ง ในการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมานั้น สันนิษฐานว่า สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง ตามเสด็จมาด้วย โดยพบแผ่นจารึกหินอ่อนที่ด้านบนเสาต้นกลางของซุ้มบันไดที่ติดกับลานพระวิหารหลวงพ่อธรรมจักร จารึกเกี่ยวกับวัน เดือน ปี และบุคคลที่บริจาค โดยปรากฏเป็นพระนามแรก ทรงบริจาคเงินจำนวน 200 บาท บุคคลที่สำคัญอีกท่านหนึ่งที่ได้ตามเสด็จมานมัสการ คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ โดยมีพระนิพนธ์ไว้ในหนังสือสาสน์สมเด็จ ลงวันที่ 12 มกราคม พ.ศ.2481 เป็นลายพระหัตถ์ที่ทรงมีถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ความตอนหนึ่งว่า

“เมื่อปีแรก หม่อมฉันเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ใน พ.ศ.2453 ขึ้นไปตรวจราชการหัวเมืองเหนือเมื่อฤดูน้ำ ได้พระราชทานกฐินหลวงไปทอดที่วัดธรรมามูลด้วย หม่อมฉันไปพักแรมอยู่ที่ชัยนาท รุ่งเช้าออกจากเมืองชัยนาทขึ้นไปบนเขาธรรมามูล”

วัดธรรมามูลวรวิหาร มีการจัดงาน ประเพณีนมัสการปิดทองหลวงพ่อธรรมจักร อันเป็นงานประจำปี โดยทางวัดได้กำหนดขึ้นปีละ 2 ครั้ง คือ ในเดือน 6 ระหว่างวันขึ้น 4-8 ค่ำ และในเดือน 11 ระหว่างวันแรม 4-8 ค่ำ รวมครั้งละ 5 วัน 5 คืน ในงานมีมหรสพสมโภชตามประเพณีนิยมทั่วไป ในอดีตเมื่อมีงานประเพณีนมัสการปิดทองฯ คราวใด จะต้องมีงานแข่งเรือในลำน้ำหน้าวัดด้วย แต่ประเพณีนี้ได้ล้มเลิกไปเมื่อประมาณปี พ.ศ.2505 นอกจากนี้ทุกวันแรม 11 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ทางวัดได้จัดให้มีงาน ประเพณีตักบาตรเทโว อีกด้วย

สำหรับการเดินทางมานมัสการองค์หลวงพ่อธรรมจักร วัดธรรมามูลวรวิหารนั้น ทุกท่านสามารถใช้เส้นทางตามถนนพหลโยธินสายเก่า ชัยนาท-นครสวรรค์ เลยสี่แยกแขวงการทางชัยนาทไปประมาณ 8 กิโลเมตร จะแลเห็นเชิงเขาธรรมามูลอยู่ทางซ้ายมือ มีป้ายชื่อวัดแสดงอยู่ ให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนแล้วข้ามเขาไปอีกประมาณ 1.5 กิโลเมตรก็จะถึงวัด ให้จอดรถไว้บริเวณที่ที่วัดจัดไว้สำหรับจอดรถ โดยจะอยู่บริเวณเชิงเขา แล้วจึงเดินขึ้นบันไดไปอีกระยะหนึ่งก็จะถึง พระวิหารที่ประดิษฐานหลวงพ่อธรรมจักร บริเวณวัดสามารถชมวิวทิวทัศน์ด้านล่างได้ จึงนับได้ว่า วัดธรรมามูลวรวิหารแห่งนี้เป็นวัดที่สงบ ร่มเย็น สวยงามมากอีกวัดหนึ่งของ จ.ชัยนาท



พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด   (๒o)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด   (๒o)
พระวิหารเชิงเขา วัดธรรมามูลวรวิหาร ที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อธรรมจักร”



พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด   (๒o)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด

พระพุทธชัยภูมิพิทักษ์ พระประธานพระพุทธรูปยืน
ประดิษฐานบริเวณหน้าผาเกิ้ง วัดชัยภูมิพิทักษ์ (วัดผาเกิ้ง)
บ้านนาคานหัก ต.กุดชุมแสง อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ



พระพุทธชัยภูมิพิทักษ์ วัดชัยภูมิพิทักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
พระพุทธชัยภูมิพิทักษ์ วัดชัยภูมิพิทักษ์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ โดยนายประมูล ศรัทธาทิพย์ผู้ว่าราชการ จังหวัดชัยภูมิในขณะนั้น มองเห็นพื้นที่บริเวณผาเกิ้งมีบรรยากาศร่มรื่นจึงคิดที่จะอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นพื้น ที่อุทยาน โดยสร้างพระพุทธรูปปางประทานพร สูง ๗ เมตร ศิลปะสมัยรัตนโกสืนทร์

