พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๘)
หลวงพ่อใหญ่ วัดไทรม้าใต้ จ.นนทบุรี

ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

หลวงพ่อใหญ่ วัดไทรม้าใต้
บ้านไทรม้า ต.ไทรม้า อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี



พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๘)
หลวงพ่อใหญ่ วัดไทรม้าใต้ จ.นนทบุรี

ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา หมู่ที่ 4 ตำบลไทรม้า อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

เล่ากันว่า แต่ก่อนมีต้นไทรใหญ่บ้านไทรม้า เหล่าทหารกล้าพระเจ้าตากพักคอยท่าประชุมพล

ทั้งผอง กองอาชา ใกล้ธาราธนบุรีที่เมืองนนท์ แม้วันนี้หมู่ต้นไทรแทบไม่มีให้เห็นแล้ว แต่วัดนี้ยังคงเป็นแหล่งสรรค์สร้างทานกุศล หลวงพ่อใหญ่ เป็นที่พึ่งตรึงกมลพาผู้คนสู่หนทางสว่างจวบจนปัจจุบัน

วัดไทรม้าใต้ เป็นวัดเก่าแก่ ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก อยู่ในตำบลไทรม้า สร้าง

เมื่อราว พ.ศ.2332 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาหน้าวิหารมีรูปปั้นหลวงปู่อินเจ้าอาวาสท่านแรกของวัดเป็นผู้อัญเชิญหลวงพ่อใหญ่ที่ลอยทวนน้ำมา และนำมาประดิษฐานที่วัดแห่งนี้

ภายในวัดไทรม้าใต้มีโบราณวัตถุ โบราณสถานที่น่าสนใจมากมาย อาทิ พระพุทธรูปเก่าอยู่ในวิหารหลังใหม่ เรียกกันว่า“หลวงพ่อใหญ่” ถือเป็นจุดเด่นของวัดแห่งนี้ หรือจะเป็นความงามของสถาปัตยกรรมและฝีมือช่างศิลป์ที่สะท้อนผ่านลวดลายอันวิจิตรงดงามออกมา เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองประดับลายปูนปั้น ซึ่งมีผู้คนพบเศษกระเบื้องเชิงชายลายเทพนมเก่าที่บริเวณเจดีย์นี้ด้วย

ส่วนอุโบสถมีลักษณะทรงไทย หลังคาซ้อนสามชั้น มีช่อฟ้าใบระกา ซุ้มหน้าต่างเป็นแบบบุษบก และแม้ในยามพระอาทิตย์ลาลับแสง พระอุโบสถแห่งนี้ก็ยังคงปรากฏให้เห็นถึงรายละเอียดความงดงามอย่างมากมาย ไม่เพียงเท่านี้รวมไปถึงศาลาการเปรียญหรือศาลาอเนกประสงค์ ใหญ่และงดงามมาก สามารถใช้สอยในกิจของสงฆ์และสาธุชนทั่วไป

นอกจากนี้ ริมน้ำหน้าวัดยังมีต้นพระศรีมหาโพธิ์จากหน่อของพระศรีมหาโพธิ์ที่ 4 จากอินเดีย เมื่อได้ผ่านไปจะทำให้รู้สึกเย็นสบาย พร้อมทั้งมีเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสาริริกธาตุ ตั้งอยู่ริมน้ำ พร้อมให้สาธุชนที่เดินทางนั่งเรือผ่านไปมาได้แวะกราบไหว้สักการบูชาอีกด้วย


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๘)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๘)
หลวงพ่อใหญ่ วัดไทรม้าใต้ จ.นนทบุรี

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๘)







พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๘)



ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล พระประธานคู่เมือง ณ พุทธอุทยาน บนยอดเขากง วัดเขากงมงคลมิ่งมิตรปฏิฐาราม ต.ลำภู อ.เมือง จ.นราธิวาส พระพุทธรูปกลางแจ้งอันงดงามและใหญ่ที่สุดในภาคใต้ พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล ประดิษฐานเป็นองค์พระประธานในพื้นที่พุทธอุทยาน วัดเขากงมงคลมิ่งมิตรปฏิฐาราม ต.ลำภู อ.เมือง จ.นราธิวาส เป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาขนาดใหญ่ พระหัตถ์ขวายกขึ้นจีบเสมอพระอุระ พระหัตถ์ซ้ายวางหงาย นั่งขัดสมาธิเพชรอยู่บนยอดเขากง ศิลปะรัตนโกสินทร์ โดยได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะสกุลช่างอินเดียตอนใต้แบบโจฬะรุ่นหลัง ที่แพร่หลายในพื้นที่ภาคใต้และแหลมมลายู ผสมกับศิลปะสกุลช่างนครศรีธรรมราช (หรือแบบขนมต้ม) องค์พระพุทธรูปสร้างขึ้นด้วยวัสดุคอนกรีตเสริมเหล็ก ประดับกระเบื้องโมเสกสีทองทั้งองค์ มีขนาดหน้าตักกว้างถึง 17 เมตร และมีความสูงวัดจากพระเกศบัวตูมถึงฐานบัวใต้พระเพลารวม 24 เมตร หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกของอ่าวไทย เนินเขาลูกถัดไปมีเจดีย์สิริมหามายาซึ่งเป็นทรงระฆัง เหนือซุ้มประตูทั้ง ๔ ทิศ มีเจดีย์รายประดับอยู่ ภายในประดิษฐานพระพรหม บนยอดสุดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ เนินเขาถัดไปอีกลูกหนึ่งเป็นที่ตั้งของอุโบสถ ผนังด้านนอกทั้งสี่ด้านประดับกระเบื้อง ดินเผาแกะสลัก ด้านหลังเป็นรูปช้างหมอบถวายดอกบัว หน้าบันเป็นรูปนักรบมีเทวดาถือคนโทถวาย วัดเขากงมงคลมิ่งมิตรปฏิฐารามนั้น เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นตั้งแต่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้กลายเป็นวัดร้างอยู่ชั่วระยะหนึ่ง จนมีพระภิกษุมาจำพรรษาอีกครั้งในปี พ.ศ.2494 และได้รับการฟื้นฟูจนมีความรุ่งเรืองมาในปัจจุบัน ประวัติความเป็นมาในการก่อสร้างพระพุทธทักษิณมิ่งมงคลขึ้นบนยอดเขากงนี้ ด้วยสาเหตุว่า พื้นที่แห่งนี้เคยเป็นพุทธสถานมาตั้งแต่ครั้งโบราณ โดยมีการค้นพบหลักฐานที่เป็นซากโบราณสถานอันเป็นส่วนประกอบของเจดีย์พร้อมทั้งเศียรพระพุทธรูป และพระโพธิสัตว์ฝ่ายมหายานรวมทั้งโบราณวัตถุมากมาย ดังนั้นบรรดาพุทธบริษัท ทั้งหลายจึงรวมใจกันสร้างองค์พระพุทธรูปขนาดใหญ่บนยอดเขากง เพื่อให้เป็นพระพุทธรูปประจำภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัด พระพุทธรูปทักษิณมิ่งมงคลสีทอง ปางปฐมเทศนาขัดสมาธิเพชรอยู่บนยอดเขา เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.2509 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2512 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระอุระเบื้องซ้ายของพระพุทธทักษิณมิ่งมงคลด้วยพระองค์เองในปี พ.ศ.2513 อันเป็นสิริมงคลสูงสุด นับแต่นั้นองค์พระพุทธทักษิณมิ่งมงคลได้ประดิษฐานอย่างมั่นคงคู่กับจังหวัดนราธิวาสและดินแดนภาคใต้ จัดเป็นพระพุทธรูปกลางแจ้งที่งดงามและใหญ่ที่สุดในภาคใต้ และเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจ ควรค่าแก่การบูชาสักการะอย่างสูงของชาวพุทธในดินแดนภาคใต้สืบมา สถานที่ตั้ง วัดเขากงมงคลมิ่งมิตรปฏิฐาราม ต.ลำภู อ.เมือง จ.นราธิวาส ห่างจากตัวเมืองประมาณ 9 กิโลเมตร ใช้เส้นทางนราธิวาส-ระแงะ (ทางหลวงหมายเลข 4055)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๘)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๘)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๘)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๘)







พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๘)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๘)

พระพุทธมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีน่าน
[พระพุทธรูปปางประทานพร บนฐานดอกบัวสูง ๙ เมตร]
วัดพระธาตุเขาน้อย ต.ดู่ใต้ อ.เมือง จ.น่าน


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๘)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๘)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๘)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๘)



วัดพระธาตุเขาน้อย นั้นตั้งอยู่ในตำบลไชยสถาน องค์พระธาตุตั้งอยู่บนยอดดอยเขาน้อย ซึ่งอยู่ด้านตะวันตกของตัวเมืองน่าน สันนิษฐานว่ามีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับพระธาตุแช่แห้ง ตั้งอยู่บนดอยเบาน้อย สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 240 ม.สร้างในสมัยพญาภูเข็ง (เจ้าปู่แข็ง) เมื่อ พ.ศ.2030 องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ ศิลปะพม่าผสมล้านนา ภายในบรรจุพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยพระเจ้าสุริยพงศ์ผริตเดชฯ ระหว่าง พ.ศ. 2449-2454 โดยช่างชาวพม่า และวิหารสร้างในสมัยเดียวกัน

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๘)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๘)

ตามประวัติ พระธาตุองค์นี้ สร้างโดยมเหสีรองของพญาภูเข็ง เจ้าผู้ครองนครน่าน เมื่อราวพุทธศตวรรณที่ 20 เจ้าผู้ครองนครน่านอีกหลายองค์ต่อมา ได้บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุโดยตลอด จนกระทั่งมีการบูรณะครั้งใหญ่ ในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ในปี พ.ศ. 2449-2454 โดยช่างชาวพม่าชื่อหม่องยิงหน้าวัดมีทางขึ้นเป็นบันไดนาค 303 ขั้น ซึ่งนั่นหละเป็นอุปสรรค์ต่อสังขารของฉันที่จะต้องทำความเร็วแข่งกับเวลา หากหวังว่าจะได้ดูพระอาทิตย์ตกดินที่นี่ แต่ถึงกระนั่น ทิฐิมานะก็สามารถเอาชนะความเหนื่อยยากทั้งมวล แม้นว่าจะต้องนั่งเป็นหมาหอบแดดอยู่ซักพักก็ตาม แต่ที่ทำให้ฉันรู้สึกประหลาดใจมากกว่านั้นก็คือ ทำไมหนอ ทำไม ทำไมฉันจึงลืมคิดที่จะตรวจสอบ ทิศทางของพระอาทิตย์ก่อนขึ้นมา

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๘)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๘)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๘)

จริง ๆ แล้วพระธาตุเขาน้อยแห่งนี้ หากเราจะเลี่ยงไม่ขึ้นบันได 303 ขั้นที่ว่านี้ก็ยังพอได้ เพราะทางด้านหลังมีถนนตัดขึ้นไปบนองค์พระธาตุได้โดยตรง แต่เนื่องจากถนนเส้นดังกล่าวมีความลาดเอียงสูง หรือที่เรียกว่าชันมาก จึงไม่เป็นคุ้มหากจะรอดรถบรรทุก รถพ่วงมาตกเขาตายที่ตรงนี้ การขึ้นบันได 303 ขั้นจึงเป็นคำตอบที่ดีที่สุดในเวลานั่น

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๘)






พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๘)

พระเจ้าหลวงศรีนครน่าน
พระประธานในพระวิหารหลวง วัดพระธาตุช้างค้ำ จ.น่าน


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๘)

พระเจ้ามหาอุตม์ วัดพระธาตุแช่แห้ง ตำบลม่วงตึ๊ด กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน

ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถมหาอุตม์ ประดับด้วยลายหม้อดอกปูรณะฆฏะ* สันนิษฐานว่าสร้าง
ในสมัยพระยาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม ในปีกดสัน จุลศักราช 922 ตัว มีอายุกว่า 451 ปี ลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เอกลักษณ์ศิลปะน่าน นับแต่โบราณใช้ทำพิธีมหาพุทธาภิเษกและเจริญพระพุทธมนต์พิธีมงคลที่สำคัญเท่านั้น เชื่อกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ดลบันดาลความอุดมสมบูรณ์ ทรัพย์สิน โชคลาภ เพิ่มพูนอำนาจวาสนา บารมี และยังช่วยปกปักรักษาคุ้มครองให้พ้นจากภัยอันตราย
ทั้งหลายทั้งปวงได้


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๘)

ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

พระเจ้าทองทิพย์
วัดสวนตาล ถนนมหายศ
ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน


"พระเจ้าทองทิพย์" พระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัยองค์ใหญ่หน้าตักกว้าง 10 ฟุต สูง 14 ฟุต 4 นิ้วเป็นพระประธานในวิหารวัดสวนตาล สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าดิโลกราชแห่งนครเชียงใหม่ ซึ่งเป็นใหญ่ในแคว้นล้านนาไทยในสมัยนั้น

ในพงศาวดารเมืองน่านกล่าวไว้ว่าเมื่อครั้งที่พระเจ้าติโลกราช ยึดเมืองน่านได้แล้ว ก็ได้ปรึกษาเหล่านายทัพนายกอง และเสนาอำมาตย์ทั้งหลายว่า การที่กองทัพของพระองค์เข้ายึดเมืองไว้ ได้ในครั้งนี้ มิได้สู้รบให้เสียเลือดเสียเนื้อกำลังไพร่พล เลย เหมือนกับว่ามี เทพเจ้าเข้ามาช่วยเหลือ จึงเห็นควรให้สร้างอะไรไว้อย่างหนึ่งเพื่อเป็นอนุสรณ์ สักขีพยานในชัยชนะ ของพระองค์ครั้งนั้นขุนนางเสนอว่าควรจะสร้างถาวรวัตถุเพื่อประชาชนรุ่นหลังจะรำลึก ถึง เช่น สร้างพระพุทธรูป หล่อด้วยทอง เป็นต้น

ในที่สุดพระเจ้าติโลกราชก็ ตัดสินพระทัยที่จะสร้างพระพุทธรูปหล่อด้วยทองพระองค์ได้โปรดให้ช่างทั้งหลาย อาทิ พม่า เงี้ยว และชาวเมืองเชียงแสน กระทำพิธี หล่อหลอมทอง และพิธีหล่อองค์พระพุทธรูป ด้วย ช่างได้ กระทำการหล่อทองเทเข้าเบ้าพิมพ์หลายครั้งหลายหน ก็ไม่สำเร็จเพราะ เบ้าพิมพ์แตกเสียทุกครั้งในที่สุดก็มีชายชราแปลกหน้านุ่งขาวห่มขาวมาช่วยทำ จึงสำเร็จเรียบร้อยสมปรารถนา

เมื่อสร้างพระพุทธรูปเสร็จแล้ว พระเจ้าติโลกราชก็ทรงจัดให้มีการสวดปริตถมงคล และจัดให้มีงาน มหกรรมเฉลิมฉลองทำบุญ เป็นการใหญ่มโหฬารยิ่งส่วนชายชรานั้นก็หายสาบสูญไป ไม่มีผู้ใดพบเห็นอีกเลย ประชาชนชาวเมืองต่างโจษขานกันว่าเป็น เทพยดาแปลงกายลงมา ช่วย จึงได้ขนานพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "พระพุทธรูปทองทิพย์" หรือ "พระเจ้าทองทิพย์" ตั้งแต่นั้นมา









เครดิต :
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=793283
http://www.dhammajak.net/forums/view...p?f=73&t=41061
http://www.baanmaha.com/community/ne...newthread&f=35