ยืนตระหง่านเป็นศรีสง่า ประดิษฐานอยู่ที่หน้าผาเกิ้ง ซึ่งเป็นหน้าผาที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของอำเภอหนองบัวแดง ตั้งอยู่ระ หว่างภูเขาสองลูกที่มาบรรจบกัน บางครั้งชาวบ้านจะเรียกว่า "ช่องบุญกว้าง" ซึ่งเป็นเส้นทางลัดที่ใช้เป็นที่หมายในการเดินทางจาก หุบเขาภูเขียว(ทิวเขาเพชรบูรณ์) มายังจังหวัดชัยภูมิ

ผาเกิ้งจะอยู่ทางฝั่งภูแลนคา เป็นจุดที่สามารถมองเห็นทัศนียภาพเบื้องล่างได้อย่างชัดเจน คำว่า "ผาเกิ้ง" หรือ "อีเกิ้ง" เป็นภาษาอีสาน หมายถึงพระจันทร์ ดังนั้นผาเกิ้งจึงเป็นชื่อผาที่มีลักษณะครึ่งวงกลมยื่นออกไป มองดูเหมือนพระจันทร์เสี้ยว

พ.ศ. ๒๕๑๖ นายอนันต์ อนันตกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ เห็นว่าการที่พระพุทธรูปองค์ใหญ่ราคานับล้านตั้งอยู่กลางป่า โดยปราศจาก ผู้ดูแลนั้นไม่สมควรน่าจะมีพระอยู่จำพรรษาช่วยพัฒนาสถานที่และดูแลองค์พระให้รุ่งเรืองสง่างาม ได้นิมนต์พระมหาบุญมาปุญญาภิร โต ต่อมาได้ดำรงสมณศักดิ์พระศีลวราลังการ เจ้าอาวาสวัดชัยภูมิพทักษ์(ผาเกิ้ง) และรองเจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ ให้มาดูแลสำนักสงฆ์ แห่งนี้ โดยช่วงระยะที่ทำการก่อสร้างได้เกิดเหตุการณ์อัศจรรย์หลายอย่าง อาทิ

ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๓ เขาเตรียมทำถนนลาดยางตรงผ่านเขา ก็มีการระเบิดหิน ปกติการระเบิดหินนั้น เมื่อทำการระเบิดก้อนหิน น้อยใหญ่จะปลิวว่อน ทุกครั้งที่ระเบิดพนักงานเขาจะเตือนพระ เณร แม่ชี ให้หลบก้อนหิน โดยสั่งให้ไปหลบใต้ถุนกุฏิ พอเสียงระเบิด ตูมก็จะมีก้อนหินน้อยใหญ่ปลิวว่อน และก้อนหินเหล่านั้นจะปลิวว่อนไปตกทั่วบริเวณวัด เล่นเอาสังกะสีกุฏิและศาลาทะลุเป็นช่องน้อย ใหญ่ ประมาณถึง ๒๐ กว่าหลัง ซึ่งเมื่อทางคณะบริษัทเขาหยุดระเบิดแล้ว เขามารับซ่อมให้ ก้อนหินน้อยใหญ่เหล่านั้นปลิวกระจายทั่ว บริเวณรอบ ๆ องค์พระ ดูว่าจะกระทบส่วนไหนขององค์พระไม่มีเลยเป็นที่น่าอัศจรรย์ องค์พระมิได้เป็นอันตรายจากก้อนหินเหล่านั้น เลยเหมือนกับเทวดาฟ้าดินท่านคุ้มภัยจากก้อนหินให้อย่างดี

ครั้งหนึ่ง มีคณะผ้าป่าจากกรุงเทพมหานคร พากันมาทอดที่ อ.หนองบังแดง เมื่อทอดผ้าป่าเสร็จแล้วขากลับพากันมาแวะเที่ยวที่วัด สนุกสนานพอสมควรแล้วก็พากันเดินทางกลับกรุงเทพฯ รถก็วิ่งตามถนนไป พอไปเลยสระบุรีไปได้ไม่เท่าไร รถวิ่งดี ๆ ก็มาหยุด ชะงักเอาเฉย ๆ ช่างแก้ไขยังไง ๆ ก็ไม่สามารถจะทำให้รถวิ่งต่อไปได้ แก้จนหมดความสามารถของช่าง ดูสภาพของรถก็ไม่มีอะไร ผิดปกติที่ตรงไหน พอดีมีคน ๆ หนึ่งซึ่งเป็นคนทางถิ่น อ.หนองบัวแดงนี้เอง แกคิดขึ้นมาได้ก็ถามหมู่คณะที่มาด้วยกันว่า พวกเราที่มา ทุกคนนี้มีใครบ้างที่ทำอะไรล่วงเกินไม่ดีไม่งามบ้าน ตอนที่เราแวะเที่ยวชมวัดผาเกิ้งนั้น ก็มีเสียงตอบมาว่ามี พวกเราก็นำเหล้าเข้า ไปดื่ม และสรวลเสเฮฮากันในบริเวณวัด เสร็จแล้วคนที่ถามนั้นก็พูดขึ้นว่า นั่นแหละพวกเราพากันทำผิดล่วงเกินที่วัด จึงทำให้รถหยุด วิ่งอยู่ขณะนี้ แล้วแกก็อธิษฐานขึ้นว่า ถ้าเป็นเพราะพวกเราได้ล่วงเกินสถานที่ ก็ขอสารภาพผิด ขอเทวดาฟ้าดินเป็นพยานว่าเราทำ ผิดล่วงเกินสถานที่ และขอโทษขออภัย ขอได้โปรดอโหสิกรรมให้พวกเราที่ทำลงไปเพราะความไม่รู้ ขอให้รถวิ่งไปได้ตอนหลังจะนำ สิ่งของมาขอขมาโทษ พออธิษฐานเสร็จรถก็วิ่งเข้าสู่กรุงเทพฯ ได้สุดวกสบายเหมือน ปาฏิหาริย์ ตอนหลัง คน ๆ นั้น ก็นำผ้าไตร และอา หารหวานคาวมาแก้บน และได้มาเล่าความเป็นไปให้ฟัง นี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับองค์พระพุทธชัยภูมิพิทักษ์








พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด   (๒o)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด

• พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง •
จังหวัดชุมพร


พระพุทธปฏิมากร(พระรอดสงคราม) วัดชุมพรรังสรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
พระพุทธปฏิมากร(พระรอดสงคราม) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัสดุทองผสมขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๒๕ เมตร สูง ๑.๘๔ เมตร ศิลปะรัตนโกสินทร์เป็นพระพุทธรูปที่รอดพ้นจากความเสียหายจากภัยสงครามโลกครั้งที่สอง จึงมีชื่อเรียกอีกนามหนึ่งว่า "พระรอดสงคราม"

พระรอดสงครามสร้างโดยพระอธิการเซี้ยนและทายก ชื่อทา เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๓ มีประวัติเล่าว่า เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔ ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ประเทศไทย ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ วัดชุมพลรังสรรค์ประสบภัยสงครามจากระเบิดที่ทิ้งลงมา บริเวณวัด พระอุโบสถหลังเก่าพังเสียหายหมดสิ้น ด้วยพุทธานุภาพอันมหัศจรรย์ของพระพุทธปฏิมากร ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในพระ อุโบสถกลับไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด ตราบกระทั่งสิ้นสงครามโลกครั้งที่ ๒

ปัจจุบันมีพระพุทธรูปปฏิมากรที่คงเหลืออยู่ ๒ องค์ในประเทศไทย คือพระพุทธปฏิมากรในพระอุโบสถวัดชุมพรรังสรรค์ และพระพุทธ ปฏิมากรวัดสร้อยทองเชิงสะพานพระราม ๖ กรุงเทพมหานคร

วัดชุมพรรังสรรค์ เดิมชื่อ "วัดราชคฤห์ดาวคนอง" สร้างเมื่อพุทธศักราช ๒๓๖๓ มีอายุกว่า ๑๘๒ ปี สร้างโดยพระยาเพชรกำแหง สงคราม(ซุ้ย) นำสมัครพรรคพวกตีค่ายพม่ายึดเมืองชุมพรแตกพ่ายไปได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์จากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พร้อมกับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองชุมพร






มีต่อ
หนังสือพิมพ์ข่าวสดรายวัน ออนไลน์ ฉบับที่ 6716
คอลัมน์ เดินสายไหว้พระพุทธ โดย ชูชีพ ด้วงช้าง
https://www.facebook.com/media/set/?set ... 2764691619
http://www.danpranipparn.com/web/praput/praput231.html
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=73&t=41075&sid=81b0e8ddbb0d3ced9553cb0e3980198c
http://www.baanmaha.com/community/newthread.php?do=newthread&f=35